แพทย์แนะแม่วัย 35 อัพตรวจ DNA ลูก ลดเสี่ยงพิการ

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์ เทวินทร์ เดชเทวพร ที่ปรึกษาทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ N Health

แพทย์ เตือนว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อ่อนๆวัย 35 อัพ ตรวจDNAอิสระของลูกเพื่อหาความเสี่ยงอาการพิการของทารกหรือไมโครดิลีทชั่นซินโดรมด้วยนวัตกรรม

นายแพทย์ เทวินทร์ เดชเทวพร ที่ปรึกษาทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ N Health เปิดเผยว่า จากข้อมูลวารสารทางการแพทย์เกี่ยวกับอุบัติการณ์ในวงการสูตินรีเวชปี 2559 พบว่า สถิติคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม ที่มีผลต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็กตามมาหลังจากคลอดแล้ว ซึ่งจากสถิติมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี

ปัจจุบันการตรวจด้วยวิธี NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) เป็นการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของทารกในครรภ์จากเลือดของคุณแม่ เพื่อคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยเฉพาะดาวน์ซินโดรม ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 99% เป็นการตรวจที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจหาภาวะความผิดปกติแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการไมโครดีลีทชั่นซินโดรม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ในทุกช่วงอายุ ปัจจุบัน N Health Laboratory Services ให้บริการในการตรวจคัดกรองก่อนคลอดโดยใช้วิธี NIPT ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรอง DNA อิสระของลูกเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดแม่ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายเทคนิค โดยการตรวจวิเคราะห์ทางด้านพันธุกรรมด้วยวิธีดังกล่าว ไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

หลักการตรวจวิเคราะห์ทั่วไปของ NIPT ในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น ดีเอ็นเอบางส่วนจากลูกน้อยจะเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ ดีเอ็นเหล่านี้ มีการจัดเรียงตัวเป็นสายยาวๆ เรียกว่า โครโมโซม ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของทารก การตรวจ NIPT จะทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของลูกที่อยู่ในเลือดของแม่ เพื่อหาภาวะความผิดปกติของโครโมโซมที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของลูก ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองระหว่างการตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อลูก เพียงแค่เก็บตัวอย่างเลือดจากแม่เท่านั้น แล้วจึงนำส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

ตามคำแนะนำของ ISPD (International Society for Prenatal Diagnosis) ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ NIPT คือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไปที่มีความกังวลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ หรือในรายที่มีประวัติคนในครอบครัวมีความผิดปกติของโครโมโซมมาก่อน หรือในรายที่มีความผิดปกติหลังจากการตรวจพบด้วยการอัลตราซาวด์ สามารถรับการตรวจ NIPT ได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ การตรวจ NIPT ยังสามารถตรวจคัดกรองเพิ่มเติมในกลุ่มไมโครดีลีทชั่นซินโดรมได้อีกด้วย ซึ่งกลุ่มอาการนี้เกิดจากการขาดหายไปของโครโมโซมขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หรืออัลตราซาวด์ ไม่ใช่ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองขณะปฏิสนธิ พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก โดยบางโรคในกลุ่มนี้ เช่น กลุ่มอาการดิจอร์จ จะมีความชุกอยู่ที่ประมาณ 1:2000-4000 ทั้งนี้ ทารกที่เกิดมาพร้อมกับกลุ่มไมโครดีลีทชั่นซินโดรม มักจะมีอาการบกพร่องทางสติปัญญา ความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย เช่น หัวใจและระบบอื่นๆในร่างกาย เด็กอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการ เป็นต้น

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/251033

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ธ.ค.59
วันที่โพสต์: 14/12/2559 เวลา 11:44:32 ดูภาพสไลด์โชว์ แพทย์แนะแม่วัย 35 อัพตรวจ DNA ลูก ลดเสี่ยงพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์ เทวินทร์ เดชเทวพร ที่ปรึกษาทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ N Health แพทย์ เตือนว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อ่อนๆวัย 35 อัพ ตรวจDNAอิสระของลูกเพื่อหาความเสี่ยงอาการพิการของทารกหรือไมโครดิลีทชั่นซินโดรมด้วยนวัตกรรม นายแพทย์ เทวินทร์ เดชเทวพร ที่ปรึกษาทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ N Health เปิดเผยว่า จากข้อมูลวารสารทางการแพทย์เกี่ยวกับอุบัติการณ์ในวงการสูตินรีเวชปี 2559 พบว่า สถิติคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม ที่มีผลต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็กตามมาหลังจากคลอดแล้ว ซึ่งจากสถิติมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันการตรวจด้วยวิธี NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) เป็นการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของทารกในครรภ์จากเลือดของคุณแม่ เพื่อคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยเฉพาะดาวน์ซินโดรม ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 99% เป็นการตรวจที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจหาภาวะความผิดปกติแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการไมโครดีลีทชั่นซินโดรม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ในทุกช่วงอายุ ปัจจุบัน N Health Laboratory Services ให้บริการในการตรวจคัดกรองก่อนคลอดโดยใช้วิธี NIPT ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรอง DNA อิสระของลูกเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดแม่ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายเทคนิค โดยการตรวจวิเคราะห์ทางด้านพันธุกรรมด้วยวิธีดังกล่าว ไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หลักการตรวจวิเคราะห์ทั่วไปของ NIPT ในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น ดีเอ็นเอบางส่วนจากลูกน้อยจะเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ ดีเอ็นเหล่านี้ มีการจัดเรียงตัวเป็นสายยาวๆ เรียกว่า โครโมโซม ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของทารก การตรวจ NIPT จะทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของลูกที่อยู่ในเลือดของแม่ เพื่อหาภาวะความผิดปกติของโครโมโซมที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของลูก ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองระหว่างการตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อลูก เพียงแค่เก็บตัวอย่างเลือดจากแม่เท่านั้น แล้วจึงนำส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ตามคำแนะนำของ ISPD (International Society for Prenatal Diagnosis) ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ NIPT คือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไปที่มีความกังวลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ หรือในรายที่มีประวัติคนในครอบครัวมีความผิดปกติของโครโมโซมมาก่อน หรือในรายที่มีความผิดปกติหลังจากการตรวจพบด้วยการอัลตราซาวด์ สามารถรับการตรวจ NIPT ได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การตรวจ NIPT ยังสามารถตรวจคัดกรองเพิ่มเติมในกลุ่มไมโครดีลีทชั่นซินโดรมได้อีกด้วย ซึ่งกลุ่มอาการนี้เกิดจากการขาดหายไปของโครโมโซมขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หรืออัลตราซาวด์ ไม่ใช่ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองขณะปฏิสนธิ พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก โดยบางโรคในกลุ่มนี้ เช่น กลุ่มอาการดิจอร์จ จะมีความชุกอยู่ที่ประมาณ 1:2000-4000 ทั้งนี้ ทารกที่เกิดมาพร้อมกับกลุ่มไมโครดีลีทชั่นซินโดรม มักจะมีอาการบกพร่องทางสติปัญญา ความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย เช่น หัวใจและระบบอื่นๆในร่างกาย เด็กอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการ เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/251033

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...