เซน กับ สตีฟ จ๊อบส์

แสดงความคิดเห็น

สตีฟ จ๊อบส์  ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของบริษัทแอปเปิล การจากไปในวัยเพียง ๕๖ ปี ของสตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของบริษัทแอปเปิลเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ด้วยโรคมะเร็งตับก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเพราะชายคนนี้ไม่ได้ เป็นแค่ นักธุรกิจคนหนึ่งที่มีเงินมหาศาล หากแต่เขาคือ คนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ซีอีโอแห่งศตวรรษ” ชื่อชั้นของเขา อยู่ในระดับเดียวกันกับสุดยอดนักประดิษฐ์ตลอดกาล อย่างโธมัส อัลวา เอดิสัน เพราะสิ่งที่เขาสร้างสรรค์ฝากไว้ในโลกนั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่โลก และรูปแบบการใช้ชีวิตของเราอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แมคอินทอ ชคอมพิวเตอร์แม็คบุ๊กแอร์ ไอพอด ไอแพต ไอโฟน ฯลฯ โลกของเราเข้าสู่ยุคไร้กระดาษ (paperless) ส่วนหนึ่งก็เพราะวงการภาพยนตร์แอนิเมชั่นมีสุดยอดภาพยนตร์แอนิเมชั่นให้ตื่น ตะลึงกันก็เพราะเขาทำธุรกิจการติดต่อ การทำงานด้วยวิธีการ “คลิก” เพียงปุ่มเดียวแล้วอะไรต่อมิอะไรก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อก็เพราะสตีฟ จ๊อบส์ คือ สุดยอดนวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ ๒๑ อย่างไร้ข้อกังขา

ขณะที่ชีวิตของเขากำลังรุ่งโรจน์สุด ๆ แต่แล้ว พญายมก็มาพรากเขาจากพวกเราไปในวัยเพียง ๕๖ ปี ข่าวนี้ทำให้หลายคนต้องหันกลับมาคิดใหม่ว่าอะไรคือเหตุปัจจัยให้คนอย่างเขา ต้องป่วยด้วยโรคมะเร็งและจบชีวิตในวัยที่ยังเต็มไปด้วยไฟแห่งการสร้างสรรค์

ในหนังสือเล่มแรกและเล่มเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ เล่าประวัติตัวเองอย่างหมดเปลือก เขาสารภาพว่าที่ตัวเองป่วยหนักสาเหตุน่าจะเริ่มมาจากการบริหารสองบริษัท พร้อมกันในเวลาดังกล่าวนั้นเขาแทบไม่ได้กิน ไม่ได้นอน ไม่ได้ดูแลตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น เขาเล่าว่าเขาไม่มีเวลาแม้แต่จะแวะเข้าห้องน้ำเสียด้วยซ้ำ และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ “นาฬิกาชีวิต” ของเขาเสียสมดุลโรคร้ายคงก่อตัวขึ้นมาในช่วงนี้- นี่คือข้อสันนิษฐานของเขาเอง

ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าทั้งความเครียดและการสูญเสียสมดุลใน ร่างกายมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่ทำให้ร่างกายไม่อาจเยียวยาตัวเองและพัฒนา ไปเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน สตีฟ จ๊อบส์ คือ ตัวอย่างที่ว่านี้

ในปรัชญาเซนซึ่ง สตีฟ จ๊อบส์ ชื่นชอบศึกษา และนำมาใช้ในงานนวัตกรรมอาจารย์เซนท่านหนึ่งเคยสอนลูกศิษย์ว่า

“รู้ไหมสุดยอดแห่งปาฏิหาริย์คืออะไร?”

