ย้อนรอยปฏิรูปการเมือง "บรรหาร" ถึง "ยิ่งลักษณ์"

แสดงความคิดเห็น

ประกาศเดินหน้าเต็มที่สำหรับการจัดตั้งสภา ปฏิรูปการเมือง ภายใต้แนวคิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเชิญชวนทุกฝ่ายมาพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับประเทศอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา

หากจะย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาจะพบ ว่า แนวคิดการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองเกิดขึ้นมาในเกือบทุกรัฐบาล ผลจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 มาถึงปี 2537 สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายมารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา มีคำสั่งสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ขึ้น มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

คพป.นำเสนอปัญหาของระบบการเมืองไทยว่าเกิดจากสาเหตุ 2 ประการหลัก คือ ความไม่สุจริตและความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการเมือง ซึ่งจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ด้วยการปฏิรูปการเมือง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอไม่ปรากฏการปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม

จนมาถึงสมัยรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี พ.ศ.2538-2539 พรรคชาติไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายบรรหารในฐานะหัวหน้าพรรค นำนโยบายที่เคยรณรงค์หาเสียงโดยประกาศเป็นสัญญาประชาคมในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ.2539 ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 211 เพื่อปฏิรูปการเมือง ไปพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล

กระทั่งมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 118/2538 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) เมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ.2538 โดยมี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธาน คปก.รับหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญในการปฏิรูปการเมืองไทย ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2539 นับเป็นหัวใจของการปฏิรูปการเมือง และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540

รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 พร้อมกับฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 นำมาซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ได้แถลงนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาล 5 ประการ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า จะปฏิรูปการเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จะมุ่งสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานคุณธรรม

กระทั่งรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ลงนามคำสั่งรัฐสภาเลขที่ 16/2552 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 40 คน พร้อมทั้งตั้ง นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ศึกษาและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่ความปรองดองของประเทศ แม้จะมีข้อเสนอจากคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว แต่พอมีการเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่ได้มีการหยิบยกข้อเสนอดังกล่าวมาสานต่อแต่อย่างใด

เกี่ยวกับการจัดตั้งสภาปฏิรูปการเมืองนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ตามที่นายกฯได้แถลงคือต้องการให้มีกลไกที่ชัดเจน ซึ่งจะเรียกว่าคณะทำงานหรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่ ยังไม่ได้บอกว่าต้องเรียกว่าอะไร ส่วนการพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองก็มีความพยายามมาเป็นระยะๆ ด้วยแนวความคิดที่อาจจะแตกต่างกันไป แต่ตามที่นายกฯได้เสนอเป็นการเชิญชวนบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาร่วมปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกของ ประเทศ มาออกแบบประชาธิปไตยให้เหมาะสมกับประเทศไทย คิดว่าเป็นความตั้งใจที่ดีซึ่งหากหลายๆ ฝ่ายเข้าร่วมก็จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็คงขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายต่างๆ จะเข้าร่วมมากน้อยแค่ไหน แต่การที่จะมีเวทีเพื่อที่จะดูวิธีการแลกเปลี่ยนและช่วยกันหาทางออกประเทศก็ ย่อมจะเป็นสิ่งที่ดีแน่

นายจาตุรนต์อธิบายด้วยว่า สำหรับที่มีในสมัยรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง ซึ่งก็คือนำไปสู่การมี สสร. เมื่อประมาณปี 2539 และการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2500 จากวันนั้นจนถึงวันนี้การหาทางออกประเทศไทยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นประตูเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายต่างๆ พร้อมจะร่วมมือกันแค่ไหน เพราะว่าสภาพการณ์ในขณะนี้กับเมื่อ 17 ปีก่อน อาจจะต่างกันอยู่ตรงที่ว่า เมื่อ 17 ปีก่อน หลายฝ่ายจะมีความเห็นค่อนไปทางเดียวกัน คือเห็นว่าประเทศมีปัญหาทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งปัญหาความเข้มแข็งของรัฐบาล การตรวจสอบฝ่ายการเมืองให้ได้ดี จึงร่วมมือกันปฏิรูป แต่มาในขณะนี้ความเห็นในสังคมยังแตกต่างกันมาก เป็นเหตุให้มีวิกฤตอย่างต่อเนื่อง จึงมีจุดที่ยากกว่าในอดีต นั่นคือการหาทางออกร่วมกัน ซึ่งก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่การที่จะให้นำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นไปในทางเดียวกันนั้นก็คงจะไม่ง่าย แต่ก็ต้องพยายาม และตนหวังว่าฝ่ายต่างๆ จะเข้าร่วมพูดคุยกันด้วย

นายจาตุรนต์ปิดท้ายด้วยว่า การที่บางกลุ่มออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน ก็ต้องยอมรับว่าสังคมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าใครจะเสนออะไรขึ้นมาก็ย่อมมีคนที่เห็นแตกต่าง เพราะฉะนั้นขณะนี้ควรจะรวบรวมผู้ที่ประสงค์จะมาแลกเปลี่ยนความเห็นและเห็น ประโยชน์ของการมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รวมคนส่วนนี้มาให้มากที่สุดก่อน แล้วก็ชี้แจงทำความเข้าใจกับสังคม

โดยหวังว่าฝ่ายที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยน ใจ สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่าจะปฏิรูปอย่างไร ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรจะรีบให้คนมาคิดเหมือนกัน สามารถจะคิดต่างกันได้ แต่จะมาหาทางออกร่วมกัน เพื่อที่จะทำให้แต่ละฝ่ายมีที่ยืน และต้องพยายามให้คนที่ไม่เห็นด้วยมาคุยกันเลย

