'พระมหากัสสปะ'บิดาธุดงค์สังฆปรินายกองค์แรกของนิกาย'เซน'

แสดงความคิดเห็น

'พระมหากัสสปะ' บิดาแห่งการธุดงค์สังฆปรินายกองค์แรกของนิกาย'เซน' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา

พระภิกษุสงฆ์ เดินธุดงค์

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ได้มีภิกษุชราองค์หนึ่ง เข้าไปถวายบังคมเบื้องพุทธบาท ภิกษุชราผู้นั้น แม้จะมีร้างกายซูบผอม เส้นเอ็นสะพรั่ง นุ่งห่มด้วยจีวรอันเก่าคร่ำคร่า แต่ผิวพรรณวรรณะกลับผ่องใส กิริยาท่าทางสงบเย็น, บรรดาภิกษุทั้งหลายในสำนัก ในระยะหลัง ต่างก็ไม่เคยเห็นภิกษุชราแปลกหน้าผู้นี้ จึงถามกันเซ็งแซ่ว่า ...

“ภิกษุชราผู้มีร่างกายซูบผอม เส้นเอ็นสะพรั่ง นุ่งห่มด้วยจีวรอันเก่าคร่ำคร่านี้ เป็นผู้ใด?”

ปกติ สมเด็จพระบรมครูทรง 'วาง' ทุกอย่าง ไม่ทรงแสดงอาการดีใจหรือเสียใจให้ปรากฏ แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นภิกษุชราผู้นี้ กลับมีสีพระพักตร์แช่มชื่นขึ้น ด้วยความยินดี ประหนึ่งบิดาได้พบหน้าบุตรสุดที่รักผู้จากไปแดนไกล ได้หวนคืนกลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าไม่มีใครตอบคำถามเซ็งแซ่เหล่านั้นได้ ว่าภิกษุชราผู้นี้เป็นใคร ท่านจึงรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า

“นี่แหละ พระมหากัสสปะ ผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพวกเธอทั้งหลาย ซึ่งออกจากป่าจากเขา มาหาเรา” และทรงสรรเสริญธุดงควัตรอันเคร่งครัดของท่านมหากัสสปะต่อไปว่า ...

“เธอเป็นผู้พอใจในเสนาสนะป่าเขาอันเงียบสงัด เธอมีความมักน้อย สันโดษ ใช้แต่ผ้าบังสกุลจีวร ๓ ผืนเป็นวัตร ไม่ชอบระคนด้วยหมู่ เธอเป็นที่รักของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

ชาวพุทธเราสรรเสริญบูชา พระมหากัสสปะเป็นบิดาแห่งการธุดงค์ เพราะตลอดชีวิตบรรพชิตของท่านนั้น รักษาธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ข้อ แบบจัดเต็ม ไม่เว้นแม้แต่ข้อเดียว กระทั่งท่านเข้าสู่ปัจฉิมวัย กลายเป็นพระอาวุโสที่มีอายุยืนยาวกว่าพระบรมศาสดาเสียอีก พระพุทธเจ้าเคยขอให้ท่านลดหย่อนธุดงควัตรลงบางข้อ เพราะสังขารร่างกายของพระแก่นั้น อาจไม่เอื้ออำนวยต่อธุดงควัตรทั้ง ๑๓ นัก แต่ท่านมหากัสสปะ กลับทูลขอร้อง ให้พระองค์ทรงอนุญาตให้ถือธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เหมือนเดิมจนชีวิตหาไม่ โดยให้เหตุผลว่า จะได้เป็นแบบอย่างแก่สาวกรุ่นหลัง พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตด้วยเหตุผลนั้น

นี่แหละครับ ธุดงค์ของแท้ ... ไม่เคยแปรผัน ขลังและศักดิ์สิทธิ์จริง อันเป็นเครื่องยืนยันได้เสมอว่า กระทำแล้วสำเร็จจริง, มรรคผลนิพพาน มีจริง ไม่สิ้นสมัย ถึงแม้พุทธศาสนาจะผ่านกาล เวลามากว่า ๒๖๐๐ ปีแล้วก็ตาม หลักการและเหตุผลของการธุดงค์ก็ยังเหมือนเดิม มิได้แปรเปลี่ยนไปแต่อย่างใด ...

