ทางออกแก้ขัดแย้ง ปูเสนอตั้ง "สภาปฏิรูปการเมือง"

แสดงความคิดเห็น

ส่องม็อบ - พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ชมการสาธิตวิธีใช้เครื่องบินบังคับวิทยุติดกล้องวงจรปิด ซึ่งจะนำมาใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของม็อบแช่แข็งภาค 2 ที่นัดชุมนุมโค่นรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 ส.ค.

ดึงทุกพรรคทุกสี ร่วมเป็นกรรมการ ตร.ใช้ "บินบังคับ" ส่องม็อบแช่แข็ง

"นายกฯ ปู"เตรียมเสนอทางออกความขัดแย้ง ตั้งสภาปฏิรูปการเมือง ระดมทุกกลุ่มการเมืองหาทางออกจากความขัดแย้ง เตรียมแถลงรายละเอียดในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" เสาร์นี้ "มท.1" ส่งหนังสือขอรถสุขาจากกทม.มา บริการเจ้าหน้าที่ตำรวจ รับได้รับรายงานการขนม็อบมาจากภาคใต้ ด้านตร.เข้าตรึงแล้วทั้งทำเนียบ-สภา "อดุลย์" ถกศอ.รส.จัดวางกำลัง 224 กองร้อยรับมือม็อบหน้ากากขาว-แช่แข็ง ประธานวิปรัฐบาลมั่นใจร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ จบภายในวันเดียว "วรชัย" ย้ำวันที่ 7 ส.ค. พิจารณาร่างของตนฉบับเดียว มาร์คโวยรัฐประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคง ขณะ "อู๊ดด้า" อ้างเวทีผ่าความจริงแค่ให้ความรู้เรื่องกม. นิรโทษฯ โบ้ยเป่านกหวีดนำม็อบสู้นอกสภาเป็นเรื่องของเทพเทือก

ตร.224กองร้อยพร้อมรับมือ

เมื่อ เวลา 09.00 น. วันที่ 1 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง กล่าวถึงครม.ชุดเล็ก มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในพื้นที่ 3 เขต ได้แก่ พระนคร ดุสิต และป้อมปราบฯ ตั้งแต่วันที่ 1-10 ส.ค.ว่า การใช้กำลังป้องกันและป้องปรามในครั้งนี้ประกอบด้วยกำลัง 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มี 112 กองร้อย ส่วนที่ 2 อีก 112 กองร้อย รวม 224 กองร้อย แต่คงไม่ได้ใช้ทั้งหมด เพราะต้องประเมินสถานการณ์เป็นหลัก ส่วนกำลังทหารก็ใช้ตามกฎข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า สำหรับทำเนียบรัฐบาล หลังพ.ร.บ.ความมั่นคง มีผลบังคับใช้ มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจ นครบาล หน่วยปราบจลาจล 3 กองร้อย กองร้อยละ 150 นาย เข้าประจำการเพื่อคอยดูแลรักษาความปลอดภัย ทั้งภายในและโดยรอบ โดยวางกำลังตำรวจประจำประตูทางเข้าออกทุกประตู และจุดล่อแหลมต่างๆ อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ยังเตรียมกำลังตำรวจภูธรภาค 7 อีก 3 กองร้อยไว้ด้วย หากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถส่งเข้ามาเป็นกำลังเสริมได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) กำหนด

สภาเข้มงวด-ตรวจผู้เข้าภายใน

ส่วน ที่รัฐสภา วันแรกของการเปิดประชุมรัฐสภา สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเพิ่มความ เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัย ทั้งในและหน้ารัฐสภา ตรวจเข้มงวดรถยนต์ที่จะเข้ามาในรัฐสภา โดยให้เปิดประตูและกระโปรงท้ายรถ ตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน

ขณะที่ด้านในรัฐสภา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาคอยประจำจุดตามประตูทางเข้าตัวอาคาร ตรวจเข้มสัมภาระ วัตถุระเบิด อาวุธปืน ส่วนที่ชั้นลอยของอาคาร 1 รัฐสภา เพิ่มความเข้มเป็นพิเศษ อนุญาตเพียงส.ส. ส.ว. และคณะรัฐมนตรี เข้าประตูนี้ได้เท่านั้น โดยไม่ให้ ผู้ติดตาม นายตำรวจติดตาม เข้าประตูดังกล่าว และยังกันเป็นพื้นที่หวงห้ามสำหรับสื่อมวลชนอีกด้วย เนื่องจากเกรงจะมีบุคคลปลอมปนมาในหมู่นักข่าว และเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนด้านหน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 700 นาย แบ่งเป็นตำรวจปราบจลาจล 500 นาย และตำรวจควบคุมฝูงชน 200 นาย กระจายกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่โดยรอบ ขณะที่ประตูทางเข้านั้น เปิดให้เข้าเพียงจุดเดียวคือฝั่งตรงข้ามสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งมีแผงรั้วเหล็กกั้นและเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างแน่นหนา ตรวจค้นรถที่เข้า-ออกทุกคัน รวมถึงตรวจเข้มห้ามพกพาอาวุธเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด ส่วนกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่มาชุมนุมด้านหน้าอาคารรัฐสภา ยุติไปแล้วเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 31 ก.ค. โดยอยู่ระหว่างการรื้อถอนเวที

ปธ.วิปรัฐบาลมั่นใจนิรโทษฉลุย

ที่ รัฐสภา นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงสภาจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำ ความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... ที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ ในวันที่ 7 ส.ค.ว่า ไม่มีอะไรน่าห่วง คาดว่าการพิจารณา จะเสร็จภายในวันที่ 7 ส.ค. อย่างแน่นอน จากนั้นจะใช้เวลาแปรญัตติ 7 วัน เนื่องจากเนื้อหามีเพียง 4-5 มาตราเท่านั้นที่มีผู้ขอแปรญัตติ แต่ไม่น่ากังวล ส่วนกรรมาธิการที่จะมาพิจารณาแปรญัตตินั้น จะทราบหลังจากสภารับหลักการแล้ว ขณะที่การพิจารณากฎหมาย อื่นๆ คงเป็นไปตามลำดับ เนื่องจากมีกรอบเวลากำหนดไว้แล้ว เช่น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ได้ ส่งเรื่องให้ประธานสภาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมแล้ว คาดว่าจะพิจารณาวันที่ 14-16 ส.ค. ขณะที่การแถลงผลงานรัฐบาลคาดว่าจะพิจารณาได้ในช่วงเดือนก.ย.