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375665743&grpid=01&catid=&subcatid=

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 5/08/2556 เวลา 04:28:18

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประกาศเดินหน้าเต็มที่สำหรับการจัดตั้งสภา ปฏิรูปการเมือง ภายใต้แนวคิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเชิญชวนทุกฝ่ายมาพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับประเทศอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา หากจะย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาจะพบ ว่า แนวคิดการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองเกิดขึ้นมาในเกือบทุกรัฐบาล ผลจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 มาถึงปี 2537 สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายมารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา มีคำสั่งสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ขึ้น มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน คพป.นำเสนอปัญหาของระบบการเมืองไทยว่าเกิดจากสาเหตุ 2 ประการหลัก คือ ความไม่สุจริตและความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการเมือง ซึ่งจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ด้วยการปฏิรูปการเมือง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอไม่ปรากฏการปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม จนมาถึงสมัยรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี พ.ศ.2538-2539 พรรคชาติไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายบรรหารในฐานะหัวหน้าพรรค นำนโยบายที่เคยรณรงค์หาเสียงโดยประกาศเป็นสัญญาประชาคมในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ.2539 ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 211 เพื่อปฏิรูปการเมือง ไปพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล กระทั่งมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 118/2538 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) เมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ.2538 โดยมี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธาน คปก.รับหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญในการปฏิรูปการเมืองไทย ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2539 นับเป็นหัวใจของการปฏิรูปการเมือง และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 พร้อมกับฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 นำมาซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ได้แถลงนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาล 5 ประการ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า จะปฏิรูปการเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จะมุ่งสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานคุณธรรม กระทั่งรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ลงนามคำสั่งรัฐสภาเลขที่ 16/2552 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 40 คน พร้อมทั้งตั้ง นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ศึกษาและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่ความปรองดองของประเทศ แม้จะมีข้อเสนอจากคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว แต่พอมีการเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่ได้มีการหยิบยกข้อเสนอดังกล่าวมาสานต่อแต่อย่างใด เกี่ยวกับการจัดตั้งสภาปฏิรูปการเมืองนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ตามที่นายกฯได้แถลงคือต้องการให้มีกลไกที่ชัดเจน ซึ่งจะเรียกว่าคณะทำงานหรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่ ยังไม่ได้บอกว่าต้องเรียกว่าอะไร ส่วนการพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองก็มีความพยายามมาเป็นระยะๆ ด้วยแนวความคิดที่อาจจะแตกต่างกันไป แต่ตามที่นายกฯได้เสนอเป็นการเชิญชวนบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาร่วมปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกของ ประเทศ มาออกแบบประชาธิปไตยให้เหมาะสมกับประเทศไทย คิดว่าเป็นความตั้งใจที่ดีซึ่งหากหลายๆ ฝ่ายเข้าร่วมก็จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็คงขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายต่างๆ จะเข้าร่วมมากน้อยแค่ไหน แต่การที่จะมีเวทีเพื่อที่จะดูวิธีการแลกเปลี่ยนและช่วยกันหาทางออกประเทศก็ ย่อมจะเป็นสิ่งที่ดีแน่ นายจาตุรนต์อธิบายด้วยว่า สำหรับที่มีในสมัยรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง ซึ่งก็คือนำไปสู่การมี สสร. เมื่อประมาณปี 2539 และการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2500 จากวันนั้นจนถึงวันนี้การหาทางออกประเทศไทยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นประตูเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายต่างๆ พร้อมจะร่วมมือกันแค่ไหน เพราะว่าสภาพการณ์ในขณะนี้กับเมื่อ 17 ปีก่อน อาจจะต่างกันอยู่ตรงที่ว่า เมื่อ 17 ปีก่อน หลายฝ่ายจะมีความเห็นค่อนไปทางเดียวกัน คือเห็นว่าประเทศมีปัญหาทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งปัญหาความเข้มแข็งของรัฐบาล การตรวจสอบฝ่ายการเมืองให้ได้ดี จึงร่วมมือกันปฏิรูป แต่มาในขณะนี้ความเห็นในสังคมยังแตกต่างกันมาก เป็นเหตุให้มีวิกฤตอย่างต่อเนื่อง จึงมีจุดที่ยากกว่าในอดีต นั่นคือการหาทางออกร่วมกัน ซึ่งก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่การที่จะให้นำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นไปในทางเดียวกันนั้นก็คงจะไม่ง่าย แต่ก็ต้องพยายาม และตนหวังว่าฝ่ายต่างๆ จะเข้าร่วมพูดคุยกันด้วย นายจาตุรนต์ปิดท้ายด้วยว่า การที่บางกลุ่มออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน ก็ต้องยอมรับว่าสังคมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าใครจะเสนออะไรขึ้นมาก็ย่อมมีคนที่เห็นแตกต่าง เพราะฉะนั้นขณะนี้ควรจะรวบรวมผู้ที่ประสงค์จะมาแลกเปลี่ยนความเห็นและเห็น ประโยชน์ของการมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รวมคนส่วนนี้มาให้มากที่สุดก่อน แล้วก็ชี้แจงทำความเข้าใจกับสังคม โดยหวังว่าฝ่ายที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยน ใจ สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่าจะปฏิรูปอย่างไร ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรจะรีบให้คนมาคิดเหมือนกัน สามารถจะคิดต่างกันได้ แต่จะมาหาทางออกร่วมกัน เพื่อที่จะทำให้แต่ละฝ่ายมีที่ยืน และต้องพยายามให้คนที่ไม่เห็นด้วยมาคุยกันเลย ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375665743&grpid=01&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง