การตักเตือน กล่าวโทษ ชี้โทษข้อบกพร่องของผู้อื่น

แสดงความคิดเห็น

ดอกทานตะวัน

การว่ากล่าวตักเตือน ชี้โทษข้อบกพร่องของผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้ที่จะตักเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีกหลายรอบ เพราะกลัวว่าเตือนไปแล้วเขาจะโกรธบ้าง เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่ ถ้าเขาเถียงก็จะมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกันเกิดขึ้น ควรจะทำอย่างไร อาจถูกด่าว่ามัวเที่ยวเตือนแต่คนอื่นอยู่ ทำไมไม่เตือน ตนเองบ้าง

การเตือนคนอื่นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เตือนจะต้องเสี่ยงหลายอย่าง การตัดสินใจเตือนผู้อื่นเป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง ที่กล่าวนี้หมายถึงผู้เตือนด้วยความหวังดี มิใช่มุ่งร้าย

ท่านผู้รู้กล่าวว่าการชี้โทษ ว่ากล่าวตักเตือน มีอยู่ 2 ประเภท คือ

ประเภทแรก ผู้ชี้โทษตักเตือนเพื่อต้องการหาความผิดผู้อื่นแล้วนำมาประจาน ด้วยประสงค์ให้เขาเกิดละอาย ประเภทนี้ใช้ไม่ได้

ประเภทที่สอง ผู้ชี้โทษตักเตือนด้วยประสงค์ความเจริญแก่ผู้ถูกเตือน ต้องการให้รู้สิ่งที่เป็นโทษ แล้วหลีกหนีงดเว้น ดำเนินในสิ่งที่เป็นคุณ

ประเภทที่สอง นี้จัดว่าดี เมื่อเตือนใครคนนั้นไม่ควรโกรธ ควรทำความรู้สึกในท่านผู้นั้นว่า เหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์

การชี้โทษ การตักเตือนนี้ มีธรรมเนียมปฏิบัติของภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า ปวารณา คือเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันว่า ท่านขอรับ ท่านอยู่ในฐานะพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของกระผม เป็นความดีอันยิ่งใหญ่ที่ท่านกรุณาเตือนกระผม ต่อไป ขอท่านได้โปรดเตือนกระผมอีก เมื่อกระผมได้กระทำสิ่งใดอันไม่เหมาะ ไม่ควร เป็นต้น

เมื่อเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยรีบบอกให้รู้ ขอร้องหรือบังคับให้เลิกการกระทำเช่นนั้นเสีย อาจารย์บางคนเห็นข้อบกพร่องของศิษย์แล้วไม่กล้าพูดด้วยเกรงว่าจะเสื่อมจากความรัก ความนับถือของศิษย์ เกรงว่าเธอจะเลิกปรนนิบัติเสีย การกระทำดังนี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะ ไม่ควร ส่วนอาจารย์ที่ดีนั้น เมื่อเห็นข้อบกพร่องของศิษย์แล้วจะต้องตักเตือนหรือลงโทษตามสมควรแก่โทษ

คนมีที่อัธยาศัยเป็นบัณฑิต มักยินดีพอใจในคำว่ากล่าวตักเตือนชี้โทษของบัณฑิต และคบหาสมาคมกับบัณฑิต เหมือนแมลงผึ้งยินดีพอใจในของสะอาด มีเกสรดอกไม้ เป็นต้น

ส่วนคนโง่มีอัธยาศัยเป็นคนพาล มักไม่ยินดี ไม่พอใจในคำว่ากล่าวตักเตือนของบัณฑิต แต่ยินดีพอใจในคำสรรเสริญเยินยอของคนพาล และคบหาสมาคมกับคนพาล เหมือนแมลงวันยินดีพอใจในของโสโครก มีกองขยะเน่าเหม็น เป็นต้น

บุคคลผู้มีความกตัญญูกตเวที ย่อมระลึกอยู่เสมอถึงคำว่ากล่าวตักเตือนที่ผู้อื่นทำแก่ตนน้อมนำความดีมาไว้ในจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา จะทำให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ส่วนคนไม่มีความกตัญญูกตเวที ชีวิตจะมีแต่ความเสื่อมเสียอย่างเดียว