อู๊ดด้าโบ้ยเทือก-ชูสู้นอกสภา

ที่ รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการส่งสัญญาณสถานการณ์ไม่ปกติ ทั้งที่รัฐบาลบอกเองว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะนำไปสู่การนับหนึ่งของความ ปรองดองจึงถือว่าไม่จริง ขณะเดียวกันบ่งบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและรมว.กลาโหม เป็นผู้ผลักดันการนิรโทษกรรม เพียงแต่ไม่แสดงตนว่ามีส่วนร่วมโดยตรงและปัดความรับผิดชอบ ทั้งที่รับทราบตลอดในฐานะนายกฯและสมาชิกพรรคเพื่อไทย ดังนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้น คนแรกที่ต้องรับผิดชอบคือนายกฯ

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยเตรียมฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ที่ปลุกระดมประชาชนผ่านเวทีผ่าความ จริง นายจุรินทร์กล่าวว่า เวทีดังกล่าวให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งพรรคทำต่อเนื่องหลายครั้งแล้วโดยอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย จึงอยากถามว่าทำไมพรรคเพื่อไทยไม่กล่าวหากลุ่มที่สนับสนุน ตัวเองบ้าง ส่วนที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย จะยื่นยุบพรรคประชา ธิปัตย์นั้น ใครก็ยื่นได้แต่สิ่งสำคัญคือผิดหรือไม่ผิด ตนยืนยันว่าทำภายใต้กรอบกฎหมาย แสดงออกภายใต้รัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ วิจารณ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่รู้จักจบ คอยชักใยอยู่นอกสภา นายจุรินทร์กล่าวว่า เรื่องในสภายังไม่จบ ขณะที่การเมืองนอกสภาก็ทำได้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ การที่พรรคจะออกไปพบประชาชนนอกสภาทำได้อยู่แล้ว ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส. สุราษฎร์ธานี ประกาศจะเคลื่อนไหวทุกรูปแบบนอกสภา นายจุรินทร์กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายสุเทพ แต่พรรคจะต่อสู้ในแนวทางรัฐสภาและจะสู้อย่างเต็มที่ทุกแนวทางที่มี เพื่อคัดค้านกฎหมายดังกล่าว

มาร์คแปลกใจ-ใช้พรบ.มั่นคง

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง วันที่ 1-10 ส.ค.นี้ว่า แปลกใจ เพราะรัฐบาลเคยพูดทำนองว่าไม่มีกลุ่มมวลชนมาก ไม่ต้องกังวล รวมทั้งบอกว่าการเสนอพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อให้บ้านเมืองสามัคคีปรองดอง แต่พอจะเข้าสภาก็ถึงขั้นประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงแล้ว จึง ชัดเจนว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ทำเพื่อความปรองดองแต่กำลังจะสร้างความขัดแย้ง ส่วนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หากผ่านวาระ 1 ขั้นรับหลักการก็เข้าสู่ชั้นกรรมาธิการและกลับเข้าสภาวาระ 2-3 ซึ่งต้องใช้เวลา ดังนั้นการใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง 10 วันคงไม่เพียงพอ ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะดึงดันเดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วยเสียงส่วนใหญ่ พรรคจะเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่าง ไร เพื่อให้สังคมแสดงพลังให้รัฐบาลเห็นว่าประชาชนไม่เอาด้วย และการเคลื่อนไหวมีเป้าหมายเดียวคือการล้มกฎหมายฉบับนี้

"วรชัย"เตือนปชป.อย่าป่วนสภา

ด้าน นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี และนพ. เชิดชัย ตันติสิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงยืนยันการพิจารณาร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย ในวันที่ 7 ส.ค.

นพ.เชิดชัยกล่าวว่า ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสอดไส้ หรือรวมร่างพ.ร.บ.ฉบับอื่นมาพิจารณา ในวันดังกล่าว จึงขอฝากพรรคประชาธิปัตย์อย่าทำให้สับสน หากต้องการแสดงความเห็นขอให้มาร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติจะดีกว่า ขอย้ำว่าจะเดินหน้าพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เพียงอย่างเดียว

ด้าน นายวรชัยกล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ระบุจะคัดค้านไม่ให้มีการประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันที่ 7 ส.ค.ว่า หากมีการคัดค้านและสร้างความวุ่นวาย จนส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อน ตนจะ เสนอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และรมว.กลาโหม ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ และเสนอให้การนิรโทษกรรมเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียง โดยเนื้อหาแบบยกเข่งทั้งหมด จากนั้นถามประชาชนว่าจะเอาอย่างไร การที่เราเสนอเช่นนี้เพราะเราจะปล่อยให้ประเทศเกิดความ ขัดแย้ง กลับไปสู่วังวนเดิมไม่ได้ เมื่อประชาชนเห็นอย่างไร ทุกฝ่ายก็ควรรับฟัง

เตือนปฏิวัติถูกมหาชนต่อต้านแน่

นาย วรชัยกล่าวว่า ทราบว่าขณะนี้มีการ เตรียมบ้านพักนายทหารไว้หลายแห่ง เพื่อเตรียมพร้อมจับกุมแกนนำ เห็นได้จากขณะนี้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เช่น กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ กลุ่มหน้ากากขาว และพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อนำสถาน การณ์ไปสู่ความรุนแรงเหมือนในอดีต และมีการรัฐประหาร ที่ผ่านมามีการใช้องค์กรอิสระจัดการกับรัฐบาลเกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้ก็ดำเนินการให้สถานการณ์ไปสู่จุดที่รุนแรงขึ้น เพื่อเป็นข้ออ้างรัฐประหาร โดยวันที่ 31 ก.ค. ยกตัวอย่างเกิดเหตุปาวัตถุต้องสงสัยใส่บ้านพักของพล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นนายทหารคนสนิทพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี หากเป็นไปตามที่ตนคาดการณ์ว่าความวุ่นวายจะเกิดขึ้น จะมีคนที่รักประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคนเสื้อแดง 1 ล้านคน พร้อมระดมกำลังเข้ามาได้ทันที หากรัฐบาลเอาไม่อยู่ และอยากให้ดูปัญหาจากประเทศอียิปต์เป็นตัวอย่าง หากมีการยึดอำนาจ ประชาชนจะต่อสู้อย่างหนักเหมือนที่อียิปต์และประเทศจะลุกเป็นไฟ

สภานัดแรก-พิจารณากระทู้ถาม

เมื่อ เวลา 10.00 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยประชุมสภาสามัญทั่วไปเป็นวันแรก มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน และแจ้งต่อที่ประชุมรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นปีที่ 68 รัชกาลปัจจุบัน และประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีในคราวเดียวกัน

จากนั้นที่ประชุมพิจารณากระทู้ ถามสด 3 เรื่อง คือเรื่องมาตรการการควบคุมสถาน การณ์น้ำมันรั่วในทะเล จ.ระยอง เรื่องการชุมนุมของประชาชนภายใต้กรอบของรัฐ ธรรมนูญ และเรื่องงบประมาณเพื่อสงเคราะห์ค่าทำศพตามประเพณี โดยมีการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านช่อง 11 ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจบกระทู้ถามสดในเรื่องแรก จึงเข้าสู่กระทู้ที่สอง ของนาย จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ถามพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ เรื่องการชุมนุมของประชาชนภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญว่า การประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง รัฐบาลเตรียมมาตรการดูแลประชาชนอย่างไร จะใช้มาตรการจากหนักไปเบา ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจปจ.อย่างรัฐบาลที่แล้วหรือไม่

พล.ต.อ.ประชาชี้แจงว่า การประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงครั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ ไม่ใช่การป้องปราม หรือจำกัดสิทธิประชาชน ส่วนที่กังวลผลกระทบที่อาจตามมา รัฐบาลได้ระมัดระวังและเตรียมการไว้เช่นกัน จึงอยากย้ำว่ารัฐบาลได้เตรียมพร้อมหมดแล้วทั้งระบบสาธารณูปโภค ความปลอด ภัยชีวิต และผู้ชุมนุม ทั้งนี้ ได้ให้ผบ.ตร.ดูแลตามกรอบกฎหมายของมาตรา 3 พ.ร.บ.ความมั่นคง จะต้องเป็นไปเพื่อการป้องกัน ควบคุมแก้ไขเป็นสำคัญ และจะรักษากฎควบคุมฝูงชนไว้อย่างชัดเจน จะไม่ใช้อาวุธโดยเด็ดขาด เพราะการใช้อาวุธนำมาซึ่งความสูญเสีย รุนแรงอย่างปี 2553 ซึ่งจะไม่ทำเช่นนั้น ขอให้มั่นใจ

"อุทัย"ยื่นสภาแนะถอนปรองดอง

ที่ รัฐสภา นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา ยื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และส.ส. เพื่อเสนอให้ถอนญัตติทั้ง 2 รูปแบบ คือ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากสภา เพื่อให้เกิดความสามัคคีและความปรองดองอย่างจริงใจ

นายอุทัยกล่าว ว่า สังคมไทยยังปกติ จึงไม่จำเป็นต้องมีพ.ร.บ.ทั้งสอง หากสภาพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีคนออกมาต่อต้านจะเป็น การหักด้ามพร้าด้วยเข่า ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมมากขึ้น ส่วนผู้ต้องคดีและถูกคุมขังในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง 200- 300 คนที่ระบุจะได้รับการนิรโทษกรรมตามกฎหมายดังกล่าวนั้น ความจริงประกันตัวได้และเร่งกระบวนการยุติธรรมให้เร็วขึ้นได้ จึงไม่ อยากให้เอาประชาชนทั้งชาติมาเป็นตัวประกัน ตนหวังว่าจะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย

เมื่อถามว่ามีการมองว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นการผลักดันเพื่อให้คนแดนไกลได้ประโยชน์ นายอุทัยกล่าวว่า อย่าคิดถึงขนาดนั้น แต่อยากให้ดูว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวทำให้เกิดความปรองดองจริงหรือไม่ ส่วนที่พรรคประชา ธิปัตย์เรียกร้องให้คนออกมาชุมนุมนั้น นายอุทัยกล่าวว่า การปราศรัยบนเวที กลอนอาจพาไป ซึ่งส.ส.ต้องรู้ว่าตัวเองมีวงจำกัดแค่ไหน และพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นพรรคเก่าแก่ ควรทำเป็นตัวอย่าง บางครั้งต้องกลืนเลือดตัวเองเหมือนกัน

จากนั้นนายอุทัยเข้ายื่น หนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายและขอให้วุฒิสภาหาทางออก ซึ่งนายนิคมกล่าวว่า ตนจะนำความเห็นของนายอุทัย ส่งให้สมาชิกรับทราบ โดยเฉพาะแนวทางการประกันตัวผู้ชุมนุมทางการเมือง แต่หากถึงทางตันก็ต้องออกกฎหมาย เชื่อว่าการพิจารณากฎหมายอาจใช้เวลานาน เพราะต้องผ่านทั้ง 2 สภา อาจตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน

