การช่วยเหลือคนอื่นและการทำสมาธิภาวนาทำไมถึงได้บุญ

แสดงความคิดเห็น

พระไพศาล วิสาโล

วีรยุทธ ธนาพงศ์ธรรม ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงพ่อไพศาล ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับเรื่องบุญ คือว่า เวลาผมทำความดีด้วยการช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน ผมไม่รู้สึกว่าผมได้อะไร แต่ช่วยไปเพราะเห็นตามความสมควร ในฐานะที่เราพอมีกำลังจะช่วยได้ ส่วนใหญ่แล้วเวลาทำก็รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้มีความอิ่มเอมใจอะไร หรือเวลาผมปฏิบัติวิปัสสนา ผมทำไปเพื่อจุดประสงค์ส่วนตัว คือ ลดกิเลส และพึ่งพาตนเองจากภายใน ลดละความอยาก แต่ทำไมการกระทำทั้งสองนี้ ชาวพุทธถึงเรียกเป็นการได้บุญ และยังสามารถอุทิศต่อไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย

นอกจากนี้ผมยังเป็นผู้ที่ศรัทธาในพระรัตนตรัยน้อยมาก ต้องทำอย่างไรจึงจะมีความศรัทธามากขึ้น หรือไม่ต้องทำอะไรเลยครับ ปล่อยไปตามยถากรรม

หมายเหตุ : เมื่อก่อนผมไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชน ต่อมาได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส (เงื่อม อินทปัญโญ) จึงฝักใฝ่ในพุทธศาสนา เป็นเวลามากกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว แต่เป็นการซึมซับจากการอ่านและคิด ไม่เคยได้ปฏิบัติเลย จนเมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากับมูลนิธิส่ง เสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์ จึงได้สมาทานแนวทางนี้และปฏิบัติต่อเนื่องจนใกล้จะครบปีแล้ว บางคราวก็ตึง บางคราวก็ย่อหย่อนไปบ้าง เพราะพ่ายแพ้ต่อกิเลสต่างๆ

ปัจจุบันกำลังวางแผนจะลาออกจากพนักงานประจำ ไปประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งพิจารณาแล้วคิดว่าจะมีเวลาและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติมากขึ้น แม้รายได้จะลดลงมาก แต่คงพอกับการดำรงชีพ ประกอบกับผมไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะทำให้อาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันเป็นไปตาม มรรคแปด จึงต้องตัดสินใจดังกล่าว แต่ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจและติดขัดในใจมานานจึงต้องรบกวนสอบถามหลวงพ่อค รับ ขอขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูง

วิสัชนา : การกระทำดังกล่าวพุทธศาสนาถือว่าเป็นบุญ ก็เพราะทำให้ชีวิตจิตใจเจริญงอกงาม สะอาด สงบ และสว่าง เช่น การช่วยเหลือผู้อื่นย่อมทำให้จิตใจเป็นสุข เปี่ยมด้วยเมตตา การที่คุณรู้สึกเฉยๆ อาจเป็นเพราะว่าภาวะดีงามได้เกิดแก่คุณเป็นประจำ จนไม่สังเกต แต่หากได้ช่วยเหลือคนที่ลำบากเดือดร้อนจริงๆ ยิ่งกว่าที่เคยทำมา จนเขาพ้นทุกข์ได้ ความสุขหรือความอิ่มเอมใจจะเกิดขึ้นกับคุณมากกว่าเดิมจนรู้สึกได้

การบำเพ็ญสมาธิ ไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนาก็เช่นกัน ทำให้ใจสงบ เยือกเย็น รู้เท่าทันกิเลส และเกิดปัญญา จนสามารถพาใจออกจากความทุกข์ได้เป็นลำดับ ภาวะเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นบุญ ซึ่งไม่เพียงเกิดประโยชน์แก่ตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย

การอุทิศบุญกุศลที่ได้จากการทำความดีหรือทำบุญนั้น ส่วนใหญ่เป็นการแผ่ความปรารถนาดีมากกว่า คือเมื่อจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว เมตตาก็จะเพิ่มพูน เมื่อตั้งความปรารถนาดีต่อผู้อื่น พลังแห่งเมตตาก็จะแผ่ออกไปยังคนเหล่านั้น ยิ่งใจเป็นบุญมากเท่าไร เมตตาก็จะมีพลังมากเท่านั้น จนผู้อื่นสามารถรับรู้และได้อานิสงส์ไปด้วย แต่ถ้าเป็นการทำบุญบางอย่าง เช่น ถวายสังฆทาน ชาวพุทธมีความเชื่อว่า สามารถอุทิศบุญกุศลที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ล่วงลับได้

ศรัทธาในพระรัตนตรัยนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการฟังหรือการได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ที่สำคัญคือเกิดจากการปฏิบัติธรรม จนเห็นผลตามคำสอนของพระพุทธองค์หรือพระอริยสงฆ์ ถึงตรงนั้นศรัทธาก็จะมาเองและตั้งมั่น ยิ่งเห็นผลจนเป็นพระอริยบุคคล ดับกิเลส(หรือสังโยชน์) ขั้นต่ำได้ ก็จะไม่มีความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยอีกเลย เป็นศรัทธาที่แน่นแฟ้นไม่คลอนแคลน

สายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย 'เตรียมตัวก่อนสู่วาระสุดท้ายของชีวิต จะทำอย่างไรดี' ปรึกษาได้ที่ โทร.๐-๘๖๐๐๒-๒๓๐๒

