กรรมกับการให้ผล มีหลักเกณฑ์ในการให้ผลอยู่ 3 ประการ

แสดงความคิดเห็น

ดอกบัวสีชมพู

กรรม หรือ การกระทำ มีหลักเกณฑ์ในการให้ผลอยู่ 3 ประการคือ 1.ให้ผลตามลำดับก่อนและหลัง 2.ให้ผลตามกิจหรือตามหน้าที่ 3.ให้ผลตามกาล

ประการที่ 1 กรรมให้ผลตามลำดับก่อนหลังคือ กรรมทั้งหมดที่แต่ละคนกระทำอยู่ทุกวัน ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เมื่อกล่าวถึงตามน้ำหนักหรือแรงส่งในการที่จะให้ผลแล้ว มีอยู่ 4 อย่าง

กรรมหนักที่สุด มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว คือหนักทั้งฝ่ายดี และหนักทั้งฝ่ายชั่ว กรรมหนักฝ่ายดีได้แก่ การที่คนสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิจนเข้าฌานได้

กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาป ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 อย่าง คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อขึ้น และทำให้สงฆ์แตกกัน

กรรมหนักที่สุดทั้งฝ่ายดีและชั่วนี้ ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งหมด

กรรมที่ทำจนชิน จนติดเป็นนิสัย ในฝ่ายดี เช่น รักษาศีลเป็นประจำ ในฝ่ายชั่ว เช่น ลักขโมยเป็นประจำ กรรมเล็กๆ น้อยๆ เมื่อทำบ่อยๆ ก็เป็นกรรมที่มีน้ำหนัก เมื่อสิ้นชีพ ถ้าผู้ทำไม่มีกรรมหนัก กรรมที่ทำจนชินนี้ย่อมให้ผลก่อน

กรรมที่ทำเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย ถ้าไม่มีกรรมหนักและกรรมที่ทำจนชิน กรรมที่ทำเมื่อใกล้จะตายนี้จะให้ผลก่อน

กรรมสักแต่ว่าทำ ได้แก่ ทำดีไม่ได้ทำดีแท้ เช่น เห็นคนเขารับศีลก็รับตามๆ เขาไปอย่างนั้น และเห็นเขาทำกรรมชั่วก็ทำตามๆ เขาไป ไม่ได้ตั้งใจจะก่อกรรมทำบาปอย่างจริงจัง กรรมนี้เป็นกรรมที่เบาที่สุด เมื่อไม่มีกรรม 3 อย่างข้างต้นจะให้ผลแล้ว กรรมสักแต่ว่าทำนี้จึงจะให้ผลเป็นลำดับสุดท้าย

ประการที่ 2 กรรมให้ผลตามหน้าที่ คือ

กรรมที่มีผลนำไปเกิด เช่น เกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดียรัจฉาน

กรรมที่สนับสนุน ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็สนับสนุนให้ได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่วก็สนับสนุนให้ชั่วยิ่งๆ ขึ้นไป

กรรมที่คอยเบียดเบียนขัดขวาง ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็คอยขัดขวางกรรมฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่ว ก็คอยเบียดเบียนกรรมฝ่ายดี

กรรมที่คอยตัดรอนประหัตประหาร ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็คอยประหัตประหารกรรมฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่วก็คอยตัดรอนกรรมฝ่ายดี

ประการที่ 3 กรรมให้ผลตามกาล คือ

กรรมที่ให้ผลในชาตินี้เท่านั้น ถ้าให้ผลแก่ผู้ทำในชาตินี้ไม่ทัน เพราะผู้ทำตายเสียก่อน ก็เลิกให้ผล

กรรมที่ให้ผลต่อเมื่อผู้ทำตายจากชาตินี้ไปแล้ว ไปเกิดอีกในชาติหนึ่ง ถ้ายังไม่ตาย ก็ยังไม่ให้ผล

กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป ได้แก่ ให้ผลต่อจากชาติหน้าภพหน้าต่อๆ ไปอีก

อโหสิกรรม กรรมที่หมดโอกาสให้ผล ไม่ให้ผลอีกแล้ว เช่น กรรมที่ทำล่วงเกินต่อผู้อื่น แล้วขอให้ผู้ที่ถูกล่วงเกินนั้นยกโทษให้ กรรมที่ทำนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ต้องให้ผล

กรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้แล้วย่อมให้ผลตามลำดับ ตามหน้าที่และตามกาล