หากใครเห็น คณะพระเดินแบกกลดเรียงกันเป็นแถวยาว ผ่ากลางกรุงเทพฯ นั่นเป็นเพียง ธุดงค์โชว์ โดยการจัดการของบางสำนัก ที่ทำเพียงสร้างกระแส เรี่ยไรบุญ หรือจำอวดให้คนหลงศรัทธาอย่างงมงาย เท่านั้นแหละครับ

ว่าไปแล้ว ธุดงค์แท้ๆ นั้น หาดูได้ไม่ง่ายนักหรอก แม้ผู้เป็นพระซึ่งกำลังปฏิบัติธุดงค์อยู่นั้น ท่านก็ไม่อยากให้ผู้ใดพบเห็น ไม่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นอาบัติในบางข้อของวินัย ที่จงใจจะแสดงให้ญาติโยมเห็นเพื่อเรียกศรัทธา (แต่หากจะมีใครพบเห็นโดยบังเอิญ ก็ไม่ว่ากัน ยังไงท่านก็ยังต้องเดินบิณฑบาตอยู่นั่นเอง ไม่ถือว่าผิดพระวินัยแต่อย่างใด) และโดยเฉพาะ การแสดงอาการเหมือนว่าจะเป็นการปฏิบัติธุดงค์ ที่มิใช่ธุดงค์จริงๆ หรือถือธุดงค์ตามพระพุทธประสงค์จริงๆ นั้น ... มันก็จะยิ่งจะเป็นบาปหนาครับ

หากเป็นพระธุดงค์ในยุคสมัยที่รุ่นพ่อแม่ หรือรุ่นเราๆ ท่านๆ ที่ยังมีโอกาสร่วมสมัยอยู่นั้น ก็มีอาทิ เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ... ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคนในยุคนั้นอย่าว่าแต่เคยพบเห็นท่านยามธุดงค์อยู่เลย แค่จะหาโอกาสไปนมัสการท่านองค์เป็นๆ ยังยากแสนยาก หนังสือชีวประวัติของหลวงปู่ชอบฯ ความอีกตอนหนึ่งกล่าวอิงพุทธพจน์ไว้ว่า .....

นายช่างศร เมื่อจะดัดลูกศรให้ตรง ย่อมต้องนำท่อนไม้มาจากป่า ปอกเปลือกออก แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ ทำให้หายคด (คือให้ตรง) ให้เป็นของควรที่จะยิงจากแล่งศรได้ ฉันใด, ผู้มีปัญญา ก็ฉันนั้น ย่อมฝึกจิตที่ดิ้นรน (กลับกลอก ห้ามได้ยาก) ให้สงบตรง คือให้ปราศจากกิเลสหยาบด้วย “อำนาจธุดงค์” และ “การอยู่ป่า” แล้วชโลมด้วย “ยาง” คือ “ศรัทธา” ลนด้วย “ความเพียร” อันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่าม คือ สมถะและวิปัสสนา ทำให้ตรง คือ มิให้คด (ได้แก่ ให้จิตสิ้นพยศ) ครั้งทำแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายอวิชชาได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้คือ วิชชา ๓, อภิญญา ๖ และโลกุตตรธรรม ๙ ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เป็นเลิศ

พระมหากัสสปะ นอกจากเป็นบิดาทางการธุดงค์แล้ว ท่านยังเป็นปฐมอาจารย์ของมหายาน นิกายเซน อีกด้วย จากรหัสนัยที่พระพุทธเจ้าทรงยิ้ม และชูดอกไม้ โดยไม่ได้เอ่นวาจากับพระมหากัสสปะ ได้ถูกตีความว่า นั่นคือบทแรกของการถ่ายทอดเซน โดยไม่ต้องพูด หรือจะเรียกว่าเป็นการถ่ายทอดจากจิต ถึงจิตก็ได้

ชาวพุทธที่ปรารถนาในกิจธุดงค์ ก็จงกระทำตามแบบอย่างพระมหากัสสปะ หรือพระอริยเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมจากการได้ธุดงค์เถิด อำนาจจากการธุดงค์ การอยู่ป่า จะเพิ่มกำลังจิตตานุภาพ มองเห็นการเกิด-ดับ สามารถฟาดฟันกิเลสจขาดด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉทปหาณ (ชนิดเด็ดขาด) ไม่กลับมาเกิดอีก อานิสงส์มากมายกว่า "ธุดงค์โชว์โผล่กลางกรุง” ตั้งเยอะ!

ธุดงค์แท้ ไม่แปรผัน

คือมุ่งมั่น หั่นสงสาร

ไม่กระทำ อนาจาร

เดินเพ่นพ่าน เรี่ยราดไป

ปลีกวิเวก ๒๕ คันธนู

จากชนหมู่ ศิวิไลซ์

เพื่อตัดราก สมุทัย

ไม่อวดใคร ให้ศรัทธา

อริยเจ้า ผู้เป็นพยาน

ท่านมหา กัสสปะ

บำเพ็ญเพียร ลด-เลิก-ละ

อยู่กลางป่า เป็นอาจิณ

อีกครูบาฯ ตั้งมากมาย

ท่านธุดงค์ไป ดั่งนกบิน

ป่าเขาไกล เกินได้ยิน

จิตท่านยิ้ม หอมกลิ่นศีล ขจรไกลฯ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150609/207675.html

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มิ.ย.58
วันที่โพสต์: 9/06/2558 เวลา 13:25:52 ดูภาพสไลด์โชว์ 'พระมหากัสสปะ'บิดาธุดงค์สังฆปรินายกองค์แรกของนิกาย'เซน'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'พระมหากัสสปะ' บิดาแห่งการธุดงค์สังฆปรินายกองค์แรกของนิกาย'เซน' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา พระภิกษุสงฆ์ เดินธุดงค์ ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ได้มีภิกษุชราองค์หนึ่ง เข้าไปถวายบังคมเบื้องพุทธบาท ภิกษุชราผู้นั้น แม้จะมีร้างกายซูบผอม เส้นเอ็นสะพรั่ง นุ่งห่มด้วยจีวรอันเก่าคร่ำคร่า แต่ผิวพรรณวรรณะกลับผ่องใส กิริยาท่าทางสงบเย็น, บรรดาภิกษุทั้งหลายในสำนัก ในระยะหลัง ต่างก็ไม่เคยเห็นภิกษุชราแปลกหน้าผู้นี้ จึงถามกันเซ็งแซ่ว่า ... “ภิกษุชราผู้มีร่างกายซูบผอม เส้นเอ็นสะพรั่ง นุ่งห่มด้วยจีวรอันเก่าคร่ำคร่านี้ เป็นผู้ใด?” ปกติ สมเด็จพระบรมครูทรง 'วาง' ทุกอย่าง ไม่ทรงแสดงอาการดีใจหรือเสียใจให้ปรากฏ แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นภิกษุชราผู้นี้ กลับมีสีพระพักตร์แช่มชื่นขึ้น ด้วยความยินดี ประหนึ่งบิดาได้พบหน้าบุตรสุดที่รักผู้จากไปแดนไกล ได้หวนคืนกลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าไม่มีใครตอบคำถามเซ็งแซ่เหล่านั้นได้ ว่าภิกษุชราผู้นี้เป็นใคร ท่านจึงรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า “นี่แหละ พระมหากัสสปะ ผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพวกเธอทั้งหลาย ซึ่งออกจากป่าจากเขา มาหาเรา” และทรงสรรเสริญธุดงควัตรอันเคร่งครัดของท่านมหากัสสปะต่อไปว่า ... “เธอเป็นผู้พอใจในเสนาสนะป่าเขาอันเงียบสงัด เธอมีความมักน้อย สันโดษ ใช้แต่ผ้าบังสกุลจีวร ๓ ผืนเป็นวัตร ไม่ชอบระคนด้วยหมู่ เธอเป็นที่รักของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ชาวพุทธเราสรรเสริญบูชา พระมหากัสสปะเป็นบิดาแห่งการธุดงค์ เพราะตลอดชีวิตบรรพชิตของท่านนั้น รักษาธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ข้อ แบบจัดเต็ม ไม่เว้นแม้แต่ข้อเดียว กระทั่งท่านเข้าสู่ปัจฉิมวัย กลายเป็นพระอาวุโสที่มีอายุยืนยาวกว่าพระบรมศาสดาเสียอีก พระพุทธเจ้าเคยขอให้ท่านลดหย่อนธุดงควัตรลงบางข้อ เพราะสังขารร่างกายของพระแก่นั้น อาจไม่เอื้ออำนวยต่อธุดงควัตรทั้ง ๑๓ นัก แต่ท่านมหากัสสปะ กลับทูลขอร้อง ให้พระองค์ทรงอนุญาตให้ถือธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เหมือนเดิมจนชีวิตหาไม่ โดยให้เหตุผลว่า จะได้เป็นแบบอย่างแก่สาวกรุ่นหลัง พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตด้วยเหตุผลนั้น นี่แหละครับ ธุดงค์ของแท้ ... ไม่เคยแปรผัน ขลังและศักดิ์สิทธิ์จริง อันเป็นเครื่องยืนยันได้เสมอว่า กระทำแล้วสำเร็จจริง, มรรคผลนิพพาน มีจริง ไม่สิ้นสมัย ถึงแม้พุทธศาสนาจะผ่านกาล เวลามากว่า ๒๖๐๐ ปีแล้วก็ตาม หลักการและเหตุผลของการธุดงค์ก็ยังเหมือนเดิม มิได้แปรเปลี่ยนไปแต่อย่างใด ... หากใครเห็น คณะพระเดินแบกกลดเรียงกันเป็นแถวยาว ผ่ากลางกรุงเทพฯ นั่นเป็นเพียง ธุดงค์โชว์ โดยการจัดการของบางสำนัก ที่ทำเพียงสร้างกระแส เรี่ยไรบุญ หรือจำอวดให้คนหลงศรัทธาอย่างงมงาย เท่านั้นแหละครับ ว่าไปแล้ว