มท.รับ-มีขนม็อบจากภาคใต้

เมื่อ เวลา 13.00 น. ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยกล่าวถึงนายสุเทพระบุจะเคลื่อน ไหวคัดค้านมากขึ้นหากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผ่านความเห็นชอบและเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2-3 ว่า ตนก็งง เพราะนายสุเทพ เป็นส.ส. มีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่กลับบอกว่าจะลุยถ้าผ่านวาระ 3 ตนสงสัยจะลุยอย่างไรเพราะถ้าผ่านเข้าวาระ 3 ร่างกฎหมายจะประกาศใช้แล้ว นายสุเทพจะไม่เคารพกฎหมาย จะละเมิดกติกา จะเปลี่ยนแปลงกติกาหรืออย่างไร มันจะวุ่นวาย และคนที่ทำความวุ่นวายคือฝ่ายค้าน ไม่ใช่รัฐบาล

เมื่อ ถามว่าจะจับตาการขนคนจากภาคใต้หรือไม่ นายจารุพงศ์กล่าวว่า มีรายงานความเคลื่อนไหว แต่ไม่แปลกเพราะฝ่ายค้านมีฐานเสียงอยู่ทางใต้ การจะมาเชียร์เป็นเรื่องปกติ ส่วนการดูแลความเรียบร้อยในกรุงเทพฯ ตนได้ลงนามในหนังสือขอความร่วมมือไปยังม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เพื่อให้ กทม.ชี้แจงชาวกทม. โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงภายทั้ง 3 เขต นอกจากนี้ให้กทม.อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จัดรถน้ำรถสุขาให้กับเจ้าหน้าที่ จะอ้างว่าไม่มีแต่จัดให้ผู้ชุมนุมคงไม่ได้ ขอให้บริการอย่างเป็นกลาง และให้ กทม.ตรวจสอบกล้องซีซีทีวีบริเวณพระบรมมหาราชวัง สถานที่สำคัญทางราชการ เขตพระราชฐานว่ากล้องทำงานได้หรือไม่ ถ้าเสียให้รีบซ่อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหากมีเหตุขึ้น ขอให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่รักษาการตามพ.ร.บ.ความมั่นคง หากขอดูภาพจากกล้อง ขอให้อำนวยความสะดวกด้วย

พท.อัด"มาร์ค-เทือก"ลั่นฟันแน่

เมื่อ เวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงกรณีรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง วันที่ 1-10 ส.ค. สอดคล้องกับที่ครอบครัวชินวัตร จะเดินทางออกนอกประเทศว่า เล่นการเมืองนอกประเด็น และยังไม่ก้าวข้ามเรื่องครอบ ครัวชินวัตรและพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น การพูดปลุกระดมให้ประชาชนสับสน ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไฟเขียวให้ส.ส.ในพรรค เคลื่อนไหวนอกสภาหากรัฐบาล ยังเดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนถึงวาระ 3 นั้น ตนเห็นว่าสภาเปิดแล้วทำไมถึงไม่มาเล่นการเมืองในสภา แต่กลับเล่นการเมืองข้างถนน แสดงให้เห็นธาตุแท้ของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพว่าอยู่เบื้องหลังม็อบ 7 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากรวบรวมหลักฐานเรียบร้อย คาดว่าสัปดาห์หน้าจะไปยื่นเรื่องกับกกต. ขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ ส.ส.พรรคประชา ธิปัตย์ ขัดต่อพ.ร.บ.พรรคการเมืองหรือไม่

รุดกองปราบบี้คดีมาร์ค-เทือก

เมื่อ เวลา 11.00 น. ที่กองปราบปราม นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายคารม พลพรกลาง ทนายความ นปช. เข้าพบ พ.ต.ท.วรพงษ์ ภวเวส พงส. กก.1 บก.ป. เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมตามคำสั่งของพนักงานอัยการ กรณีแจ้งความดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2554

นายคารมเผย ว่า ตนยังทำหนังสือถึง ผบก.ป. ขอทราบข้อมูลของบุคคลที่เคยถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้งหมด 7 คน คือนาย สุเทพ นายสุริยะใส กตะศิลา นายไทกร พลสุวรรณ นายสุชาติ ศรีสังข์ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ว่า แต่ละคนถูกดำเนินคดีในข้อหาใดบ้าง และมีเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างไรบ้าง เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลเหล่านี้ได้กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวหรือ ไม่ เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และวันที่ 3 ส.ค.นี้ตนจะไปติดตามความคืบหน้าการดำเนินคดีกับแกนนำผู้ชุมนุม ที่ สน.ดุสิต และสัปดาห์หน้าจะไปสอบถามความคืบหน้าคดีของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

"เหวง"ปูดแผนจับตัว"ปู-ปธ.สภา"

ด้าน นพ.เหวงกล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบ ทักษิณ ในวันที่ 4 ส.ค.ว่า ขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงอย่าตื่นตระหนก ขอให้อยู่ในที่ตั้งและรอฟังแกนนำส่งสัญญาณอีกครั้ง ทั้งนี้ ตนมีสายข่าวอยู่ในกลุ่มคณะเสนาธิการร่วมฯ แจ้งมาว่า การชุมนุมครั้งนี้มีการวางแผนลับจับตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ ประธานสภาและรองประธานทั้ง 2 คน เพื่อไม่ให้มีการประชุมสภาในวันที่ 7 ส.ค.ที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงอยากเตือนกลุ่มดังกล่าวว่าอย่าทำตามแผน เพราะจะเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 ข้อหาวางแผนประทุษร้าย เข้าข่ายกบฏ และอยากให้หน่วยรักษาความปลอดภัยของบุคคลทั้ง 4 เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้แผนลับ ดังกล่าวสำเร็จ

