'พิการแต่กำเนิด' ป้องกันได้

แสดงความคิดเห็น

ลุงแท็กซี่ก๊าซหมดปีนไปโทรศัพท์ พลัดตกทางด่วนดับอนาถ

กรมการแพทย์แนะคู่สมรสวางแนวทางป้องกันลูกพิการแต่กำเนิดในวัยที่เหมาะสม เสริมโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

กรมการแพทย์แนะคู่สมรสวางแนวทางป้องกันลูกพิการแต่กำเนิดในวัยที่เหมาะสม เสริมโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 3 ของทารกเกิดมีชีพ จากข้อมูลการจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ปี 2558 โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทำการสำรวจ 49 โรงพยาบาลในพื้นที่ 41 จังหวัด จากจำนวนเด็กเกิดมีชีพ 171,401 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.27 ของเด็กแรกเกิดทั้งประเทศ พบเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด จำนวน 4,679 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.73 ซึ่งความผิดปกติที่พบบ่อย 5 อันดับแรกได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะแขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่

กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรืออาจเสียชีวิต ในระยะแรก ๆ หลังคลอด ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ บางครอบครัวไม่มีผู้ดูแล พ่อแม่ต้องหยุดทำงานเพื่อมาเลี้ยงลูกที่พิการ นับเป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

สำหรับแนวทางรักษาความพิการแต่กำเนิด ประกอบด้วย 1. การรักษาทางการแพทย์ เช่น การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ รักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 60 ของความพิการแต่กำเนิดสามารถให้การรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลรักษาแบบประคับประคอง

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า แนวทางป้องกันความพิการแต่กำเนิด สามารถทำได้โดย 1.การวางแผนครอบครัวที่ดี เช่น การค้นหาคู่สมรสที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย การมีบุตรในช่วงอายุมารดาที่เหมาะสมสามารถลดการเกิดโรคกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้ 2.การเสริมสารอาหารที่เหมาะสมในหญิงวัยเจริญพันธุ์และมารดาที่ตั้งครรภ์ เช่น การเสริมสารโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์สามารถลดการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ 3.หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ 4.ดูแลสุขภาพของมารดาที่มีโรคเรื้อรังทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดาที่เป็นโรคเบาหวาน โรคลมชักที่ต้องกินยากันชักระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิว (Isotretinoin) ขณะตั้งครรภ์ 5.การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เพื่อค้นหาเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดและรักษาก่อนที่จะมีความพิการตามมา

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750589 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: bangkokbiznews.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 เม.ย. 60
วันที่โพสต์: 20/04/2560 เวลา 09:55:40 ดูภาพสไลด์โชว์ 'พิการแต่กำเนิด' ป้องกันได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ลุงแท็กซี่ก๊าซหมดปีนไปโทรศัพท์ พลัดตกทางด่วนดับอนาถ กรมการแพทย์แนะคู่สมรสวางแนวทางป้องกันลูกพิการแต่กำเนิดในวัยที่เหมาะสม เสริมโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด กรมการแพทย์แนะคู่สมรสวางแนวทางป้องกันลูกพิการแต่กำเนิดในวัยที่เหมาะสม เสริมโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ความพิการแต่กำเนิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 3 ของทารกเกิดมีชีพ จากข้อมูลการจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ปี 2558 โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทำการสำรวจ 49 โรงพยาบาลในพื้นที่ 41 จังหวัด จากจำนวนเด็กเกิดมีชีพ 171,401 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.27 ของเด็กแรกเกิดทั้งประเทศ พบเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด จำนวน 4,679 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.73 ซึ่งความผิดปกติที่พบบ่อย 5 อันดับแรกได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะแขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด ตามลำดับ ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรืออาจเสียชีวิต ในระยะแรก ๆ หลังคลอด ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ บางครอบครัวไม่มีผู้ดูแล พ่อแม่ต้องหยุดทำงานเพื่อมาเลี้ยงลูกที่พิการ นับเป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก สำหรับแนวทางรักษาความพิการแต่กำเนิด ประกอบด้วย 1. การรักษาทางการแพทย์ เช่น การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ รักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 60 ของความพิการแต่กำเนิดสามารถให้การรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลรักษาแบบประคับประคอง นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า แนวทางป้องกันความพิการแต่กำเนิด สามารถทำได้โดย 1.การวางแผนครอบครัวที่ดี เช่น การค้นหาคู่สมรสที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย การมีบุตรในช่วงอายุมารดาที่เหมาะสมสามารถลดการเกิดโรคกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้ 2.การเสริมสารอาหารที่เหมาะสมในหญิงวัยเจริญพันธุ์และมารดาที่ตั้งครรภ์ เช่น การเสริมสารโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์สามารถลดการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ 3.หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ 4.ดูแลสุขภาพของมารดาที่มีโรคเรื้อรังทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดาที่เป็นโรคเบาหวาน โรคลมชักที่ต้องกินยากันชักระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิว (Isotretinoin) ขณะตั้งครรภ์ 5.การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เพื่อค้นหาเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดและรักษาก่อนที่จะมีความพิการตามมา ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750589

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...