'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๕)เมตตาไร้พรหมแดน

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๕)เมตตาไร้พรหมแดน: คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี

ในหลักธรรมชื่อ "พรหมวิหารธรรม" พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธสาวกรวมทั้งชาวพุทธและมนุษยชาติทั่วโลกมองกันและ กัน อยู่ร่วมกันและกัน คบหากันและกัน ด้วยจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา กล่าวคือ มองไปทางไหนก็ตาม ก็ขอให้กอปรไปด้วยความรู้สึกว่าทุกคน ทุกชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นมิตรของเรา เป็นญาติของเรา เป็นสหายของเรา เป็นเพื่อนร่วมเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเดียวกันกับเรา เป็นเพื่อนร่วมกฎแห่งกรรมเช่นเดียวกันกับเรา

เรารักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่อาชญาอำนาจ ฉันใด เขาเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ก็รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่ออาชญา/อำนาจ เช่นเดียวกันกับเราฉันนั้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำร้ายใคร ไม่ควรเกลียดใคร ไม่ควรเข่นฆ่าราวีใคร ทั้งด้วยตนเองและด้วยการสั่งให้คนอื่นลงมือทำ

การปฏิบัติตามหลักพรหมวิหารธรรมที่ชื่อว่าเมตตานี้ ในระดับสูงสุด ทรงแนะนำให้แผ่ความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีออกไปอย่างกว้างไกล ไร้พรมแดน (=อัปปมัญญา) โดยปราศจากการแบ่งแยกเป็นเขา เป็นเรา เป็นคนที่ตนรัก เป็นคนที่ตนชัง หรือแม้กระทั่งเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทวดา แต่ทรงแนะนำว่า จงแผ่พลังแห่งความรักความเมตตานี้ออกไปครอบคลุมโลกทั้งโลก จักรวาลทั้งจักรวาลนี้เลยทีเดียว ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า 'วิมริยาทิกตจิต' คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง การมีภาวะจิตที่ก้าวข้ามการแบ่งแยกทั้งปวง พระอรหันต์ จึงเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาอย่างสูงสุด สามารถรักคนทั้งโลกได้อย่างไร้เงื่อนไข ความรักของท่านเป็นดังหนึ่งแสงเดือนแสงตะวันที่สาดโลมผืนโลกโดยไม่เลือกที่ รักไม่มักที่ชังและไม่เคยทวงถามถึงการตอบแทน

พระอรหันต์ มีความรัก มีเมตตาต่อสรรพชีพ สรรพสัตว์ อย่างไร้พรมแดนฉันใด เราทุกคนก็ควรแผ่เมตตาคือความมีไมตรีต่อสัตวโลกทั่วทั้งสากลจักรวาลให้ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน โลกที่เปี่ยมด้วยไมตรีจิต สังคมที่เปี่ยมด้วยคนมีเมตตา คือ สังคมที่มีแต่มิตร ด้วยพลังของมิตรภาพนี้เอง โลกนี้จึงมีสันติภาพ

มหาตมะ คานธี เคยกล่าวว่า 'โลกทั้งผองพี่น้องกัน' ก็เพราะท่านตระหนักถึงพลังของเมตตาดังกล่าวมานี้เอง แต่สำหรับพระพุทธศาสนาแล้ว การกล่าวว่า โลกทั้งผองพี่น้องกันบางทีอาจจะยังไม่ครอบคลุมความรักที่พระพุทธองค์ทรง ปรารถนาจะให้ชาวโลกมีต่อกันและต่อสิ่งมีชีวิตอื่น

หากจะให้คำกล่าวนี้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า 'จักรวาลทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน' เพราะเราควรมีความรักความเมตตาต่อกันไม่เฉพาะระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์เท่า นั้น ทว่าระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทุกประเภทเลยทีเดียวที่ควรอยู่ร่วมกันกับเรา ด้วยเมตตา

