โรคปอดติดเชื้อ IPD ภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อย

แสดงความคิดเห็น

นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ

โรคไอพีดี หรือ IPD (Invasive Pneumococcal Disease) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งหมดล้วนเป็นภาวะที่รุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละมากกว่า 2 ล้านคน คิดเฉลี่ยแล้วเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน ทุก 20 วินาที โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว 12-15 เท่า สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราการป่วยของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่เป็นโรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วหลังจากเริ่มป่วย เด็กที่รอดชีวิตอาจจะมีภาวะแทรกซ้อน หากมิได้รักษาทันท่วงที ทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาจก่อให้เกิดความพิการขึ้นได้ นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของเด็กที่ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไอพีดี มีโอกาสเสียชีวิตได้

สาเหตุของการเจ็บป่วย “โรคปอดอักเสบในเด็ก” ว่าส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่ปอดอักเสบที่รุนแรงมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อก่อโรคไอพีดี เด็กติดเชื้อได้ทั้งจากการสูดหรือสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอ หรือ โพรงจมูกเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลมปอด หรือจากเชื้อแพร่กระจายทางกระแสเลือด หลังจากนั้นเชื้อมีการแบ่งตัว ทำลายเนื้อปอด เกิดโรคปอดอักเสบ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เสียสมดุล ทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

โรคติดเชื้อไอพีดีที่มีอาการรุนแรง คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจึงควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน ดีกว่าการเป็นแล้วมารักษา เพราะเชื้อไอพีดีมีโอกาสที่จะดื้อยาสูง ซึ่งถ้ารับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจจะคร่าชีวิตลูกน้อยได้ภายในสองวัน อาการของโรคที่แสดงออกมานั้นจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค เด็กที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กจำนวนมาก มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอดร่วมด้วย

เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้าง การติดเชื้อไอพีดีชนิดรุนแรง ลุกลาม และแพร่กระจายได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเฉพาะปอดอักเสบ สาเหตุที่ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตนั้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ทราบว่าลูกติดเชื้อไอพีดี เพราะเชื้อชนิดนี้แสดงออกมาเหมือนโรคติดเชื้อทั่วไป พ่อแม่อาจจะมองว่าลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงปล่อยปละละเลย หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รีบรักษาจะทำให้เด็กเสียชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ว หรือเกิดภาวะพิการ ปัญญาอ่อนได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีแนวทางในการรักษาโรคนี้

แต่การรักษานั้นควรดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะเชื้อโรคมีโอกาสที่จะดื้อยาสูง ทางที่ดีควรได้รับการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ซึ่งควรฉีดตั้งแต่ยังเล็กโดยช่วงระยะการรับวัคซีนนั้น จะแบ่งช่วงระยะในการรับวัคซีนตามอายุของเด็ก สำหรับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน 1 ครั้ง ในบางรายที่ภูมิต้านทานหลังฉีดลดลง แพทย์อาจพิจารณาฉีดซ้ำหลังจากการฉีดครั้งแรก

ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคติดเชื้อไอพีดีที่จะเกิดขึ้นในภายหลังและอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อลดลง อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อพาหะในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก ทำให้ลดการแพร่กระจายเชื้อ นับว่าเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางอ้อมสู่คนกลุ่มอื่นอีกด้วย แนวทางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กที่สามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพดี ได้แก่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดีโดยการล้างมือบ่อยๆ ปิดปากจมูกทุกครั้งที่มีอาการจามหรือไอ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสัมผัสผู้ป่วย หรือสถานที่มีเด็กจำนวนมาก เช่น สถานเลี้ยงเด็ก : นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150428/205356.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 เม.ย.58
วันที่โพสต์: 30/04/2558 เวลา 11:55:43 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคปอดติดเชื้อ IPD ภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ โรคไอพีดี หรือ IPD (Invasive Pneumococcal Disease) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งหมดล้วนเป็นภาวะที่รุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละมากกว่า 2 ล้านคน คิดเฉลี่ยแล้วเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน ทุก 20 วินาที โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว 12-15 เท่า สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราการป่วยของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่เป็นโรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วหลังจากเริ่มป่วย เด็กที่รอดชีวิตอาจจะมีภาวะแทรกซ้อน หากมิได้รักษาทันท่วงที ทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาจก่อให้เกิดความพิการขึ้นได้ นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของเด็กที่ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไอพีดี มีโอกาสเสียชีวิตได้ สาเหตุของการเจ็บป่วย “โรคปอดอักเสบในเด็ก” ว่าส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่ปอดอักเสบที่รุนแรงมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อก่อโรคไอพีดี เด็กติดเชื้อได้ทั้งจากการสูดหรือสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอ หรือ โพรงจมูกเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลมปอด หรือจากเชื้อแพร่กระจายทางกระแสเลือด หลังจากนั้นเชื้อมีการแบ่งตัว ทำลายเนื้อปอด เกิดโรคปอดอักเสบ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เสียสมดุล ทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้ โรคติดเชื้อไอพีดีที่มีอาการรุนแรง คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจึงควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน ดีกว่าการเป็นแล้วมารักษา เพราะเชื้อไอพีดีมีโอกาสที่จะดื้อยาสูง ซึ่งถ้ารับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจจะคร่าชีวิตลูกน้อยได้ภายในสองวัน อาการของโรคที่แสดงออกมานั้นจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค เด็กที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กจำนวนมาก มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอดร่วมด้วย เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้าง การติดเชื้อไอพีดีชนิดรุนแรง ลุกลาม และแพร่กระจายได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเฉพาะปอดอักเสบ สาเหตุที่ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตนั้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ทราบว่าลูกติดเชื้อไอพีดี เพราะเชื้อชนิดนี้แสดงออกมาเหมือนโรคติดเชื้อทั่วไป พ่อแม่อาจจะมองว่าลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงปล่อยปละละเลย หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รีบรักษาจะทำให้เด็กเสียชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ว หรือเกิดภาวะพิการ ปัญญาอ่อนได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีแนวทางในการรักษาโรคนี้ แต่การรักษานั้นควรดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะเชื้อโรคมีโอกาสที่จะดื้อยาสูง ทางที่ดีควรได้รับการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ซึ่งควรฉีดตั้งแต่ยังเล็กโดยช่วงระยะการรับวัคซีนนั้น จะแบ่งช่วงระยะในการรับวัคซีนตามอายุของเด็ก สำหรับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน 1 ครั้ง ในบางรายที่ภูมิต้านทานหลังฉีดลดลง แพทย์อาจพิจารณาฉีดซ้ำหลังจากการฉีดครั้งแรก ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคติดเชื้อไอพีดีที่จะเกิดขึ้นในภายหลังและอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อลดลง อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อพาหะในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก ทำให้ลดการแพร่กระจายเชื้อ นับว่าเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางอ้อมสู่คนกลุ่มอื่นอีกด้วย แนวทางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กที่สามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพดี ได้แก่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดีโดยการล้างมือบ่อยๆ ปิดปากจมูกทุกครั้งที่มีอาการจามหรือไอ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสัมผัสผู้ป่วย หรือสถานที่มีเด็กจำนวนมาก เช่น สถานเลี้ยงเด็ก : นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150428/205356.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...