นพ.เหวงกล่าวว่า นอกจากนี้กลุ่มกองทัพประชาชนฯ ยังวางแผนให้การจราจรในกรุงเทพฯ เป็นอัมพาตทั้งเมือง โดยทำให้เกิดความโกลาหลในจุดที่อยู่นอกเขตที่ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง จึงอยากให้ตำรวจดูแลพื้นที่ที่ไม่ได้ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงด้วย หากกลุ่มกองทัพประชาชนฯกังวลใจในเนื้อหาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว อยากเสนอให้ไปคุยกับพรรคประชาธิปัตย์ ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาร่างดังกล่าว

ระทึกชายหน้ากากขาวเข้าทำเนียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ เป็นวันแรกที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาประจำการที่ทำเนียบรัฐ บาลตั้งแต่ช่วงเช้า ปรากฏว่า เมื่อเวลา 17.15 น. มีชายคนหนึ่งอายุประมาณ 30 ปีเศษ มีหนวดเคราเล็กน้อย สวมเสื้อยืดสีขาว กางเกงสีน้ำตาล ได้ขี่จักรยานเข้ามาภายในทำเนียบ น่าสังเกตว่าบริเวณแฮนด์หน้ารถได้ห้อยหน้ากากขาวอันใหญ่สะดุดตา ซึ่งสร้างความตกใจให้กับข้าราชการที่ออกกำลังกายอยู่ โดยชายคนดังกล่าวขี่จักรยานมาจอดที่เชิงบันไดทางขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าแล้วถ่าย รูปตึกไทยฯ ก่อนขี่ขึ้นไปด้านหน้าตึก ซึ่งปกตินายกฯและครม.จะใช้เป็นที่ขึ้นลงรถยนต์

จากนั้น ชายคนดังกล่าวขี่จักรยานผ่านตึกสันติไมตรี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ไปรษณีย์และผ่านหน้าประตู 4 เลียบไปทางศูนย์บริการประชาชน และหยุดที่หน้าร้าน เซเว่นฯ ใกล้สำนักเลขาธิการนายกฯ ก่อนเข้าไปทำทีเดินดูสินค้าภายในร้านแต่ไม่ได้ซื้ออะไร เมื่อเห็นว่ามีผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่ตำรวจตามมา ชายคนดังกล่าวก็รีบคว้าจักรยาน แล้วขี่ผ่านไปทางตึกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก่อนออกประตู 5 ซึ่งอยู่ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ

เจ้า หน้าที่ตำรวจสันติบาลได้ติดตามตัวชายคนดังกล่าวได้ที่หน้าสนามมวยราชดำเนิน สอบถามทราบชื่อคือ นายยุทธนา โสมะภีร์ เกิดวันที่ 26 พ.ย. 2511 บ้านเลขที่ 357 ซ.รังสิต-นครนายก ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี มีอาชีพขายเสื้อผ้าอยู่ย่านเทเวศร์ โดยขี่จักรยานเข้ามาทางสะพานอรทัย ก่อนเลียบคลองเข้าประตู 8 โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ หลังสอบถามเสร็จ เจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัวไป

อดุลย์ถกศอ.รส.ดูแลความสงบ

เวลา 11.00 น. ห้องประชุม ศปก.ตร. ชั้น 20 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบ ร้อย (ศอ.รส.) และผู้บัญชาการเหตุการณ์ ประชุมร่วมกับตัวแทนกองทัพบก กรุงเทพ มหานคร เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย รวมถึงพื้นที่สำคัญ เพื่อปกป้องในเขตพระราชฐานที่ใกล้จะมีพระราชพิธีสำคัญในวันที่ 12 ส.ค.นี้ ซึ่งเบื้องต้นกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ประชุมเตรียมความพร้อมรับมือการชุมนุม โดยจัดกำลังตำรวจทั้งหมด 20 กองร้อยหรือ 3,000 นาย ไว้ดูแลความสงบเรียบร้อย กระจายกำลังดูเเลจุดสำคัญทุกจุด ตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 31 ก.ค.โดยจะปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย และยึดหลักการเจรจา ยืนยันให้ความเป็นธรรมเเละดูเเลความสงบเรียบร้อย

ตร.วางกำลังแล้ว 11 จุดพื้นที่มั่นคง

ที่ รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมสภาวันที่ 7 ส.ค. ที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า ตนไม่กังวลว่าจะมีความวุ่นวาย เพราะเชื่อว่าส.ส.ทุกคนมีวุฒิภาวะและจิตสำนึก ความวุ่นวายที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์เคลื่อนไหวนอกสภาอยู่ขณะนี้นั้น เป็นเรื่องมองต่างมุม จะทำอะไรขอให้อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ และตนดูอยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะคนในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีสถานะเป็นส.ส. ส่วนการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ไม่มีอะไรมาก ถ้ามาโดยธรรมชาติคงมีผู้ชุมนุมไม่ถึง 1 หมื่นคน คาดว่าการชุมนุมจะไม่ยืดเยื้อ

ที่บช.น. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พร้อมด้วยพล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รองผบช.น. ได้ประชุมสรุปแผนการดูแลความปลอดภัยกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกำหนดจุดแผนผังแสดงพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่ปฏิบัติการทำเนียบรัฐบาล รัฐสภาและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยวางกำลังไว้ 3 ระลอก รวม 35 กองร้อย ซึ่งกำลังระลอกแรก 12 กองร้อย ได้แก่ บช.น. นักเรียนนายสิบ (นนส.) ศูนย์ฝึกอบรมกลาง และกองบังคับการกองปราบปราม (บก.ป.) กำลังระลอก 2 รวม 23 กองร้อยใช้กำลังจาก บช.ตชด. และบช.ภ.1, 2, 7 และกำลังระลอก 3 รวม 35 กองร้อย ใช้กำลังบก.ตชด. และบช.ภ.3,4,6 วางกำลังไว้ 11 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 รัฐสภา จุดที่ 2 แยกราชวิถี จุดที่ 3 แยกขัตติยานี จุดที่ 4 แยกการเรือน จุดที่ 5 โค้งปตท. จุดที่ 6 ทำเนียบรัฐบาล จุดที่ 7 สะพานชมัยมรุเชฐ จุดที่ 8 แยกสวนมิสกวัน จุดที่ 9 สะพานมัฆวาน จุดที่ 10 สะพานอรทัย และจุดที่ 11 บช.น.

