"สะโพกหัก" อันตรายของผู้สูงอายุ เสี่ยง "อัมพาต-โรคติดเชื้อ" ถึงตายได้...

แสดงความคิดเห็น

คณะศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกพรุน ซึ่งมีภาวะของกระดูกที่เปราะและบอบบางกว่าปกติ

ผศ.นพ.สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกว่า ปัญหากระดูกหักในผู้สูงอายุ หลักๆมีอยู่ 3 ที่ คือ ข้อมือ สันหลังและสะโพก ซึ่งความรุนแรงของโรคในการเกิดกระดูกหักแต่ละที่จะแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้ากระดูกข้อมือหัก กระดูกหลังทรุดตัว อันนี้ไม่ค่อยรุนแรงมาก อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ถ้ากระดูกสะโพกหัก ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาอาจต้องนอนติดเตียงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานได้ เช่น เกิดแผลกดทับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อ หรือปอดบวม หากปล่อยไว้อาจรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาพเอ็กซเรย์กระดูก

“การเกิดสะโพกหัก มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนมากขึ้น จากประสบการณ์ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักส่วนใหญ่เกินกว่า 90% ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดมักจะเดินไม่ได้” คุณหมอสมบัติบอกและว่า อันตรายจากโรคแทรกซ้อนในกระดูกสะโพกหัก เริ่มจากผู้ป่วยต้องนอนเฉยๆ ลุกไม่ได้ จึงมักจะเจอกับปัญหาแผลกดทับ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน บางคนลุกไม่ได้ ต้องใส่สายปัสสาวะค้างไว้ เกิดอุจจาระเลอะเทอะ เพิ่มโอกาสติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะ และภาวะที่ต้องนอนเฉยๆ อาจทำให้การกินอาหารลำบาก เสี่ยงต่อการสำลัก นั่งสูงไม่ได้ ปอดไม่ขยายตัว เพิ่มโอกาสปอดชื้น ปอดติดเชื้อได้ในรายที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการก็อาจจะกลับกำเริบได้

“ถ้ามือหรือแขนหักใส่เฝือกได้ สันหลังหักยังกลับมาเดินได้ กระดูกสันหลังทรุดหลังจากหกล้ม 10-20% ใส่เสื้อเกราะ 2 วัน ก็ลุกจากเตียงได้แล้ว บางคนกระดูกสันหลังทรุด 50% ก็ยังกลับมาเดินได้ แต่ถ้ากระดูกสะโพกหัก โอกาสที่จะกลับมาเดินได้ไม่ถึง 90%” คุณหมอสมบัติบอก

อย่างไรก็ตาม บางรายที่เป็นแค่กระดูกร้าว คุณหมอสมบัติ บอกว่า ถือว่าโชคดี เพราะกระดูกสามารถติดได้ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน ไม่ต้องผ่าตัด ถ้ากระดูกสะโพกหักแล้วได้รับการผ่าตัดเร็ว ผู้สูงอายุก็จะฟื้นตัวเร็ว ความเจ็บปวดน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงเดิมได้เร็ว แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกร้าว มาวันแรกเดินได้ เอกซเรย์กระดูกครั้งแรกมองไม่เห็น

กระดูกร้าวเนื่องจากกระดูกเป็นรอยร้าวเล็กๆ ไม่ถึงขั้นแตกหัก แต่กระดูกพรุนมาก ความหนาแน่นกระดูกน้อย เพราะฉะนั้นเอกซเรย์จะมองไม่เห็น พอเดินๆไปสัก 2-3 วัน รอยร้าวก็เคลื่อนออก เอกซเรย์อีกทีจึงจะเห็นก็เป็นไปได้ จากสถิติผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักจะมีอัตราเสียชีวิตภายในปีแรกประมาณ 20% และเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ภาวะพิการทำให้เดินไม่ได้ประมาณ 40% ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน 60% ภาวะเสี่ยงดังกล่าวจะลดลงถ้านำส่งโรงพยาบาลเร็ว และทางโรงพยาบาลให้การรักษาที่รวดเร็ว

คุณหมอสมบัติ ยังบอกอีกว่า จากแนวโน้มดังกล่าว ได้จัดตั้งศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการรักษากระดูกหักให้มีมาตรฐานและผลการรักษาที่ดีขึ้น โดยใช้วิธีการหรือเทคนิคที่ถูกต้องในการรักษากระดูกสะโพกหักแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก และมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิต

ภาพเอ็กซเรย์กระดูก

“คนไข้ที่อายุเยอะ มักมีโรคประจำตัวเยอะ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต และอื่นๆ และทานยาประจำกันเยอะอยู่แล้ว บางคนจะกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ ถ้าเราต้องผ่าตัดอาจเจอปัญหาเลือดไหลไม่หยุด ก็ต้องปรับยาเพื่อให้การแข็งตัวของเลือดกลับมาปกติก่อนจะผ่าตัดได้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมี 2 วิธีคือ วิธีแรกการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม วิธีที่สองการผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกไว้ภายใน โดยการผ่าตัดใส่โลหะพิเศษยึดกระดูกไว้ให้เข้าที่และเกิดการติดของกระดูกตามธรรมชาติ ซึ่งแนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักไม่ได้จบแค่การผ่าตัด ยังต้องมีการประเมินและรักษาภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ตลอดจนกระทั่งการป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และยังรวมถึงการดูแลหลังการผ่าตัดด้วยการกายภาพบำบัดเฉพาะสำหรับผู้สูงวัย ทั้งการฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น เครื่องพยุงน้ำหนักคนไข้ให้ตัวเบาเหมือนเดินอยู่ในอวกาศที่เรียกว่า Alter G หรือการกายภาพบำบัดในน้ำที่เรียกว่า ธาราบำบัด เป็นต้น

ทั้งนี้การประเมินการทรงตัวและการฝึกการทรงตัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเน้นเพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกระดูกสะโพกหักซ้ำได้ โดยวิธีการรักษาจะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและตำแหน่งการหักของกระดูกสะโพก

“จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักโดยทั่วไป หลังได้รับการรักษา ศักยภาพในการใช้ความสามารถจะกลับไม่เกิน 80% จะมีบางอย่างที่เขาทำไม่ได้เท่าเดิม เราต้องการช่วยเขามากกว่านั้น ก็ตั้งเป้าไว้ที่มากกว่า 90% แต่ขั้นพื้นฐานต้องให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้” คุณหมอสมบัติบอก และว่า สิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าการหกล้มของผู้สูงอายุจะรุนแรงแค่ไหน แต่การรักษาคือทำให้ผู้สูงอายุมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด สามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีสูงสุดได้.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/532721 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 19/10/2558 เวลา 11:57:09 ดูภาพสไลด์โชว์ "สะโพกหัก" อันตรายของผู้สูงอายุ เสี่ยง "อัมพาต-โรคติดเชื้อ" ถึงตายได้...

