ดั่งรอยเท้านกในอากาศ

แสดงความคิดเห็น

ธรรมชาติริมบึง

ดั่งรอยเท้านกในอากาศ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง ธัชดล ปัญญาพานิชกุล

Haiku (ไฮกุ ๑๗) โคลงญี่ปุ่น

วันก่อนผมได้ลองศึกษาดู เขามีโครงสร้างแปลกๆ แบ่งเป็น ๓ บรรทัด เรียง ๕-๗-๕ คำ รวมเป็น ๑๗ คำ ชื่อฟังดูคล้ายกาพย์ยานี ๑๖ ของเรากระมัง แต่ของเขาไม่เน้นสัมผัสที่ตรงไหนเลย แทบจะเรียกได้ว่าคล้ายๆ กลอนเปล่าของเราด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี ผมจะลองนำไฮกุมาประยุกต์แล้วแต่งเป็นแนวธรรมะดูนะครับ

เริ่มจากธรรมะเบาๆ ก่อนล่ะกัน เอาเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับ ราคะ กาม และการครองเรือน

อยู่เดี่ยว อยากมีคู่

ครั้นมีคู่ กลับอยากฉายเดี่ยว

เอายังไงกันแน่ ... เธอ?

คล้ายจะเป็นสัจธรรมของคนครองเรือนทั่วไป ... เคยเป็นโสดก็เหงาใจ อยากแต่งงาน พอได้ครองเรือนอยู่กินกันสักพักใหญ่ก็รำคาญใจ อยากกลับไปมีอิสระเหมือนเดิม ผู้ชายหลายคนหากรู้จักโนยิโสมนสิการ จะพบสัจธรรมชีวิตได้โดยไม่ยาก ดังไฮกุบทถัดไป

'กิ๊ก' วันนี้ คือ 'เมีย' วันพรุ่ง

'เมีย' วันนี้ คือ 'กิ๊ก' วันก่อน

แตกต่างกันไฉน?

ไฮกุ ๒ บทนี้ (ดูเหมือนผมจะใช้เกิน ๑๗ คำ) เน้นย้ำให้เห็นถึงวัฏจักรอันหมุนวน ประหนึ่งสังสารวัฏขนาดย่อมวงหนึ่ง อันเป็นเครื่องสะท้อนที่พึงสังวรณ์สำหรับผู้ที่ยังหลงกาม จมจ่อมติดอยู่ในโลกอย่างเพลินใจโดยประมาท ไม่ต่างอะไรกับหนูเลี้ยงในกรง ที่ตื่นเช้ามาก็กระโดดขึ้นรางถีบจักรหมุนติ้วๆ ไปวันละหลายพันรอบอย่างไม่รู้เบื่อหน่าย

โง่บัดซบไม่มีใครเกิน คือคนมักมากก่ำกาม, ก็ "กาม" นี้แหละ คือ "กามภพ" อันเป็นชั้นต่ำ กามอย่างหยาบนั่นเอง หากผู้ใดได้ตระหนัก ได้สำเหนียกจนเห็นสัจธรรมแล้วไซร้ ก็จะแปรเปลี่ยนความรู้สึกต่อเรื่อง "กาม" นี้จากความเพลิน (นันทิ) ให้กลายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย (นิพพิทา) ได้โดยไม่เหลือวิสัย

ส่วน "กาม" ที่สูงขึ้นมาอีกหน่อย ชาวพุทธเรา หลังจากหลุดออกมาแล้วจากกามภพ ส่วนมากก็จะไปติดแหงกอยู่ที่ "รูปภพ" คือคนที่มีจิตสูงกว่าพวกแรก พวกนี้จะหันไปติด ต้นไม้ บอนไซ นกเขา เครื่องลายครามสังคโลกแทนติดกาม, หรือไม่ก็ไปยึดติดอยู่ในความปรารถนาในสวรรค์สมบัติ ไม่ก็แดนสุขาวดี พาให้หลงบุญ ติดบุญ เมาบุญ ขมักเขม้นเอาแต่จะตักตวงบุญ ตุนกันให้เต็มยุ้งฉาง เพียงเพื่อหวังจะไปเกิดใหม่ให้สบายในชาติหน้ากันท่าเดียว (บางทียุ้งฉางบุญกุศล ที่กักตุนไว้โดยความเชื่อที่ผิด นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังอาจจะถ่วงแข้งถ่วงขา ก่อเกิดอัตตา ทำให้ยากต่อการหลุดพ้นไปอีกด้วย) นี้เป็นภพภูมิชั้นที่ ๒

