การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ
การติดสารเสพติดถือเป็นโรคร้ายแรงอย่างหนึ่ง มีปัจจัยหรือสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่นอนเป็นโรคร้ายแรง รักษาให้หายขาดได้ยาก มักจะติดซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลกระทบกระเทือนต่อร่างกาย ต่อชีวิตและครอบครัว ส่งผลต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกัน เพื่อมิให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติด
การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่สามารถวิจัยและพิสูจน์ว่าได้ผล เสมอโดยทั่วไปแบ่งการป้องกันออกมาเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.การป้องกันด่านแรก (primary prevention) ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคคือป้องกันไม่ให้ทดลองใช้ยานั่นเอง 2.การป้องกันด่านที่ 2 (secondary prevention) ป้องกันไม่ให้มีการใช้ยาต่อไป ในกรณีที่มีการลองยาเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง จิตใจ และทางสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่โรคติดสารเสพติดในที่สุด และ 3.การป้องกันด่านสุดท้าย (tertiary prevention) ป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง โดยป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายต่อชีวิต จิตใจ และสังคม ทำได้โดยการให้การบำบัดเสียแต่เนิ่น ๆ การป้องกันจะต้องทำครบทั้ง 3 อย่าง จึงจะสามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้ และจำนวนผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ติดยาเสพติดก่อนอายุ 16 ปี จึงควรป้องกันในระดับเยาวชนเป็นสำคัญ
สาเหตุของการติดยาเสพติด - อธิบายได้ด้วยทฤษฎี “ชีวะจิตตะสังคม” (bio-psycho-social model of addiction) ได้แก่ 1. ตัวบุคคล ได้แก่ ความเปราะบาง (vulnerability) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะติดยา หรือเป็นความฉับไวทางพันธุกรรมต่อการติดยา แต่เราสามารถสร้างปัจจัยทางบวกเพื่อให้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ลดน้อยหรือหายไป และเรายังสามารถที่จะลดปัจจัยทางลบเพื่อลดอิทธิพลของพันธุกรรมได้อีกด้วย ถึงแม้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมสูง แต่ถ้าไม่ทดลองยาเสพติดก็ไม่มีโอกาสติดยา 2. สารที่เป็นยาเสพติดนั้น จะต้องเข้าไปออกฤทธิ์ที่สมองบางส่วน ทำให้มีการหลั่งสารเคมีบางอย่างออกมามาก มาย สารเคมีเหล่านี้ทำให้มีความสุข ลดความรู้สึกทุกข์ได้ เมื่อใช้ยาบ่อย ๆ สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จะต้องพึ่งยาเสพติดเท่านั้น จึงจะอยู่ได้ สารบางอย่างจะออกฤทธิ์แรง จึงทำให้ติดง่าย แม้จะไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม หากใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ เข้า สมองจะเปลี่ยนสภาพไป ทำให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติดได้เช่นกัน การป้องกันต้องเน้นการสร้างทักษะในการแสวงหาความสุขและลดความทุกข์โดยไม่ใช้ ยาเสพติด และ 3.สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการติด 25% รวมทั้งการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นการสร้างปัจจัยทางบวก และลดปัจจัยทางลบต่อการติดยา สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวชักนำให้ “ตัวบุคคล” มาพบกับ “ตัวสาร” คือทำให้เกิดการลองยา และ สิ่งแวดล้อมยังเป็นตัวเกื้อหนุนให้มีการใช้ยาต่อไป