ธุดงค์แท้ๆ นั้น หาดูได้ไม่ง่ายนักหรอก แม้ผู้เป็นพระซึ่งกำลังปฏิบัติธุดงค์อยู่นั้น ท่านก็ไม่อยากให้ผู้ใดพบเห็น ไม่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นอาบัติในบางข้อของวินัย ที่จงใจจะแสดงให้ญาติโยมเห็นเพื่อเรียกศรัทธา (แต่หากจะมีใครพบเห็นโดยบังเอิญ ก็ไม่ว่ากัน ยังไงท่านก็ยังต้องเดินบิณฑบาตอยู่นั่นเอง ไม่ถือว่าผิดพระวินัยแต่อย่างใด) และโดยเฉพาะ การแสดงอาการเหมือนว่าจะเป็นการปฏิบัติธุดงค์ ที่มิใช่ธุดงค์จริงๆ หรือถือธุดงค์ตามพระพุทธประสงค์จริงๆ นั้น ... มันก็จะยิ่งจะเป็นบาปหนาครับ หากเป็นพระธุดงค์ในยุคสมัยที่รุ่นพ่อแม่ หรือรุ่นเราๆ ท่านๆ ที่ยังมีโอกาสร่วมสมัยอยู่นั้น ก็มีอาทิ เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ... ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคนในยุคนั้นอย่าว่าแต่เคยพบเห็นท่านยามธุดงค์อยู่เลย แค่จะหาโอกาสไปนมัสการท่านองค์เป็นๆ ยังยากแสนยาก หนังสือชีวประวัติของหลวงปู่ชอบฯ ความอีกตอนหนึ่งกล่าวอิงพุทธพจน์ไว้ว่า ..... นายช่างศร เมื่อจะดัดลูกศรให้ตรง ย่อมต้องนำท่อนไม้มาจากป่า ปอกเปลือกออก แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ ทำให้หายคด (คือให้ตรง) ให้เป็นของควรที่จะยิงจากแล่งศรได้ ฉันใด, ผู้มีปัญญา ก็ฉันนั้น ย่อมฝึกจิตที่ดิ้นรน (กลับกลอก ห้ามได้ยาก) ให้สงบตรง คือให้ปราศจากกิเลสหยาบด้วย “อำนาจธุดงค์” และ “การอยู่ป่า” แล้วชโลมด้วย “ยาง” คือ “ศรัทธา” ลนด้วย “ความเพียร” อันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่าม คือ สมถะและวิปัสสนา ทำให้ตรง คือ มิให้คด (ได้แก่ ให้จิตสิ้นพยศ) ครั้งทำแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายอวิชชาได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้คือ วิชชา ๓, อภิญญา ๖ และโลกุตตรธรรม ๙ ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เป็นเลิศ พระมหากัสสปะ นอกจากเป็นบิดาทางการธุดงค์แล้ว ท่านยังเป็นปฐมอาจารย์ของมหายาน นิกายเซน อีกด้วย จากรหัสนัยที่พระพุทธเจ้าทรงยิ้ม และชูดอกไม้ โดยไม่ได้เอ่นวาจากับพระมหากัสสปะ ได้ถูกตีความว่า นั่นคือบทแรกของการถ่ายทอดเซน โดยไม่ต้องพูด หรือจะเรียกว่าเป็นการถ่ายทอดจากจิต ถึงจิตก็ได้ ชาวพุทธที่ปรารถนาในกิจธุดงค์ ก็จงกระทำตามแบบอย่างพระมหากัสสปะ หรือพระอริยเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมจากการได้ธุดงค์เถิด อำนาจจากการธุดงค์ การอยู่ป่า จะเพิ่มกำลังจิตตานุภาพ มองเห็นการเกิด-ดับ สามารถฟาดฟันกิเลสจขาดด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉทปหาณ (ชนิดเด็ดขาด) ไม่กลับมาเกิดอีก อานิสงส์มากมายกว่า "ธุดงค์โชว์โผล่กลางกรุง” ตั้งเยอะ! ธุดงค์แท้ ไม่แปรผัน คือมุ่งมั่น หั่นสงสาร ไม่กระทำ อนาจาร เดินเพ่นพ่าน เรี่ยราดไป ปลีกวิเวก ๒๕ คันธนู จากชนหมู่ ศิวิไลซ์ เพื่อตัดราก สมุทัย ไม่อวดใคร ให้ศรัทธา อริยเจ้า ผู้เป็นพยาน ท่านมหา กัสสปะ บำเพ็ญเพียร ลด-เลิก-ละ อยู่กลางป่า เป็นอาจิณ อีกครูบาฯ ตั้งมากมาย ท่านธุดงค์ไป ดั่งนกบิน ป่าเขาไกล เกินได้ยิน จิตท่านยิ้ม หอมกลิ่นศีล ขจรไกลฯ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150609/207675.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...