ขอบคุณที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์
วันที่โพสต์: 21/02/2556 เวลา 04:14:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๕)เมตตาไร้พรหมแดน: คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี ในหลักธรรมชื่อ "พรหมวิหารธรรม" พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธสาวกรวมทั้งชาวพุทธและมนุษยชาติทั่วโลกมองกันและ กัน อยู่ร่วมกันและกัน คบหากันและกัน ด้วยจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา กล่าวคือ มองไปทางไหนก็ตาม ก็ขอให้กอปรไปด้วยความรู้สึกว่าทุกคน ทุกชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นมิตรของเรา เป็นญาติของเรา เป็นสหายของเรา เป็นเพื่อนร่วมเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเดียวกันกับเรา เป็นเพื่อนร่วมกฎแห่งกรรมเช่นเดียวกันกับเรา เรารักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่อาชญาอำนาจ ฉันใด เขาเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ก็รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่ออาชญา/อำนาจ เช่นเดียวกันกับเราฉันนั้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำร้ายใคร ไม่ควรเกลียดใคร ไม่ควรเข่นฆ่าราวีใคร ทั้งด้วยตนเองและด้วยการสั่งให้คนอื่นลงมือทำ การปฏิบัติตามหลักพรหมวิหารธรรมที่ชื่อว่าเมตตานี้ ในระดับสูงสุด ทรงแนะนำให้แผ่ความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีออกไปอย่างกว้างไกล ไร้พรมแดน (=อัปปมัญญา) โดยปราศจากการแบ่งแยกเป็นเขา เป็นเรา เป็นคนที่ตนรัก เป็นคนที่ตนชัง หรือแม้กระทั่งเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทวดา แต่ทรงแนะนำว่า จงแผ่พลังแห่งความรักความเมตตานี้ออกไปครอบคลุมโลกทั้งโลก จักรวาลทั้งจักรวาลนี้เลยทีเดียว ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า 'วิมริยาทิกตจิต' คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง การมีภาวะจิตที่ก้าวข้ามการแบ่งแยกทั้งปวง พระอรหันต์ จึงเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาอย่างสูงสุด สามารถรักคนทั้งโลกได้อย่างไร้เงื่อนไข ความรักของท่านเป็นดังหนึ่งแสงเดือนแสงตะวันที่สาดโลมผืนโลกโดยไม่เลือกที่ รักไม่มักที่ชังและไม่เคยทวงถามถึงการตอบแทน พระอรหันต์ มีความรัก มีเมตตาต่อสรรพชีพ สรรพสัตว์ อย่างไร้พรมแดนฉันใด เราทุกคนก็ควรแผ่เมตตาคือความมีไมตรีต่อสัตวโลกทั่วทั้งสากลจักรวาลให้ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน โลกที่เปี่ยมด้วยไมตรีจิต สังคมที่เปี่ยมด้วยคนมีเมตตา คือ สังคมที่มีแต่มิตร ด้วยพลังของมิตรภาพนี้เอง โลกนี้จึงมีสันติภาพ มหาตมะ คานธี เคยกล่าวว่า 'โลกทั้งผองพี่น้องกัน' ก็เพราะท่านตระหนักถึงพลังของเมตตาดังกล่าวมานี้เอง แต่สำหรับพระพุทธศาสนาแล้ว การกล่าวว่า โลกทั้งผองพี่น้องกันบางทีอาจจะยังไม่ครอบคลุมความรักที่พระพุทธองค์ทรง ปรารถนาจะให้ชาวโลกมีต่อกันและต่อสิ่งมีชีวิตอื่น หากจะให้คำกล่าวนี้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า 'จักรวาลทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน' เพราะเราควรมีความรักความเมตตาต่อกันไม่เฉพาะระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์เท่า นั้น ทว่าระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทุกประเภทเลยทีเดียวที่ควรอยู่ร่วมกันกับเรา ด้วยเมตตา ขอบคุณที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...