การป้องกันจึงต้องเข้าใจและการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมจึงจะได้ผลนอก จากนี้ ยังมีเทคนิค “10 สร้าง” หัวใจของการเลี้ยงลูกให้พ้นภัยยาเสพ คือ การสร้าง “สิบสร้างทรงพลัง” ซึ่งนำไปปฏิบัติได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน เรียนรู้และฝึกหัดกันได้ไม่ยากนัก 3 สร้างแรกในบทนี้ ได้แก่ สร้างที่หนึ่ง คือ “สร้างเวลาที่มีคุณภาพ” สภาวะสังคมปัจจุบันแม้ว่าจะบีบรัดทุกคนรีบร้อน เวลาหายากต่างคนต่างไปตั้งแต่เช้ามืดจวบเย็นค่ำ แทบไม่เห็นหน้ากัน แต่การให้เวลาซึ่งกันและกันในครอบครัวไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ขอให้เป็นเวลาที่มีความหมาย คือใช้เวลาทุกนาทีให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์ เป็น “เวลาคุณภาพ” มีเวลาให้กันวันละนิด จิตแจ่มใสถ้วนทั่วในครัวเรือน สร้างที่สอง คือ “สร้างการสื่อสารที่มีคุณภาพ” ในสังคมปัจจุบันนี้ ช่องว่างระหว่างรุ่นมีมากเหลือเกิน พ่อแม่จะใช้สิทธิที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” สั่งสอนหรืออบรมลูกวัยรุ่นให้ “เห็นดี เห็นชอบ” โดยไม่คำนึงถึงสังคมของลูก คงไม่ได้ผลดีนัก บ่อยครั้งที่ลูกรักจะมีปฏิกิริยาโต้กลับแบบ “ต่อหน้ารับฟัง ลับหลังดื้อรัน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างระบบการสื่อสารแบบไปกลับสองทาง รู้จักพูด รู้จักฟัง รู้จักออกความเห็น รู้จักวิจารณ์ รู้จักชม รู้จักตำหนิ รู้จักรับรู้ในความรู้สึกของผู้อื่น เรียกว่าฝึกลูกและตนเองให้ “พูดกันรู้เรื่อง” หันมาฟังลูกและรับรู้ในความรู้สึกและความนึกคิดของลูกได้ จะดียิ่ง สร้างที่สาม คือ “สร้างการรู้คุณค่าของตัวเอง” มีผู้วิจัยพบว่าเด็กที่มีมุมมองในแง่ดีต่อตนเอง รู้แจ้งเห็นจริงในจิตสำนึกว่า “ของ ดีตนมีอยู่” ไม่โอ้อวดแต่มีศักดิ์ศรี มีโอกาสติดยาเสพติดน้อยมาก สิ่งดีเหล่านี้ได้มาจากการฝึกให้มองตนเอง มองพ่อแม่ พี่น้อง มองผู้อื่น และมองโลกในแง่ดี จึงควรฝึกลูกให้นึกถึงแต่สิ่งดีงามประจำตัว วันละข้อสองข้อจนติดเป็นนิสัย ฝึกให้รู้จักชมสมาชิกในครอบครัววันละอย่างสองอย่าง ฝึกให้รู้จักมองเห็นข้อดีของคนอื่น ฝึกให้รู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ประจบสอพลอ “คิดดี” ต่อตัวเองเท่าไร ย่อมไม่ลองยาเสพติดเท่านั้น ให้ส่งจิตสู่ใจด้วยไมตรีเป็นนิจศีล…โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/228292 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การป้องกันการติดสารเสพติด และสิบ ‘สร้าง’ ปราการของครอบครัวให้พ้นภัยสารเสพติด ตอน 1 – ชีวิตและสุขภาพ การติดสารเสพติดถือเป็นโรคร้ายแรงอย่างหนึ่ง มีปัจจัยหรือสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่นอนเป็นโรคร้ายแรง รักษาให้หายขาดได้ยาก มักจะติดซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลกระทบกระเทือนต่อร่างกาย ต่อชีวิตและครอบครัว ส่งผลต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกัน เพื่อมิให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติด การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่สามารถวิจัยและพิสูจน์ว่าได้ผล เสมอโดยทั่วไปแบ่งการป้องกันออกมาเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.การป้องกันด่านแรก (primary prevention) ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคคือป้องกันไม่ให้ทดลองใช้ยานั่นเอง 2.การป้องกันด่านที่ 2 (secondary prevention) ป้องกันไม่ให้มีการใช้ยาต่อไป ในกรณีที่มีการลองยาเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง จิตใจ และทางสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่โรคติดสารเสพติดในที่สุด และ 3.การป้องกันด่านสุดท้าย (tertiary prevention) ป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง โดยป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายต่อชีวิต จิตใจ และสังคม ทำได้โดยการให้การบำบัดเสียแต่เนิ่น ๆ การป้องกันจะต้องทำครบทั้ง 3 อย่าง จึงจะสามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้ และจำนวนผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ติดยาเสพติดก่อนอายุ 16 ปี จึงควรป้องกันในระดับเยาวชนเป็นสำคัญ สาเหตุของการติดยาเสพติด - อธิบายได้ด้วยทฤษฎี “ชีวะจิตตะสังคม” (bio-psycho-social model of addiction) ได้แก่ 1. ตัวบุคคล ได้แก่ ความเปราะบาง (vulnerability) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะติดยา หรือเป็นความฉับไวทางพันธุกรรมต่อการติดยา แต่เราสามารถสร้างปัจจัยทางบวกเพื่อให้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ลดน้อยหรือหายไป และเรายังสามารถที่จะลดปัจจัยทางลบเพื่อลดอิทธิพลของพันธุกรรมได้อีกด้วย ถึงแม้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมสูง แต่ถ้าไม่ทดลองยาเสพติดก็ไม่มีโอกาสติดยา 2. สารที่เป็นยาเสพติดนั้น จะต้องเข้าไปออกฤทธิ์ที่สมองบางส่วน ทำให้มีการหลั่งสารเคมีบางอย่างออกมามาก มาย สารเคมีเหล่านี้ทำให้มีความสุข ลดความรู้สึกทุกข์ได้ เมื่อใช้ยาบ่อย ๆ สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จะต้องพึ่งยาเสพติดเท่านั้น จึงจะอยู่ได้ สารบางอย่างจะออกฤทธิ์แรง จึงทำให้ติดง่าย แม้จะไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม หากใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ เข้า สมองจะเปลี่ยนสภาพไป ทำให้ป่วยเป็นโรคติดยาเสพติดได้เช่นกัน การป้องกันต้องเน้นการสร้างทักษะในการแสวงหาความสุขและลดความทุกข์โดยไม่ใช้ ยาเสพติด และ 3.สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการติด 25% รวมทั้งการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นการสร้างปัจจัยทางบวก และลดปัจจัยทางลบต่อการติดยา สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวชักนำให้ “ตัวบุคคล” มาพบกับ “ตัวสาร” คือทำให้เกิดการลองยา และ สิ่งแวดล้อมยังเป็นตัวเกื้อหนุนให้มีการใช้ยาต่อไป การป้องกันจึงต้องเข้าใจและการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมจึงจะได้ผลนอก จากนี้ ยังมีเทคนิค “10 สร้าง” หัวใจของการเลี้ยงลูกให้พ้นภัยยาเสพ คือ การสร้าง “สิบสร้างทรงพลัง” ซึ่งนำไปปฏิบัติได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน เรียนรู้และฝึกหัดกันได้ไม่ยากนัก 3 สร้างแรกในบทนี้ ได้แก่ สร้างที่หนึ่ง คือ “สร้างเวลาที่มีคุณภาพ” สภาวะสังคมปัจจุบันแม้ว่าจะบีบรัดทุกคนรีบร้อน เวลาหายากต่างคนต่างไปตั้งแต่เช้ามืดจวบเย็นค่ำ แทบไม่เห็นหน้ากัน แต่การให้เวลาซึ่งกันและกันในครอบครัวไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ขอให้เป็นเวลาที่มีความหมาย คือใช้เวลาทุกนาทีให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์ เป็น “เวลาคุณภาพ” มีเวลาให้กันวันละนิด จิตแจ่มใสถ้วนทั่วในครัวเรือน สร้างที่สอง คือ “สร้างการสื่อสารที่มีคุณภาพ” ในสังคมปัจจุบันนี้ ช่องว่างระหว่างรุ่นมีมากเหลือเกิน พ่อแม่จะใช้สิทธิที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” สั่งสอนหรืออบรมลูกวัยรุ่นให้ “เห็นดี เห็นชอบ” โดยไม่คำนึงถึงสังคมของลูก คงไม่ได้ผลดีนัก บ่อยครั้งที่ลูกรักจะมีปฏิกิริยาโต้กลับแบบ “ต่อหน้ารับฟัง ลับหลังดื้อรัน” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างระบบการสื่อสารแบบไปกลับสองทาง รู้จักพูด รู้จักฟัง รู้จักออกความเห็น รู้จักวิจารณ์ รู้จักชม รู้จักตำหนิ รู้จักรับรู้ในความรู้สึกของผู้อื่น เรียกว่าฝึกลูกและตนเองให้ “พูดกันรู้เรื่อง” หันมาฟังลูกและรับรู้ในความรู้สึกและความนึกคิดของลูกได้ จะดียิ่ง สร้างที่สาม คือ “สร้างการรู้คุณค่าของตัวเอง” มีผู้วิจัยพบว่าเด็กที่มีมุมมองในแง่ดีต่อตนเอง รู้แจ้งเห็นจริงในจิตสำนึกว่า “ของ ดีตนมีอยู่” ไม่โอ้อวดแต่มีศักดิ์ศรี มีโอกาสติดยาเสพติดน้อยมาก สิ่งดีเหล่านี้ได้มาจากการฝึกให้มองตนเอง มองพ่อแม่ พี่น้อง มองผู้อื่น และมองโลกในแง่ดี จึงควรฝึกลูกให้นึกถึงแต่สิ่งดีงามประจำตัว วันละข้อสองข้อจนติดเป็นนิสัย ฝึกให้รู้จักชมสมาชิกในครอบครัววันละอย่างสองอย่าง ฝึกให้รู้จักมองเห็นข้อดีของคนอื่น ฝึกให้รู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ประจบสอพลอ “คิดดี” ต่อตัวเองเท่าไร ย่อมไม่ลองยาเสพติดเท่านั้น ให้ส่งจิตสู่ใจด้วยไมตรีเป็นนิจศีล…โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/228292 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)