“การเดินบนน้ำการหายตัว...” ศิษย์ตอบ

“นั่นไม่ใช่ปาฏิหาริย์” อาจารย์แย้ง ลูกศิษย์จึงถามว่าถ้าเช่นนั้นปาฏิหาริย์คืออะไร อาจารย์จึงเฉลยว่า

“เมื่อหิวก็จงกิน, เมื่อง่วง ก็จงนอน, นี่แหละ คือปาฏิหาริย์”

สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ชอบศึกษาเซนคงลืมคำสอนเซนในเรื่องนี้ไปเขาจึงใช้ชีวิตอย่างสมบุกสมบันอันเป็นเหตุให้เวลาของเขามี “จำกัด” อย่างยิ่ง

ลองจินตนาการดูว่าหากเขามีเวลามากกว่านี้โลกของเราจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไร? บิล เก็ตส์ ดูเหมือนว่าจะเกิดปีเดียวกับจ๊อบส์แต่เขาลาออกจากบริษัทในฐานะผู้บริหารล่วง หน้าก่อนจ๊อบส์ นับสิบปีเพราะเขารู้ดีว่ามีบางสิ่งที่สำคัญกว่างานนั่นก็คือ “สุขภาพ” และ “การแบ่งปัน” ใช่หรือไม่ว่าหากเรามีทุกอย่าง ทว่าไม่มี “สุขภาพ” ทุกสิ่งที่มีจะมีความหมายอะไร

ในทางพุทธศาสนาพระพุทธองค์ตรัสว่าเวลาของเราทุกคนในยุคสมัยของพระองค์ (ซึ่งก็คือเวลาในยุคนี้) มีไม่มากนัก อายุของมนุษย์ในยุคนี้เต็มที่ก็เพียง ๑๐๐ ปีมากไปกว่านี้ก็เพียง ๑๒๐ ปี นี่คือเวลาอันจำกัดของเราทุกคนแต่บางคนกำลังทำให้วันเวลาในชีวิตสั้นลงไป กว่าเส้นแบ่งที่พระพุทธองค์ทรงทำนายเอาไว้มาก

ใครบางคนทำงาน ใช้ชีวิต เหมือนเป็นศัตรูกับตัวเอง

ทำงาน ทำงาน ทำงาน จนลืมไปว่า จิตใจและร่างกาย ไม่ใช่หุ่นยนต์คนที่ “บ้างาน” จนกลายเป็น “เสพติดการทำงานหนัก” อย่างที่กล่าวมานี้เวลาในชีวิตจะยิ่งสั้นลงไปอีกหลายเท่าตัว“เรามีเวลา จำกัด” (Our time islimited)

สตีฟ จ๊อบส์ เคยพูดประโยคนี้ตอนที่กำลังป่วยและเขาพยายามยื้อเวลาเอาไว้สุดชีวิตแต่สุดท้ายเขาก็ยื้อได้เพียง ๕๖ ปี ก็ต้องจากโลกนี้ไป

หลายคนที่ยังคงมีสุขภาพดีสติปัญญายังอยู่ในช่วงรุ่งโรจน์ควรนั่งลงถามตัว เองว่าเราจะเป็นสตีฟ จ๊อบส์ คนต่อไปที่กำลังจะจากไปก่อนวัยอันควรหรือว่า เราจะออกแบบชีวิตของเราใหม่ให้ “งานก็สัมฤทธิ์ ชีวิตก็รื่นรมย์” หรือ “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข”

หากเราไม่อยากจากไปก่อนวัยอันควรและมีเวลาไม่จำกัดจนเกินไปนักหนทางหนึ่ง ที่จะแก้ไขได้ก็คือเราต้องหันกลับมา “ทบทวน” วิธีที่เราคิด วิธีที่เราทำงานและวิธีที่เราใช้ชีวิตกันเสียใหม่ ในพุทธศาสนาเรามีคำที่สำคัญมากอยู่คำหนึ่งซึ่งเป็นคำที่สตีฟ จ๊อบส์ (ในความหมายแฝงก็คือ “มนุษย์บ้างานทั้งหลาย”) อาจจะยังไม่คุ้นชินนั่นก็คือ คำว่า“ทางสายกลาง” หรือคำว่า “ดุลยภาพ” คำ ๆ นี้เป็นหัวใจประการหนึ่งแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ใครก็ตามเข้าใจคำ ๆ นี้เขาจะมีเวลาเหลือมากมายสำหรับอยู่ในโลกนี้ต่อไปอย่างรื่นรมย์ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจและไม่สนใจ ก็อาจมีเวลาแสนจำกัดและอีกไม่นาน เวลานั้นก็คงหมดลงอย่างรวดเร็ว!.