ใช้เครื่องบินบังคับจับภาพม็อบ

ต่อมา พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พร้อมด้วยพล.ต.ต.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รองผบช.น. ได้พาสื่อมวลชนชมการสาธิตการใช้เครื่องบินบังคับวิทยุติดกล้องวงจรปิด ซึ่งจะนำมาใช้ระหว่างการชุมนุมในวันที่ 4 ส.ค.นี้ โดย จัดแสดงบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าบช.น. สำหรับเครื่องบินบังคับดังกล่าวจะใช้ถ่ายภาพมุมสูง พร้อมส่งสัญญาณภาพไปที่ศูนย์ปฏิบัติการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปก.บช.น.) และบันทึกไว้ เพื่อนำมาประกอบการดำเนินคดี หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้น

พล.ต.ท. คำรณวิทย์กล่าวว่า การนำเอาเครื่องบินบังคับมาใช้ครั้งนี้ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ตำรวจต้องเก็บภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ให้ได้ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้บช.น.มีอุปกรณ์และกำลังพลพร้อมปฏิบัติการทุกอย่าง ทั้งกล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆโดยรอบพื้นที่ชุมนุม กล้องถ่ายภาพนิ่งซึ่งจะมอบให้ตำรวจที่ผ่านการอบรมเรื่องการถ่ายภาพ นำไปใช้เก็บภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยนำกรณีม็อบหน้ากระทรวงกลาโหมมาเป็นตัวอย่าง

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า เครื่องบินบังคับติดกล้องวงจรปิด 2 ตัว ราคากว่า 1 แสนบาท จะขึ้นบินโดยไม่มีเสียง บันทึกภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เก็บภาพได้สูงถึง 300 เมตร ในระยะทาง 2 กิโลเมตร บินได้นาน 30 นาที จากนั้นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งภาพจากกล้องวงจรปิดจะส่งมาที่ศปก.น. เพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุ การณ์ผิดปกติ หรือมีใครฝ่าฝืนกฎหมายบ้าง ดังนั้นใครที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ตำรวจมีหลักฐานเพียงพอดำเนินคดี โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ระหว่างการประกันตัว

"ตำรวจ จะดูแลประชาชนอย่างดี ไม่ให้มีมือที่สามมาสร้างสถานการณ์ แต่ขอให้กลุ่ม ผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบกฎหมาย ขณะนี้ยัง ไม่สามารถประเมินจำนวนผู้ที่มาชุมนุมได้" ผบช.น. กล่าว

ม็อบแช่แข็งนัดเปิดสถานที่ชุมนุม

ที่ สนามม้านางเลิ้ง พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ แกนนำม็อบแช่แข็งประเทศ รุ่นที่ 2 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายพิเชฐ พัฒนโชติ ระบุหลังจากกลุ่มธรรมาธิปไตยเลิกชุมนุมที่สนามหลวง กลุ่มพันธมิตรฯ มีมติยังไม่ออกมาเคลื่อนไหว และพรรคประชาธิปัตย์จะคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจนถึงวาระ 3 จึง ต้องจับตาและพิจารณาสถานการณ์อย่าง ใกล้ชิดว่า ขณะนี้กำหนดการชุมนุมของกองทัพประชาชนฯ ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี กล่าวว่า ในวันเสาร์ที่ 3 ส.ค.นี้จะเปิดเผยสถานที่นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 4 ส.ค. โดยจะชุมนุมตามจุดมุ่งหมายเดิม ส่วนที่มีตำรวจตั้งด่านในพื้นที่ประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงนั้น ต้องถามว่าทำไปเพื่ออะไร เพราะขณะนี้ยังไม่มีการชุมนุม ดังนั้น กองทัพประชาชนฯ จะใช้สิทธิ์ตามกฎหมายยื่นหนังสือร้องกรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยจะยื่นภายในวันที่ 2 ส.ค. เพื่อเอาผิดรัฐบาลกรณีประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงว่าทำถูกต้องหรือไม่ เพราะเราเคลื่อนไหวในกรอบสิทธิรัฐธรรม นูญตามมาตรา 63 แต่รัฐบาลกลับใช้กฎหมายลูก ซึ่งต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ จึงเป็นการปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุม ทั้งที่ขณะนี้ยังไม่มีการเคลื่อนไหว

นาย ไทกร พลสุวรรณ กล่าวถึงนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดงระบุผู้ชุมนุมกองทัพประชาชนฯ เตรียมจับตัวนายกฯ ประธานและรองประธานสภา เพื่อไม่ให้มี การประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม วันที่ 7 ส.ค.ว่า เพ้อเจ้อ เป็นไปไม่ได้ เพราะ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนชรา จะไปจับตัว นายกฯ ได้อย่างไร ถ้าไปยืนด่านายกฯ จะเป็นไปได้มากกว่า

40 ส.ว.ไม่พอใจใช้พ.ร.บ.มั่นคง

ที่ รัฐสภา นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา แถลงว่าอยากให้รัฐบาลทบทวนการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะการชุมนุมของอพส. เมื่อวันที่ 24 พ.ย.55 พบว่า การใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นการลิดรอนสิทธิ์ เพราะไม่มีการประกาศปิดเส้นทางการจราจรให้ประชาชนทราบล่วงหน้า รวมถึงตำรวจที่ควบคุมฝูงชนแต่ละพื้นที่ไม่มีการกำหนดหัวหน้าชุดที่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุวุ่นวายจึงหาผู้รับผิดชอบไม่ได้

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหากล่าวว่า มาตรา 15 ของพ.ร.บ.ความมั่นคงบัญญัติว่ากรณีที่ปรากฏเหตุกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มจะอยู่ต่อไปนาน ทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาของหน่วยงานของรัฐ หลายหน่วย ซึ่งกมธ.เห็นว่าการประกาศ ดังกล่าวอาจมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะการชุมนุมยังไม่เกิดขึ้นจึงไม่มีแนวโน้มจะใช้เวลานาน และเรื่องดังกล่าวมีตร.เพียงหน่วยงานเดียวรับผิดชอบดูแลการชุมนุม ดังนั้น วันที่ 8 ส.ค.นี้ กมธ.จะเชิญนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ที่เป็นผู้ประกาศพ.ร.บ.ดังกล่าว รวมถึงพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.เข้าชี้แจงต่อ กมธ.

