หมอเตือนระวังโรคเครียดการเมือง
หมอจิตเวชเตือนติดตามข่าวการเมืองระวังเจอโรคเครียดแนะดูแลสุขภาพหากิจกรรมอื่นทำแทนบ้าง
นพ.จุมภฏ พรมสีดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวถึงความเครียดจากสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน อาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเกิดปัญหาความเครียดจากการเมือง หรือเรียกว่า โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม (Political Stress Syndrome ) ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มีความเครียด ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจคนใกล้ชิด และจะหมกมุ่นอยู่กับข่าวสารที่สนใจ
ดังนั้นจึงคิดว่าการติดตามข่าวสารนั้นเป็นเรื่องที่ดี และการแสดงออกก็ถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลแต่ก็จะต้องดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วย อีกทั้งให้ตระหนักว่ายังคงมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและพยายามที่จะดึงตัว เองออกมาจากข่าวสารที่ตนเองสนใจให้ลดน้อยลง
จากการลงสำรวจของกรมสุขภาพจิตในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรค เครียด ล่าสุด ทางกรมสุขภาพจิตในแบ่งประชาชนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในผู้ชุมนุม และกลุ่มที่ติดตามข่าวสารของบ้านเมือง พบว่า กลุ่มที่อยู่ภายในผู้ชุมนุมนั้นจะไม่ค่อยมีใครที่เข้าข่ายป่วยเป็นโรคเครียด เนื่องจากได้เจอประชาชนเป็นจำนวนมาก และพูดจาที่มีความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้เข้าใจกันและ กัน
อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่เป็นผู้ที่บริโภคข่าวสารของบ้านเมืองก็พบว่ามีความเครียดที่เพิ่มขึ้น เนื่องเป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นไปทิศทางไหนและจะออกมาตามที่ต้องการ หรือไม่ แต่โรคเครียดนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำการรักษากับแพทย์โดยในทันทีเพราะประชาชนที่รู้สึกว่าเริ่มจะเข้าสู่ภาวะเครียดก็สามารถที่จะหา กิจกรรมอย่างอื่นมาทำเพื่อทดแทนในการนั่งบริโภคข่าวสารเพียงอย่างเดียว
สำหรับสถิติของผู้ป่วยนอกที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์ นั้นไม่มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากเดิน ซึ่งหากเทียบผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อเดือนกันยายน 2556 มีผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารักษาตัวทั้งสิ้น 236 ราย แต่หากเทียบจากเดือนก.ย. ของปีที่ผ่านมา 2555 พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 49 ราย จากทั้งหมด 188 ราย แต่ผู้ป่วยใหม่ที่เดินทางมารักษานั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนแต่สิ่งที่เป็นห่วงมากท่าสุดนั้นก็คือ ความเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองและผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
"หากประชาชนที่เริ่มเกิดภาวะเครียดและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานจนเกิดการความเครียดสะสม ซึ่งหากสะสมเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้รับการรักษา ก็อาจจะเกิดภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังกล แต่หากผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชอยู่แล้วก็ยิ่งจะทำให้อาการเกิดกำเริบและ ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องหากยังได้การรักษา" นพ.จุมภฏ กล่าว
ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/สังคม/สาธารณสุข/261282/หมอเตือนระวังโรคเครียดการเมือง (ขนาดไฟล์: 167)
( โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ประชาชนเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล หมอจิตเวชเตือนติดตามข่าวการเมืองระวังเจอโรคเครียดแนะดูแลสุขภาพหากิจกรรมอื่นทำแทนบ้าง นพ.จุมภฏ พรมสีดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวถึงความเครียดจากสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน อาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเกิดปัญหาความเครียดจากการเมือง หรือเรียกว่า โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม (Political Stress Syndrome ) ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มีความเครียด ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจคนใกล้ชิด และจะหมกมุ่นอยู่กับข่าวสารที่สนใจ ดังนั้นจึงคิดว่าการติดตามข่าวสารนั้นเป็นเรื่องที่ดี และการแสดงออกก็ถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลแต่ก็จะต้องดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วย อีกทั้งให้ตระหนักว่ายังคงมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและพยายามที่จะดึงตัว เองออกมาจากข่าวสารที่ตนเองสนใจให้ลดน้อยลง จากการลงสำรวจของกรมสุขภาพจิตในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรค เครียด ล่าสุด ทางกรมสุขภาพจิตในแบ่งประชาชนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในผู้ชุมนุม และกลุ่มที่ติดตามข่าวสารของบ้านเมือง พบว่า กลุ่มที่อยู่ภายในผู้ชุมนุมนั้นจะไม่ค่อยมีใครที่เข้าข่ายป่วยเป็นโรคเครียด เนื่องจากได้เจอประชาชนเป็นจำนวนมาก และพูดจาที่มีความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้เข้าใจกันและ กัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่เป็นผู้ที่บริโภคข่าวสารของบ้านเมืองก็พบว่ามีความเครียดที่เพิ่มขึ้น เนื่องเป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นไปทิศทางไหนและจะออกมาตามที่ต้องการ หรือไม่ แต่โรคเครียดนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำการรักษากับแพทย์โดยในทันทีเพราะประชาชนที่รู้สึกว่าเริ่มจะเข้าสู่ภาวะเครียดก็สามารถที่จะหา กิจกรรมอย่างอื่นมาทำเพื่อทดแทนในการนั่งบริโภคข่าวสารเพียงอย่างเดียว สำหรับสถิติของผู้ป่วยนอกที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์ นั้นไม่มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากเดิน ซึ่งหากเทียบผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อเดือนกันยายน 2556 มีผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารักษาตัวทั้งสิ้น 236 ราย แต่หากเทียบจากเดือนก.ย. ของปีที่ผ่านมา 2555 พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 49 ราย จากทั้งหมด 188 ราย แต่ผู้ป่วยใหม่ที่เดินทางมารักษานั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนแต่สิ่งที่เป็นห่วงมากท่าสุดนั้นก็คือ ความเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองและผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน "หากประชาชนที่เริ่มเกิดภาวะเครียดและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานจนเกิดการความเครียดสะสม ซึ่งหากสะสมเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้รับการรักษา ก็อาจจะเกิดภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังกล แต่หากผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชอยู่แล้วก็ยิ่งจะทำให้อาการเกิดกำเริบและ ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องหากยังได้การรักษา" นพ.จุมภฏ กล่าว ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/สังคม/สาธารณสุข/261282/หมอเตือนระวังโรคเครียดการเมือง ( โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)