คนไทยป่วยทางจิตเพิ่ม ปัญหาจากเหล้าถึง 9.3 ล้านราย
สธ. เผยคนไทยป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น ผลสำรวจพบปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้สุรามากสุด 9.3 ล้านคน วิตกกังวล 1.6 ล้านคน ขณะที่การเข้าถึงรับการรักษาอยู่ที่ 1.5 ล้านราย บางส่วนยังอาย ไม่กล้าพบจิตแพทย์ เหตุถูกตีตราบ้าเร่งส่งทีมหมอครอบครัวดูแล
เมื่อวันที่ (15 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการเปิดประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12 ประจำปี 2558 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์” ว่า ปัญหาสุขภาพจิตในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนเจ็บป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น แต่ละปีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคจิต มีบางส่วนไม่ไปรับบริการ เพราะอายที่ต้องพบจิตแพทย์ อีกทั้งสังคมยังมีอคติต่อผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ขาดความรู้ความเข้าใจว่าสามารถรักษาหายได้ สธ. ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ ได้ผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ เน้นเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา อยู่ร่วมบ้าน ร่วมชุมชน และสังคมได้อย่างปลอดภัย โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โรงพยาบาลเปิดหอผู้ป่วยจิตเวช หรือเตียงฉุกเฉินผู้ป่วยจิตเวช และยาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 67 จากเดิมร้อยละ 58 ผู้ป่วยจิตเวชรับยารักษาต่อเนื่องได้ที่คลินิกจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าถึงบริการรักษาร้อยละ 42 โรคซึมเศร้าร้อยละ 38 และผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ได้รับการรักษาและไม่กลับไปติดซ้ำร้อยละ80
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า จากนโยบายทีมหมอครอบครัว ซึ่งจะเพิ่มเป็น 60,000 ทีม ในปลายปีนี้ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ จะมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตครัวเรือนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เสมือนเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติของครอบครัว ที่สำคัญคือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่ามีที่พึ่งยามเจ็บป่วย ซึ่งจะทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันเยี่ยมให้กำลังใจ รักษาพยาบาลทั้งสุขภาพกายและใจ รวมทั้งจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีกำลังใจ เห็นคุณค่าในตนเอง และกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณค่า มั่นใจว่า จะทำให้ผู้ป่วยทุกราย ทุกครอบครัว ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงกินยาต่อเนื่องผลสำเร็จการรักษาสูงขึ้นประชาชนทุกคนมั่นใจความปลอดภัย
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในการประชุมมีการนำเสนอผลการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติที่จะทำการสำรวจทุก 5 ปี เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับโรคจิตเวชของคนไทย ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลอย่างน้อย 3 เดือน โดยผลล่าสุดเมื่อปี 2556 ที่ทำการเก็บข้อมูลระหว่าง ก.ค.- ก.ย. จำนวน 6,360 คน พบความชุกของโรคซึมเศร้าในตลอดช่วงชีวิต ร้อยละ 1.8 หรือ 0.9 ล้านคน ปัญหาการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 3.5 หรือ 1.8 ล้านคน กลุ่มโรควิตกกังวล ร้อยละ 3.1 หรือ 1.6 ล้านคน ปัญหาจากการใช้สุรา ร้อยละ 18.0 หรือ 9.3 ล้านคน ปัญหาจากการใช้สารเสพติด ร้อยละ 4.1 หรือ 2.1 ล้านคน อาการทางจิตหลงผิด ร้อยละ 0.9 หรือ 0.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบภาวะติดบุหรี่ ร้อยละ 14.9 หรือ 7.7 ล้านคน และ ภาวะติดการพนัน ร้อยละ 0.9 หรือ 0.46 ล้านคน
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000067714 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สธ. เผยคนไทยป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น ผลสำรวจพบปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้สุรามากสุด 9.3 ล้านคน วิตกกังวล 1.6 ล้านคน ขณะที่การเข้าถึงรับการรักษาอยู่ที่ 1.5 ล้านราย บางส่วนยังอาย ไม่กล้าพบจิตแพทย์ เหตุถูกตีตราบ้าเร่งส่งทีมหมอครอบครัวดูแล เมื่อวันที่ (15 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการเปิดประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12 ประจำปี 2558 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์” ว่า ปัญหาสุขภาพจิตในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนเจ็บป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น แต่ละปีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคจิต มีบางส่วนไม่ไปรับบริการ เพราะอายที่ต้องพบจิตแพทย์ อีกทั้งสังคมยังมีอคติต่อผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ขาดความรู้ความเข้าใจว่าสามารถรักษาหายได้ สธ. ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ ได้ผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ เน้นเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา อยู่ร่วมบ้าน ร่วมชุมชน และสังคมได้อย่างปลอดภัย โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โรงพยาบาลเปิดหอผู้ป่วยจิตเวช หรือเตียงฉุกเฉินผู้ป่วยจิตเวช และยาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 67 จากเดิมร้อยละ 58 ผู้ป่วยจิตเวชรับยารักษาต่อเนื่องได้ที่คลินิกจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าถึงบริการรักษาร้อยละ 42 โรคซึมเศร้าร้อยละ 38 และผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ได้รับการรักษาและไม่กลับไปติดซ้ำร้อยละ80 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า จากนโยบายทีมหมอครอบครัว ซึ่งจะเพิ่มเป็น 60,000 ทีม ในปลายปีนี้ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ จะมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตครัวเรือนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เสมือนเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติของครอบครัว ที่สำคัญคือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่ามีที่พึ่งยามเจ็บป่วย ซึ่งจะทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันเยี่ยมให้กำลังใจ รักษาพยาบาลทั้งสุขภาพกายและใจ รวมทั้งจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีกำลังใจ เห็นคุณค่าในตนเอง และกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณค่า มั่นใจว่า จะทำให้ผู้ป่วยทุกราย ทุกครอบครัว ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงกินยาต่อเนื่องผลสำเร็จการรักษาสูงขึ้นประชาชนทุกคนมั่นใจความปลอดภัย ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในการประชุมมีการนำเสนอผลการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติที่จะทำการสำรวจทุก 5 ปี เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับโรคจิตเวชของคนไทย ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลอย่างน้อย 3 เดือน โดยผลล่าสุดเมื่อปี 2556 ที่ทำการเก็บข้อมูลระหว่าง ก.ค.- ก.ย. จำนวน 6,360 คน พบความชุกของโรคซึมเศร้าในตลอดช่วงชีวิต ร้อยละ 1.8 หรือ 0.9 ล้านคน ปัญหาการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 3.5 หรือ 1.8 ล้านคน กลุ่มโรควิตกกังวล ร้อยละ 3.1 หรือ 1.6 ล้านคน ปัญหาจากการใช้สุรา ร้อยละ 18.0 หรือ 9.3 ล้านคน ปัญหาจากการใช้สารเสพติด ร้อยละ 4.1 หรือ 2.1 ล้านคน อาการทางจิตหลงผิด ร้อยละ 0.9 หรือ 0.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบภาวะติดบุหรี่ ร้อยละ 14.9 หรือ 7.7 ล้านคน และ ภาวะติดการพนัน ร้อยละ 0.9 หรือ 0.46 ล้านคน ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000067714
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)