เสียงดังกับสุขภาพ ‘หู’
ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้หลายท่านอาจจะได้มีโอกาสไปร่วมงานปาร์ตี้หรืองานเลี้ยงที่อาจจะเป็นพื้นที่ปิดและมีการใช้เสียงในระดับที่ค่อนข้างดังซึ่งทั้งหมดก็เพื่อความครื้นเครงสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายคนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมชุมนุมซึ่งนอกจากจะมีเสียงปราศรัยจากเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่แล้วยังมี เสียงนกหวีดที่ถูกเป่าขึ้นพร้อม ๆ กันรวมอยู่ด้วย หลายท่านอาจจะลืมคิดถึงเรื่องของเสียงดังที่ทุกคนจะต้องได้ยินไป
วันนี้จึงจะขอพูดถึงเรื่องเสียงที่มีผลกระทบต่อการได้ยินโดยทั่วไป สาเหตุที่ทำให้การได้ยินลดลงคืออายุที่มากขึ้น ระบบประสาทการได้ยินเสื่อมถอยลงไปตามสภาพอายุที่เราเรียกว่าหูตึง แต่ถ้าเราโดนเสียงที่มีความดังมากระทบเป็นประจำโดยเฉพาะเกิน 85 เดซิเบลเป็นระยะเวลานานจะเกิดการเสื่อมของหูก่อนวัยอันควรได้ (เสียงสนทนาพูดคุยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 60 เดซิเบล)
ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลภาวะทางเสียงอาจมีเล็กน้อย เช่น เกิดความรำคาญ นอนหลับไม่ดี หงุดหงิดอารมณ์แปรปรวน บางรายมีอาการมากขึ้น เช่น หูดับ หูอื้อ เสียการได้ยินชั่วคราว หากเป็นมากจะมีอาการหูตึงก่อนวัย
ถ้าได้รับเสียงดังมากในเวลาอันสั้น เช่น ระเบิด ปืน พลุ หรือแม้เสียงที่ตะโกนใส่หูก็อาจทำให้เกิดแรงอัดอากาศกระแทกเยื่อแก้วหูทำให้ แก้วหูทะลุ มีเลือดออกจากหูและหูตึงแบบถาวรได้ เราจึงควรป้องกันความเสื่อมของหูจากเสียงดังคือ หลีกเลี่ยงเสียงดังในทุกที่ เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดัง หน้าลำโพงในเวทีคอนเสิร์ตฟังเพลงหรือดูทีวีที่เสียงดัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้หูฟัง (Headphone) ในเด็กวัยรุ่น โดยเสียงที่ออกจากลำโพงที่เสียบหูจะเข้าไปในรูหูโดยตรง
ถ้าอยู่ในที่มีเสียงดังให้ใช้เครื่องป้องกัน เช่น ที่อุดหู (earplug) หรือเครื่องครอบหู (ear muffed) เช่น เวลาตัดหญ้า เวลาเจาะสว่านหรือใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีเสียงดัง ที่สำคัญจะต้องตระหนักถึงอันตรายของเสียงดังอยู่เสมอ ไม่ควรอยู่กับเสียงดังตลอด ควรให้หูได้พักผ่อนบ้างเพราะเสียงเบา ๆ ที่กรอกหูอยู่นานก็มีผลร้ายต่อการได้ยินพอ ๆ กับเสียงดังเช่นกัน หากท่านต้องไปในที่มีเสียงดังควรเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ในกลุ่มคนที่ดูคอนเสิร์ต ในกลุ่มคนผู้ประท้วงการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
หากมีอาการผิดปกติทางการได้ยินควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก แพทย์สามารถให้คำแนะนำและตรวจการได้ยินและจะบอกได้ว่าประสาทหูมีความเสื่อมไปแค่ไหน และจะได้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพหูให้ดีและอยู่กับเราไปนาน ๆ ครับ.
นายแพทย์ถนัด ไพศาขมาศ
อายุรแพทย์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/204936/index.html (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชายวัยกลางคนนั่งบริเวณเครื่องเสียงลำโพงช่วงเทศกาลปีใหม่นี้หลายท่านอาจจะได้มีโอกาสไปร่วมงานปาร์ตี้หรืองานเลี้ยงที่อาจจะเป็นพื้นที่ปิดและมีการใช้เสียงในระดับที่ค่อนข้างดังซึ่งทั้งหมดก็เพื่อความครื้นเครงสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายคนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมชุมนุมซึ่งนอกจากจะมีเสียงปราศรัยจากเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่แล้วยังมี เสียงนกหวีดที่ถูกเป่าขึ้นพร้อม ๆ กันรวมอยู่ด้วย หลายท่านอาจจะลืมคิดถึงเรื่องของเสียงดังที่ทุกคนจะต้องได้ยินไป วันนี้จึงจะขอพูดถึงเรื่องเสียงที่มีผลกระทบต่อการได้ยินโดยทั่วไป สาเหตุที่ทำให้การได้ยินลดลงคืออายุที่มากขึ้น ระบบประสาทการได้ยินเสื่อมถอยลงไปตามสภาพอายุที่เราเรียกว่าหูตึง แต่ถ้าเราโดนเสียงที่มีความดังมากระทบเป็นประจำโดยเฉพาะเกิน 85 เดซิเบลเป็นระยะเวลานานจะเกิดการเสื่อมของหูก่อนวัยอันควรได้ (เสียงสนทนาพูดคุยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 60 เดซิเบล) ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลภาวะทางเสียงอาจมีเล็กน้อย เช่น เกิดความรำคาญ นอนหลับไม่ดี หงุดหงิดอารมณ์แปรปรวน บางรายมีอาการมากขึ้น เช่น หูดับ หูอื้อ เสียการได้ยินชั่วคราว หากเป็นมากจะมีอาการหูตึงก่อนวัย ถ้าได้รับเสียงดังมากในเวลาอันสั้น เช่น ระเบิด ปืน พลุ หรือแม้เสียงที่ตะโกนใส่หูก็อาจทำให้เกิดแรงอัดอากาศกระแทกเยื่อแก้วหูทำให้ แก้วหูทะลุ มีเลือดออกจากหูและหูตึงแบบถาวรได้ เราจึงควรป้องกันความเสื่อมของหูจากเสียงดังคือ หลีกเลี่ยงเสียงดังในทุกที่ เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดัง หน้าลำโพงในเวทีคอนเสิร์ตฟังเพลงหรือดูทีวีที่เสียงดัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้หูฟัง (Headphone) ในเด็กวัยรุ่น โดยเสียงที่ออกจากลำโพงที่เสียบหูจะเข้าไปในรูหูโดยตรง ชายวัยกลางคนแสดงสีหน้าปวดหู ถ้าอยู่ในที่มีเสียงดังให้ใช้เครื่องป้องกัน เช่น ที่อุดหู (earplug) หรือเครื่องครอบหู (ear muffed) เช่น เวลาตัดหญ้า เวลาเจาะสว่านหรือใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีเสียงดัง ที่สำคัญจะต้องตระหนักถึงอันตรายของเสียงดังอยู่เสมอ ไม่ควรอยู่กับเสียงดังตลอด ควรให้หูได้พักผ่อนบ้างเพราะเสียงเบา ๆ ที่กรอกหูอยู่นานก็มีผลร้ายต่อการได้ยินพอ ๆ กับเสียงดังเช่นกัน หากท่านต้องไปในที่มีเสียงดังควรเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ในกลุ่มคนที่ดูคอนเสิร์ต ในกลุ่มคนผู้ประท้วงการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากมีอาการผิดปกติทางการได้ยินควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก แพทย์สามารถให้คำแนะนำและตรวจการได้ยินและจะบอกได้ว่าประสาทหูมีความเสื่อมไปแค่ไหน และจะได้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพหูให้ดีและอยู่กับเราไปนาน ๆ ครับ. นายแพทย์ถนัด ไพศาขมาศ อายุรแพทย์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/204936/index.html เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)