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOREF5TURnMU5nPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 2/08/2556 เวลา 03:40:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ทางออกแก้ขัดแย้ง ปูเสนอตั้ง "สภาปฏิรูปการเมือง"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ส่องม็อบ - พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ชมการสาธิตวิธีใช้เครื่องบินบังคับวิทยุติดกล้องวงจรปิด ซึ่งจะนำมาใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของม็อบแช่แข็งภาค 2 ที่นัดชุมนุมโค่นรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ดึงทุกพรรคทุกสี ร่วมเป็นกรรมการ ตร.ใช้ "บินบังคับ" ส่องม็อบแช่แข็ง "นายกฯ ปู"เตรียมเสนอทางออกความขัดแย้ง ตั้งสภาปฏิรูปการเมือง ระดมทุกกลุ่มการเมืองหาทางออกจากความขัดแย้ง เตรียมแถลงรายละเอียดในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" เสาร์นี้ "มท.1" ส่งหนังสือขอรถสุขาจากกทม.มา บริการเจ้าหน้าที่ตำรวจ รับได้รับรายงานการขนม็อบมาจากภาคใต้ ด้านตร.เข้าตรึงแล้วทั้งทำเนียบ-สภา "อดุลย์" ถกศอ.รส.จัดวางกำลัง 224 กองร้อยรับมือม็อบหน้ากากขาว-แช่แข็ง ประธานวิปรัฐบาลมั่นใจร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ จบภายในวันเดียว "วรชัย" ย้ำวันที่ 7 ส.ค. พิจารณาร่างของตนฉบับเดียว มาร์คโวยรัฐประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคง ขณะ "อู๊ดด้า" อ้างเวทีผ่าความจริงแค่ให้ความรู้เรื่องกม. นิรโทษฯ โบ้ยเป่านกหวีดนำม็อบสู้นอกสภาเป็นเรื่องของเทพเทือก ตร.224กองร้อยพร้อมรับมือ เมื่อ เวลา 09.00 น. วันที่ 1 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง กล่าวถึงครม.ชุดเล็ก มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในพื้นที่ 3 เขต ได้แก่ พระนคร ดุสิต และป้อมปราบฯ ตั้งแต่วันที่ 1-10 ส.ค.ว่า การใช้กำลังป้องกันและป้องปรามในครั้งนี้ประกอบด้วยกำลัง 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มี 112 กองร้อย ส่วนที่ 2 อีก 112 กองร้อย รวม 224 กองร้อย แต่คงไม่ได้ใช้ทั้งหมด เพราะต้องประเมินสถานการณ์เป็นหลัก ส่วนกำลังทหารก็ใช้ตามกฎข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้สื่อข่าว รายงานว่า สำหรับทำเนียบรัฐบาล หลังพ.ร.บ.ความมั่นคง มีผลบังคับใช้ มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจ นครบาล หน่วยปราบจลาจล 3 กองร้อย กองร้อยละ 150 นาย เข้าประจำการเพื่อคอยดูแลรักษาความปลอดภัย ทั้งภายในและโดยรอบ โดยวางกำลังตำรวจประจำประตูทางเข้าออกทุกประตู และจุดล่อแหลมต่างๆ อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ยังเตรียมกำลังตำรวจภูธรภาค 7 อีก 3 กองร้อยไว้ด้วย หากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถส่งเข้ามาเป็นกำลังเสริมได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) กำหนด สภาเข้มงวด-ตรวจผู้เข้าภายใน ส่วน ที่รัฐสภา วันแรกของการเปิดประชุมรัฐสภา สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเพิ่มความ เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัย ทั้งในและหน้ารัฐสภา ตรวจเข้มงวดรถยนต์ที่จะเข้ามาในรัฐสภา โดยให้เปิดประตูและกระโปรงท้ายรถ ตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขณะที่ด้านในรัฐสภา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาคอยประจำจุดตามประตูทางเข้าตัวอาคาร ตรวจเข้มสัมภาระ วัตถุระเบิด อาวุธปืน ส่วนที่ชั้นลอยของอาคาร 1 รัฐสภา เพิ่มความเข้มเป็นพิเศษ อนุญาตเพียงส.ส. ส.ว. และคณะรัฐมนตรี เข้าประตูนี้ได้เท่านั้น โดยไม่ให้ ผู้ติดตาม นายตำรวจติดตาม เข้าประตูดังกล่าว และยังกันเป็นพื้นที่หวงห้ามสำหรับสื่อมวลชนอีกด้วย เนื่องจากเกรงจะมีบุคคลปลอมปนมาในหมู่นักข่าว และเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนด้านหน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 700 นาย แบ่งเป็นตำรวจปราบจลาจล 500 นาย และตำรวจควบคุมฝูงชน 200 นาย กระจายกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่โดยรอบ ขณะที่ประตูทางเข้านั้น เปิดให้เข้าเพียงจุดเดียวคือฝั่งตรงข้ามสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งมีแผงรั้วเหล็กกั้นและเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างแน่นหนา ตรวจค้นรถที่เข้า-ออกทุกคัน รวมถึงตรวจเข้มห้ามพกพาอาวุธเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด ส่วนกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่มาชุมนุมด้านหน้าอาคารรัฐสภา ยุติไปแล้วเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 31 ก.ค. โดยอยู่ระหว่างการรื้อถอนเวที ปธ.วิปรัฐบาลมั่นใจนิรโทษฉลุย ที่ รัฐสภา นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงสภาจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำ ความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... ที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ ในวันที่ 7 ส.