หมอประเวศแนะทางปฏิรูปการเมืองให้ได้ผล

แสดงความคิดเห็น

นพ.ประเวศ วะสี นพ.ประเวศ เสนอแนะ 5 แนวทางออกแบบปฏิรูปการเมืองให้ได้ผลจริง ย้อนมีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ยังปริ่มจะฆ่ากันตาย ยันปฏิรูปกับปรองดองเป็นคนละเรื่อง

บทความจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี เรื่อง การออกแบบปฏิรูปการเมืองให้ได้ผลจริง ระบุว่า ประเทศไทยมีการปฏิรูปการเมืองมาหลายครั้งแล้ว ก็ต้องถือว่ายังไม่ได้ผลจริง ดังที่มีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 18 ฉบับ และยังเกิดวิกฤตการเมืองปริ่มๆจะฆ่ากันตายอยู่ในทุกวันนี้ หากจะมีการปฏิรูปการเมืองกันอีกและต้องการให้ได้ผลจริง ควรจะศึกษาบทเรียนจากอดีตแล้วมีหลักการ กลไกและกระบวนการที่ถูกต้อง ขอเสนอแนะดังต่อไปนี้

1.หลักการ

(1) ต้องแยกเรื่องการปรองดองและการปฏิรูปการเมืองเป็นคนละเรื่อง การปรองดองเป็นเรื่องแก้ไขอดีต การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องของการสร้างอนาคต การแก้ปัญหาของอดีตทำได้ยากและบางทียิ่งทำยิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น เพราะปัญหามีรากยาวไกลและมีบุคคลเกี่ยวพันอยู่ การร่วมกันทำสิ่งที่ดีต่อไปในอนาคตง่ายกว่ามาก และในที่สุดจะสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกัน ฉะนั้นในช่วงนี้อย่าเอาเรื่องการปรองดองกับการปฏิรูปการเมืองมาปนกัน จะทำให้สับสนและเคลื่อนไปสู่อนาคตไม่ได้

(2) ต้องไม่มุ่งปฏิรูปองค์กรทางการเมืองเท่านั้น เพราะจะคับแคบและไม่ได้ผลเช่นเคย แต่ต้องมีเป้าหมายใหญ่ในการสร้างประเทศไทยที่ดีงามหรือประเทศไทยน่าอยู่

(3) ต้องไม่ใช่คิดกันอยู่ในวงเล็กๆเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะคิดออกมาได้ดีแค่ไหนก็ปฏิบัติไม่ได้ ถึงเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีอย่างใดก็ปฏิบัติไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมโดยกว้างขวาง เพราะฉะนั้นถ้าจะมีการปฏิรูปการเมืองกันอีก ต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยกว้างขวางทั่วประเทศ เป็นโอกาสที่จะยกระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ต่อเมื่อประชาชนมีจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง และเป็นพลเมืองที่กัมมันตะ(active citizen) เท่านั้น การเมืองจึงจะดีขึ้นได้

2.กลไกการปฏิรูปการเมือง

ควรมีกลไก 3 ประเภท ทำงานร่วมกันคือ

(1) คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วย 4 ภาคใหญ่ๆคือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ร่วมเป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาก็สามารถจัดได้ให้ งามและเหมาะสม

(2) คณะกรรมการเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมือง ขณะนี้ประชาชนมีประสบการณ์และมีความตื่นตัวสูงในการจัดการตนเองและในการขับ เคลื่อนนโยบาย จากการทำงานของนักพัฒนาเอกชนที่ผ่านมาจากการเข้าร่วมในกระบวนการสมัชชา สุขภาพและสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ในกระบวนการปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ควรส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวร่วมคิดร่วม ทำทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเป็นผู้ปฏิรูปการเมือง เครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมืองนี้ ควรเกิดขึ้นโดยก่อตัวขึ้นเอง(self-organization) ตามพื้นที่ ตามกลุ่มอาชีพ ตามประเด็น ไม่ควรมีใครไปแต่งตั้ง แต่ควรมีกลไกส่งเสริมที่อาจเรียกว่าคณะกรรมการเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการ เมืองเป็นคณะกรรมการอิสระ