มนุษย์ผู้มีใจสูงกว่านั้นจะเขยิบขึ้นมาหาสิ่งที่ละเอียดประณีตกว่า เลยหันไปติด "อรูปภพ" แทน คือ ทำใจนิ่ง สงบไม่ไหวติง ขอเปลี่ยนแนวจาก ไฮกุ ๑๗ ของญี่ปุ่น มาเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ไทยโบราณของเราละกัน ประพันธ์โดยปราชญ์นิรนาม เขียนไว้ดังนี้

เข้าฌาณ นานนับเดือน

ไม่เขยื้อน เคลื่อนกายา

จำศีล กินวาตา

เป็นผาสุก ทุกคืนวันฯ

สุข แบบนี้ คือ สุขในพรหมโลก แม้จะสุขขี สุขโข วิเวโก อย่างไรก็ดี ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่วันยังค่ำ หลายคน

หลายสำนักเข้าใจผิด ยึดเอาความสุขประเภทนี้เป็นสรณะ บ้างก็เหมาเอาว่าเป็นสภาวะนิพพานไปซะงั้น บ้างก็มั่วนิ่มยกให้เป็นอัตตามหานิพพานซะเลย พามวลชนให้หลงงมงายกันเป็นคณะๆ ทั้งในไทยและต่างแดน (หารู้ไม่ว่าบาปมหันต์!)

หากสุขในชั้นพรหมเป็นสุขจริง เป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ประหนึ่งนิพพานแล้วไซร้ พระพุทธเจ้าของเราคงไม่ลาจากปฐมคุรุทั้ง ๒ (อาฬาดาบสและอุทกดาบส) เมื่อสำเร็จวิชาจากท่านทั้งสอง แล้วทรงหันหน้าเข้าป่าเพื่อแสวงหนทางดับทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วยตัวพระองค์เอง หรอก จริงไหม?

ชาวพุทธจึงควรเดินตามพระพุทธองค์ คือเราต้องทำจิตภาวนาให้สูงกว่านั้น สูงกว่าใน ๓ ภพแรกคือ กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ จนถึงขั้นภพสุดท้าย

ภพที่ ๔ นี้คือ "โลกุตรภูมิ" หรือ "ภพภูมิที่เหนือโลก" พ้นจากการเกิด-การตาย, ดำรงอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ หลุดออกจากของคู่ทั้งปวง ไม่ติดบ่วงอุปาทานว่าเป็นตัวกูของกู เป็นภพภูมิที่ทำให้บุคคลธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ กลายเป็นอริยบุคคลโดยถ่ายเดียว (คือนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนกระทั่งถึงพระอรหันต์นั่นเอง) ก็แล้วคนที่อยู่ในโลกุตรภูมิ มันดีอย่างไรเล่า? มันรู้สึกอย่างไร?

บทนี้ผมขอพรรณนาเป็นกลอนเปล่าแบบไทยๆ เราละกันนะครับ

ดั่งรอยเท้านกในอากาศ

อันผู้อื่นติดตามไปได้ยากยิ่ง

สุญญตา- วิหารที่แอบอิง

โครงกระดูกนี้ใช้พักพิงครั้งสุดท้าย

มีอินทรีย์สงบเป็นที่รักของเทวดา

สัพเพสัตตาหวังใบบุญพึ่งอาศัย

การเวียนว่ายตายเกิดหามีแก่ท่านไม่

สรรพคุณนี้มีได้แต่ในระอรหันต์เอยฯ

'ดั่งรอยเท้านกในอากาศ' …

มันมีรอยเท้าที่ไหนกันเล่า? ช่างว่างเบาเสียนี่กระไร

แม้แต่จอมยุทธผู้มีวิชาตัวเบาสูงส่งในนิยายจีนกำลังภายในยังมิอาจเทียมได้

นี่แหละไซร้แนวทางการเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ...

พาลพาให้ผมนึกไปถึง โมฆราชคาถา คำตอบ short cut ลัดสั้นที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดต่อมานพโมฆราชาอันลือลั่นสั่นสะเทือนทั้งสาม โลกมาแล้ว ดังนี้

สุญโต โลกัง อเวกขัสสุ โมฆราช สะทา สะโต … ฯลฯ

อันคำแปลแล้วร้อยประพันธ์ใหม่โดยท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ว่า

มองเห็นความ ไม่มี ในความมี

ถอนยึดถือ ออกทุกที่ อย่ามีไหน

มองโลกว่าง อย่างนี้ ทุกทีไป

ความตาย ก็จะไม่ มองเห็นเรา

เป็นมรรคาแห่งความเป็นอยู่โดยชอบอย่างแท้จริง ซึ่งหากพวกท่านทั้งหลายมีความเป็นอยู่โดยชอบอย่างนี้กันอยู่เสมอๆ แล้วไซร้ โลกเราก็จะไม่สิ้นไร้ซึ่งพระอรหันต์ ตามพุทธวาจาอย่างแน่นอน และเมื่อใดในโลกนี้ไม่สิ้นพระอรหันต์ก็จะยังมีผู้หมุนกงล้อแห่งธรรมจักรอยู่ เนืองๆ เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่อย่างไม่ต้องสงสัยในประการทั้งปวง

แล้วที่สุด ... รอยเท้าท่านก็จะเป็นดั่งรอยเท้านกในอากาศ!

