บทบาท ความหมาย สภา′ปฏิรูป′การเมือง ของ′ยิ่งลักษณ์′

แสดงความคิดเห็น

เหมือนกับว่าท่าทีขานรับแนวคิด "สภาปฏิรูปการเมือง" อันมาจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา มิได้เป็นเรื่องแปลก เป็นไปตามความคาดหมายอยู่แล้ว เหมือนกับว่าท่าทีต่อต้านแนวคิด "สภาปฏิรูปการเมือง" อันมาทันทีทันความจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มิได้เป็นเรื่องแปลก เป็นไปตามความคาดหมายอยู่แล้ว หากมองเพียงจากพื้นฐานว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา คือประธานที่ปรึกษาพรรคชาติ ไทยพัฒนาอันเป็น 1 ในพรรคร่วมรัฐบาล มีความสัมพันธ์กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่แล้ว ขณะเดียวกัน หากมองเพียงจากพื้นฐานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ย่อมคิด "ต่าง" จากรัฐบาล ต่างจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

กระนั้น ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา เคยเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยเป็นนายกรัฐมนตรี ความเป็น "นายกรัฐมนตรี" ต่างหากที่น่าสนใจ

ถามว่ากระบวนการคิดของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่เห็นชอบกับแนวทาง "สภาปฏิรูปการเมือง" มาจากรากฐานอันเป็นประโยชน์ของพรรคชาติไทยพัฒนา กระนั้นหรือ อาจเป็นได้

ถามว่ากระบวนการคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไม่เห็นชอบกับแนวทาง "สภาปฏิรูปการเมือง" มาจากรากฐานอันเป็นประโยชน์ของพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ อาจเป็นได้

ก็เหมือนอย่างที่มีคนนำเสนอยอดคำเท่ "นักการเมืองคิดแต่ผลการเลือกตั้งคราวหน้า แต่รัฐบุรุษคิดไกลกว่านั้น" หากคิดเพียงประโยชน์พรรคก็อยู่ในฐานะ "นักการเมือง" หากคิดไกลยิ่งกว่าประโยชน์พรรค ประโยชน์ของการหาเสียง ประโยชน์ของการเลือกตั้งก็อยู่ในฐานะ "รัฐบุรุษ"

เป็นไปได้หรือไม่ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา คิดในฐานะ "นายกรัฐมนตรี" เมื่อ ดำรงอยู่ในฐานะ "นายกรัฐมนตรี" ย่อมมีสายตายาวไกล มิได้คิดเพียงประโยชน์พรรค มิได้คิดเพียงประโยชน์อันจะอำนวยให้กับการเลือกตั้งที่จะมาถึง หากคิดถึงบ้านเมือง คิดถึงประเทศชาติ ประชาชน การแสดงออกของ นายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อเปรียบเทียบกับการแสดงออกของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีข้อแตกต่างกันอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะคิดในมุมของคนเป็น "หัวหน้า" พรรค ไม่ว่าจะคิดในมุมของ "นายกรัฐมนตรี" ความน่าสน ใจมิได้อยู่ที่เทียบเชิญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีถึง นายบรรหาร ศิลปอาชา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเท่านั้น

หาก "นายกรัฐมนตรี" ที่มีชีวิตอยู่ยังมีอีกหลายคนนั่น ก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 1 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 1 นายอานันท์ ปันยารชุน 1 พล.อ.สุจินดา คราประยูร 1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1 นี่ย่อมเป็นเป้าหมายต่อไปของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ท่าทีอันมีต่อ "สภาปฏิรูปการเมือง" จึงมีความแตกต่างกันไปหากมองเพียงจากมุมของหัวหน้าพรรคการเมือง และแตกต่างกันไปหากมองจากมุมของ "นายกรัฐมนตรี" หัวหน้าพรรค อาจประเมินจากระโยชน์ "การเมือง" ขณะที่ "นายกรัฐมนตรี" อาจประเมินจากประโยชน์ "การเมือง" ประเด็นอยู่ที่ว่า“นายกรัฐมนตรี" แต่ละคนจะประเมินบทบาทและความหมายของ "สภาปฏิรูปการเมือง" จากมุมใด

จากนี้จึงเห็นได้ว่า แนวคิดในเรื่อง "สภาปฏิรูปการเมือง" ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แหลมคมยิ่ง

แหลม คมเพราะไม่เพียงแต่เป็นข้อเสนอในเชิง "ยุทธวิธี" หากแต่ดำเนินไปอย่างมีลักษณะในเชิง "ยุทธ ศาสตร์" ทั้งในทางการเมืองและในทางบ้านเมืองอย่างลึกซึ้งเป็นหินลองทอง เป็นสันปันน้ำ

