เตือนป่วยลมชักเสี่ยงพิการ-ตาย

แสดงความคิดเห็น

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย แถลงข่าววันสมองโลก ว่า โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั่วโลกพบผู้ป่วย 50 ล้านคน และทุกๆปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2.4 ล้านคน ซึ่งในผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นี้ประมาณ 3 ใน 4 จะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา ทั้งนี้โรคลมชักเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนคนทั่วไป โดยในประเทศที่มีรายได้ต่ำจะพบผู้เสียชีวิตมากกว่าคนปกติ 6 เท่า ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูงจะพบการเสียชีวิต 2 เท่า แต่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ด้าน รศ.พญ.นาราพร ประยูรวิวัฒน์ นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ และการรักษาต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้ก็ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้เครื่องจักร และรับผิดชอบต่อสังคมไม่ควรไปขับรถขณะที่ยังไม่ได้รับการรักษา

ขณะที่ ศ.นพ.อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์ นายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรักษาโรคลมชักทำได้ 2 วิธี คือ 1.การรักษาโดยให้ยารักษาอาการชัก และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกเพราะการชักแต่ละครั้ง เซลล์สมองจะสูญเสียหรือตาย และมีผลเสีย เช่น ความจำเสื่อม สมองเสื่อม สมองช้า และเกิดความพิการได้ และ 2.การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาโรคลมชักของไทยนั้น มีความสามารถในการรักษาได้ดีเทียบเท่าสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาก็จะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 10.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/513496

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย23ก.ค.58
วันที่โพสต์: 23/07/2558 เวลา 13:34:17 ดูภาพสไลด์โชว์ เตือนป่วยลมชักเสี่ยงพิการ-ตาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย แถลงข่าววันสมองโลก ว่า โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั่วโลกพบผู้ป่วย 50 ล้านคน และทุกๆปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2.4 ล้านคน ซึ่งในผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นี้ประมาณ 3 ใน 4 จะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา ทั้งนี้โรคลมชักเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนคนทั่วไป โดยในประเทศที่มีรายได้ต่ำจะพบผู้เสียชีวิตมากกว่าคนปกติ 6 เท่า ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูงจะพบการเสียชีวิต 2 เท่า แต่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้าน รศ.พญ.นาราพร ประยูรวิวัฒน์ นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ และการรักษาต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้ก็ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้เครื่องจักร และรับผิดชอบต่อสังคมไม่ควรไปขับรถขณะที่ยังไม่ได้รับการรักษา ขณะที่ ศ.นพ.อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์ นายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรักษาโรคลมชักทำได้ 2 วิธี คือ 1.การรักษาโดยให้ยารักษาอาการชัก และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกเพราะการชักแต่ละครั้ง เซลล์สมองจะสูญเสียหรือตาย และมีผลเสีย เช่น ความจำเสื่อม สมองเสื่อม สมองช้า และเกิดความพิการได้ และ 2.การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาโรคลมชักของไทยนั้น มีความสามารถในการรักษาได้ดีเทียบเท่าสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาก็จะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 10. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/513496

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...