"การเมือง"ฝุ่นตลบ เปิดแนวรบใหม่ ล้มแก้"รัฐธรรมนูญ" !

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญ

แม้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ.... 3 ฉบับ จะผ่านวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการไปแล้ว แต่ใช่ว่า เกมการเมืองจะยุติลง

ทั้งนี้ การลงมติเมื่อกลางดึกวันที่ 3 เมษายน ต่อเนื่องถึงเวลา 02.20 น. วันที่ 4 เมษายน สรุปว่า สมาชิกสองสภามีมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา คือเกินกว่า 323 เสียง

ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว. รับหลักการ 367 เสียง ไม่รับหลักการ 204 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง

ฉบับที่ 2 ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 190 รับหลักการ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 209 เสียง งดออกเสียง 22 เสียง

และ ฉบับที่ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237 รับหลักการ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 206 เสียง งดออกเสียง 25 เสียง

หลังจากนั้นที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ จำนวน 3 คณะ มีกำหนดแปรญัตติ 15 วัน

อย่าง ไรก็ตาม ในท้ายการประชุมนั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอระยะเวลาแปรญัตติ 60 วัน แต่ฝ่ายรัฐบาลยืนยันแปรญัตติ 15 วัน โดยระบุว่า ข้อบังคับการประชุมสภากำหนดให้แค่ 15 วัน ซึ่งหากจะแปรญัตติเกินกว่า 15 วัน ต้องมีมติของที่ประชุม

ช่วงนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ขอตรวจสอบองค์ ประชุม พบว่ามีองค์ประชุมไม่ครบ เพราะ ส.ส.และส.ว.จำนวนหนึ่งทยอยเดินทางออกจากรัฐสภาไปแล้ว นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา จึงวินิจฉัยว่า เมื่อองค์ประชุมไม่ถึงก็ให้ถือว่าต้องแปรญัตติตามข้อบังคับ คือ 15 วัน

ประธานรัฐสภายืนยันว่า ข้อบังคับกำหนดชัดว่าต้องแปรญัตติภายใน 15 วันโดยอัตโนมัติ ยกเว้นรัฐสภาจะเห็นเป็นอย่างอื่น

"ขณะนั้นองค์ประชุมไม่ครบ ผมต้องสั่งปิดประชุม จำนวนวันแปรญัตติจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับ 15 วันโดยอัตโนมัติ"

แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นเช่นนั้น !

พรรคประชาธิปัตย์หยิบเอาเรื่ององค์ประชุมจดจ้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

กระบวนการออกกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่?

กลาย เป็นคดีที่สองที่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หลังจากคดีแรก นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 นั้น ถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขหรือไม่

เป็นข้อหาเดียวกับก่อนหน้านี้ที่สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. มาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ครั้งนั้น เกิดปัญหาขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการยื่น เพราะพรรคเพื่อไทยมองว่า มาตรา 68 เป็นคดีอาญาแผ่นดิน จึงต้องยื่นร้องผ่านอัยการสูงสุดในฐานะทนายแผ่นดิน ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และมาตรา 68 ก็กำหนดเช่นนั้น

ขณะที่ผู้ร้องมองว่า มาตรา 68 เปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เองด้วย

และมาตรา 68 ก็กำหนดเช่นนั้น

ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 68 ว่า ประชาชนสามารถยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เอง

และ พิจารณาต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่การจะแก้รัฐธรรมนูญควรจะแก้เป็นรายมาตรา

กระทั่ง ล่าสุดจึงมีผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา จำนวน 3 ร่าง โดยร่างหนึ่งแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ให้มาจากการเลือกตั้ง ร่างหนึ่งแก้ไขมาตรา 190 อันเกี่ยวกับการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ

อีกร่างหนึ่งแก้ไขมาตรา 68 และมาตรา 237 นี่เอง

ประเด็น แก้ไขมาตรา 68 คือ การกำหนดช่องทางการร้องให้ร้องต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดกลั่นกรองว่าจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

หาก แต่ผู้คัดค้านเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 68 จะนำไปสู่การโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะนำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร. และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป

และเมื่อ นายสมชาย แสวงการ ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วันรุ่งขึ้นศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติ 3 ต่อ 2 รับพิจารณา

เท่านั้นเองข้อข้องใจหลากหลายก็ดังขึ้น

เกิด ข้อสงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แนะนำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา แล้วทำไมเมื่อมีการแก้ไขรายมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญจึงรับพิจารณาอีก

เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญจึงรีบมีมติรับ เพราะตุลาการ 9 คน ร่วมพิจารณา 5 คน อีก 4 คนอยู่ต่างประเทศ

เกิดข้อสงสัยว่า ท้ายที่สุดแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะมีข้อวินิจฉัยเช่นไรและเกิดข้อสงสัยอีก

นานาประการ

เป็นข้อสงสัยที่ดึงเอาศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องดำรงตนเป็นกลาง ให้กระโจนลงมาสู่สนามการเมืองไปโดยปริยาย

ทั้งนี้เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น เป็นการต่อสู้ระหว่างขั้วอำนาจทางการเมือง 2 ขั้ว

ขั้วพรรคเพื่อไทย ขั้วพรรคประชาธิปัตย์

ขั้ว ส.ว.เลือกตั้ง ขั้ว ส.ว.สรรหา

แนวรบการต่อสู้ทางการเมืองเช่นนี้เกิดขึ้นมานาน ดังนั้น เมื่อฝ่ายประชาธิปัตย์และสมาชิกวุฒิสภาสายสรรหาเห็นว่าเกมในสภาเพลี่ยงพล้ำ

ฝ่ายการเมืองจึงส่งต่อ "ปมร้อน" ไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ

และที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญก็รับ "ปมร้อน" มาพิจารณาเป็นระยะ พิจารณากันจนกลายเป็นข้อหวาดระแวง

ข้อสงสัยหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 3 ต่อ 2 รับพิจารณาคำร้องของฝ่ายการเมืองครั้งล่าสุด

เท่ากับว่า สังคมเริ่มตั้งข้อสงสัยด้วยความห่วงใย...เกรงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะถูกชักจูง ให้ลงไปคลุกกับเกมความขัดแย้งทางการเมือง

เกมการแก้ไขหรือล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365294232&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 7/04/2556 เวลา 02:53:31 ดูภาพสไลด์โชว์ "การเมือง"ฝุ่นตลบ เปิดแนวรบใหม่ ล้มแก้"รัฐธรรมนูญ" !

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญ แม้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ.... 3 ฉบับ จะผ่านวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการไปแล้ว แต่ใช่ว่า เกมการเมืองจะยุติลง ทั้งนี้ การลงมติเมื่อกลางดึกวันที่ 3 เมษายน ต่อเนื่องถึงเวลา 02.20 น. วันที่ 4 เมษายน สรุปว่า สมาชิกสองสภามีมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา คือเกินกว่า 323 เสียง ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว. รับหลักการ 367 เสียง ไม่รับหลักการ 204 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง ฉบับที่ 2 ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 190 รับหลักการ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 209 เสียง งดออกเสียง 22 เสียง และ ฉบับที่ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237 รับหลักการ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 206 เสียง งดออกเสียง 25 เสียง หลังจากนั้นที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ จำนวน 3 คณะ มีกำหนดแปรญัตติ 15 วัน อย่าง ไรก็ตาม ในท้ายการประชุมนั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอระยะเวลาแปรญัตติ 60 วัน แต่ฝ่ายรัฐบาลยืนยันแปรญัตติ 15 วัน โดยระบุว่า ข้อบังคับการประชุมสภากำหนดให้แค่ 15 วัน ซึ่งหากจะแปรญัตติเกินกว่า 15 วัน ต้องมีมติของที่ประชุม ช่วงนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ขอตรวจสอบองค์ ประชุม พบว่ามีองค์ประชุมไม่ครบ เพราะ ส.ส.และส.ว.จำนวนหนึ่งทยอยเดินทางออกจากรัฐสภาไปแล้ว นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา จึงวินิจฉัยว่า เมื่อองค์ประชุมไม่ถึงก็ให้ถือว่าต้องแปรญัตติตามข้อบังคับ คือ 15 วัน ประธานรัฐสภายืนยันว่า ข้อบังคับกำหนดชัดว่าต้องแปรญัตติภายใน 15 วันโดยอัตโนมัติ ยกเว้นรัฐสภาจะเห็นเป็นอย่างอื่น "ขณะนั้นองค์ประชุมไม่ครบ ผมต้องสั่งปิดประชุม จำนวนวันแปรญัตติจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับ 15 วันโดยอัตโนมัติ" แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นเช่นนั้น ! พรรคประชาธิปัตย์หยิบเอาเรื่ององค์ประชุมจดจ้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กระบวนการออกกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่? กลาย เป็นคดีที่สองที่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หลังจากคดีแรก นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 นั้น ถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขหรือไม่ เป็นข้อหาเดียวกับก่อนหน้านี้ที่สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. มาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครั้งนั้น เกิดปัญหาขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการยื่น เพราะพรรคเพื่อไทยมองว่า มาตรา 68 เป็นคดีอาญาแผ่นดิน จึงต้องยื่นร้องผ่านอัยการสูงสุดในฐานะทนายแผ่นดิน ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และมาตรา 68 ก็กำหนดเช่นนั้น ขณะที่ผู้ร้องมองว่า มาตรา 68 เปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เองด้วย และมาตรา 68 ก็กำหนดเช่นนั้น ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 68 ว่า ประชาชนสามารถยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เอง และ พิจารณาต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่การจะแก้รัฐธรรมนูญควรจะแก้เป็นรายมาตรา กระทั่ง ล่าสุดจึงมีผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา จำนวน 3 ร่าง โดยร่างหนึ่งแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ให้มาจากการเลือกตั้ง ร่างหนึ่งแก้ไขมาตรา 190 อันเกี่ยวกับการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกร่างหนึ่งแก้ไขมาตรา 68 และมาตรา 237 นี่เอง ประเด็น แก้ไขมาตรา 68 คือ การกำหนดช่องทางการร้องให้ร้องต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดกลั่นกรองว่าจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ หาก แต่ผู้คัดค้านเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 68 จะนำไปสู่การโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะนำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร. และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป และเมื่อ นายสมชาย แสวงการ ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วันรุ่งขึ้นศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติ 3 ต่อ 2 รับพิจารณา เท่านั้นเองข้อข้องใจหลากหลายก็ดังขึ้น เกิด ข้อสงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แนะนำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา แล้วทำไมเมื่อมีการแก้ไขรายมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญจึงรับพิจารณาอีก เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญจึงรีบมีมติรับ เพราะตุลาการ 9 คน ร่วมพิจารณา 5 คน อีก 4 คนอยู่ต่างประเทศ เกิดข้อสงสัยว่า ท้ายที่สุดแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะมีข้อวินิจฉัยเช่นไรและเกิดข้อสงสัยอีก นานาประการ เป็นข้อสงสัยที่ดึงเอาศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องดำรงตนเป็นกลาง ให้กระโจนลงมาสู่สนามการเมืองไปโดยปริยาย ทั้งนี้เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น เป็นการต่อสู้ระหว่างขั้วอำนาจทางการเมือง 2 ขั้ว ขั้วพรรคเพื่อไทย ขั้วพรรคประชาธิปัตย์ ขั้ว ส.ว.เลือกตั้ง ขั้ว ส.ว.สรรหา แนวรบการต่อสู้ทางการเมืองเช่นนี้เกิดขึ้นมานาน ดังนั้น เมื่อฝ่ายประชาธิปัตย์และสมาชิกวุฒิสภาสายสรรหาเห็นว่าเกมในสภาเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายการเมืองจึงส่งต่อ "ปมร้อน" ไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ และที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญก็รับ "ปมร้อน" มาพิจารณาเป็นระยะ พิจารณากันจนกลายเป็นข้อหวาดระแวง ข้อสงสัยหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 3 ต่อ 2 รับพิจารณาคำร้องของฝ่ายการเมืองครั้งล่าสุด เท่ากับว่า สังคมเริ่มตั้งข้อสงสัยด้วยความห่วงใย...เกรงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะถูกชักจูง ให้ลงไปคลุกกับเกมความขัดแย้งทางการเมือง เกมการแก้ไขหรือล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365294232&grpid=&catid=01&subcatid=0100

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...