(3) สภาปฏิรูปการเมือง คือการประชุมการปฏิรูปการเมือง อาจเป็นสภาปฏิรูปการเมืองระดับพื้นที่ สภาปฏิรูปการเมืองเฉพาะประเด็นหรือสภาปฏิรูปการเมืองระดับชาติ

ทั้ง 3 กลไกนี้ทำงานเชื่อมโยงกันในกระบวนการปฏิรูปการเมือง ควรออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีสร้างกลไกทั้ง 3 นี้ให้สามารถทำงานต่อเนื่องข้ามรัฐบาลควรสังเกตว่ากลไกการปฏิรูปการเมืองที่ ออกแบบไว้นี้เป็นหลักการ “ประชา-รัฐ” คือประชาชนกับรัฐร่วมกัน

3. กระบวนการปฏิรูปการเมือง – คำถามใหญ่ 3 คำถาม

กระบวนการพูดคุยเรื่องปฏิรูปการเมืองทั่วประเทศ ควรจะพยายามตอบคำถามใหญ่ 3 คำถาม คือ

(1) ประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของท่านคืออย่างไร ให้คนไทยจำนวนมากที่สุดจะมากได้ มีจินตนาการถึงประเทศไทยที่ดีที่สุดว่าเป็นอย่างไร มีการสังเคราะห์ภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย แล้วเผยแพร่ให้ทราบทั่วกัน อาจใช้ศิลปะทุกแขนงแสดงภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย อาจถือว่าเป็น “อุดมทรรศน์ประเทศไทย” หรือ “เป้าหมายประเทศไทย” ที่คนไทยทุกคนร่วมสร้าง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งหรือพรรคใดพรรคหนึ่ง กระบวนการจินตนาการและผลลัพธ์ “ประเทศไทยที่ดีที่สุด” จะก่อให้เกิดพลังมหาศาลขึ้นในชาติ ทุกคนจะรู้สึกเป็นเจ้าของและมีพันธะกับเป้าหมายนี้ร่วมกัน

(2) จะต้องทำอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมาย “ประเทศไทยที่ดีที่สุด” ตามที่ร่วมกันสร้างไว้ คำตอบจะมีหลากหลายมาก แต่รวมกันแล้วจะครอบคลุมเรื่องดีๆที่ควรทำหมดทุกเรื่อง คำตอบอาจจะแยกย่อยมากมาย แต่ควรจะมีผู้ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์ สังเคราะห์คำตอบเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ๆ อาจได้ออกมา 7-8 เรื่อง

เรื่องใหญ่ๆ 7-8 เรื่องที่ได้มาคือเรื่องหลักๆที่ควรปฏิรูป การที่คนทั้งหมดร่วมกันคิดเรื่องหลักที่ควรปฏิรูปขึ้นมา จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและพันธะที่จะทำให้สำเร็จ

(3) ทำแผนปฏิบัติในแต่ละเรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูป จากเรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูปที่ได้มาตามข้อ (2) แต่ละเรื่องนำมาทำแผนปฏิบัติ (plan of action) เนื่องจากแต่ละเรื่องจะมีความต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน จึงควรแบ่งกลุ่มผู้ทำแผนปฏิบัติออกเป็นกลุ่มๆ ตามความสนใจและความเชี่ยวชาญ ในกระบวนการทำแผนปฏิบัตินี้จะต้องการข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์สังเคราะห์ และความเข้าใจเชิงการจัดการมาก จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) ของทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม ทุกคนจะเก่งขึ้นหมด รักกันมาก และถือเป็นพันธะผูกพันที่จะขับเคลื่อนแผนปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ

4. การปฏิบัติตามแผนปฏิรูป

เมื่อกระบวนการได้ทำมาครบตามขั้นตอนทั้ง 3 ที่ทุกฝ่ายร่วมกันตามที่กล่าวถึงในข้อ 3 จะเกิดพลังมหาศาล คือทุกคนจะรักกันมาก เกิดความเชื่อถือไว้วางใจกัน(Trust) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและร่วมกันสร้างสิ่งสำคัญที่สุด 3 เรื่อง คือ (1) เป้าหมายของประเทศไทยที่ดีที่สุด (2) เรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูป (3) แผนปฏิบัติในแต่ละเรื่อง

ในแผนปฏิบัตินั้นจะบอกว่าต้องทำอะไร ทำอย่างไร ใช้เครื่องมือและทรัพยากรเท่าไหร่ ใครทำ

ที่ว่าใครทำนั้นก็ทุกคนทุกฝ่าย เช่น เรื่องอะไรเกี่ยวกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีก็รับไปทำ เรื่องอะไรเกี่ยวกับรัฐสภา ประธานรัฐสภาก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับกระทรวง กระทรวงก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับองค์กรท้องถิ่นองค์กรท้องถิ่นก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับภาควิชาการ อะไรเกี่ยวกับภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคการสื่อสาร ภาคนั้นๆก็รับไปทำ

คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองมีหน้าที่ติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติปฏิรูปประเทศไทย การปฏิบัติจะมีในหลายมิติ ทั้งที่เกี่ยวกับแก้ไขกฎหมายรวมทั้งรัฐธรรมนูญและที่ไม่เกี่ยว

5.กระบวนการปฏิรูปการเมืองเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

ที่ได้อธิบายกลไกและกระบวนการมาดังกล่าวข้างต้น เป็นการ “ประกอบเครื่องประเทศไทย” ที่ผ่านมาประเทศไทยเปรียบเสมือนประเทศเครื่องหลุดที่ส่วนต่างๆไม่ประกอบเข้า มาด้วยกัน รถยนต์ที่เครื่องหลุดจากกันถึงเร่งเครื่องก็วิ่งไปไม่ได้ ฉันใด ประเทศที่เครื่องหลุด ก็ฉันนั้น การปฏิรูปประเทศไทยที่ออกแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นการประกอบส่วนต่างๆของประเทศไทยให้เข้ามาเชื่อมโยงกัน เมื่อประกอบเครื่องประเทศไทยได้ ประเทศก็สามารถวิ่งไปข้างหน้าอย่างเรียบร้อยและดีขึ้นเรื่อยๆ

ในการปฏิรูปประเทศไทยตามที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้หมดและได้ใช้จิตใจสติปัญญาของตนได้อย่างเต็มที่ จะเกิดความปีติสุขที่ได้ทำงานเพื่อประเทศไทยร่วมกัน และจะสามารถฝ่าอุปสรรคที่ยากลำบาก มีความสำเร็จเป็นลำดับๆไปในการสร้างประเทศไทยที่ดีที่สุดตามจินตนาการของเรา ร่วมกัน สมควรที่ทุกคนจะยอมเสียสละใดๆเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตประเทศไทย

กระบวนการปฏิรูปการเมืองควรจะต่อเนื่องผ่านช่วงหลายรัฐบาลไม่ใช่เรื่อง ของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ รัฐบาลเป็นเพียงกลไกอย่างหนึ่ง ถ้าได้ทำตามนี้ต่อไปโมเดลการปฏิรูปของไทยจะเป็นที่เรียนรู้ แม้แต่ของประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเขากำลังติดขัดและต้องการปฏิรูป แต่ไม่รู้จะปฏิรูปอย่างไร

ขอบคุณ … http://www.posttoday.com/การเมือง/239615/หมอประเวศแนะทางปฏิรูปการเมืองให้ได้ผล (ขนาดไฟล์: 167)

โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 10/08/2556 เวลา 03:12:30 ดูภาพสไลด์โชว์ หมอประเวศแนะทางปฏิรูปการเมืองให้ได้ผล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ประเวศ วะสี นพ.ประเวศ เสนอแนะ 5 แนวทางออกแบบปฏิรูปการเมืองให้ได้ผลจริง ย้อนมีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ยังปริ่มจะฆ่ากันตาย ยันปฏิรูปกับปรองดองเป็นคนละเรื่อง บทความจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี เรื่อง การออกแบบปฏิรูปการเมืองให้ได้ผลจริง ระบุว่า ประเทศไทยมีการปฏิรูปการเมืองมาหลายครั้งแล้ว ก็ต้องถือว่ายังไม่ได้ผลจริง ดังที่มีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 18 ฉบับ และยังเกิดวิกฤตการเมืองปริ่มๆจะฆ่ากันตายอยู่ในทุกวันนี้ หากจะมีการปฏิรูปการเมืองกันอีกและต้องการให้ได้ผลจริง ควรจะศึกษาบทเรียนจากอดีตแล้วมีหลักการ กลไกและกระบวนการที่ถูกต้อง ขอเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1.หลักการ (1) ต้องแยกเรื่องการปรองดองและการปฏิรูปการเมืองเป็นคนละเรื่อง การปรองดองเป็นเรื่องแก้ไขอดีต การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องของการสร้างอนาคต การแก้ปัญหาของอดีตทำได้ยากและบางทียิ่งทำยิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น เพราะปัญหามีรากยาวไกลและมีบุคคลเกี่ยวพันอยู่ การร่วมกันทำสิ่งที่ดีต่อไปในอนาคตง่ายกว่ามาก และในที่สุดจะสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกัน ฉะนั้นในช่วงนี้อย่าเอาเรื่องการปรองดองกับการปฏิรูปการเมืองมาปนกัน จะทำให้สับสนและเคลื่อนไปสู่อนาคตไม่ได้ (2) ต้องไม่มุ่งปฏิรูปองค์กรทางการเมืองเท่านั้น เพราะจะคับแคบและไม่ได้ผลเช่นเคย แต่ต้องมีเป้าหมายใหญ่ในการสร้างประเทศไทยที่ดีงามหรือประเทศไทยน่าอยู่ (3) ต้องไม่ใช่คิดกันอยู่ในวงเล็กๆเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะคิดออกมาได้ดีแค่ไหนก็ปฏิบัติไม่ได้ ถึงเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีอย่างใดก็ปฏิบัติไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมโดยกว้างขวาง เพราะฉะนั้นถ้าจะมีการปฏิรูปการเมืองกันอีก ต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยกว้างขวางทั่วประเทศ เป็นโอกาสที่จะยกระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ต่อเมื่อประชาชนมีจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง และเป็นพลเมืองที่กัมมันตะ(active citizen) เท่านั้น การเมืองจึงจะดีขึ้นได้ 2.กลไกการปฏิรูปการเมือง ควรมีกลไก 3 ประเภท ทำงานร่วมกันคือ (1) คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วย 4 ภาคใหญ่ๆคือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ร่วมเป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาก็สามารถจัดได้ให้ งามและเหมาะสม (2) คณะกรรมการเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมือง ขณะนี้ประชาชนมีประสบการณ์และมีความตื่นตัวสูงในการจัดการตนเองและในการขับ เคลื่อนนโยบาย จากการทำงานของนักพัฒนาเอกชนที่ผ่านมาจากการเข้าร่วมในกระบวนการสมัชชา สุขภาพและสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ในกระบวนการปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ควรส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวร่วมคิดร่วม ทำทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเป็นผู้ปฏิรูปการเมือง เครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมืองนี้ ควรเกิดขึ้นโดยก่อตัวขึ้นเอง(self-organization) ตามพื้นที่ ตามกลุ่มอาชีพ ตามประเด็น ไม่ควรมีใครไปแต่งตั้ง แต่ควรมีกลไกส่งเสริมที่อาจเรียกว่าคณะกรรมการเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการ เมืองเป็นคณะกรรมการอิสระ (3) สภาปฏิรูปการเมือง คือการประชุมการปฏิรูปการเมือง อาจเป็นสภาปฏิรูปการเมืองระดับพื้นที่ สภาปฏิรูปการเมืองเฉพาะประเด็นหรือสภาปฏิรูปการเมืองระดับชาติ ทั้ง 3 กลไกนี้ทำงานเชื่อมโยงกันในกระบวนการปฏิรูปการเมือง ควรออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีสร้างกลไกทั้ง 3 นี้ให้สามารถทำงานต่อเนื่องข้ามรัฐบาลควรสังเกตว่ากลไกการปฏิรูปการเมืองที่ ออกแบบไว้นี้เป็นหลักการ “ประชา-รัฐ” คือประชาชนกับรัฐร่วมกัน 3. กระบวนการปฏิรูปการเมือง – คำถามใหญ่ 3 คำถาม กระบวนการพูดคุยเรื่องปฏิรูปการเมืองทั่วประเทศ ควรจะพยายามตอบคำถามใหญ่ 3 คำถาม คือ (1) ประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของท่านคืออย่างไร ให้คนไทยจำนวนมากที่สุดจะมากได้ มีจินตนาการถึงประเทศไทยที่ดีที่สุดว่าเป็นอย่างไร มีการสังเคราะห์ภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย แล้วเผยแพร่ให้ทราบทั่วกัน อาจใช้ศิลปะทุกแขนงแสดงภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ภาพประเทศไทยที่ดีที่สุดในจินตนาการของคนไทย อาจถือว่าเป็น “อุดมทรรศน์ประเทศไทย” หรือ “เป้าหมายประเทศไทย” ที่คนไทยทุกคนร่วมสร้าง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งหรือพรรคใดพรรคหนึ่ง กระบวนการจินตนาการและผลลัพธ์ “ประเทศไทยที่ดีที่สุด” จะก่อให้เกิดพลังมหาศาลขึ้นในชาติ ทุกคนจะรู้สึกเป็นเจ้าของและมีพันธะกับเป้าหมายนี้ร่วมกัน (2) จะต้องทำอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมาย “ประเทศไทยที่ดีที่สุด” ตามที่ร่วมกันสร้างไว้ คำตอบจะมีหลากหลายมาก แต่รวมกันแล้วจะครอบคลุมเรื่องดีๆที่ควรทำหมดทุกเรื่อง คำตอบอาจจะแยกย่อยมากมาย แต่ควรจะมีผู้ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์ สังเคราะห์คำตอบเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ๆ อาจได้ออกมา 7-8 เรื่อง เรื่องใหญ่ๆ 7-8 เรื่องที่ได้มาคือเรื่องหลักๆที่ควรปฏิรูป การที่คนทั้งหมดร่วมกันคิดเรื่องหลักที่ควรปฏิรูปขึ้นมา จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและพันธะที่จะทำให้สำเร็จ (3) ทำแผนปฏิบัติในแต่ละเรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูป จากเรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูปที่ได้มาตามข้อ (2) แต่ละเรื่องนำมาทำแผนปฏิบัติ (plan of action) เนื่องจากแต่ละเรื่องจะมีความต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน จึงควรแบ่งกลุ่มผู้ทำแผนปฏิบัติออกเป็นกลุ่มๆ ตามความสนใจและความเชี่ยวชาญ ในกระบวนการทำแผนปฏิบัตินี้จะต้องการข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์สังเคราะห์ และความเข้าใจเชิงการจัดการมาก จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) ของทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม ทุกคนจะเก่งขึ้นหมด รักกันมาก และถือเป็นพันธะผูกพันที่จะขับเคลื่อนแผนปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ 4. การปฏิบัติตามแผนปฏิรูป เมื่อกระบวนการได้ทำมาครบตามขั้นตอนทั้ง 3 ที่ทุกฝ่ายร่วมกันตามที่กล่าวถึงในข้อ 3 จะเกิดพลังมหาศาล คือทุกคนจะรักกันมาก เกิดความเชื่อถือไว้วางใจกัน(Trust) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและร่วมกันสร้างสิ่งสำคัญที่สุด 3 เรื่อง คือ (1) เป้าหมายของประเทศไทยที่ดีที่สุด (2) เรื่องใหญ่ๆที่ควรปฏิรูป (3) แผนปฏิบัติในแต่ละเรื่อง ในแผนปฏิบัตินั้นจะบอกว่าต้องทำอะไร ทำอย่างไร ใช้เครื่องมือและทรัพยากรเท่าไหร่ ใครทำ ที่ว่าใครทำนั้นก็ทุกคนทุกฝ่าย เช่น เรื่องอะไรเกี่ยวกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีก็รับไปทำ เรื่องอะไรเกี่ยวกับรัฐสภา ประธานรัฐสภาก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับกระทรวง กระทรวงก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับองค์กรท้องถิ่นองค์กรท้องถิ่นก็รับไปทำ อะไรเกี่ยวกับภาควิชาการ อะไรเกี่ยวกับภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคการสื่อสาร ภาคนั้นๆก็รับไปทำ คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองมีหน้าที่ติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติปฏิรูปประเทศไทย การปฏิบัติจะมีในหลายมิติ ทั้งที่เกี่ยวกับแก้ไขกฎหมายรวมทั้งรัฐธรรมนูญและที่ไม่เกี่ยว 5.กระบวนการปฏิรูปการเมืองเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ได้อธิบายกลไกและกระบวนการมาดังกล่าวข้างต้น เป็นการ “ประกอบเครื่องประเทศไทย” ที่ผ่านมาประเทศไทยเปรียบเสมือนประเทศเครื่องหลุดที่ส่วนต่างๆไม่ประกอบเข้า มาด้วยกัน รถยนต์ที่เครื่องหลุดจากกันถึงเร่งเครื่องก็วิ่งไปไม่ได้ ฉันใด ประเทศที่เครื่องหลุด ก็ฉันนั้น การปฏิรูปประเทศไทยที่ออกแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นการประกอบส่วนต่างๆของประเทศไทยให้เข้ามาเชื่อมโยงกัน เมื่อประกอบเครื่องประเทศไทยได้ ประเทศก็สามารถวิ่งไปข้างหน้าอย่างเรียบร้อยและดีขึ้นเรื่อยๆ ในการปฏิรูปประเทศไทยตามที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้หมดและได้ใช้จิตใจสติปัญญาของตนได้อย่างเต็มที่ จะเกิดความปีติสุขที่ได้ทำงานเพื่อประเทศไทยร่วมกัน และจะสามารถฝ่าอุปสรรคที่ยากลำบาก มีความสำเร็จเป็นลำดับๆไปในการสร้างประเทศไทยที่ดีที่สุดตามจินตนาการของเรา ร่วมกัน สมควรที่ทุกคนจะยอมเสียสละใดๆเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตประเทศไทย กระบวนการปฏิรูปการเมืองควรจะต่อเนื่องผ่านช่วงหลายรัฐบาลไม่ใช่เรื่อง ของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ รัฐบาลเป็นเพียงกลไกอย่างหนึ่ง ถ้าได้ทำตามนี้ต่อไปโมเดลการปฏิรูปของไทยจะเป็นที่เรียนรู้ แม้แต่ของประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเขากำลังติดขัดและต้องการปฏิรูป แต่ไม่รู้จะปฏิรูปอย่างไร ขอบคุณ … http://www.posttoday.com/การเมือง/239615/หมอประเวศแนะทางปฏิรูปการเมืองให้ได้ผล โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง