ธรรมะรู้อยู่ที่ใจ มิใช่ที่หนังสือ

แสดงความคิดเห็น

คอลัมน์ : สำคัญที่ใจ

ผู้เขียน : อภิวาท คมใส

หากใครสักคนมาถามว่าธรรมะคืออะไร แล้วมีใครสักคนบอกความหมายของธรรมะให้ผู้ถามว่า ธรรมะเป็นอย่างนั้นๆ เพียงเท่านี้ธรรมะก็หลุดออกไปจากทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามในฉับพลันทันใด

การตอบคำถามเรื่องธรรมะ ไม่มีคำตอบใดที่ถูกต้องที่สุด ธรรมะเป็นที่สุดนั้นไม่มี ทุกคำพูดล้วนแล้วแต่เป็นการสมมุติเปรียบเทียบให้ฟังเท่านั้น เป็นเพียงแนวทาง ชี้ทางให้เดิน เพราะธรรมะคือปัจจัตตัง ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้าจึงเรียกมาให้ดู เข้าไปดูเอง

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แล้วต้องอาศัยการบอกการสอน นั่นแหละจึงจะเข้าถึงธรรมะได้ เส้นทางการเรียนรู้ธรรมะจึงต้องเริ่มต้นที่มีศรัทธาเสียก่อน ซึ่งพระพุทธเจ้าพยายามนำมาสอนเปรียบเทียบกับธรรมชาติทั่วไป ทำทุกวิถีทางเพื่อจะทำให้พวกเรามองเห็นภาพแห่งธรรมะได้ใกล้เคียงความจริง สิ้นกระแสสงสัยให้มากที่สุด แล้วมองเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าแห่งพระธรรมอันเป็นความจริงแท้ซึ่งมีอยู่ในใจตน

ธรรมะทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าพยายามบอกสอนนั้นเป็นธรรมะที่พบด้วยตัวของพระองค์เอง เรียกได้ว่าธรรมะที่บอกสอนนั้นเป็นธรรมะของท่าน ไม่ใช่ธรรมะของเรา เราได้ยินได้ฟังแต่ธรรมะของท่านเท่านั้น

หลวงปู่มั่นรู้ความข้อนี้ดี จึงได้บอกสอนและเตือนศิษย์ของท่านว่า ธรรมะที่อยู่ในพระไตรปิฎกที่นำบอกสอนต่อๆกันนั้นเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ส่วนธรรมะของเราเองนั้นต้องหาให้เจอ มันอยู่ที่เราแล้ว เราต้องนำมาประพฤติ นำมาปฏิบัติด้วยตัวเราเอง แล้วเราก็จะเห็นธรรมะเอง

การค้นหาธรรมะ หากมัวแต่ถามไถ่โดยไม่สนใจปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเจอธรรมะ หลวงปู่ชาบอกว่า การถามถึงธรรมะก็เหมือนกับคนตาบอดถามคนตาดีว่าสีขาวเป็นอย่างไร คนตาดีตอบว่าสีขาวก็เป็นสีคล้ายๆกับก้อนเมฆ คนตาบอดถามต่อว่าแล้วก้อนเมฆเป็นอย่างไร คนตาดีตอบว่ามันก็เหมือนปุยนุ่นนั่นแหละ คนตาบอดก็จะถามต่อไปว่า แล้วปุยนุ่นล่ะมันเป็นอย่างไร…คงต้องถามต่อกันไปเช่นนี้ไม่รู้จบ เว้นแต่คนตาดีจะเขกกะโหลกคนตาบอดแล้วจึงจะยุติ

ตรงนี้ทำให้เห็นว่าการถามเรื่องธรรมะ ถามเหมือนดั่งคนตาบอด เพราะไม่สามารถหยิบเอามาให้ดูได้ ต้องถามวนไปเรื่อยๆจนหาที่สุดมิได้ เพราะธรรมะเป็นเรื่องของสภาวะ เป็นเรื่องของความจริงของธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนหลักความจริง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ไม่อาจจับต้องได้ ต้องดูเองและเห็นเอง คนที่ไม่เห็นธรรมะจึงไม่เห็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่อาจรู้ได้ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนตั้งอยู่ในสภาวะเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา

การเห็นของเราทั่วไปจึงเป็นการเห็นตามความรู้สึก ความคิดนึก ความเคยชิน มิได้เห็นตามความเป็นจริงแต่อย่างใด

กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็เริ่มรู้แล้วว่าการจะรู้เรื่องของธรรมชาติที่แท้จริงต้องรู้ด้วยตนเอง รู้เฉพาะตน เช่นเดียวกับหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นปัจจัตตัง หากนักวิทยาศาสตร์จะรู้จักธรรมชาติที่แท้จริงโดยการบอกสอนของคนอื่นก็ไม่เป็นผู้รู้ที่แท้จริง เท่ากับไปจำของคนอื่นมา อย่างรู้จักรสชาติส้มเพราะคนอื่นเล่าให้ฟัง

สถานะความจริงตามธรรมชาติไม่มีความคงทน ทุกสรรพสิ่งล้วนมีแต่ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รู้ได้เฉพาะตน กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย ไม่อาจบอกสอนใครได้ เพียงอ้าปากบอก ธรรมชาติก็หลุดพ้นไปแล้วต่อหน้าต่อตา

เรื่องราวความลับเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รู้ความจริงข้อนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก สมัยที่เรียนหนังสือ เขารู้ว่าในตำราเรียนที่ครูนำมาให้เรียนและท่องจำนั้นล้วนไม่ใช่ความจริง เป็นสิ่งที่คนอื่นนำมาบันทึกไว้ แล้วนักเรียนก็เอามาท่องจำ นำไปสอบ ได้คะแนน แล้วแต่ใครจะจำคำพูดหรือคำบอกได้มากที่สุดก็ได้คะแนนมาก ส่วนไอน์สไตน์รู้ว่านั่นเป็นสิ่งสมมุติเรียกที่บรรจุในตำรา ไม่ใช่ความจริง การเรียนจากของจริง สัมผัสที่ใจ จึงจะเป็นความจริง ดังนั้น ในชั่วโมงเรียนไอน์สไตน์จึงไม่ได้ใส่ใจที่จะท่องจำเหมือนกับเพื่อนๆ การสอบจึงได้ศูนย์ทุกวิชา ครูจึงด่าเขาว่าไอ้บรมโง่

การค้นหาความจริงจึงอยู่นอกเหนือจากตำรา นอกเหนือจากอาจารย์ ตามหลักพระพุทธศาสนาว่าเป็นปัจจัตตัง การรู้ความจริงในสรรพสิ่งนั้นต้องรู้เข้ามาที่ใจ รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม ตำรากับอาจารย์ก็ยังต้องมี หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”

ขอบคุณ... http://www.lokwannee.com/web2013/?p=137762 (ขนาดไฟล์: 178)

