หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์

แสดงความคิดเห็น

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,

พึง รู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยสรุปแล้วปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่, ที่คลายช้า มีอยู่,และที่คลายเร็ว มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ย่อมถึงความหลงใหล หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า “ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล. ภิกษุทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์,พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.

ที่มา หนังสือ อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า254

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๖๙ ข้อที่ ๓๓๔

ขอบคุณ : http://variety.teenee.com/saladharm/51351.html

ที่มา: http://variety.teenee.com/saladharm/51351.html
วันที่โพสต์: 21/03/2556 เวลา 03:41:10

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึง รู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยสรุปแล้วปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย !ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย !ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่, ที่คลายช้า มีอยู่,และที่คลายเร็ว มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ย่อมถึงความหลงใหล หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า “ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล. ภิกษุทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย !ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา. ภิกษุทั้งหลาย ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์,พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล. ที่มา หนังสือ อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า254 พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๓๖๙ ข้อที่ ๓๓๔ ขอบคุณ : http://variety.teenee.com/saladharm/51351.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...