แพทย์ มช.เจ๋ง! คิดค้นผ่าตัดทดแทนเนื้อเยื่อ ช่วยผู้ป่วยไม่พิการ
- รศ.นพ.คณิตศ์ สนั่นพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การผ่าตัดทดแทนเนื้อเยื่อ
เมื่อวันที่ 26 พ.ค. รศ.นพ.คณิตศ์ สนั่นพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรักษาผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บรุนแรง ในกรณีถูกรถชน บาดเจ็บจากอาวุธ พิษจากงูกัด ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อในร่างกาย เส้นเอ็น และกระดูกตายไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้งานได้ อาทิ เดินไม่ได้ ขยับไม่ได้ มือพิการ เหมือนเนื้อเยื่อในส่วนนั้นแหว่งไป ถ้าไม่สามารถหาอะไรเข้ามาทดแทนให้ร่างกายสร้างใหม่ ร่างกายในส่วนนั้นจะทำงานไม่ได้ ส่งผลให้คนไข้พิการไปในที่สุด ทางทีมงานวิจัยจึงได้คิดค้นงานวิจัย การศึกษาเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกระดูก เส้นเอ็น และผิวหนัง บริเวณเข่าทางด้านใน หรือผิวหนังร่วมกับกระดูกพร้อมๆ กัน โดยการฉีดเจลาตินได้เป็นผลสำเร็จ จากการทดลองในคนไข้ 19 ราย
สำหรับ ผลงานวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกคือ Plastic and Reconstructive Surgery ซึ่งมีสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศอเมริกาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2556 และภาพจากงานวิจัยยังได้ถูกเลือกขึ้นปกวารสาร ถือเป็นงานที่ประสบความสำเร็จและนำชื่อเสียงมาสู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอย่างมาก.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/347097 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(รศ.นพ.คณิตศ์ สนั่นพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (การผ่าตัดทดแทนเนื้อเยื่อ) เมื่อวันที่ 26 พ.ค. รศ.นพ.คณิตศ์ สนั่นพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรักษาผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บรุนแรง ในกรณีถูกรถชน บาดเจ็บจากอาวุธ พิษจากงูกัด ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อในร่างกาย เส้นเอ็น และกระดูกตายไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้งานได้ อาทิ เดินไม่ได้ ขยับไม่ได้ มือพิการ เหมือนเนื้อเยื่อในส่วนนั้นแหว่งไป ถ้าไม่สามารถหาอะไรเข้ามาทดแทนให้ร่างกายสร้างใหม่ ร่างกายในส่วนนั้นจะทำงานไม่ได้ ส่งผลให้คนไข้พิการไปในที่สุด ทางทีมงานวิจัยจึงได้คิดค้นงานวิจัย การศึกษาเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกระดูก เส้นเอ็น และผิวหนัง บริเวณเข่าทางด้านใน หรือผิวหนังร่วมกับกระดูกพร้อมๆ กัน โดยการฉีดเจลาตินได้เป็นผลสำเร็จ จากการทดลองในคนไข้ 19 ราย สำหรับ ผลงานวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกคือ Plastic and Reconstructive Surgery ซึ่งมีสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศอเมริกาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2556 และภาพจากงานวิจัยยังได้ถูกเลือกขึ้นปกวารสาร ถือเป็นงานที่ประสบความสำเร็จและนำชื่อเสียงมาสู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอย่างมาก. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/347097
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)