กรรมดีย่อมนำสัตว์ จำแนกสัตว์ให้เป็นไปดี ให้เป็นผู้ประเสริฐ

กรรมชั่วย่อมนำสัตว์ จำแนกสัตว์ให้เป็นไปชั่ว คือ ให้เป็น ผู้เลวทราม

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ... http://goo.gl/pT0UmV (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: http://goo.gl/pT0UmV (ขนาดไฟล์: 0 )
วันที่โพสต์: 15/06/2559 เวลา 10:49:55 ดูภาพสไลด์โชว์ กรรมกับการให้ผล มีหลักเกณฑ์ในการให้ผลอยู่ 3 ประการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดอกบัวสีชมพู กรรม หรือ การกระทำ มีหลักเกณฑ์ในการให้ผลอยู่ 3 ประการคือ 1.ให้ผลตามลำดับก่อนและหลัง 2.ให้ผลตามกิจหรือตามหน้าที่ 3.ให้ผลตามกาล ประการที่ 1 กรรมให้ผลตามลำดับก่อนหลังคือ กรรมทั้งหมดที่แต่ละคนกระทำอยู่ทุกวัน ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เมื่อกล่าวถึงตามน้ำหนักหรือแรงส่งในการที่จะให้ผลแล้ว มีอยู่ 4 อย่าง กรรมหนักที่สุด มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว คือหนักทั้งฝ่ายดี และหนักทั้งฝ่ายชั่ว กรรมหนักฝ่ายดีได้แก่ การที่คนสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิจนเข้าฌานได้ กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาป ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 อย่าง คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อขึ้น และทำให้สงฆ์แตกกัน กรรมหนักที่สุดทั้งฝ่ายดีและชั่วนี้ ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งหมด กรรมที่ทำจนชิน จนติดเป็นนิสัย ในฝ่ายดี เช่น รักษาศีลเป็นประจำ ในฝ่ายชั่ว เช่น ลักขโมยเป็นประจำ กรรมเล็กๆ น้อยๆ เมื่อทำบ่อยๆ ก็เป็นกรรมที่มีน้ำหนัก เมื่อสิ้นชีพ ถ้าผู้ทำไม่มีกรรมหนัก กรรมที่ทำจนชินนี้ย่อมให้ผลก่อน กรรมที่ทำเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย ถ้าไม่มีกรรมหนักและกรรมที่ทำจนชิน กรรมที่ทำเมื่อใกล้จะตายนี้จะให้ผลก่อน กรรมสักแต่ว่าทำ ได้แก่ ทำดีไม่ได้ทำดีแท้ เช่น เห็นคนเขารับศีลก็รับตามๆ เขาไปอย่างนั้น และเห็นเขาทำกรรมชั่วก็ทำตามๆ เขาไป ไม่ได้ตั้งใจจะก่อกรรมทำบาปอย่างจริงจัง กรรมนี้เป็นกรรมที่เบาที่สุด เมื่อไม่มีกรรม 3 อย่างข้างต้นจะให้ผลแล้ว กรรมสักแต่ว่าทำนี้จึงจะให้ผลเป็นลำดับสุดท้าย ประการที่ 2 กรรมให้ผลตามหน้าที่ คือ กรรมที่มีผลนำไปเกิด เช่น เกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดียรัจฉาน กรรมที่สนับสนุน ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็สนับสนุนให้ได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่วก็สนับสนุนให้ชั่วยิ่งๆ ขึ้นไป กรรมที่คอยเบียดเบียนขัดขวาง ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็คอยขัดขวางกรรมฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่ว ก็คอยเบียดเบียนกรรมฝ่ายดี กรรมที่คอยตัดรอนประหัตประหาร ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็คอยประหัตประหารกรรมฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่วก็คอยตัดรอนกรรมฝ่ายดี ประการที่ 3 กรรมให้ผลตามกาล คือ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้เท่านั้น ถ้าให้ผลแก่ผู้ทำในชาตินี้ไม่ทัน เพราะผู้ทำตายเสียก่อน ก็เลิกให้ผล กรรมที่ให้ผลต่อเมื่อผู้ทำตายจากชาตินี้ไปแล้ว ไปเกิดอีกในชาติหนึ่ง ถ้ายังไม่ตาย ก็ยังไม่ให้ผล กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป ได้แก่ ให้ผลต่อจากชาติหน้าภพหน้าต่อๆ ไปอีก อโหสิกรรม กรรมที่หมดโอกาสให้ผล ไม่ให้ผลอีกแล้ว เช่น กรรมที่ทำล่วงเกินต่อผู้อื่น แล้วขอให้ผู้ที่ถูกล่วงเกินนั้นยกโทษให้ กรรมที่ทำนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ต้องให้ผล กรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้แล้วย่อมให้ผลตามลำดับ ตามหน้าที่และตามกาล กรรมดีย่อมนำสัตว์ จำแนกสัตว์ให้เป็นไปดี ให้เป็นผู้ประเสริฐ กรรมชั่วย่อมนำสัตว์ จำแนกสัตว์ให้เป็นไปชั่ว คือ ให้เป็น ผู้เลวทราม คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/pT0UmV

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...