ที่มา: โลกวันนี้ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 4/05/2558 เวลา 11:13:09 ดูภาพสไลด์โชว์ ธรรมะรู้อยู่ที่ใจ มิใช่ที่หนังสือ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คอลัมน์ : สำคัญที่ใจ ผู้เขียน : อภิวาท คมใส หากใครสักคนมาถามว่าธรรมะคืออะไร แล้วมีใครสักคนบอกความหมายของธรรมะให้ผู้ถามว่า ธรรมะเป็นอย่างนั้นๆ เพียงเท่านี้ธรรมะก็หลุดออกไปจากทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามในฉับพลันทันใด การตอบคำถามเรื่องธรรมะ ไม่มีคำตอบใดที่ถูกต้องที่สุด ธรรมะเป็นที่สุดนั้นไม่มี ทุกคำพูดล้วนแล้วแต่เป็นการสมมุติเปรียบเทียบให้ฟังเท่านั้น เป็นเพียงแนวทาง ชี้ทางให้เดิน เพราะธรรมะคือปัจจัตตัง ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้าจึงเรียกมาให้ดู เข้าไปดูเอง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แล้วต้องอาศัยการบอกการสอน นั่นแหละจึงจะเข้าถึงธรรมะได้ เส้นทางการเรียนรู้ธรรมะจึงต้องเริ่มต้นที่มีศรัทธาเสียก่อน ซึ่งพระพุทธเจ้าพยายามนำมาสอนเปรียบเทียบกับธรรมชาติทั่วไป ทำทุกวิถีทางเพื่อจะทำให้พวกเรามองเห็นภาพแห่งธรรมะได้ใกล้เคียงความจริง สิ้นกระแสสงสัยให้มากที่สุด แล้วมองเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าแห่งพระธรรมอันเป็นความจริงแท้ซึ่งมีอยู่ในใจตน ธรรมะทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าพยายามบอกสอนนั้นเป็นธรรมะที่พบด้วยตัวของพระองค์เอง เรียกได้ว่าธรรมะที่บอกสอนนั้นเป็นธรรมะของท่าน ไม่ใช่ธรรมะของเรา เราได้ยินได้ฟังแต่ธรรมะของท่านเท่านั้น หลวงปู่มั่นรู้ความข้อนี้ดี จึงได้บอกสอนและเตือนศิษย์ของท่านว่า ธรรมะที่อยู่ในพระไตรปิฎกที่นำบอกสอนต่อๆกันนั้นเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ส่วนธรรมะของเราเองนั้นต้องหาให้เจอ มันอยู่ที่เราแล้ว เราต้องนำมาประพฤติ นำมาปฏิบัติด้วยตัวเราเอง แล้วเราก็จะเห็นธรรมะเอง การค้นหาธรรมะ หากมัวแต่ถามไถ่โดยไม่สนใจปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเจอธรรมะ หลวงปู่ชาบอกว่า การถามถึงธรรมะก็เหมือนกับคนตาบอดถามคนตาดีว่าสีขาวเป็นอย่างไร คนตาดีตอบว่าสีขาวก็เป็นสีคล้ายๆกับก้อนเมฆ คนตาบอดถามต่อว่าแล้วก้อนเมฆเป็นอย่างไร คนตาดีตอบว่ามันก็เหมือนปุยนุ่นนั่นแหละ คนตาบอดก็จะถามต่อไปว่า แล้วปุยนุ่นล่ะมันเป็นอย่างไร…คงต้องถามต่อกันไปเช่นนี้ไม่รู้จบ เว้นแต่คนตาดีจะเขกกะโหลกคนตาบอดแล้วจึงจะยุติ ตรงนี้ทำให้เห็นว่าการถามเรื่องธรรมะ ถามเหมือนดั่งคนตาบอด เพราะไม่สามารถหยิบเอามาให้ดูได้ ต้องถามวนไปเรื่อยๆจนหาที่สุดมิได้ เพราะธรรมะเป็นเรื่องของสภาวะ เป็นเรื่องของความจริงของธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนหลักความจริง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ไม่อาจจับต้องได้ ต้องดูเองและเห็นเอง คนที่ไม่เห็นธรรมะจึงไม่เห็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่อาจรู้ได้ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนตั้งอยู่ในสภาวะเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา การเห็นของเราทั่วไปจึงเป็นการเห็นตามความรู้สึก ความคิดนึก ความเคยชิน มิได้เห็นตามความเป็นจริงแต่อย่างใด กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็เริ่มรู้แล้วว่าการจะรู้เรื่องของธรรมชาติที่แท้จริงต้องรู้ด้วยตนเอง รู้เฉพาะตน เช่นเดียวกับหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นปัจจัตตัง หากนักวิทยาศาสตร์จะรู้จักธรรมชาติที่แท้จริงโดยการบอกสอนของคนอื่นก็ไม่เป็นผู้รู้ที่แท้จริง เท่ากับไปจำของคนอื่นมา อย่างรู้จักรสชาติส้มเพราะคนอื่นเล่าให้ฟัง สถานะความจริงตามธรรมชาติไม่มีความคงทน ทุกสรรพสิ่งล้วนมีแต่ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รู้ได้เฉพาะตน กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย ไม่อาจบอกสอนใครได้ เพียงอ้าปากบอก ธรรมชาติก็หลุดพ้นไปแล้วต่อหน้าต่อตา เรื่องราวความลับเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รู้ความจริงข้อนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก สมัยที่เรียนหนังสือ เขารู้ว่าในตำราเรียนที่ครูนำมาให้เรียนและท่องจำนั้นล้วนไม่ใช่ความจริง เป็นสิ่งที่คนอื่นนำมาบันทึกไว้ แล้วนักเรียนก็เอามาท่องจำ นำไปสอบ ได้คะแนน แล้วแต่ใครจะจำคำพูดหรือคำบอกได้มากที่สุดก็ได้คะแนนมาก ส่วนไอน์สไตน์รู้ว่านั่นเป็นสิ่งสมมุติเรียกที่บรรจุในตำรา ไม่ใช่ความจริง การเรียนจากของจริง สัมผัสที่ใจ จึงจะเป็นความจริง ดังนั้น ในชั่วโมงเรียนไอน์สไตน์จึงไม่ได้ใส่ใจที่จะท่องจำเหมือนกับเพื่อนๆ การสอบจึงได้ศูนย์ทุกวิชา ครูจึงด่าเขาว่าไอ้บรมโง่ การค้นหาความจริงจึงอยู่นอกเหนือจากตำรา นอกเหนือจากอาจารย์ ตามหลักพระพุทธศาสนาว่าเป็นปัจจัตตัง การรู้ความจริงในสรรพสิ่งนั้นต้องรู้เข้ามาที่ใจ รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ตำรากับอาจารย์ก็ยังต้องมี หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน” ขอบคุณ... http://www.lokwannee.com/web2013/?p=137762

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...