'รถเมล์ชานต่ำ Low-Floor Bus ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ (1)'

แสดงความคิดเห็น

คนพิการนั่งรถเข็นกำลังขึ้นบรรไดของรถเมล์แบบทั่วไปโดยมีคนมาช่วยยกรถขึ้นอย่างลำบาก

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : สัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของสังคมหรือประเทศที่เจริญก้าวหน้าพัฒนาแล้วทั้งหลายคือ การมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมาตรฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ ใช้บริการได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม

วันนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะรถเมล์โดยสารประจำทางซึ่งในทุกประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฯลฯ หรือแม้แต่สิงคโปร์เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของเราก็ใช้ รถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ หรือ Low-Floor Bus วิ่งให้บริการประชาชนทุกหมู่เหล่ามายาวนานกว่า 20 ปีกันทั้งนั้น

รถเมล์ชานต่ำที่ชาติต่างๆ นำมาวิ่งให้บริการประชาชนนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ คนพิการ หรือผู้ที่ใช้รถเข็น (วีลแชร์) ใช้บริการได้สะดวกปลอดภัยเท่านั้น แต่เพื่อต้องการให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้บริการรถเมล์ชานต่ำนี้ได้โดยสะดวกปลอดภัยอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน

คนสูงอายุ รวมถึงเด็กเล็กก็ใช้บริการได้สะดวกสบาย ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวสะดุดขั้นบันไดหกล้ม หรือตกบันไดรถเมล์บาดเจ็บ หรือดับสยองอย่างที่เคยเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ สุภาพสตรีใส่ส้นสูง ส้นตึก หรือจะใส่กระโปรงสั้นตามสไตล์แฟชั่น ก็ขึ้นลงรถเมล์ชานต่ำได้สะดวกปลอดภัยไม่ต้องกลัวก้าวพลาดจนเกิดเหตุระทึก

ยิ่งถ้าเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรง ข้อเข่าไม่ดี หรือคนอ้วนตุ้ยนุ้ย ก็ยิ่งเหมาะที่จะใช้บริการรถเมล์แบบชานต่ำ โดยเฉพาะคนพิการทุกประเภท ยิ่งคนที่ต้องใช้รถเข็นด้วยแล้ว ทั้งตำรวจทหารผ่านศึก ผู้สูงอายุ ผู้พักฟื้นสุขภาพ คนพิการ ก็จะยิ่งได้รับความสะดวกและปลอดภัยเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกจึงเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ชานต่ำกันมากว่า 20-30 ปีแล้ว

ผมเคยไปสำรวจและทดลองใช้บริการรถเมล์ในประเทศต่างๆ มาหลายครั้ง อย่างเช่นครั้งหนึ่งผมไปที่ เมืองเบิร์ชเทสการ์เดน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเยอรมนี มีแหล่งท่องเที่ยวบนภูเขาสูงกว่า 1,800 เมตร ชื่อ เคลสไตน์เฮ้าส์ หรือที่เรียกกันว่า รังอินทรีย์ (Eagle’s Nest) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำนาซียุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดอยู่บนภูเขาสูงชันขนาดนั้น แต่เขาก็ยังใช้รถเมล์ชานต่ำในการรับส่งนักท่องเที่ยว เพื่อให้ทุกคนโดยเฉพาะมนุษย์ล้อสามารถขึ้นไปเที่ยวชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขานั้นได้เสมอเหมือนคนธรรมดาทั่วไป

การได้ไปเห็นและได้ใช้บริการรถเมล์ชานต่ำในหลายๆ ประเทศ ทำให้ผมรู้สึกได้ว่าในประเทศที่เจริญแล้วหรือพัฒนาแล้วเขาจะพยายามสร้างทำบริการสาธารณะพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ สะดวก ปลอดภัย สบายใจ โดยไม่รู้สึกแย่ หรือรู้สึกเป็นปัญหาอุปสรรค หรือเป็นปมด้อยกับสภาพร่างกายที่อาจไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือด้วยวัยที่แตกต่างกันแต่อย่างใด

ตรงกันข้าม เขาจะทำให้ทุกคนทุกวัย และทุกสภาพร่างกายมีสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีความรู้สึกมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ซึ่งเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การออกแบบบ้านเมืองและบริการสาธารณะพื้นฐานต่างๆ ให้เป็นอารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design คือให้เป็นมิตรกับคนทั้งมวล เพื่อให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกายเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

ได้ไปเห็นแล้วก็ทำให้เราเกิดความรู้สึกและเข้าใจได้เลยว่าในสังคมหรือประเทศที่เจริญแล้วเขาจะพยายามสร้างทำอารยสถาปัตย์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยให้ได้มากที่สุด และเพื่อจะบอกกับเราว่าทำไมเขาถึงทำได้ ทำอย่างไรเขาถึงยิ่งใหญ่ได้

ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา เราก็มักจะได้ยินเหตุผลข้ออ้างต่างๆ นานาจากผู้ที่มีอำนาจ ก็เพื่อที่จะบอกกับประชาชนว่า ทำไมเราถึงทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ !! ข้อแตกต่างระหว่างประเทศด้อยพัฒนา กับพัฒนาแล้ว อยู่ตรงนี้นี่เองล่ะครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150928/214156.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 29/09/2558 เวลา 13:59:43 ดูภาพสไลด์โชว์ 'รถเมล์ชานต่ำ Low-Floor Bus ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ (1)'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คนพิการนั่งรถเข็นกำลังขึ้นบรรไดของรถเมล์แบบทั่วไปโดยมีคนมาช่วยยกรถขึ้นอย่างลำบาก คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : สัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของสังคมหรือประเทศที่เจริญก้าวหน้าพัฒนาแล้วทั้งหลายคือ การมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมาตรฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ ใช้บริการได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม วันนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะรถเมล์โดยสารประจำทางซึ่งในทุกประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฯลฯ หรือแม้แต่สิงคโปร์เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของเราก็ใช้ รถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ หรือ Low-Floor Bus วิ่งให้บริการประชาชนทุกหมู่เหล่ามายาวนานกว่า 20 ปีกันทั้งนั้น รถเมล์ชานต่ำที่ชาติต่างๆ นำมาวิ่งให้บริการประชาชนนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ คนพิการ หรือผู้ที่ใช้รถเข็น (วีลแชร์) ใช้บริการได้สะดวกปลอดภัยเท่านั้น แต่เพื่อต้องการให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้บริการรถเมล์ชานต่ำนี้ได้โดยสะดวกปลอดภัยอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน คนสูงอายุ รวมถึงเด็กเล็กก็ใช้บริการได้สะดวกสบาย ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวสะดุดขั้นบันไดหกล้ม หรือตกบันไดรถเมล์บาดเจ็บ หรือดับสยองอย่างที่เคยเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ สุภาพสตรีใส่ส้นสูง ส้นตึก หรือจะใส่กระโปรงสั้นตามสไตล์แฟชั่น ก็ขึ้นลงรถเมล์ชานต่ำได้สะดวกปลอดภัยไม่ต้องกลัวก้าวพลาดจนเกิดเหตุระทึก ยิ่งถ้าเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรง ข้อเข่าไม่ดี หรือคนอ้วนตุ้ยนุ้ย ก็ยิ่งเหมาะที่จะใช้บริการรถเมล์แบบชานต่ำ โดยเฉพาะคนพิการทุกประเภท ยิ่งคนที่ต้องใช้รถเข็นด้วยแล้ว ทั้งตำรวจทหารผ่านศึก ผู้สูงอายุ ผู้พักฟื้นสุขภาพ คนพิการ ก็จะยิ่งได้รับความสะดวกและปลอดภัยเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกจึงเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ชานต่ำกันมากว่า 20-30 ปีแล้ว ผมเคยไปสำรวจและทดลองใช้บริการรถเมล์ในประเทศต่างๆ มาหลายครั้ง อย่างเช่นครั้งหนึ่งผมไปที่ เมืองเบิร์ชเทสการ์เดน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเยอรมนี มีแหล่งท่องเที่ยวบนภูเขาสูงกว่า 1,800 เมตร ชื่อ เคลสไตน์เฮ้าส์ หรือที่เรียกกันว่า รังอินทรีย์ (Eagle’s Nest) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำนาซียุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดอยู่บนภูเขาสูงชันขนาดนั้น แต่เขาก็ยังใช้รถเมล์ชานต่ำในการรับส่งนักท่องเที่ยว เพื่อให้ทุกคนโดยเฉพาะมนุษย์ล้อสามารถขึ้นไปเที่ยวชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขานั้นได้เสมอเหมือนคนธรรมดาทั่วไป การได้ไปเห็นและได้ใช้บริการรถเมล์ชานต่ำในหลายๆ ประเทศ ทำให้ผมรู้สึกได้ว่าในประเทศที่เจริญแล้วหรือพัฒนาแล้วเขาจะพยายามสร้างทำบริการสาธารณะพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ สะดวก ปลอดภัย สบายใจ โดยไม่รู้สึกแย่ หรือรู้สึกเป็นปัญหาอุปสรรค หรือเป็นปมด้อยกับสภาพร่างกายที่อาจไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือด้วยวัยที่แตกต่างกันแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เขาจะทำให้ทุกคนทุกวัย และทุกสภาพร่างกายมีสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีความรู้สึกมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ซึ่งเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การออกแบบบ้านเมืองและบริการสาธารณะพื้นฐานต่างๆ ให้เป็นอารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design คือให้เป็นมิตรกับคนทั้งมวล เพื่อให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกายเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ได้ไปเห็นแล้วก็ทำให้เราเกิดความรู้สึกและเข้าใจได้เลยว่าในสังคมหรือประเทศที่เจริญแล้วเขาจะพยายามสร้างทำอารยสถาปัตย์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยให้ได้มากที่สุด และเพื่อจะบอกกับเราว่าทำไมเขาถึงทำได้ ทำอย่างไรเขาถึงยิ่งใหญ่ได้ ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา เราก็มักจะได้ยินเหตุผลข้ออ้างต่างๆ นานาจากผู้ที่มีอำนาจ ก็เพื่อที่จะบอกกับประชาชนว่า ทำไมเราถึงทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ !! ข้อแตกต่างระหว่างประเทศด้อยพัฒนา กับพัฒนาแล้ว อยู่ตรงนี้นี่เองล่ะครับ (ภาพการ์ตูนรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้) (นายกฤษนะ ละไล นักข่าว พิธีกรถ่ายรูปคู่รถเมล์ชานต่ำที่ต่างประเทศ) (นายกฤษนะ ละไล ทดลองใช้บันไดชานต่ำของรถเมล์) ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150928/214156.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...