เคมีทำลายสมอง
คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ : ฟิ ลิปเป แกรนด์จีน จากโรงเรียน การแพทย์ อิคาห์นแห่งเขาไซไน สำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยความกังวลว่า ปัจจุบันมีเด็กป่วยเป็นโรคทางระบบสมองมากขึ้น ทั้งโรคออติซึม โรคสมาธิสั้น (เอดีเอชดี) และโรคดิสเล็กเซียหรือมีความบกพร่องในการอ่าน ผลจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีความเชื่อมโยงกับสารเคมีที่ใช้มากขึ้นทั่วโลก โดยนอกจากสารเคมีอันตราย 5 ชนิดที่ระบุมีโทษต่อการพัฒนาระบบประสาท เมื่อปี 2549 คือสารตะกั่ว สารปรอท สารโพลีคลอริเนตไบฟีนิล สารหนู และโทลูอีนแล้ว ในปีนี้ยังมีสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งอันตรายต่อสมองของเด็ก เพิ่มขึ้นอีก 6 ชนิด ได้แก่ แมงกานีส ฟลูออไรด์ คลอร์ไพริฟอสหรือสารพิษที่ใช่ฆ่าแมลง ดีดีที เตตราคลอโรเอทิลีน และโปลีโบรมีเนทไดฟีนีลอีเทอร์
กลุ่มผู้วิจัยกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมจากการเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรมทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณการใช้สารเคมีทั้งทางตรงและทางอ้อมมีมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะทารก และเด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่มีประสิทธิภาพ สารเหล่านี้จึงค่อยๆ สะสมและทำลายระบบประสาทอย่างช้าๆ
ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdOREV3TURNMU53PT0= (ขนาดไฟล์: 167)
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แม่กำลังใช้ผ้าปิดจมูกให้ลูกชาย คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ : ฟิ ลิปเป แกรนด์จีน จากโรงเรียน การแพทย์ อิคาห์นแห่งเขาไซไน สำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยความกังวลว่า ปัจจุบันมีเด็กป่วยเป็นโรคทางระบบสมองมากขึ้น ทั้งโรคออติซึม โรคสมาธิสั้น (เอดีเอชดี) และโรคดิสเล็กเซียหรือมีความบกพร่องในการอ่าน ผลจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีความเชื่อมโยงกับสารเคมีที่ใช้มากขึ้นทั่วโลก โดยนอกจากสารเคมีอันตราย 5 ชนิดที่ระบุมีโทษต่อการพัฒนาระบบประสาท เมื่อปี 2549 คือสารตะกั่ว สารปรอท สารโพลีคลอริเนตไบฟีนิล สารหนู และโทลูอีนแล้ว ในปีนี้ยังมีสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งอันตรายต่อสมองของเด็ก เพิ่มขึ้นอีก 6 ชนิด ได้แก่ แมงกานีส ฟลูออไรด์ คลอร์ไพริฟอสหรือสารพิษที่ใช่ฆ่าแมลง ดีดีที เตตราคลอโรเอทิลีน และโปลีโบรมีเนทไดฟีนีลอีเทอร์ กลุ่มผู้วิจัยกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมจากการเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรมทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณการใช้สารเคมีทั้งทางตรงและทางอ้อมมีมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะทารก และเด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่มีประสิทธิภาพ สารเหล่านี้จึงค่อยๆ สะสมและทำลายระบบประสาทอย่างช้าๆ ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdOREV3TURNMU53PT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)