ว.วชิรเมธี

คัดจากงานบรรยายธรรม

ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

พุทธศักราช ๒๕๕๔

ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=206989

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57

ที่มา: http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=206989
วันที่โพสต์: 17/01/2557 เวลา 04:53:15 ดูภาพสไลด์โชว์ เซน กับ สตีฟ จ๊อบส์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของบริษัทแอปเปิลการจากไปในวัยเพียง ๕๖ ปี ของสตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของบริษัทแอปเปิลเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ด้วยโรคมะเร็งตับก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเพราะชายคนนี้ไม่ได้ เป็นแค่ นักธุรกิจคนหนึ่งที่มีเงินมหาศาล หากแต่เขาคือ คนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ซีอีโอแห่งศตวรรษ” ชื่อชั้นของเขา อยู่ในระดับเดียวกันกับสุดยอดนักประดิษฐ์ตลอดกาล อย่างโธมัส อัลวา เอดิสัน เพราะสิ่งที่เขาสร้างสรรค์ฝากไว้ในโลกนั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่โลก และรูปแบบการใช้ชีวิตของเราอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แมคอินทอ ชคอมพิวเตอร์แม็คบุ๊กแอร์ ไอพอด ไอแพต ไอโฟน ฯลฯ โลกของเราเข้าสู่ยุคไร้กระดาษ (paperless) ส่วนหนึ่งก็เพราะวงการภาพยนตร์แอนิเมชั่นมีสุดยอดภาพยนตร์แอนิเมชั่นให้ตื่น ตะลึงกันก็เพราะเขาทำธุรกิจการติดต่อ การทำงานด้วยวิธีการ “คลิก” เพียงปุ่มเดียวแล้วอะไรต่อมิอะไรก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อก็เพราะสตีฟ จ๊อบส์ คือ สุดยอดนวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ ๒๑ อย่างไร้ข้อกังขา ขณะที่ชีวิตของเขากำลังรุ่งโรจน์สุด ๆ แต่แล้ว พญายมก็มาพรากเขาจากพวกเราไปในวัยเพียง ๕๖ ปี ข่าวนี้ทำให้หลายคนต้องหันกลับมาคิดใหม่ว่าอะไรคือเหตุปัจจัยให้คนอย่างเขา ต้องป่วยด้วยโรคมะเร็งและจบชีวิตในวัยที่ยังเต็มไปด้วยไฟแห่งการสร้างสรรค์ ในหนังสือเล่มแรกและเล่มเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ เล่าประวัติตัวเองอย่างหมดเปลือก เขาสารภาพว่าที่ตัวเองป่วยหนักสาเหตุน่าจะเริ่มมาจากการบริหารสองบริษัท พร้อมกันในเวลาดังกล่าวนั้นเขาแทบไม่ได้กิน ไม่ได้นอน ไม่ได้ดูแลตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น เขาเล่าว่าเขาไม่มีเวลาแม้แต่จะแวะเข้าห้องน้ำเสียด้วยซ้ำ และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ “นาฬิกาชีวิต” ของเขาเสียสมดุลโรคร้ายคงก่อตัวขึ้นมาในช่วงนี้- นี่คือข้อสันนิษฐานของเขาเอง ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าทั้งความเครียดและการสูญเสียสมดุลใน ร่างกายมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่ทำให้ร่างกายไม่อาจเยียวยาตัวเองและพัฒนา ไปเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน สตีฟ จ๊อบส์ คือ ตัวอย่างที่ว่านี้ ในปรัชญาเซนซึ่ง สตีฟ จ๊อบส์ ชื่นชอบศึกษา