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกพรุน ซึ่งมีภาวะของกระดูกที่เปราะและบอบบางกว่าปกติ ผศ.นพ.สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกว่า ปัญหากระดูกหักในผู้สูงอายุ หลักๆมีอยู่ 3 ที่ คือ ข้อมือ สันหลังและสะโพก ซึ่งความรุนแรงของโรคในการเกิดกระดูกหักแต่ละที่จะแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้ากระดูกข้อมือหัก กระดูกหลังทรุดตัว อันนี้ไม่ค่อยรุนแรงมาก อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ถ้ากระดูกสะโพกหัก ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาอาจต้องนอนติดเตียงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานได้ เช่น เกิดแผลกดทับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อ หรือปอดบวม หากปล่อยไว้อาจรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาพเอ็กซเรย์กระดูก “การเกิดสะโพกหัก มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนมากขึ้น จากประสบการณ์ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักส่วนใหญ่เกินกว่า 90% ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดมักจะเดินไม่ได้” คุณหมอสมบัติบอกและว่า อันตรายจากโรคแทรกซ้อนในกระดูกสะโพกหัก เริ่มจากผู้ป่วยต้องนอนเฉยๆ ลุกไม่ได้ จึงมักจะเจอกับปัญหาแผลกดทับ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน บางคนลุกไม่ได้ ต้องใส่สายปัสสาวะค้างไว้ เกิดอุจจาระเลอะเทอะ เพิ่มโอกาสติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะ และภาวะที่ต้องนอนเฉยๆ อาจทำให้การกินอาหารลำบาก เสี่ยงต่อการสำลัก นั่งสูงไม่ได้ ปอดไม่ขยายตัว เพิ่มโอกาสปอดชื้น ปอดติดเชื้อได้ในรายที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการก็อาจจะกลับกำเริบได้ “ถ้ามือหรือแขนหักใส่เฝือกได้ สันหลังหักยังกลับมาเดินได้ กระดูกสันหลังทรุดหลังจากหกล้ม 10-20% ใส่เสื้อเกราะ 2 วัน ก็ลุกจากเตียงได้แล้ว บางคนกระดูกสันหลังทรุด 50% ก็ยังกลับมาเดินได้ แต่ถ้ากระดูกสะโพกหัก โอกาสที่จะกลับมาเดินได้ไม่ถึง 90%” คุณหมอสมบัติบอก อย่างไรก็ตาม บางรายที่เป็นแค่กระดูกร้าว คุณหมอสมบัติ บอกว่า ถือว่าโชคดี เพราะกระดูกสามารถติดได้ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน ไม่ต้องผ่าตัด ถ้ากระดูกสะโพกหักแล้วได้รับการผ่าตัดเร็ว ผู้สูงอายุก็จะฟื้นตัวเร็ว ความเจ็บปวดน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงเดิมได้เร็ว แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกร้าว มาวันแรกเดินได้ เอกซเรย์กระดูกครั้งแรกมองไม่เห็น กระดูกร้าวเนื่องจากกระดูกเป็นรอยร้าวเล็กๆ ไม่ถึงขั้นแตกหัก แต่กระดูกพรุนมาก ความหนาแน่นกระดูกน้อย เพราะฉะนั้นเอกซเรย์จะมองไม่เห็น พอเดินๆไปสัก 2-3 วัน รอยร้าวก็เคลื่อนออก เอกซเรย์อีกทีจึงจะเห็นก็เป็นไปได้ จากสถิติผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักจะมีอัตราเสียชีวิตภายในปีแรกประมาณ 20% และเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ภาวะพิการทำให้เดินไม่ได้ประมาณ 40% ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน 60% ภาวะเสี่ยงดังกล่าวจะลดลงถ้านำส่งโรงพยาบาลเร็ว และทางโรงพยาบาลให้การรักษาที่รวดเร็ว คุณหมอสมบัติ ยังบอกอีกว่า จากแนวโน้มดังกล่าว ได้จัดตั้งศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการรักษากระดูกหักให้มีมาตรฐานและผลการรักษาที่ดีขึ้น โดยใช้วิธีการหรือเทคนิคที่ถูกต้องในการรักษากระดูกสะโพกหักแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก และมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิต ภาพเอ็กซเรย์กระดูก “คนไข้ที่อายุเยอะ มักมีโรคประจำตัวเยอะ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต และอื่นๆ และทานยาประจำกันเยอะอยู่แล้ว บางคนจะกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ ถ้าเราต้องผ่าตัดอาจเจอปัญหาเลือดไหลไม่หยุด ก็ต้องปรับยาเพื่อให้การแข็งตัวของเลือดกลับมาปกติก่อนจะผ่าตัดได้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง” ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเทียม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมี 2 วิธีคือ วิธีแรกการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม วิธีที่สองการผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกไว้ภายใน โดยการผ่าตัดใส่โลหะพิเศษยึดกระดูกไว้ให้เข้าที่และเกิดการติดของกระดูกตามธรรมชาติ ซึ่งแนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักไม่ได้จบแค่การผ่าตัด ยังต้องมีการประเมินและรักษาภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ตลอดจนกระทั่งการป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และยังรวมถึงการดูแลหลังการผ่าตัดด้วยการกายภาพบำบัดเฉพาะสำหรับผู้สูงวัย ทั้งการฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น เครื่องพยุงน้ำหนักคนไข้ให้ตัวเบาเหมือนเดินอยู่ในอวกาศที่เรียกว่า Alter G หรือการกายภาพบำบัดในน้ำที่เรียกว่า ธาราบำบัด เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินการทรงตัวและการฝึกการทรงตัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเน้นเพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกระดูกสะโพกหักซ้ำได้ โดยวิธีการรักษาจะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและตำแหน่งการหักของกระดูกสะโพก “จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักโดยทั่วไป หลังได้รับการรักษา ศักยภาพในการใช้ความสามารถจะกลับไม่เกิน 80% จะมีบางอย่างที่เขาทำไม่ได้เท่าเดิม เราต้องการช่วยเขามากกว่านั้น ก็ตั้งเป้าไว้ที่มากกว่า 90% แต่ขั้นพื้นฐานต้องให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้” คุณหมอสมบัติบอก และว่า สิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าการหกล้มของผู้สูงอายุจะรุนแรงแค่ไหน แต่การรักษาคือทำให้ผู้สูงอายุมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด สามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีสูงสุดได้. ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/532721

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...