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ... http://goo.gl/qh6feI (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: http://goo.gl/qh6feI (ขนาดไฟล์: 0 )
วันที่โพสต์: 4/07/2559 เวลา 10:27:19 ดูภาพสไลด์โชว์ การตักเตือน กล่าวโทษ ชี้โทษข้อบกพร่องของผู้อื่น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดอกทานตะวัน การว่ากล่าวตักเตือน ชี้โทษข้อบกพร่องของผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้ที่จะตักเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีกหลายรอบ เพราะกลัวว่าเตือนไปแล้วเขาจะโกรธบ้าง เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่ ถ้าเขาเถียงก็จะมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกันเกิดขึ้น ควรจะทำอย่างไร อาจถูกด่าว่ามัวเที่ยวเตือนแต่คนอื่นอยู่ ทำไมไม่เตือน ตนเองบ้าง การเตือนคนอื่นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เตือนจะต้องเสี่ยงหลายอย่าง การตัดสินใจเตือนผู้อื่นเป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง ที่กล่าวนี้หมายถึงผู้เตือนด้วยความหวังดี มิใช่มุ่งร้าย ท่านผู้รู้กล่าวว่าการชี้โทษ ว่ากล่าวตักเตือน มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทแรก ผู้ชี้โทษตักเตือนเพื่อต้องการหาความผิดผู้อื่นแล้วนำมาประจาน ด้วยประสงค์ให้เขาเกิดละอาย ประเภทนี้ใช้ไม่ได้ ประเภทที่สอง ผู้ชี้โทษตักเตือนด้วยประสงค์ความเจริญแก่ผู้ถูกเตือน ต้องการให้รู้สิ่งที่เป็นโทษ แล้วหลีกหนีงดเว้น ดำเนินในสิ่งที่เป็นคุณ ประเภทที่สอง นี้จัดว่าดี เมื่อเตือนใครคนนั้นไม่ควรโกรธ ควรทำความรู้สึกในท่านผู้นั้นว่า เหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ การชี้โทษ การตักเตือนนี้ มีธรรมเนียมปฏิบัติของภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า ปวารณา คือเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันว่า ท่านขอรับ ท่านอยู่ในฐานะพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของกระผม เป็นความดีอันยิ่งใหญ่ที่ท่านกรุณาเตือนกระผม ต่อไป ขอท่านได้โปรดเตือนกระผมอีก เมื่อกระผมได้กระทำสิ่งใดอันไม่เหมาะ ไม่ควร เป็นต้น เมื่อเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยรีบบอกให้รู้ ขอร้องหรือบังคับให้เลิกการกระทำเช่นนั้นเสีย อาจารย์บางคนเห็นข้อบกพร่องของศิษย์แล้วไม่กล้าพูดด้วยเกรงว่าจะเสื่อมจากความรัก ความนับถือของศิษย์ เกรงว่าเธอจะเลิกปรนนิบัติเสีย การกระทำดังนี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะ ไม่ควร ส่วนอาจารย์ที่ดีนั้น เมื่อเห็นข้อบกพร่องของศิษย์แล้วจะต้องตักเตือนหรือลงโทษตามสมควรแก่โทษ คนมีที่อัธยาศัยเป็นบัณฑิต มักยินดีพอใจในคำว่ากล่าวตักเตือนชี้โทษของบัณฑิต และคบหาสมาคมกับบัณฑิต เหมือนแมลงผึ้งยินดีพอใจในของสะอาด มีเกสรดอกไม้ เป็นต้น ส่วนคนโง่มีอัธยาศัยเป็นคนพาล มักไม่ยินดี ไม่พอใจในคำว่ากล่าวตักเตือนของบัณฑิต แต่ยินดีพอใจในคำสรรเสริญเยินยอของคนพาล และคบหาสมาคมกับคนพาล เหมือนแมลงวันยินดีพอใจในของโสโครก มีกองขยะเน่าเหม็น เป็นต้น บุคคลผู้มีความกตัญญูกตเวที ย่อมระลึกอยู่เสมอถึงคำว่ากล่าวตักเตือนที่ผู้อื่นทำแก่ตนน้อมนำความดีมาไว้ในจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา จะทำให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ส่วนคนไม่มีความกตัญญูกตเวที ชีวิตจะมีแต่ความเสื่อมเสียอย่างเดียว คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/qh6feI

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...