และนำมาใช้ในงานนวัตกรรมอาจารย์เซนท่านหนึ่งเคยสอนลูกศิษย์ว่า “รู้ไหมสุดยอดแห่งปาฏิหาริย์คืออะไร?” “การเดินบนน้ำการหายตัว...” ศิษย์ตอบ “นั่นไม่ใช่ปาฏิหาริย์” อาจารย์แย้ง ลูกศิษย์จึงถามว่าถ้าเช่นนั้นปาฏิหาริย์คืออะไร อาจารย์จึงเฉลยว่า “เมื่อหิวก็จงกิน, เมื่อง่วง ก็จงนอน, นี่แหละ คือปาฏิหาริย์” สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ชอบศึกษาเซนคงลืมคำสอนเซนในเรื่องนี้ไปเขาจึงใช้ชีวิตอย่างสมบุกสมบันอันเป็นเหตุให้เวลาของเขามี “จำกัด” อย่างยิ่ง ลองจินตนาการดูว่าหากเขามีเวลามากกว่านี้โลกของเราจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไร? บิล เก็ตส์ ดูเหมือนว่าจะเกิดปีเดียวกับจ๊อบส์แต่เขาลาออกจากบริษัทในฐานะผู้บริหารล่วง หน้าก่อนจ๊อบส์ นับสิบปีเพราะเขารู้ดีว่ามีบางสิ่งที่สำคัญกว่างานนั่นก็คือ “สุขภาพ” และ “การแบ่งปัน” ใช่หรือไม่ว่าหากเรามีทุกอย่าง ทว่าไม่มี “สุขภาพ” ทุกสิ่งที่มีจะมีความหมายอะไร ในทางพุทธศาสนาพระพุทธองค์ตรัสว่าเวลาของเราทุกคนในยุคสมัยของพระองค์ (ซึ่งก็คือเวลาในยุคนี้) มีไม่มากนัก อายุของมนุษย์ในยุคนี้เต็มที่ก็เพียง ๑๐๐ ปีมากไปกว่านี้ก็เพียง ๑๒๐ ปี นี่คือเวลาอันจำกัดของเราทุกคนแต่บางคนกำลังทำให้วันเวลาในชีวิตสั้นลงไป กว่าเส้นแบ่งที่พระพุทธองค์ทรงทำนายเอาไว้มาก ใครบางคนทำงาน ใช้ชีวิต เหมือนเป็นศัตรูกับตัวเอง ทำงาน ทำงาน ทำงาน จนลืมไปว่า จิตใจและร่างกาย ไม่ใช่หุ่นยนต์คนที่ “บ้างาน” จนกลายเป็น “เสพติดการทำงานหนัก” อย่างที่กล่าวมานี้เวลาในชีวิตจะยิ่งสั้นลงไปอีกหลายเท่าตัว“เรามีเวลา จำกัด” (Our time islimited) สตีฟ จ๊อบส์ เคยพูดประโยคนี้ตอนที่กำลังป่วยและเขาพยายามยื้อเวลาเอาไว้สุดชีวิตแต่สุดท้ายเขาก็ยื้อได้เพียง ๕๖ ปี ก็ต้องจากโลกนี้ไป หลายคนที่ยังคงมีสุขภาพดีสติปัญญายังอยู่ในช่วงรุ่งโรจน์ควรนั่งลงถามตัว เองว่าเราจะเป็นสตีฟ จ๊อบส์ คนต่อไปที่กำลังจะจากไปก่อนวัยอันควรหรือว่า เราจะออกแบบชีวิตของเราใหม่ให้ “งานก็สัมฤทธิ์ ชีวิตก็รื่นรมย์” หรือ “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” หากเราไม่อยากจากไปก่อนวัยอันควรและมีเวลาไม่จำกัดจนเกินไปนักหนทางหนึ่ง ที่จะแก้ไขได้ก็คือเราต้องหันกลับมา “ทบทวน” วิธีที่เราคิด วิธีที่เราทำงานและวิธีที่เราใช้ชีวิตกันเสียใหม่ ในพุทธศาสนาเรามีคำที่สำคัญมากอยู่คำหนึ่งซึ่งเป็นคำที่สตีฟ จ๊อบส์ (ในความหมายแฝงก็คือ “มนุษย์บ้างานทั้งหลาย”) อาจจะยังไม่คุ้นชินนั่นก็คือ คำว่า“ทางสายกลาง” หรือคำว่า “ดุลยภาพ” คำ ๆ นี้เป็นหัวใจประการหนึ่งแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ใครก็ตามเข้าใจคำ ๆ นี้เขาจะมีเวลาเหลือมากมายสำหรับอยู่ในโลกนี้ต่อไปอย่างรื่นรมย์ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจและไม่สนใจ ก็อาจมีเวลาแสนจำกัดและอีกไม่นาน เวลานั้นก็คงหมดลงอย่างรวดเร็ว!. ว.วชิรเมธี คัดจากงานบรรยายธรรม ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๔ ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=206989 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...