"ข้อคิด"...2557จาก..."หลวงพ่อจรัญ"
คอลัมน์นพ.วิชัยเทียนถาวร อดีตสาธารณสุข: เมื่อวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 2557 ผู้เขียนตั้งใจไปกราบนมัสการขอพรจาก "หลวงพ่อจรัญ" หรือพระธรรมสิงหบุราจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี ซึ่งทุกปี จะมีญาติโยมทั่วสารทิศ มากราบหลวงพ่อ เนืองแน่นตั้งแต่วันส่งท้ายปีเก่าจนกระทั่งก้าวเข้าสู่ปีใหม่ และที่สำคัญ ทุกท่านที่มาต่างมุ่ง "ปฏิบัติธรรม" วิปัสสนากรรมฐาน 7 วัน โดยเฉพาะการสวดมนต์ข้ามปี จากวันที่ 31 ธ.ค.2556 ถึงวันที่ 1 ม.ค.2557 ผู้คนเรือนหมื่นต่างมุ่งมั่นตั้งใจส่งผลให้รถติดจากในวัดยาวถึงถนนสายเอเชียมีการจองที่นั่งปฏิบัติสวดมนต์กันล่วงหน้าแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
หลังกราบหลวงพ่อเรียบร้อยแล้ว คำแรกที่หลวงพ่อเอ่ยคือ เหตุการณ์กรุงเทพฯเป็นอย่างไรบ้าง สงบดีแล้วหรือยัง ผู้เขียนได้เรียนหลวงพ่อว่า เหตุการณ์ต่างๆ น่าจะค่อยๆ คลี่คลายดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งคำถามของหลวงพ่อ แสดงให้เห็นว่าพระอริยสงฆ์ พระผู้ใหญ่ของบ้านเมืองก็ห่วงใยทุกข์ สุข ของบ้านเมืองและประชาชน ดังนั้น จึงเรียนให้หลวงพ่อท่านทราบว่าเหตุการณ์บ้านเมืองประเทศต่างๆ ในโลกก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน (อาการเจ็บป่วยของบ้านเมือง) เช่น ที่ประเทศกัมพูชา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องจากรัฐบาล รวมถึงประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ก็ยังมีปัญหาเช่นกัน
พอท่านทราบก็สบายใจว่านั่นเป็นวิวัฒนาการทางการเมืองของกระแสโลกา ภิวัตน์และการพัฒนาประชาธิปไตยของ "โลก" ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "เราก็เหมือนเขา" "เขาก็เหมือนเรา" จากนั้นได้เรียนถามถึงเรื่องสุขภาพอนามัยของหลวงพ่อ ท่านแข็งแรงดี เพราะออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปั่นจักรยานที่กุฏิ วันละ 20-30 นาที ทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นประเภทที่ย่อยง่าย กินน้อย นอนน้อย ทำงานมาก ท่านชอบทานกล้วยน้ำว้า หลวงพ่อจำวัด 3-4 ทุ่ม ตื่นตี 4 ทำวัตรเช้าทุกวันเป็นประจำ ขณะนี้หลวงพ่ออายุ 85 ย่าง 86 ปีแล้ว แข็งแรง สมบูรณ์ดีมาก หลวงพ่อปรารภว่า คนเราทุกคนหนีไม่พ้นคือ การเจ็บป่วย ซึ่งท่านได้ผ่านวิกฤตชีวิตที่รุนแรงมาหลายครั้ง เช่น คอหัก โรคภูมิแพ้ผื่นขึ้นทั้งตัว แน่นหน้าอก แต่ด้วยการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพ "3อ": อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และอนามัยส่วนบุคคลของหลวงพ่อไม่ขาดตกบกพร่องจึงทำให้แข็งแรงมาถึงปัจจุบัน
พูดถึงเรื่อง "เจ็บป่วย" แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนไม่อยากเป็น "คนป่วย" แต่จากอดีตที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ผู้เขียนตรวจคนไข้ที่ตึกผู้ป่วยนอก (OPD) หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จะพบว่าผู้ป่วย ป่วยจริงๆ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น การให้ยา ฉีดยารักษา หรือบางรายต้องได้รับการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ตรวจคลื่นหัวใจหรือต้องรับเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมีประมาณ10-20%เท่านั้น
