ล้างบางส.ว.สรรหา-สมหวังเพื่อไทย
“วันที่ 19-20 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท สำหรับการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาลจะมีขึ้นในวันที่ 25 ก.ย. ขณะรอเพียงสภาผู้แทนราษฎรลงนามรับทราบการประชุมก็จะเป็นตามนี้แน่ นอน”
อำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาลให้สัมภาษณ์ไว้อย่างนี้
ถือเป็นความคืบหน้าอีกก้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในด้านนิติบัญญัติ
ผ่านนิรโทษกรรมไปแช่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของส.ว.” ก็ผ่านวาระรอ “อย่างน้อย” 15 วัน ถึงจะกลับมาโหวตวาระ 3 ส่วนร่างพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่านชั้นกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลับเข้าสภา ถ้าผ่านวาระ 3 ก็ส่งต่อไปวุฒิสภา
ดูไปแล้วทั้งหมดนี้ พรรคเพื่อไทยหวังจะทำให้เสร็จในสมัยประชุมนี้
ทำให้เสร็จในที่นี้หมายถึง ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปให้ได้ จากนั้นค่อยไป “ลุยไฟ” เอาในขั้นตอนของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่ “วินิจฉัย” ว่ากระบวนการแก้ไขหรือการออกกฎหมายเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของส.ว.” มีมากมายหลายประเด็นเหลือเกินที่จะถูกยื่นให้วินิจฉัยว่า กระบวนการแก้ไข “ชอบ” หรือ “ไม่ชอบ” ไม่ใช่ว่าการวินิจฉัยว่าแก้ไขรายมาตราทำได้หรือไม่ได้
นายราเมศ รัตนชเวง รองโฆษกและทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ที่เดชะบุญรอดพ้นจากการถูกทำร้ายร่างกายแบบเจียนตายมาได้ ระบุว่าในวันที่ 13 ก.ย. คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) จะประชุมเพื่อเตรียมคำร้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการกระทำของประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา และส.ส.รัฐบาล ที่ใช้เสียงมากลากไปในทางที่ผิดต่อหลักเกณฑ์ความถูกต้อง ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม
ประธานรัฐสภาชื่อ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานรัฐสภาชื่อ นิคม ไวยรัชพานิช
การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย” เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยและส.ว.เลือกตั้งที่เข้าชื่อแก้ไขกติกาในครัั้ง นี้ “คาดหมาย” ไว้อยู่แล้ว
ในหลายต่อหลายประเด็นที่ถูกมองว่า “หมิ่นเหม่” จะเกิดปัญหานั้นมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกวิจารณ์กันว่าสามารถ “ทำได้” หรือ “ทำไม่ได้” นั่นคือการแก้ไขในมาตรา 12 ที่ “เสียงข้างมาก” แก้ไขด้วยการไปตัดสิทธิส.ว.สรรหาที่ได้รับการ “สรรหา” เข้ามาเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2553
ความจริงส.ว.สรรหานั้นจะปฏิบัติหน้าที่ไปจนครบวาระซึ่งก็หมายความว่าต้องทำหน้าที่ต่อไปอีก 3 ปี แม้ส.ว.เลือกตั้งจะมาตาม
กติกาใหม่จำนวน 200 คนก็ตาม
แต่ในการแก้ไขครั้งนี้ นอกจากจะให้มีส.ว.ทั้งมาจากการเลือกตั้งแล้ว ยังเขียนกฎหมาย “ตัดสิทธิ” ส.ว.สรรหาซึ่งมีที่มาตามรัฐธรรมนูญปี 50 ออกไปด้วย
บางคนเรียกวิธีการนี้ว่า ถอนรากถอนโคน เอา “ของใหม่” ซึ่งให้สิทธิกับทุกฝ่ายทั้งส.ว.ปัจจุบัน ทั้งเครือญาตินักการเมือง เข้ามา
แล้วก็เอา “ของปัจจุบัน” อย่างส.ว.สรรหา ออกไปโดยไม่ต้องรอหมดวาระ