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130311/153622/ดั่งรอยเท้านกในอากาศ.html#.UbAPV9hHWzs (ขนาดไฟล์: 167)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ธรรมชาติริมบึง ดั่งรอยเท้านกในอากาศ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง ธัชดล ปัญญาพานิชกุล Haiku (ไฮกุ ๑๗) โคลงญี่ปุ่น วันก่อนผมได้ลองศึกษาดู เขามีโครงสร้างแปลกๆ แบ่งเป็น ๓ บรรทัด เรียง ๕-๗-๕ คำ รวมเป็น ๑๗ คำ ชื่อฟังดูคล้ายกาพย์ยานี ๑๖ ของเรากระมัง แต่ของเขาไม่เน้นสัมผัสที่ตรงไหนเลย แทบจะเรียกได้ว่าคล้ายๆ กลอนเปล่าของเราด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี ผมจะลองนำไฮกุมาประยุกต์แล้วแต่งเป็นแนวธรรมะดูนะครับ เริ่มจากธรรมะเบาๆ ก่อนล่ะกัน เอาเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับ ราคะ กาม และการครองเรือน อยู่เดี่ยว อยากมีคู่ ครั้นมีคู่ กลับอยากฉายเดี่ยว เอายังไงกันแน่ ... เธอ? คล้ายจะเป็นสัจธรรมของคนครองเรือนทั่วไป ... เคยเป็นโสดก็เหงาใจ อยากแต่งงาน พอได้ครองเรือนอยู่กินกันสักพักใหญ่ก็รำคาญใจ อยากกลับไปมีอิสระเหมือนเดิม ผู้ชายหลายคนหากรู้จักโนยิโสมนสิการ จะพบสัจธรรมชีวิตได้โดยไม่ยาก ดังไฮกุบทถัดไป 'กิ๊ก' วันนี้ คือ 'เมีย' วันพรุ่ง 'เมีย' วันนี้ คือ 'กิ๊ก' วันก่อน แตกต่างกันไฉน? ไฮกุ ๒ บทนี้ (ดูเหมือนผมจะใช้เกิน ๑๗ คำ) เน้นย้ำให้เห็นถึงวัฏจักรอันหมุนวน ประหนึ่งสังสารวัฏขนาดย่อมวงหนึ่ง อันเป็นเครื่องสะท้อนที่พึงสังวรณ์สำหรับผู้ที่ยังหลงกาม จมจ่อมติดอยู่ในโลกอย่างเพลินใจโดยประมาท ไม่ต่างอะไรกับหนูเลี้ยงในกรง ที่ตื่นเช้ามาก็กระโดดขึ้นรางถีบจักรหมุนติ้วๆ ไปวันละหลายพันรอบอย่างไม่รู้เบื่อหน่าย โง่บัดซบไม่มีใครเกิน คือคนมักมากก่ำกาม, ก็ "กาม" นี้แหละ คือ "กามภพ" อันเป็นชั้นต่ำ กามอย่างหยาบนั่นเอง หากผู้ใดได้ตระหนัก ได้สำเหนียกจนเห็นสัจธรรมแล้วไซร้ ก็จะแปรเปลี่ยนความรู้สึกต่อเรื่อง "กาม" นี้จากความเพลิน (นันทิ) ให้กลายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย (นิพพิทา) ได้โดยไม่เหลือวิสัย ส่วน "กาม" ที่สูงขึ้นมาอีกหน่อย ชาวพุทธเรา หลังจากหลุดออกมาแล้วจากกามภพ ส่วนมากก็จะไปติดแหงกอยู่ที่ "รูปภพ" คือคนที่มีจิตสูงกว่าพวกแรก พวกนี้จะหันไปติด ต้นไม้ บอนไซ นกเขา เครื่องลายครามสังคโลกแทนติดกาม, หรือไม่ก็ไปยึดติดอยู่ในความปรารถนาในสวรรค์สมบัติ ไม่ก็แดนสุขาวดี พาให้หลงบุญ ติดบุญ เมาบุญ ขมักเขม้นเอาแต่จะตักตวงบุญ ตุนกันให้เต็มยุ้งฉาง เพียงเพื่อหวังจะไปเกิดใหม่ให้สบายในชาติหน้ากันท่าเดียว (บางทียุ้งฉางบุญกุศล ที่กักตุนไว้โดยความเชื่อที่ผิด นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังอาจจะถ่วงแข้งถ่วงขา ก่อเกิดอัตตา ทำให้ยากต่อการหลุดพ้นไปอีกด้วย) นี้เป็นภพภูมิชั้นที่ ๒ มนุษย์ผู้มีใจสูงกว่านั้นจะเขยิบขึ้นมาหาสิ่งที่ละเอียดประณีตกว่า เลยหันไปติด "อรูปภพ" แทน คือ ทำใจนิ่ง สงบไม่ไหวติง ขอเปลี่ยนแนวจาก ไฮกุ ๑๗ ของญี่ปุ่น มาเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ไทยโบราณของเราละกัน ประพันธ์โดยปราชญ์นิรนาม เขียนไว้ดังนี้ เข้าฌาณ นานนับเดือน ไม่เขยื้อน เคลื่อนกายา จำศีล กินวาตา เป็นผาสุก ทุกคืนวันฯ สุข แบบนี้ คือ สุขในพรหมโลก แม้จะสุขขี สุขโข วิเวโก อย่างไรก็ดี ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่วันยังค่ำ หลายคน หลายสำนักเข้าใจผิด ยึดเอาความสุขประเภทนี้เป็นสรณะ บ้างก็เหมาเอาว่าเป็นสภาวะนิพพานไปซะงั้น บ้างก็มั่วนิ่มยกให้เป็นอัตตามหานิพพานซะเลย พามวลชนให้หลงงมงายกันเป็นคณะๆ ทั้งในไทยและต่างแดน (หารู้ไม่ว่าบาปมหันต์!) หากสุขในชั้นพรหมเป็นสุขจริง เป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ประหนึ่งนิพพานแล้วไซร้ พระพุทธเจ้าของเราคงไม่ลาจากปฐมคุรุทั้ง ๒ (อาฬาดาบสและอุทกดาบส) เมื่อสำเร็จวิชาจากท่านทั้งสอง แล้วทรงหันหน้าเข้าป่าเพื่อแสวงหนทางดับทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วยตัวพระองค์เอง หรอก จริงไหม? ชาวพุทธจึงควรเดินตามพระพุทธองค์ คือเราต้องทำจิตภาวนาให้สูงกว่านั้น สูงกว่าใน ๓ ภพแรกคือ กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ จนถึงขั้นภพสุดท้าย ภพที่ ๔ นี้คือ "โลกุตรภูมิ" หรือ "ภพภูมิที่เหนือโลก" พ้นจากการเกิด-การตาย, ดำรงอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ หลุดออกจากของคู่ทั้งปวง ไม่ติดบ่วงอุปาทานว่าเป็นตัวกูของกู เป็นภพภูมิที่ทำให้บุคคลธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ กลายเป็นอริยบุคคลโดยถ่ายเดียว (คือนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนกระทั่งถึงพระอรหันต์นั่นเอง) ก็แล้วคนที่อยู่ในโลกุตรภูมิ มันดีอย่างไรเล่า? มันรู้สึกอย่างไร? บทนี้ผมขอพรรณนาเป็นกลอนเปล่าแบบไทยๆ เราละกันนะครับ ดั่งรอยเท้านกในอากาศ อันผู้อื่นติดตามไปได้ยากยิ่ง สุญญตา- วิหารที่แอบอิง โครงกระดูกนี้ใช้พักพิงครั้งสุดท้าย มีอินทรีย์สงบเป็นที่รักของเทวดา สัพเพสัตตาหวังใบบุญพึ่งอาศัย การเวียนว่ายตายเกิดหามีแก่ท่านไม่ สรรพคุณนี้มีได้แต่ในระอรหันต์เอยฯ 'ดั่งรอยเท้านกในอากาศ' … มันมีรอยเท้าที่ไหนกันเล่า? ช่างว่างเบาเสียนี่กระไร แม้แต่จอมยุทธผู้มีวิชาตัวเบาสูงส่งในนิยายจีนกำลังภายในยังมิอาจเทียมได้ นี่แหละไซร้แนวทางการเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ... พาลพาให้ผมนึกไปถึง โมฆราชคาถา คำตอบ short cut ลัดสั้นที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดต่อมานพโมฆราชาอันลือลั่นสั่นสะเทือนทั้งสาม โลกมาแล้ว ดังนี้ สุญโต โลกัง อเวกขัสสุ โมฆราช สะทา สะโต … ฯลฯ อันคำแปลแล้วร้อยประพันธ์ใหม่โดยท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ว่า มองเห็นความ ไม่มี ในความมี ถอนยึดถือ ออกทุกที่ อย่ามีไหน มองโลกว่าง อย่างนี้ ทุกทีไป ความตาย ก็จะไม่ มองเห็นเรา เป็นมรรคาแห่งความเป็นอยู่โดยชอบอย่างแท้จริง ซึ่งหากพวกท่านทั้งหลายมีความเป็นอยู่โดยชอบอย่างนี้กันอยู่เสมอๆ แล้วไซร้ โลกเราก็จะไม่สิ้นไร้ซึ่งพระอรหันต์ ตามพุทธวาจาอย่างแน่นอน และเมื่อใดในโลกนี้ไม่สิ้นพระอรหันต์ก็จะยังมีผู้หมุนกงล้อแห่งธรรมจักรอยู่ เนืองๆ เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่อย่างไม่ต้องสงสัยในประการทั้งปวง แล้วที่สุด ... รอยเท้าท่านก็จะเป็นดั่งรอยเท้านกในอากาศ! ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130311/153622/ดั่งรอยเท้านกในอากาศ.html#.UbAPV9hHWzs

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...