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375690202&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 6/08/2556 เวลา 03:57:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหมือนกับว่าท่าทีขานรับแนวคิด "สภาปฏิรูปการเมือง" อันมาจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา มิได้เป็นเรื่องแปลก เป็นไปตามความคาดหมายอยู่แล้ว เหมือนกับว่าท่าทีต่อต้านแนวคิด "สภาปฏิรูปการเมือง" อันมาทันทีทันความจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มิได้เป็นเรื่องแปลก เป็นไปตามความคาดหมายอยู่แล้ว หากมองเพียงจากพื้นฐานว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา คือประธานที่ปรึกษาพรรคชาติ ไทยพัฒนาอันเป็น 1 ในพรรคร่วมรัฐบาล มีความสัมพันธ์กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่แล้ว ขณะเดียวกัน หากมองเพียงจากพื้นฐานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ย่อมคิด "ต่าง" จากรัฐบาล ต่างจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระนั้น ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา เคยเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยเป็นนายกรัฐมนตรี ความเป็น "นายกรัฐมนตรี" ต่างหากที่น่าสนใจ ถามว่ากระบวนการคิดของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่เห็นชอบกับแนวทาง "สภาปฏิรูปการเมือง" มาจากรากฐานอันเป็นประโยชน์ของพรรคชาติไทยพัฒนา กระนั้นหรือ อาจเป็นได้ ถามว่ากระบวนการคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไม่เห็นชอบกับแนวทาง "สภาปฏิรูปการเมือง" มาจากรากฐานอันเป็นประโยชน์ของพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ อาจเป็นได้ ก็เหมือนอย่างที่มีคนนำเสนอยอดคำเท่ "นักการเมืองคิดแต่ผลการเลือกตั้งคราวหน้า แต่รัฐบุรุษคิดไกลกว่านั้น" หากคิดเพียงประโยชน์พรรคก็อยู่ในฐานะ "นักการเมือง" หากคิดไกลยิ่งกว่าประโยชน์พรรค ประโยชน์ของการหาเสียง ประโยชน์ของการเลือกตั้งก็อยู่ในฐานะ "รัฐบุรุษ" เป็นไปได้หรือไม่ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา คิดในฐานะ "นายกรัฐมนตรี" เมื่อ ดำรงอยู่ในฐานะ "นายกรัฐมนตรี" ย่อมมีสายตายาวไกล มิได้คิดเพียงประโยชน์พรรค มิได้คิดเพียงประโยชน์อันจะอำนวยให้กับการเลือกตั้งที่จะมาถึง หากคิดถึงบ้านเมือง คิดถึงประเทศชาติ ประชาชน การแสดงออกของ นายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อเปรียบเทียบกับการแสดงออกของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีข้อแตกต่างกันอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะคิดในมุมของคนเป็น "หัวหน้า" พรรค ไม่ว่าจะคิดในมุมของ "นายกรัฐมนตรี" ความน่าสน ใจมิได้อยู่ที่เทียบเชิญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีถึง นายบรรหาร ศิลปอาชา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเท่านั้น หาก "นายกรัฐมนตรี" ที่มีชีวิตอยู่ยังมีอีกหลายคนนั่น ก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 1 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 1 นายอานันท์ ปันยารชุน 1 พล.อ.สุจินดา คราประยูร 1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1 นี่ย่อมเป็นเป้าหมายต่อไปของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่าทีอันมีต่อ "สภาปฏิรูปการเมือง" จึงมีความแตกต่างกันไปหากมองเพียงจากมุมของหัวหน้าพรรคการเมือง และแตกต่างกันไปหากมองจากมุมของ "นายกรัฐมนตรี" หัวหน้าพรรค อาจประเมินจากระโยชน์ "การเมือง" ขณะที่ "นายกรัฐมนตรี" อาจประเมินจากประโยชน์ "การเมือง" ประเด็นอยู่ที่ว่า“นายกรัฐมนตรี" แต่ละคนจะประเมินบทบาทและความหมายของ "สภาปฏิรูปการเมือง" จากมุมใด จากนี้จึงเห็นได้ว่า แนวคิดในเรื่อง "สภาปฏิรูปการเมือง" ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แหลมคมยิ่ง แหลม คมเพราะไม่เพียงแต่เป็นข้อเสนอในเชิง "ยุทธวิธี" หากแต่ดำเนินไปอย่างมีลักษณะในเชิง "ยุทธ ศาสตร์" ทั้งในทางการเมืองและในทางบ้านเมืองอย่างลึกซึ้งเป็นหินลองทอง เป็นสันปันน้ำ ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375690202&grpid=01&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง