ปริศนาโบราณคดี

แสดงความคิดเห็น

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์

Little Buddha พระพุทธเจ้าน้อย หรือ พระโพธิสัตว์ปางประสูติ?

ราวปลายปี 2553 เคยเขียนบทความเรื่อง "เจ้าชายน้อยยืน "ชี้ฟ้า-ชี้ดิน" ขอกำเนิดเป็นพระชาติสุดท้าย" มาครั้งหนึ่งแล้วในคอลัมน์นี้

ซึ่งครั้งกระนั้นยังไม่มีกระแสการจัดสร้าง "พระพุทธเจ้าน้อย" ที่ท้องสนามหลวงโดยมี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ประเทศเนปาล แต่อย่างใด

เนื้อหาและภาพประกอบในบทความชิ้นนั้น กล่าวถึงประติมากรรมสำริด 2 องค์ที่แสดงรูปเจ้าชายสิทธัตถะขณะทรงพระเยาว์แรกประสูติ

องค์หนึ่งพบที่วัดมหาธาตุสุโขทัย แต่หายสาบสูญไปอย่างไร้ผู้รับผิดชอบ

ส่วนอีกองค์พบจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี ใกล้กับฐานเจดีย์เชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน เมื่อปี พ.ศ.2552 จวบปัจจุบันยังคงเก็บรักษาไว้ภายในวัดที่ค้นพบ

เมื่อเร็วๆ นี้ดิฉันได้พบประติมากรรมสำริดรูป "เจ้าชายน้อยยืนชี้ฟ้าชี้ดิน" อีกองค์หนึ่ง ที่วัดบวกค้าง ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสมบัติตกทอดของวัด เก่าเก็บไว้นานหลายร้อยปี

ถือว่าเป็นองค์ที่สามที่ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการในประเทศนี้

ซึ่งเชื่อแน่นอนว่ายังมีอีกจำนวนมากมายหลายองค์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้เป็นความลับ ทั้งโดยเจตนา และทั้งโดยไม่ตั้งใจ ด้วยไม่รู้ว่าคืออะไร เนื่องจากเป็นโบราณวัตถุที่มีรูปลักษณ์พิเศษ แปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป

อย่างไรก็ดี แม้จะพบหลักฐานทำนองเดียวกันนี้เพียงแค่ 3 องค์ แต่ก็พอจะช่วยให้ดิฉันสามารถคลำทาง ไขปริศนาเรื่องสายสัมพันธ์ของ "พระพุทธศาสนานิกายมหายาน" ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับล้านนาได้อยู่บ้าง

เหมาะแล้วหรือ

คำว่า Little Buddha พระพุทธเจ้าน้อย?

ประเด็นชื่อที่ใช้เรียกงานประติมากรรมรูปแบบดังกล่าว ได้กลายเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างโจ๋งครึ่มตามสื่อออนไลน์ว่า เหมาะสมแล้วล่ะหรือที่ไปใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ใครกันหนอช่างบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา

เข้าใจว่าเป็นการแปลจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้คำว่า Little Buddha หรือ Baby Buddha (Baby Bodhi) นั่นเอง จึงมีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

อันที่จริง ความหมายของ Little Buddha ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดที่คีนูรีฟแสดงนั้น เป็นเรื่องราวของการตามหาพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์ ตามความเชื่อของพระทิเบตสายทะไลลามะ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกันกับพระพุทธเจ้าในรูปพระกุมารเมื่อแรกประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วยืนชี้ฟ้าชี้ดินแต่อย่างใดเลย

ฝ่ายที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับคำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ให้เหตุผลว่า ทำไมจะใช้พระพุทธเจ้าน้อยไม่ได้เล่า ก็ในเมื่อต้องการสื่อถึงพระพุทธเจ้าขณะยังองค์น้อยๆ อยู่ อันความเป็นพุทธะนั้น มีอยู่ในตัวคนและสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว (ตามคติมหายาน)

อีกทั้งยังยืนยันว่าการขนานนาม "พระพุทธเจ้าน้อย" ครั้งนี้ เป็นการกล่าวถึงพระองค์ด้วยความศรัทธาเชิดชูหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมมาแล้ว 2,600 ปี แม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าสมัยเมื่อทรงประสูติที่ลุมพินีวันจะยังทรงพระเยาว์ก็ตาม แต่ท่านก็คือพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง

ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า ไปเรียกขานพระองค์ท่านว่าพระพุทธเจ้าน้อยได้อย่างไร ในเมื่อกายเนื้อยังเป็นเด็ก ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

ฝ่ายนี้จึงเห็นว่าควรขนานนามรูปเคารพใหม่ว่า "พระโพธิสัตว์ปางประสูติ" หรือเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร จึงจักเหมาะสมกว่า

นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลายท่านค้านว่าแม้แต่คำว่า "พระโพธิสัตว์" ก็ยังไม่เหมาะสมอยู่นั่นเอง ต้องเรียกว่า "พระสิทธัตถะราชกุมาร" เท่านั้น ฝ่ายหลังนี้อ้างว่า พระนามที่อรรถกถาจารย์เรียกขานถึงพระพุทธองค์นั้น จักเรียกตามกำลังแห่งการบำเพ็ญบารมีตามวัยแห่งประสบการณ์ดังนี้

พระโพธิสัตว์ คือขณะบำเพ็ญบารมีชาติก่อนๆ จนจุติจากสวรรค์หยั่งลงสู่พระครรภ์

พระสิทธัตถะราชกุมาร เมื่อเสด็จออกจากครรภ์พุทธมารดา

พระมหาบุรุษ เมื่อเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง

พระบรมศาสดา เมื่อเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ และสัตว์โลก

ด้วยเหตุนี้การนำคำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" มาใช้โดดๆ จึงเป็นโมฆะนาม คือเป็นไปไม่ได้ และไม่อาจมีอยู่จริง

พระโพธิสัตว์ปางประสูติค้นพบใหม่

โดยส่วนตัวแล้วกลับไม่รู้สึกติดใจอะไรนักกับชื่อเรียก ด้วยเข้าใจดีว่าการนำ "พระพุทธเจ้าน้อย" มาใช้นั้น คงเป็นแค่กโลบายทางการตลาด เพื่อง่ายต่อการสื่อความและจดจำได้ขึ้นใจของคนในวงกว้างเท่านั้นเอง

หากให้บัญญัติศัพท์ในแง่ประติมาณวิทยา (Iconography) โดยยึดเอาปางที่กระทำด้วยนิ้วเป็นตัวตั้ง ก็ได้ชื่อว่า "ปางดรรชนีมุทรา" เหตุเพราะใช้นิ้วชี้ ชี้ฟ้า-ชี้ดิน

สิ่งที่ดิฉันสนใจยิ่งกว่าชื่อเรียกก็คือ ประติมากรรมองค์ที่ค้นพบใหม่ ณ วัดบวกค้างนี้ ไฉนพระกรซ้าย-ขวาจึง ชี้ฟ้า-ชี้ดิน สลับข้างกับอีกสององค์ (สุโขทัย-ลำพูน) ซึ่งยกชี้ฟ้าด้วยกรขวา และชี้ลงดินด้วยกรซ้าย ในขณะที่ของสันกำแพงกลับชี้ฟ้าด้วยกรซ้าย และชี้ดินด้วยกรขวา

เป็นของปลอมหรือเช่นไร ยิ่งพระหัตถ์ พระบาท พร้อมฐานบัวหักหายไปหมดแล้วอยู่ด้วย จึงทำให้ทางวัดเองก็ไม่มั่นใจว่าคือรูปอะไร ทำไมมือไม้ด้วนแบบนี้ กระทั่งเคยเห็นภาพอีกสององค์ก่อนหน้านั้นที่ดิฉันเคยนำมาเผยแพร่เมื่อหลายปีก่อน

จากการพิจารณาด้านขนาด วัดความสูงได้ประมาณ 14 ซ.ม. ถือว่าไล่เลี่ยกับอีกสององค์ รวมทั้งได้วิเคราะห์ร่องรอยการหล่อเนื้อสำริดดูแล้ว พบว่าไม่ใช่ของทำเทียมอย่างแน่นอน

อนึ่ง ในจีน ทิเบต ไต้หวัน รูป Baby Buddha ที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ก็มีการยกมือสลับข้างกันได้ตลอดเวลา ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว

ในด้านพุทธศิลป์นั้น มีลักษณะผสมก้ำกึ่งกันระหว่างศิลปะหริภุญไชย และล้านนาตอนต้น กล่าวคือ พระพักตร์อูมใหญ่เกือบเหลี่ยม มีไรพระศกที่ขอบพระนลาฏ เม็ดพระศกโตพอง เหนือพระโอษฐ์คล้ายจะมีไรพระมัสสุ เม็ดพระถันนูนกลมซ้อนกันสองวง พระนาภีบุ๋ม พระอุทรนูน มีลีลากลิ่นอายของศิลปะหริภุญไชยสูงทีเดียว

แต่ครั้นหันมาพิเคราะห์พระนาสิกโด่งแหลมไม่แบนใหญ่ กับพระเนตรเจาะลึกค่อนข้างรีไม่โตโปนถมึงทึง รวมทั้งพระหนุเป็นปม อันเป็นอัตลักษณ์ของศิลปะล้านนายุคเริ่มแรก

จึงเชื่อว่าประติมากรรมชิ้นนี้ทำขึ้นในยุคล้านนามากกว่าหริภุญไชย

และแน่นอนว่าต้องอยู่ในรัชกาลต้นๆ ไม่เกินสมัยพระญากือนาลงมา

ซึ่งก็สอดรับกับประวัติความเป็นมาของวัดบวกค้าง ที่กล่าวว่าสร้างตั้งแต่สมัยพระญากือนา (ราว พ.ศ.1900) ต่อมามีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระญาติโลกราช จากนั้นยุคที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อารามนี้ก็ร้างไป กระทั่งยุคที่พระญากาวิละอพยพชาวยองมาอยู่ใหม่เมื่อ 200 กว่าปี จึงได้มีการฟื้นฟูวัดนี้อีกครั้ง

ไม่มีใครทราบว่าแต่เดิมนั้นวัดนี้เคยมีชื่อว่าอะไร ด้วยชื่อ "บวกค้าง" นั้นเป็นนามใหม่ ชาวยองบัญญัติขึ้นตามภูมิสถานของแอ่งน้ำใหญ่ที่มีหมู่ลิงค่างลงมาอาศัย จากค่างเขียนเพี้ยนเป็นค้างไป

สำหรับสถานที่ที่ค้นพบโบราณวัตถุ รวมทั้งสภาพเมื่อแรกเห็นโดยเจ้าอาวาสรูปแรกๆ นั้นยังไม่ได้มีการสัมภาษณ์รายละเอียดว่าพระหัตถ์-พระบาทหักหายเช่นนี้มาก่อนแล้วหรือไฉน

มีข้อสังเกตว่า พระญากือนาแม้จะทรงเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แต่ยุคสมัยของพระองค์ได้มีสายสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่นกับสุโขทัยและลำพูน ด้วยในปี พ.ศ.1912 ทรงอาราธนาพระสุมนเถระจากศรีสัชนาลัยให้มาเป็นพระสังฆราชแห่งล้านนา ก่อนเข้ามาอยู่เชียงใหม่ ได้จำพรรษาที่ลำพูนนานถึง 3 ปี

นี่เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น หากยึดพระญากือนาเป็นตัวตั้ง ก็จักได้พระสุมนเถระเป็นผู้เชื่อมโยง "เหตุการณ์สันนิษฐาน" ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อเกิดงานประติมากรรมรูปดังกล่าวก็เป็นได้

ต้องสร้างในนิกายมหายานเท่านั้น?

ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ อธิบายว่าประติมากรรม "ปางดรรชนีมุทรา" ชี้ฟ้า-ชี้ดินนี้ ทำกันเฉพาะในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่าย "มหายาน" เท่านั้น

และท่านยังรู้สึกพิศวงเมื่อทราบข่าวว่าเคยมีการค้นพบที่สุโขทัย (ชิ้นแรก) เมื่อหลายทศวรรษมาแล้ว แต่ครั้นเมื่อโบราณวัตถุหายสาบสูญไปอยู่ในมือพ่อค้าของเก่า นักวิชาการก็ไม่มีใครหยิบยกประเด็นนี้มาพูดถึงกันอีก

เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้กันอย่างไรต่อไป ในเมื่อ ณ บัดนี้ได้มีการค้นพบรูปพระโพธิสัตว์ปางประสูติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากถึง 3 องค์แล้ว ทั้งที่สุโขทัย ลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งรูปแบบศิลปกรรมของทุกองค์ต่างก็มีอายุร่วมสมัยกัน กล่าวคือ ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ทั้งขนาด รูปร่าง หน้าตา ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก

ข้อสำคัญ เป็นการพบในเขตดินแดนที่กล่าวกันว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อย่างเหนียวแน่นเสียด้วย

ดังนั้น เราควรยอมรับว่าอิทธิพลของลัทธิมหายาน ได้แทรกแฝงและปะปนอยู่คู่ขนานกับลัทธิลังกาวงศ์ มิเคยจางหายไปไหนเลยใช่หรือไม่ โดยที่งานพุทธศิลป์ปางหลักๆ เช่น พระประธานปางมารวิชัย พระอัฏฐารส ล้วนทำขึ้นเนื่องในลัทธิลังกาวงศ์ แต่ฝ่ายมหายานขอเพียงพื้นที่ผืนเล็กๆ แค่ทำ Baby Buddha อย่างเจียมเนื้อเจียมตัวก็พอ

หรือในทางกลับกัน เราควรฉีกทฤษฎีข้อที่ว่า หากพบประติมากรรมรูปเจ้าชายน้อยยืนชี้ฟ้าชี้ดินที่ใดก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า นี่คือร่องรอยของนิกายมหายาน ทิ้งไปเสีย เพราะมันเริ่มจะใช้การไม่ได้ แล้วเขียนทฤษฎีใหม่แทนว่า การทำพระโพธิสัตว์ปางประสูติ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองนิกาย เพียงแต่ในอดีตเราไม่พบหลักฐานมาก่อน จึงเชื่อว่าต้องเป็นมหายานเท่านั้น

วาระแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตีใกล้จะสิ้นสุดลงในช่วงวิสาขบูชากลางปีนี้ ไหนๆ คนไทย พ.ศ. นี้กำลังนิยมลงทุนจัดสร้าง "พระพุทธเจ้าน้อย" โดยใช้โมเดลที่ดูอ้วนปุ้มป๊ะปุ้มปุ้ย ด้วยไปหยิบยืมรูปแบบมาจากศิลปกรรมฝ่ายจีนทิเบตแล้ว ก็ควรหันมาสนับสนุนงานทางด้านโบราณคดีเรื่องนี้อย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วยเช่นกัน

มิใช่ว่าพอเสร็จพิธีสมโภชพุทธาภิเษก ส่งมอบพระพุทธเจ้าน้อยสู่ลุมพินีสถานแล้วก็จบๆ กันไป เผลอแผล็บก็อาจคิดโปรเจ็กต์สร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ในเมื่อประเทศไทยของเราก็มี Little Buddha ชิ้นงามวิจิตรยิ่งนัก แม้จะเหลือเพียงสององค์ก็ตาม

อย่าลืมว่าคนไทยทั้งประเทศ ยังไม่หายคาใจกับปริศนาร้อยแปดพันเก้า ต่อการโผล่ขึ้นมาแบบโอปปาติกะของ พระพุทธเจ้าน้อย ที่ควรได้รับการศึกษา ส่งเสริม สะสาง สร้างองค์ความรู้เชิงลึก ให้หายสงสัย!

และขอวิงวอนให้วัดที่เก็บรักษาของโบราณล้ำค่านี้ ช่วยกันดูแลอย่างดีอย่าให้สูญหายอันตรธานซ้ำรอยเดิม

มิเช่นนั้นแล้วคำกล่าวที่ว่า Little Buddha ทำขึ้นเฉพาะในประเทศพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็จักกลายเป็นความจริง!

ขอบคุณ : อีเมล์ส่งต่อ

ที่มา: อีเมล์ส่งต่อ
วันที่โพสต์: 6/06/2556 เวลา 04:14:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ Little Buddha พระพุทธเจ้าน้อย หรือ พระโพธิสัตว์ปางประสูติ? ราวปลายปี 2553 เคยเขียนบทความเรื่อง "เจ้าชายน้อยยืน "ชี้ฟ้า-ชี้ดิน" ขอกำเนิดเป็นพระชาติสุดท้าย" มาครั้งหนึ่งแล้วในคอลัมน์นี้ ซึ่งครั้งกระนั้นยังไม่มีกระแสการจัดสร้าง "พระพุทธเจ้าน้อย" ที่ท้องสนามหลวงโดยมี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ประเทศเนปาล แต่อย่างใด เนื้อหาและภาพประกอบในบทความชิ้นนั้น กล่าวถึงประติมากรรมสำริด 2 องค์ที่แสดงรูปเจ้าชายสิทธัตถะขณะทรงพระเยาว์แรกประสูติ องค์หนึ่งพบที่วัดมหาธาตุสุโขทัย แต่หายสาบสูญไปอย่างไร้ผู้รับผิดชอบ ส่วนอีกองค์พบจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี ใกล้กับฐานเจดีย์เชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน เมื่อปี พ.ศ.2552 จวบปัจจุบันยังคงเก็บรักษาไว้ภายในวัดที่ค้นพบ เมื่อเร็วๆ นี้ดิฉันได้พบประติมากรรมสำริดรูป "เจ้าชายน้อยยืนชี้ฟ้าชี้ดิน" อีกองค์หนึ่ง ที่วัดบวกค้าง ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสมบัติตกทอดของวัด เก่าเก็บไว้นานหลายร้อยปี ถือว่าเป็นองค์ที่สามที่ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการในประเทศนี้ ซึ่งเชื่อแน่นอนว่ายังมีอีกจำนวนมากมายหลายองค์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้เป็นความลับ ทั้งโดยเจตนา และทั้งโดยไม่ตั้งใจ ด้วยไม่รู้ว่าคืออะไร เนื่องจากเป็นโบราณวัตถุที่มีรูปลักษณ์พิเศษ แปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป อย่างไรก็ดี แม้จะพบหลักฐานทำนองเดียวกันนี้เพียงแค่ 3 องค์ แต่ก็พอจะช่วยให้ดิฉันสามารถคลำทาง ไขปริศนาเรื่องสายสัมพันธ์ของ "พระพุทธศาสนานิกายมหายาน" ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับล้านนาได้อยู่บ้าง เหมาะแล้วหรือ คำว่า Little Buddha พระพุทธเจ้าน้อย? ประเด็นชื่อที่ใช้เรียกงานประติมากรรมรูปแบบดังกล่าว ได้กลายเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างโจ๋งครึ่มตามสื่อออนไลน์ว่า เหมาะสมแล้วล่ะหรือที่ไปใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ใครกันหนอช่างบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา เข้าใจว่าเป็นการแปลจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้คำว่า Little Buddha หรือ Baby Buddha (Baby Bodhi) นั่นเอง จึงมีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อันที่จริง ความหมายของ Little Buddha ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดที่คีนูรีฟแสดงนั้น เป็นเรื่องราวของการตามหาพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์ ตามความเชื่อของพระทิเบตสายทะไลลามะ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกันกับพระพุทธเจ้าในรูปพระกุมารเมื่อแรกประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วยืนชี้ฟ้าชี้ดินแต่อย่างใดเลย ฝ่ายที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับคำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ให้เหตุผลว่า ทำไมจะใช้พระพุทธเจ้าน้อยไม่ได้เล่า ก็ในเมื่อต้องการสื่อถึงพระพุทธเจ้าขณะยังองค์น้อยๆ อยู่ อันความเป็นพุทธะนั้น มีอยู่ในตัวคนและสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว (ตามคติมหายาน) อีกทั้งยังยืนยันว่าการขนานนาม "พระพุทธเจ้าน้อย" ครั้งนี้ เป็นการกล่าวถึงพระองค์ด้วยความศรัทธาเชิดชูหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมมาแล้ว 2,600 ปี แม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าสมัยเมื่อทรงประสูติที่ลุมพินีวันจะยังทรงพระเยาว์ก็ตาม แต่ท่านก็คือพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า ไปเรียกขานพระองค์ท่านว่าพระพุทธเจ้าน้อยได้อย่างไร ในเมื่อกายเนื้อยังเป็นเด็ก ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ฝ่ายนี้จึงเห็นว่าควรขนานนามรูปเคารพใหม่ว่า "พระโพธิสัตว์ปางประสูติ" หรือเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร จึงจักเหมาะสมกว่า นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลายท่านค้านว่าแม้แต่คำว่า "พระโพธิสัตว์" ก็ยังไม่เหมาะสมอยู่นั่นเอง ต้องเรียกว่า "พระสิทธัตถะราชกุมาร" เท่านั้น ฝ่ายหลังนี้อ้างว่า พระนามที่อรรถกถาจารย์เรียกขานถึงพระพุทธองค์นั้น จักเรียกตามกำลังแห่งการบำเพ็ญบารมีตามวัยแห่งประสบการณ์ดังนี้ พระโพธิสัตว์ คือขณะบำเพ็ญบารมีชาติก่อนๆ จนจุติจากสวรรค์หยั่งลงสู่พระครรภ์ พระสิทธัตถะราชกุมาร เมื่อเสด็จออกจากครรภ์พุทธมารดา พระมหาบุรุษ เมื่อเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง พระบรมศาสดา เมื่อเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ และสัตว์โลก ด้วยเหตุนี้การนำคำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" มาใช้โดดๆ จึงเป็นโมฆะนาม คือเป็นไปไม่ได้ และไม่อาจมีอยู่จริง พระโพธิสัตว์ปางประสูติค้นพบใหม่ โดยส่วนตัวแล้วกลับไม่รู้สึกติดใจอะไรนักกับชื่อเรียก ด้วยเข้าใจดีว่าการนำ "พระพุทธเจ้าน้อย" มาใช้นั้น คงเป็นแค่กโลบายทางการตลาด เพื่อง่ายต่อการสื่อความและจดจำได้ขึ้นใจของคนในวงกว้างเท่านั้นเอง หากให้บัญญัติศัพท์ในแง่ประติมาณวิทยา (Iconography) โดยยึดเอาปางที่กระทำด้วยนิ้วเป็นตัวตั้ง ก็ได้ชื่อว่า "ปางดรรชนีมุทรา" เหตุเพราะใช้นิ้วชี้ ชี้ฟ้า-ชี้ดิน สิ่งที่ดิฉันสนใจยิ่งกว่าชื่อเรียกก็คือ ประติมากรรมองค์ที่ค้นพบใหม่ ณ วัดบวกค้างนี้ ไฉนพระกรซ้าย-ขวาจึง ชี้ฟ้า-ชี้ดิน สลับข้างกับอีกสององค์ (สุโขทัย-ลำพูน) ซึ่งยกชี้ฟ้าด้วยกรขวา และชี้ลงดินด้วยกรซ้าย ในขณะที่ของสันกำแพงกลับชี้ฟ้าด้วยกรซ้าย และชี้ดินด้วยกรขวา เป็นของปลอมหรือเช่นไร ยิ่งพระหัตถ์ พระบาท พร้อมฐานบัวหักหายไปหมดแล้วอยู่ด้วย จึงทำให้ทางวัดเองก็ไม่มั่นใจว่าคือรูปอะไร ทำไมมือไม้ด้วนแบบนี้ กระทั่งเคยเห็นภาพอีกสององค์ก่อนหน้านั้นที่ดิฉันเคยนำมาเผยแพร่เมื่อหลายปีก่อน จากการพิจารณาด้านขนาด วัดความสูงได้ประมาณ 14 ซ.ม. ถือว่าไล่เลี่ยกับอีกสององค์ รวมทั้งได้วิเคราะห์ร่องรอยการหล่อเนื้อสำริดดูแล้ว พบว่าไม่ใช่ของทำเทียมอย่างแน่นอน อนึ่ง ในจีน ทิเบต ไต้หวัน รูป Baby Buddha ที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ก็มีการยกมือสลับข้างกันได้ตลอดเวลา ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ในด้านพุทธศิลป์นั้น มีลักษณะผสมก้ำกึ่งกันระหว่างศิลปะหริภุญไชย และล้านนาตอนต้น กล่าวคือ พระพักตร์อูมใหญ่เกือบเหลี่ยม มีไรพระศกที่ขอบพระนลาฏ เม็ดพระศกโตพอง เหนือพระโอษฐ์คล้ายจะมีไรพระมัสสุ เม็ดพระถันนูนกลมซ้อนกันสองวง พระนาภีบุ๋ม พระอุทรนูน มีลีลากลิ่นอายของศิลปะหริภุญไชยสูงทีเดียว แต่ครั้นหันมาพิเคราะห์พระนาสิกโด่งแหลมไม่แบนใหญ่ กับพระเนตรเจาะลึกค่อนข้างรีไม่โตโปนถมึงทึง รวมทั้งพระหนุเป็นปม อันเป็นอัตลักษณ์ของศิลปะล้านนายุคเริ่มแรก จึงเชื่อว่าประติมากรรมชิ้นนี้ทำขึ้นในยุคล้านนามากกว่าหริภุญไชย และแน่นอนว่าต้องอยู่ในรัชกาลต้นๆ ไม่เกินสมัยพระญากือนาลงมา ซึ่งก็สอดรับกับประวัติความเป็นมาของวัดบวกค้าง ที่กล่าวว่าสร้างตั้งแต่สมัยพระญากือนา (ราว พ.ศ.1900) ต่อมามีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระญาติโลกราช จากนั้นยุคที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อารามนี้ก็ร้างไป กระทั่งยุคที่พระญากาวิละอพยพชาวยองมาอยู่ใหม่เมื่อ 200 กว่าปี จึงได้มีการฟื้นฟูวัดนี้อีกครั้ง ไม่มีใครทราบว่าแต่เดิมนั้นวัดนี้เคยมีชื่อว่าอะไร ด้วยชื่อ "บวกค้าง" นั้นเป็นนามใหม่ ชาวยองบัญญัติขึ้นตามภูมิสถานของแอ่งน้ำใหญ่ที่มีหมู่ลิงค่างลงมาอาศัย จากค่างเขียนเพี้ยนเป็นค้างไป สำหรับสถานที่ที่ค้นพบโบราณวัตถุ รวมทั้งสภาพเมื่อแรกเห็นโดยเจ้าอาวาสรูปแรกๆ นั้นยังไม่ได้มีการสัมภาษณ์รายละเอียดว่าพระหัตถ์-พระบาทหักหายเช่นนี้มาก่อนแล้วหรือไฉน มีข้อสังเกตว่า พระญากือนาแม้จะทรงเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แต่ยุคสมัยของพระองค์ได้มีสายสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่นกับสุโขทัยและลำพูน ด้วยในปี พ.ศ.1912 ทรงอาราธนาพระสุมนเถระจากศรีสัชนาลัยให้มาเป็นพระสังฆราชแห่งล้านนา ก่อนเข้ามาอยู่เชียงใหม่ ได้จำพรรษาที่ลำพูนนานถึง 3 ปี นี่เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น หากยึดพระญากือนาเป็นตัวตั้ง ก็จักได้พระสุมนเถระเป็นผู้เชื่อมโยง "เหตุการณ์สันนิษฐาน" ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อเกิดงานประติมากรรมรูปดังกล่าวก็เป็นได้ ต้องสร้างในนิกายมหายานเท่านั้น? ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ อธิบายว่าประติมากรรม "ปางดรรชนีมุทรา" ชี้ฟ้า-ชี้ดินนี้ ทำกันเฉพาะในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่าย "มหายาน" เท่านั้น และท่านยังรู้สึกพิศวงเมื่อทราบข่าวว่าเคยมีการค้นพบที่สุโขทัย (ชิ้นแรก) เมื่อหลายทศวรรษมาแล้ว แต่ครั้นเมื่อโบราณวัตถุหายสาบสูญไปอยู่ในมือพ่อค้าของเก่า นักวิชาการก็ไม่มีใครหยิบยกประเด็นนี้มาพูดถึงกันอีก เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้กันอย่างไรต่อไป ในเมื่อ ณ บัดนี้ได้มีการค้นพบรูปพระโพธิสัตว์ปางประสูติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากถึง 3 องค์แล้ว ทั้งที่สุโขทัย ลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งรูปแบบศิลปกรรมของทุกองค์ต่างก็มีอายุร่วมสมัยกัน กล่าวคือ ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ทั้งขนาด รูปร่าง หน้าตา ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...