วันตักบาตรเทโวโรหณะ (วันพระเจ้าเปิดโลก)

แสดงความคิดเห็น

วันตักบาตรเทโวโรหณะ (วันพระเจ้าเปิดโลก)

กิจกรรมในวันออกพรรษาตามที่ปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมจนถึงปัจจุบัน คือ การตักบาตรเทโวโรหณะ

การตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมกระทำในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นการทำบุญระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงที่เมืองสังกัสสนคร โดยเสด็จลงบันไดแก้ว อันมีอยู่ในท่ามกลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา เป็นที่ลงของหมู่เทวดาตามส่งเสด็จ บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เป็นที่ลงแห่งหมู่พรหมทั้งหลาย

หลังจากที่พระองค์เสด็จไปจำพรรษาอยู่ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา วันเช่นนี้จัดเป็นกาลทาน คือ มีปีละครั้ง

วันตักบาตรเทโวโรหณะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก กล่าวกันว่า มนุษย์และเทวดาพร้อมสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างมองเห็นกายของกันปรากฏชัด พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดท่านเหล่านั้นให้ได้บรรลุธรรมนับไม่ถ้วน

พุทธศาสนิกชนต่างรอคอยเข้าเฝ้ากราบไหว้พระพุทธองค์ พร้อมใจกันจัดเตรียมอาหารใส่บาตรโดยมิได้นัดหมายกัน ภัตตาหารที่จัดเตรียมใส่บาตรมีมาก ผู้คนยิ่งแออัดมากเข้าไม่ถึงพระ จึงนำเอาข้าวสาลีทำเป็นห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆ บ้าง โยนเข้าไปหาพระ ด้วยประสงค์จะใส่บาตร จึงเป็นเหตุที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นภัตตาหารในการตักบาตรเทโวโรหณะ

แต่ปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้าวต้มลูกโยนซึ่ง ยังคงมีอยู่บ้าง บางวัดอาจมีพิธีตักบาตรดอกไม้ โดยส่วนมาก จะเป็นประเภทข้าวสารอาหารแห้ง หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับ พระสงฆ์

เมื่อถึงวันเทโวโรหณะ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการปฏิบัติตนดังนี้

เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่ง หรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีผู้เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์

หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ ตลอดถึงสรรพสัตว์

พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา เมื่อเทศกาลออกพรรษามาถึงแล้ว ไม่ควรพลาดโอกาสสร้างบุญความดีชำระกาย วาจา และใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล บริจาคทาน เจริญภาวนา เพื่อเติมความสุขให้ชีวิต อีกทั้งเป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม

และเป็นการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ... https://goo.gl/gEF03i (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: www.itti-patihan.com/
วันที่โพสต์: 10/01/2560 เวลา 13:27:29 ดูภาพสไลด์โชว์ วันตักบาตรเทโวโรหณะ (วันพระเจ้าเปิดโลก)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันตักบาตรเทโวโรหณะ (วันพระเจ้าเปิดโลก) กิจกรรมในวันออกพรรษาตามที่ปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมจนถึงปัจจุบัน คือ การตักบาตรเทโวโรหณะ การตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมกระทำในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นการทำบุญระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงที่เมืองสังกัสสนคร โดยเสด็จลงบันไดแก้ว อันมีอยู่ในท่ามกลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา เป็นที่ลงของหมู่เทวดาตามส่งเสด็จ บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เป็นที่ลงแห่งหมู่พรหมทั้งหลาย หลังจากที่พระองค์เสด็จไปจำพรรษาอยู่ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา วันเช่นนี้จัดเป็นกาลทาน คือ มีปีละครั้ง วันตักบาตรเทโวโรหณะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก กล่าวกันว่า มนุษย์และเทวดาพร้อมสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างมองเห็นกายของกันปรากฏชัด พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดท่านเหล่านั้นให้ได้บรรลุธรรมนับไม่ถ้วน พุทธศาสนิกชนต่างรอคอยเข้าเฝ้ากราบไหว้พระพุทธองค์ พร้อมใจกันจัดเตรียมอาหารใส่บาตรโดยมิได้นัดหมายกัน ภัตตาหารที่จัดเตรียมใส่บาตรมีมาก ผู้คนยิ่งแออัดมากเข้าไม่ถึงพระ จึงนำเอาข้าวสาลีทำเป็นห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆ บ้าง โยนเข้าไปหาพระ ด้วยประสงค์จะใส่บาตร จึงเป็นเหตุที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นภัตตาหารในการตักบาตรเทโวโรหณะ แต่ปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้าวต้มลูกโยนซึ่ง ยังคงมีอยู่บ้าง บางวัดอาจมีพิธีตักบาตรดอกไม้ โดยส่วนมาก จะเป็นประเภทข้าวสารอาหารแห้ง หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับ พระสงฆ์ เมื่อถึงวันเทโวโรหณะ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการปฏิบัติตนดังนี้ เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่ง หรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีผู้เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์ หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ ตลอดถึงสรรพสัตว์ พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา เมื่อเทศกาลออกพรรษามาถึงแล้ว ไม่ควรพลาดโอกาสสร้างบุญความดีชำระกาย วาจา และใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล บริจาคทาน เจริญภาวนา เพื่อเติมความสุขให้ชีวิต อีกทั้งเป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และเป็นการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... https://goo.gl/gEF03i

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...