ที่เหลือ 80-90% ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพด้วยการสร้างสุขภาพ "3อ และ 2ส" ก็จะหายและดีขึ้นได้เอง การดูแลสุขภาพ รักษาโรคแก่ผู้ป่วยในเวชปฏิบัติ ปัจจุบันต้องอาศัยการทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานในระดับชาติ ระดับสากล เพราะในยุคนี้และต่อๆ ไปประเทศไทยต้องเข้าสู่ AEC การเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข "หมออนามัย" ต้องเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานในเวชปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ที่สำคัญที่สุดคือ ผลการรักษาที่ดี มีประสิทธิภาพ ลดภาวการณ์แทรกซ้อน ลดอัตราตายและอัตราพิการของผู้ป่วย
โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งไม่ว่า กระทรวง กลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร หรือแม้โรงพยาบาลเอกชน รวมถึงหน่วยบริการเล็กที่สุดคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่งก็มีการให้บริการ "ผู้ป่วยนอก" ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างถ้วนทั่ว ครอบคลุม เสมอภาคเท่าเทียมกัน และให้การดูแลอย่างต่อเนื่องวางแผนการดูแลติดตามส่งผลให้ผลลัพธ์การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อนนี้ ผู้เขียนเน้นในเรื่องของ "คนดี" คือคน "คนสุขภาพแข็งแรง" ต้องดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์และแข็งแรง "ไม่ป่วย ไม่เจ็บ ไม่ตาย" ครั้งนี้จะพูดถึงเหตุสุดวิสัย หากสร้างสุขภาพ 3อ 2ส ด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี แล้วยังเกิดการเจ็บ"ป่วย"ว่าด้วยเรื่อง"ผู้ป่วยนอก"
เวลาที่เรามาตึกผู้ป่วยนอก (OPD: Out Patient Department) หรือห้องฉุกเฉิน (ER: Emergency Room) หมออนามัย หรือพยาบาล ที่ OPD หรือ ER จะซักประวัติทั่วๆ ไปลงใน OPD Card (บัตร ผู้ป่วยนอก) ตลอดจนประวัติการเจ็บป่วย ผ่าตัดที่ผ่านมาในอดีต เคยแพ้ยากิน ยาฉีดอะไรบ้าง เผื่อว่าจะได้ระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาตัวเดิมที่แพ้เพราะถ้าเกิดให้ไปอาจแพ้ซ้ำถึงตายได้
จากนั้นจะเข้าสู่ระบบคัดกรองผู้ป่วย โดยการสังเกตลักษณะอาการแสดงที่ "ต้อง" การดูแล "เร่งด่วน" นอกจากวัดความดันโลหิตชีพจรวัดปรอทแล้วคือสูตรABCD
A: Air way ทางเดินหายใจมีการอุดตันหรือไม่ ทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ขาดออกซิเจน อาจทำให้ตายได้
B: Breathing มีภาวะการหยุดหายใจ ดูจากหายใจหอบจมูกบาน ซี่โครงบานออก หน้าอกบุ๋ม ซึ่งแสดงถึงอันตรายมาถึงแล้ว
C: Circulation ดูสีผิว สีหน้าซีดเหมือนไก่ต้ม แสดงภาวะระบบการไหลเวียนโลหิตบกพร่อง เกิดภาวะช็อกต้องรีบแก้โดยหาสาเหตุแล้วรีบแก้ไข
D: Disability ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้แค่ไหน เดินได้? ขยับแขน ขาได้หรือไม่?
ทั้งหมดนี้ "สูตร ABCD" ทราบได้จากการซักประวัติ อาการ อาการแสดงของผู้ป่วย ตรวจ วัดความดัน ชีพจร วัดปรอท ซักถามอาการ สังเกตอย่างละเอียดเบื้องต้น นำไปสู่การตัดสินใจของแพทย์ว่า "ผู้ป่วยนอก" ที่มามี 4 จำพวกหรือ4ระดับ
ระดับ แรก "ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลทันที" ล่าช้าตายได้ เช่น ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจเสียเลือดมากเป็นต้น
ระดับที่ 2 ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 5-10 นาที และพยาบาลต้องดูแลเร่งด่วน ผู้ป่วยประเภทผู้ป่วยภาวะ"ช็อก"วัดความดันโลหิตต่ำลงชีพจรเบาเต้นเร็ว
ระดับที่ 3 ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 10-15 นาที และพยาบาลต้องดูแลโดยเร็ว เช่น ผู้ป่วยหอบหืดผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก ตา หรือแพ้ยามาก ผู้ป่วยพวกนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจะทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ไม่กี่ชั่วโมง
ระดับที่ 4 ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 20-30 นาที ส่วนพยาบาล ควรมีการดูแลตามปกติ 5-10 นาที เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงเหมือนกลุ่ม 1-3 โดยเฉพาะรู้ตัวดี พูดคุยได้ เดินได้ ช่วยตัวเองได้ ดูไม่ซีด ไม่หอบ ไม่เหนื่อย หายใจไม่ติดขัด วัดความดันปกติ หายใจและชีพจรปกติ หรือผู้ป่วยมาตามนัด (Follow up) หรือผู้ป่วยรอการรักษาได้แต่ก็ควรได้รับการดูแลรักษาภายใน 15-30 นาที เช่น ผู้ป่วยปวดหัว ไข้สูง ตัวร้อน มีบาดแผลที่ไม่รุนแรงไม่มีเลือดออกเป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือ สภาพคนไข้ระดับต่างๆ ที่ "ป่วย" มาโรงพยาบาลว่าด้วย "ผู้ป่วยนอก" ส่วนจะเป็น "ผู้ป่วยใน"หรือไม่อย่างไรต้องติดตามในฉบับถัดไป
จากความเจ็บป่วยของบ้านเมือง ความเจ็บป่วยของร่างกาย มาถึง พรของ "หลวงพ่อจรัญ" อย่างไรเสียผู้เขียนก็ยังปรารถนาดีต่อท่านผู้อ่านไม่อยากให้เจ็บป่วยทั้งกาย และใจ จึงอยากจะฝากข้อคิดให้สำหรับปรับการใช้ชีวิตในปีใหม่ด้วย"ข้อคิดพรปีใหม่"ของ"หลวงพ่อจรัญ"ท่านบอกว่า
"คนเราที่จะอยู่อย่างดีนั้นจะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง ชีวิตนั้นเป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้าประสบประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็นก็มีแต่ขาดทุนและประสบแต่ความทุกข์และความเสื่อม ฉะนั้น ต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น พร 4 ประการ เราก็ได้ยินบ่อยคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เรียกว่า จตุรพิธพร ถ้าท่านต้องการได้พรเหล่านี้ก็ต้องทำจิตใจให้ถูกต้อง โดยเฉพาะมีความเชื่อมั่น ทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส พร้อมทั้งมีความมั่นใจ มีกำลังใจ เข้มแข็งที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น"
ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบ และนำไปปฏิบัติ เพื่อเป็นมงคลชีวิต เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะที่รักษาได้ทั้งสุขภาพบ้านเมืองและสุขภาพร่างกายทุกอย่างจะได้สงบสุขสันติ...นะครับ : มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2557
ขอบคุณ... http://www.hed.go.th/frontend/theme/content.php?Submit=Clear&ID_Info=00026586&Type=3
www.hed.go.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\"ข้อคิด\"...2557จาก...\"หลวงพ่อจรัญ\" คอลัมน์นพ.วิชัยเทียนถาวร อดีตสาธารณสุข: เมื่อวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 2557 ผู้เขียนตั้งใจไปกราบนมัสการขอพรจาก "หลวงพ่อจรัญ" หรือพระธรรมสิงหบุราจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี ซึ่งทุกปี จะมีญาติโยมทั่วสารทิศ มากราบหลวงพ่อ เนืองแน่นตั้งแต่วันส่งท้ายปีเก่าจนกระทั่งก้าวเข้าสู่ปีใหม่ และที่สำคัญ ทุกท่านที่มาต่างมุ่ง "ปฏิบัติธรรม" วิปัสสนากรรมฐาน 7 วัน โดยเฉพาะการสวดมนต์ข้ามปี จากวันที่ 31 ธ.ค.2556 ถึงวันที่ 1 ม.ค.2557 ผู้คนเรือนหมื่นต่างมุ่งมั่นตั้งใจส่งผลให้รถติดจากในวัดยาวถึงถนนสายเอเชียมีการจองที่นั่งปฏิบัติสวดมนต์กันล่วงหน้าแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย หลังกราบหลวงพ่อเรียบร้อยแล้ว คำแรกที่หลวงพ่อเอ่ยคือ เหตุการณ์กรุงเทพฯเป็นอย่างไรบ้าง สงบดีแล้วหรือยัง ผู้เขียนได้เรียนหลวงพ่อว่า เหตุการณ์ต่างๆ น่าจะค่อยๆ คลี่คลายดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งคำถามของหลวงพ่อ แสดงให้เห็นว่าพระอริยสงฆ์ พระผู้ใหญ่ของบ้านเมืองก็ห่วงใยทุกข์ สุข ของบ้านเมืองและประชาชน ดังนั้น จึงเรียนให้หลวงพ่อท่านทราบว่าเหตุการณ์บ้านเมืองประเทศต่างๆ ในโลกก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน (อาการเจ็บป่วยของบ้านเมือง) เช่น ที่ประเทศกัมพูชา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องจากรัฐบาล รวมถึงประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ก็ยังมีปัญหาเช่นกัน พอท่านทราบก็สบายใจว่านั่นเป็นวิวัฒนาการทางการเมืองของกระแสโลกา ภิวัตน์และการพัฒนาประชาธิปไตยของ "โลก" ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "เราก็เหมือนเขา" "เขาก็เหมือนเรา" จากนั้นได้เรียนถามถึงเรื่องสุขภาพอนามัยของหลวงพ่อ ท่านแข็งแรงดี เพราะออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปั่นจักรยานที่กุฏิ วันละ 20-30 นาที ทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นประเภทที่ย่อยง่าย กินน้อย นอนน้อย ทำงานมาก ท่านชอบทานกล้วยน้ำว้า หลวงพ่อจำวัด 3-4 ทุ่ม ตื่นตี 4 ทำวัตรเช้าทุกวันเป็นประจำ ขณะนี้หลวงพ่ออายุ 85 ย่าง 86 ปีแล้ว แข็งแรง สมบูรณ์ดีมาก หลวงพ่อปรารภว่า คนเราทุกคนหนีไม่พ้นคือ การเจ็บป่วย ซึ่งท่านได้ผ่านวิกฤตชีวิตที่รุนแรงมาหลายครั้ง เช่น คอหัก โรคภูมิแพ้ผื่นขึ้นทั้งตัว แน่นหน้าอก แต่ด้วยการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพ "3อ": อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และอนามัยส่วนบุคคลของหลวงพ่อไม่ขาดตกบกพร่องจึงทำให้แข็งแรงมาถึงปัจจุบัน พูดถึงเรื่อง "เจ็บป่วย" แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนไม่อยากเป็น "คนป่วย" แต่จากอดีตที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ผู้เขียนตรวจคนไข้ที่ตึกผู้ป่วยนอก (OPD) หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จะพบว่าผู้ป่วย ป่วยจริงๆ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น