ถ้าแก้ ’วาระ“ กันได้อย่างนี้ ต่อไปก็อาจจะมีการ ’ตัดวาระ“ ของผู้ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระขึ้นมาก็ได้ ใครจะไปรู้!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/4/232752 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ล้างบางส.ว.สรรหา-สมหวังเพื่อไทย “วันที่ 19-20 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท สำหรับการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาลจะมีขึ้นในวันที่ 25 ก.ย. ขณะรอเพียงสภาผู้แทนราษฎรลงนามรับทราบการประชุมก็จะเป็นตามนี้แน่ นอน” อำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาลให้สัมภาษณ์ไว้อย่างนี้ ถือเป็นความคืบหน้าอีกก้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในด้านนิติบัญญัติ ผ่านนิรโทษกรรมไปแช่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของส.ว.” ก็ผ่านวาระรอ “อย่างน้อย” 15 วัน ถึงจะกลับมาโหวตวาระ 3 ส่วนร่างพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่านชั้นกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลับเข้าสภา ถ้าผ่านวาระ 3 ก็ส่งต่อไปวุฒิสภา ดูไปแล้วทั้งหมดนี้ พรรคเพื่อไทยหวังจะทำให้เสร็จในสมัยประชุมนี้ ทำให้เสร็จในที่นี้หมายถึง ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปให้ได้ จากนั้นค่อยไป “ลุยไฟ” เอาในขั้นตอนของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่ “วินิจฉัย” ว่ากระบวนการแก้ไขหรือการออกกฎหมายเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของส.ว.” มีมากมายหลายประเด็นเหลือเกินที่จะถูกยื่นให้วินิจฉัยว่า กระบวนการแก้ไข “ชอบ” หรือ “ไม่ชอบ” ไม่ใช่ว่าการวินิจฉัยว่าแก้ไขรายมาตราทำได้หรือไม่ได้ นายราเมศ รัตนชเวง รองโฆษกและทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ที่เดชะบุญรอดพ้นจากการถูกทำร้ายร่างกายแบบเจียนตายมาได้ ระบุว่าในวันที่ 13 ก.ย. คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) จะประชุมเพื่อเตรียมคำร้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการกระทำของประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา และส.ส.รัฐบาล ที่ใช้เสียงมากลากไปในทางที่ผิดต่อหลักเกณฑ์ความถูกต้อง ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม ประธานรัฐสภาชื่อ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานรัฐสภาชื่อ นิคม ไวยรัชพานิช การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย” เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยและส.ว.เลือกตั้งที่เข้าชื่อแก้ไขกติกาในครัั้ง นี้ “คาดหมาย” ไว้อยู่แล้ว ในหลายต่อหลายประเด็นที่ถูกมองว่า “หมิ่นเหม่” จะเกิดปัญหานั้นมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกวิจารณ์กันว่าสามารถ “ทำได้” หรือ “ทำไม่ได้” นั่นคือการแก้ไขในมาตรา 12 ที่ “เสียงข้างมาก” แก้ไขด้วยการไปตัดสิทธิส.ว.สรรหาที่ได้รับการ “สรรหา” เข้ามาเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2553 ความจริงส.ว.สรรหานั้นจะปฏิบัติหน้าที่ไปจนครบวาระซึ่งก็หมายความว่าต้องทำหน้าที่ต่อไปอีก 3 ปี แม้ส.ว.เลือกตั้งจะมาตาม กติกาใหม่จำนวน 200 คนก็ตาม แต่ในการแก้ไขครั้งนี้ นอกจากจะให้มีส.ว.ทั้งมาจากการเลือกตั้งแล้ว ยังเขียนกฎหมาย “ตัดสิทธิ” ส.ว.สรรหาซึ่งมีที่มาตามรัฐธรรมนูญปี 50 ออกไปด้วย บางคนเรียกวิธีการนี้ว่า ถอนรากถอนโคน เอา “ของใหม่” ซึ่งให้สิทธิกับทุกฝ่ายทั้งส.ว.ปัจจุบัน ทั้งเครือญาตินักการเมือง เข้ามา แล้วก็เอา “ของปัจจุบัน” อย่างส.ว.สรรหา ออกไปโดยไม่ต้องรอหมดวาระ ถ้าแก้ ’วาระ“ กันได้อย่างนี้ ต่อไปก็อาจจะมีการ ’ตัดวาระ“ ของผู้ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระขึ้นมาก็ได้ ใครจะไปรู้!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/4/232752 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)