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140108/176366.html

ที่มา: http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140108/176366.html
วันที่โพสต์: 20/01/2557 เวลา 04:46:01 ดูภาพสไลด์โชว์ การช่วยเหลือคนอื่นและการทำสมาธิภาวนาทำไมถึงได้บุญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระไพศาล วิสาโล วีรยุทธ ธนาพงศ์ธรรม ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงพ่อไพศาล ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับเรื่องบุญ คือว่า เวลาผมทำความดีด้วยการช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน ผมไม่รู้สึกว่าผมได้อะไร แต่ช่วยไปเพราะเห็นตามความสมควร ในฐานะที่เราพอมีกำลังจะช่วยได้ ส่วนใหญ่แล้วเวลาทำก็รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้มีความอิ่มเอมใจอะไร หรือเวลาผมปฏิบัติวิปัสสนา ผมทำไปเพื่อจุดประสงค์ส่วนตัว คือ ลดกิเลส และพึ่งพาตนเองจากภายใน ลดละความอยาก แต่ทำไมการกระทำทั้งสองนี้ ชาวพุทธถึงเรียกเป็นการได้บุญ และยังสามารถอุทิศต่อไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย นอกจากนี้ผมยังเป็นผู้ที่ศรัทธาในพระรัตนตรัยน้อยมาก ต้องทำอย่างไรจึงจะมีความศรัทธามากขึ้น หรือไม่ต้องทำอะไรเลยครับ ปล่อยไปตามยถากรรม หมายเหตุ : เมื่อก่อนผมไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชน ต่อมาได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส (เงื่อม อินทปัญโญ) จึงฝักใฝ่ในพุทธศาสนา เป็นเวลามากกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว แต่เป็นการซึมซับจากการอ่านและคิด ไม่เคยได้ปฏิบัติเลย จนเมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากับมูลนิธิส่ง เสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์ จึงได้สมาทานแนวทางนี้และปฏิบัติต่อเนื่องจนใกล้จะครบปีแล้ว บางคราวก็ตึง บางคราวก็ย่อหย่อนไปบ้าง เพราะพ่ายแพ้ต่อกิเลสต่างๆ ปัจจุบันกำลังวางแผนจะลาออกจากพนักงานประจำ ไปประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งพิจารณาแล้วคิดว่าจะมีเวลาและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติมากขึ้น แม้รายได้จะลดลงมาก แต่คงพอกับการดำรงชีพ ประกอบกับผมไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะทำให้อาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันเป็นไปตาม มรรคแปด จึงต้องตัดสินใจดังกล่าว แต่ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจและติดขัดในใจมานานจึงต้องรบกวนสอบถามหลวงพ่อค รับ ขอขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูง วิสัชนา : การกระทำดังกล่าวพุทธศาสนาถือว่าเป็นบุญ ก็เพราะทำให้ชีวิตจิตใจเจริญงอกงาม สะอาด สงบ และสว่าง เช่น การช่วยเหลือผู้อื่นย่อมทำให้จิตใจเป็นสุข เปี่ยมด้วยเมตตา การที่คุณรู้สึกเฉยๆ อาจเป็นเพราะว่าภาวะดีงามได้เกิดแก่คุณเป็นประจำ จนไม่สังเกต แต่หากได้ช่วยเหลือคนที่ลำบากเดือดร้อนจริงๆ ยิ่งกว่าที่เคยทำมา จนเขาพ้นทุกข์ได้ ความสุขหรือความอิ่มเอมใจจะเกิดขึ้นกับคุณมากกว่าเดิมจนรู้สึกได้ การบำเพ็ญสมาธิ ไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนาก็เช่นกัน ทำให้ใจสงบ เยือกเย็น รู้เท่าทันกิเลส และเกิดปัญญา จนสามารถพาใจออกจากความทุกข์ได้เป็นลำดับ ภาวะเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นบุญ ซึ่งไม่เพียงเกิดประโยชน์แก่ตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย การอุทิศบุญกุศลที่ได้จากการทำความดีหรือทำบุญนั้น ส่วนใหญ่เป็นการแผ่ความปรารถนาดีมากกว่า คือเมื่อจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว เมตตาก็จะเพิ่มพูน เมื่อตั้งความปรารถนาดีต่อผู้อื่น พลังแห่งเมตตาก็จะแผ่ออกไปยังคนเหล่านั้น ยิ่งใจเป็นบุญมากเท่าไร เมตตาก็จะมีพลังมากเท่านั้น จนผู้อื่นสามารถรับรู้และได้อานิสงส์ไปด้วย แต่ถ้าเป็นการทำบุญบางอย่าง เช่น ถวายสังฆทาน ชาวพุทธมีความเชื่อว่า สามารถอุทิศบุญกุศลที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ล่วงลับได้ ศรัทธาในพระรัตนตรัยนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการฟังหรือการได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ที่สำคัญคือเกิดจากการปฏิบัติธรรม จนเห็นผลตามคำสอนของพระพุทธองค์หรือพระอริยสงฆ์ ถึงตรงนั้นศรัทธาก็จะมาเองและตั้งมั่น ยิ่งเห็นผลจนเป็นพระอริยบุคคล ดับกิเลส(หรือสังโยชน์) ขั้นต่ำได้ ก็จะไม่มีความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยอีกเลย เป็นศรัทธาที่แน่นแฟ้นไม่คลอนแคลน สายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย 'เตรียมตัวก่อนสู่วาระสุดท้ายของชีวิต จะทำอย่างไรดี' ปรึกษาได้ที่ โทร.๐-๘๖๐๐๒-๒๓๐๒ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140108/176366.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...