การให้ยา ฉีดยารักษา หรือบางรายต้องได้รับการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ตรวจคลื่นหัวใจหรือต้องรับเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมีประมาณ10-20%เท่านั้น ที่เหลือ 80-90% ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพด้วยการสร้างสุขภาพ "3อ และ 2ส" ก็จะหายและดีขึ้นได้เอง การดูแลสุขภาพ รักษาโรคแก่ผู้ป่วยในเวชปฏิบัติ ปัจจุบันต้องอาศัยการทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานในระดับชาติ ระดับสากล เพราะในยุคนี้และต่อๆ ไปประเทศไทยต้องเข้าสู่ AEC การเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข "หมออนามัย" ต้องเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานในเวชปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ที่สำคัญที่สุดคือ ผลการรักษาที่ดี มีประสิทธิภาพ ลดภาวการณ์แทรกซ้อน ลดอัตราตายและอัตราพิการของผู้ป่วย โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งไม่ว่า กระทรวง กลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร หรือแม้โรงพยาบาลเอกชน รวมถึงหน่วยบริการเล็กที่สุดคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่งก็มีการให้บริการ "ผู้ป่วยนอก" ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างถ้วนทั่ว ครอบคลุม เสมอภาคเท่าเทียมกัน และให้การดูแลอย่างต่อเนื่องวางแผนการดูแลติดตามส่งผลให้ผลลัพธ์การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนนี้ ผู้เขียนเน้นในเรื่องของ "คนดี" คือคน "คนสุขภาพแข็งแรง" ต้องดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์และแข็งแรง "ไม่ป่วย ไม่เจ็บ ไม่ตาย" ครั้งนี้จะพูดถึงเหตุสุดวิสัย หากสร้างสุขภาพ 3อ 2ส ด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี แล้วยังเกิดการเจ็บ"ป่วย"ว่าด้วยเรื่อง"ผู้ป่วยนอก" เวลาที่เรามาตึกผู้ป่วยนอก (OPD: Out Patient Department) หรือห้องฉุกเฉิน (ER: Emergency Room) หมออนามัย หรือพยาบาล ที่ OPD หรือ ER จะซักประวัติทั่วๆ ไปลงใน OPD Card (บัตร ผู้ป่วยนอก) ตลอดจนประวัติการเจ็บป่วย ผ่าตัดที่ผ่านมาในอดีต เคยแพ้ยากิน ยาฉีดอะไรบ้าง เผื่อว่าจะได้ระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาตัวเดิมที่แพ้เพราะถ้าเกิดให้ไปอาจแพ้ซ้ำถึงตายได้ จากนั้นจะเข้าสู่ระบบคัดกรองผู้ป่วย โดยการสังเกตลักษณะอาการแสดงที่ "ต้อง" การดูแล "เร่งด่วน" นอกจากวัดความดันโลหิตชีพจรวัดปรอทแล้วคือสูตรABCD A: Air way ทางเดินหายใจมีการอุดตันหรือไม่ ทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ขาดออกซิเจน อาจทำให้ตายได้ B: Breathing มีภาวะการหยุดหายใจ ดูจากหายใจหอบจมูกบาน ซี่โครงบานออก หน้าอกบุ๋ม ซึ่งแสดงถึงอันตรายมาถึงแล้ว C: Circulation ดูสีผิว สีหน้าซีดเหมือนไก่ต้ม แสดงภาวะระบบการไหลเวียนโลหิตบกพร่อง เกิดภาวะช็อกต้องรีบแก้โดยหาสาเหตุแล้วรีบแก้ไข D: Disability ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้แค่ไหน เดินได้? ขยับแขน ขาได้หรือไม่? ทั้งหมดนี้ "สูตร ABCD" ทราบได้จากการซักประวัติ อาการ อาการแสดงของผู้ป่วย ตรวจ วัดความดัน ชีพจร วัดปรอท ซักถามอาการ สังเกตอย่างละเอียดเบื้องต้น นำไปสู่การตัดสินใจของแพทย์ว่า "ผู้ป่วยนอก" ที่มามี 4 จำพวกหรือ4ระดับ ระดับ แรก "ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลทันที" ล่าช้าตายได้ เช่น ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจเสียเลือดมากเป็นต้น ระดับที่ 2 ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 5-10 นาที และพยาบาลต้องดูแลเร่งด่วน ผู้ป่วยประเภทผู้ป่วยภาวะ"ช็อก"วัดความดันโลหิตต่ำลงชีพจรเบาเต้นเร็ว ระดับที่ 3 ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 10-15 นาที และพยาบาลต้องดูแลโดยเร็ว เช่น ผู้ป่วยหอบหืดผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก ตา หรือแพ้ยามาก ผู้ป่วยพวกนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจะทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ไม่กี่ชั่วโมง ระดับที่ 4 ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ภายใน 20-30 นาที ส่วนพยาบาล ควรมีการดูแลตามปกติ 5-10 นาที เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงเหมือนกลุ่ม 1-3 โดยเฉพาะรู้ตัวดี พูดคุยได้ เดินได้ ช่วยตัวเองได้ ดูไม่ซีด ไม่หอบ ไม่เหนื่อย หายใจไม่ติดขัด วัดความดันปกติ หายใจและชีพจรปกติ หรือผู้ป่วยมาตามนัด (Follow up) หรือผู้ป่วยรอการรักษาได้แต่ก็ควรได้รับการดูแลรักษาภายใน 15-30 นาที เช่น ผู้ป่วยปวดหัว ไข้สูง ตัวร้อน มีบาดแผลที่ไม่รุนแรงไม่มีเลือดออกเป็นต้น ทั้งหมดนี้คือ สภาพคนไข้ระดับต่างๆ ที่ "ป่วย" มาโรงพยาบาลว่าด้วย "ผู้ป่วยนอก" ส่วนจะเป็น "ผู้ป่วยใน"หรือไม่อย่างไรต้องติดตามในฉบับถัดไป จากความเจ็บป่วยของบ้านเมือง ความเจ็บป่วยของร่างกาย มาถึง พรของ "หลวงพ่อจรัญ" อย่างไรเสียผู้เขียนก็ยังปรารถนาดีต่อท่านผู้อ่านไม่อยากให้เจ็บป่วยทั้งกาย และใจ จึงอยากจะฝากข้อคิดให้สำหรับปรับการใช้ชีวิตในปีใหม่ด้วย"ข้อคิดพรปีใหม่"ของ"หลวงพ่อจรัญ"ท่านบอกว่า "คนเราที่จะอยู่อย่างดีนั้นจะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง ชีวิตนั้นเป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้าประสบประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็นก็มีแต่ขาดทุนและประสบแต่ความทุกข์และความเสื่อม ฉะนั้น ต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น พร 4 ประการ เราก็ได้ยินบ่อยคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เรียกว่า จตุรพิธพร ถ้าท่านต้องการได้พรเหล่านี้ก็ต้องทำจิตใจให้ถูกต้อง โดยเฉพาะมีความเชื่อมั่น ทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส พร้อมทั้งมีความมั่นใจ มีกำลังใจ เข้มแข็งที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น" ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบ และนำไปปฏิบัติ เพื่อเป็นมงคลชีวิต เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะที่รักษาได้ทั้งสุขภาพบ้านเมืองและสุขภาพร่างกายทุกอย่างจะได้สงบสุขสันติ...นะครับ : มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2557 ขอบคุณ... http://www.hed.go.th/frontend/theme/content.php?Submit=Clear&ID_Info=00026586&Type=3 www.hed.go.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)