ค.ว่า ไม่มีอะไรน่าห่วง คาดว่าการพิจารณา จะเสร็จภายในวันที่ 7 ส.ค. อย่างแน่นอน จากนั้นจะใช้เวลาแปรญัตติ 7 วัน เนื่องจากเนื้อหามีเพียง 4-5 มาตราเท่านั้นที่มีผู้ขอแปรญัตติ แต่ไม่น่ากังวล ส่วนกรรมาธิการที่จะมาพิจารณาแปรญัตตินั้น จะทราบหลังจากสภารับหลักการแล้ว ขณะที่การพิจารณากฎหมาย อื่นๆ คงเป็นไปตามลำดับ เนื่องจากมีกรอบเวลากำหนดไว้แล้ว เช่น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ได้ ส่งเรื่องให้ประธานสภาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมแล้ว คาดว่าจะพิจารณาวันที่ 14-16 ส.ค. ขณะที่การแถลงผลงานรัฐบาลคาดว่าจะพิจารณาได้ในช่วงเดือนก.ย. อู๊ดด้าโบ้ยเทือก-ชูสู้นอกสภา ที่ รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการส่งสัญญาณสถานการณ์ไม่ปกติ ทั้งที่รัฐบาลบอกเองว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะนำไปสู่การนับหนึ่งของความ ปรองดองจึงถือว่าไม่จริง ขณะเดียวกันบ่งบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและรมว.กลาโหม เป็นผู้ผลักดันการนิรโทษกรรม เพียงแต่ไม่แสดงตนว่ามีส่วนร่วมโดยตรงและปัดความรับผิดชอบ ทั้งที่รับทราบตลอดในฐานะนายกฯและสมาชิกพรรคเพื่อไทย ดังนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้น คนแรกที่ต้องรับผิดชอบคือนายกฯ เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยเตรียมฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ที่ปลุกระดมประชาชนผ่านเวทีผ่าความ จริง นายจุรินทร์กล่าวว่า เวทีดังกล่าวให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งพรรคทำต่อเนื่องหลายครั้งแล้วโดยอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย จึงอยากถามว่าทำไมพรรคเพื่อไทยไม่กล่าวหากลุ่มที่สนับสนุน ตัวเองบ้าง ส่วนที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย จะยื่นยุบพรรคประชา ธิปัตย์นั้น ใครก็ยื่นได้แต่สิ่งสำคัญคือผิดหรือไม่ผิด ตนยืนยันว่าทำภายใต้กรอบกฎหมาย แสดงออกภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่วนที่ วิจารณ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่รู้จักจบ คอยชักใยอยู่นอกสภา นายจุรินทร์กล่าวว่า เรื่องในสภายังไม่จบ ขณะที่การเมืองนอกสภาก็ทำได้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ การที่พรรคจะออกไปพบประชาชนนอกสภาทำได้อยู่แล้ว ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส. สุราษฎร์ธานี ประกาศจะเคลื่อนไหวทุกรูปแบบนอกสภา นายจุรินทร์กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายสุเทพ แต่พรรคจะต่อสู้ในแนวทางรัฐสภาและจะสู้อย่างเต็มที่ทุกแนวทางที่มี เพื่อคัดค้านกฎหมายดังกล่าว มาร์คแปลกใจ-ใช้พรบ.มั่นคง นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง วันที่ 1-10 ส.ค.นี้ว่า แปลกใจ เพราะรัฐบาลเคยพูดทำนองว่าไม่มีกลุ่มมวลชนมาก ไม่ต้องกังวล รวมทั้งบอกว่าการเสนอพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อให้บ้านเมืองสามัคคีปรองดอง แต่พอจะเข้าสภาก็ถึงขั้นประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงแล้ว จึง ชัดเจนว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ทำเพื่อความปรองดองแต่กำลังจะสร้างความขัดแย้ง ส่วนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หากผ่านวาระ 1 ขั้นรับหลักการก็เข้าสู่ชั้นกรรมาธิการและกลับเข้าสภาวาระ 2-3 ซึ่งต้องใช้เวลา ดังนั้นการใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง 10 วันคงไม่เพียงพอ ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะดึงดันเดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วยเสียงส่วนใหญ่ พรรคจะเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่าง ไร เพื่อให้สังคมแสดงพลังให้รัฐบาลเห็นว่าประชาชนไม่เอาด้วย และการเคลื่อนไหวมีเป้าหมายเดียวคือการล้มกฎหมายฉบับนี้ "วรชัย"เตือนปชป.อย่าป่วนสภา ด้าน นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี และนพ. เชิดชัย ตันติสิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงยืนยันการพิจารณาร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย ในวันที่ 7 ส.ค. นพ.เชิดชัยกล่าวว่า ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสอดไส้ หรือรวมร่างพ.ร.บ.ฉบับอื่นมาพิจารณา ในวันดังกล่าว จึงขอฝากพรรคประชาธิปัตย์อย่าทำให้สับสน หากต้องการแสดงความเห็นขอให้มาร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติจะดีกว่า ขอย้ำว่าจะเดินหน้าพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เพียงอย่างเดียว ด้าน นายวรชัยกล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ระบุจะคัดค้านไม่ให้มีการประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันที่ 7 ส.ค.ว่า หากมีการคัดค้านและสร้างความวุ่นวาย จนส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อน ตนจะ เสนอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง