บินเดี่ยวเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก(1)

แสดงความคิดเห็น

นายกฤษนะ ละไล พาเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : ด้วยความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพทางด้านอารยสถาปัตย์ (Friendly Design) ของประเทศญี่ปุ่น ผมจึงตัดสินใจเดินทางแบบบินเดี่ยวไปเที่ยวกรุงโตเกียว เมืองหลวงของแดนซามูไร เมื่อช่วงวันที่ 9-12 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า จะไปดูงานมหกรรมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการที่โตเกียวบิ๊กไซต์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติของญี่ปุ่น จากนั้นก็จะเดินทางแบบฉายเดี่ยว คือไปคนเดียว ตามสถานที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่อยากจะไปในกรุงโตเกียว

นายกฤษนะ ละไล พาเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก

ผมออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยสายการบินไทย ใช้เวลาบินประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ถึงสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ความประทับใจอย่างแรกเมื่อถึงญี่ปุ่นคือ ก่อนลงจากเครื่องบินจะมีเจ้าหน้าที่ของสนามบิน เป็นชายในวัยอาวุโส ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายในการจ้างงานผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมาทำงานบริการที่สนามบิน ได้นำทางลาดอะลูมิเนียมแบบพับเก็บได้มาวางพาดตรงทางเข้าออกเครื่องบิน เพื่อให้รถเข็นสามารถเข็นออกมาจากตัวเครื่องได้โดยสะดวกสบาย ขณะที่ตอนที่ผมขึ้นเครื่องมาจากเมืองไทย ต้องใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ชายฉกรรจ์ช่วยกันยกๆ ข้ามขั้นระหว่างตัวเครื่องกับพื้นงวงช้าง หรือสะพานเทียบเครื่องบิน (Jetway) ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องบินลำเดียวกันแท้ๆ แต่การให้บริการทางด้านนี้กลับแตกต่างกันมาก

อย่างแรกที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะต้องแวะไปใช้บริการแน่ๆ เวลาที่เดินทางไปถึงสนามบินของประเทศต่างๆ แล้วนั้น คือ ห้องน้ำครับ จะว่าไปแล้วห้องน้ำ หรือห้องสุขา อาจเปรียบได้เหมือนห้องรับแขกตัวจริงที่จะเป็นสิ่งสะท้อนถึงภาพลักษณ์หน้าตาของแต่ละประเทศกันเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าแขกจะไปใครจะมา สถานที่แรกจริงๆ ที่เขาจะต้องแวะเข้าไปใช้บริการก่อน ก็คือ ห้องสุขา นี่แหละ ดังนั้นถ้าห้องสุขาดี สะดวก ปลอดภัย สะอาด สวยงาม ก็ย่อมสะท้อนภาพลักษณ์ของชาตินั้นๆ ลงไปในใจของแขกผู้มาเยือนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ

ห้องสุขาที่ญี่ปุ่น โดยเฉพาะห้องสุขาสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็น (วีลแชร์) นั้น ถือได้ว่าเป็น “สุดยอดสุขาอารยสถาปัตย์ของโลกยุคปัจจุบัน” เพราะเขาออกแบบสร้างทำมาเพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถใช้บริการห้องสุขานี้ได้โดยสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียมจริงๆ ตั้งแต่ผมเคยเดินทางไปถ่ายทำรายการในประเทศต่างๆ และได้ใช้บริการห้องสุขาในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในยุโรป และอเมริกา ฯลฯ ยังไม่เคยเห็นห้องสุขาที่ประเทศไหนจะสะดวก ปลอดภัย สะอาด สวยงาม ทันสมัย โดดเด่น หรือดีเท่าห้องสุขาที่ญี่ปุ่น ไม่มีเลยครับ

เมื่อได้ใช้บริการห้องสุขาอารยสถาปัตย์ของญี่ปุ่นแล้ว ทำให้อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า เขารู้ได้อย่างไรว่าเราชอบ หรือต้องการบริการแบบนี้ เพราะมันตอบโจทย์ในความต้องการใช้ห้องน้ำสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นประตูบานเลื่อนที่ใช้ระบบเปิดปิดแบบกดปุ่ม หรือสัมผัสผ่านมือ พื้นที่ในห้องน้ำมีความกว้างพอที่จะหมุนรถเข็นไปมาได้ มีเตียงพับติดผนังสำหรับเปลี่ยนกางเกง หรือผ้ากันเปื้อนสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย มีอ่างน้ำล้างมือหลายจุด มีชักโครกที่นั่งสบาย มีราวจับ และพนังพิง สะดวก ปลอดภัยมาก รวมไปถึงป้ายสัญลักษณ์ที่หน้าห้องน้ำ หรือป้ายบอกทางไปห้องน้ำเฟรนด์ลี่ดีไซน์ ก็จะมีทั้งรูปมนุษย์ล้อ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้พักฟื้นสุขภาพ ผู้หญิงตั้งท้อง รวมไปถึงรูปรถเข็นเด็กเล็ก ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้งาน ได้อย่างสุโค่ยๆ สุดยอดจริงๆ ครับ

ทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ

ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในสนามบินนาริตะ จะมีเจ้าหน้าที่ของสนามบินมาคอยดูแลช่วยเหลือตลอด ช่วยเข็นพาไปยังจุดต่างๆ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง แล้วก็ยังพาไปซื้อตั๋วรถไฟ พร้อมสอบถามเส้นทาง ที่สถานีรถไฟในสนามบินเพื่อเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย แม้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ อาจจะด้วยชาตินิยม หรือจะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ แต่เราก็สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ด้วยแผนที่ ประกอบภาษามือ และภาษาอังกฤษบ้างเล็กน้อย คนญี่ปุ่นนิยมเดินทางโดยสารรถไฟกันมากที่สุด รถไฟญี่ปุ่นเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2415 ก่อนการเริ่มต้นกิจการรถไฟของไทยเพียง 24 ปี เพราะรถไฟไทยเปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ.2439 แต่ปัจจุบันกิจการรถไฟของญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเป็นอย่างมาก สามารถให้บริการประชาชนได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย รวมไปถึงกลุ่มคนที่ใช้รถเข็น ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กเล็ก : สัปดาห์หน้า ผมจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ

ขอบคุณhttp://www.komchadluek.net/detail/20151019/215343.html

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 19/10/2558 เวลา 13:30:43 ดูภาพสไลด์โชว์ บินเดี่ยวเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก(1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายกฤษนะ ละไล พาเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : ด้วยความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพทางด้านอารยสถาปัตย์ (Friendly Design) ของประเทศญี่ปุ่น ผมจึงตัดสินใจเดินทางแบบบินเดี่ยวไปเที่ยวกรุงโตเกียว เมืองหลวงของแดนซามูไร เมื่อช่วงวันที่ 9-12 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า จะไปดูงานมหกรรมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการที่โตเกียวบิ๊กไซต์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติของญี่ปุ่น จากนั้นก็จะเดินทางแบบฉายเดี่ยว คือไปคนเดียว ตามสถานที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่อยากจะไปในกรุงโตเกียว นายกฤษนะ ละไล พาเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงอารยสถาปัตย์โลก ผมออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยสายการบินไทย ใช้เวลาบินประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ถึงสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ความประทับใจอย่างแรกเมื่อถึงญี่ปุ่นคือ ก่อนลงจากเครื่องบินจะมีเจ้าหน้าที่ของสนามบิน เป็นชายในวัยอาวุโส ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายในการจ้างงานผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมาทำงานบริการที่สนามบิน ได้นำทางลาดอะลูมิเนียมแบบพับเก็บได้มาวางพาดตรงทางเข้าออกเครื่องบิน เพื่อให้รถเข็นสามารถเข็นออกมาจากตัวเครื่องได้โดยสะดวกสบาย ขณะที่ตอนที่ผมขึ้นเครื่องมาจากเมืองไทย ต้องใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ชายฉกรรจ์ช่วยกันยกๆ ข้ามขั้นระหว่างตัวเครื่องกับพื้นงวงช้าง หรือสะพานเทียบเครื่องบิน (Jetway) ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องบินลำเดียวกันแท้ๆ แต่การให้บริการทางด้านนี้กลับแตกต่างกันมาก อย่างแรกที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะต้องแวะไปใช้บริการแน่ๆ เวลาที่เดินทางไปถึงสนามบินของประเทศต่างๆ แล้วนั้น คือ ห้องน้ำครับ จะว่าไปแล้วห้องน้ำ หรือห้องสุขา อาจเปรียบได้เหมือนห้องรับแขกตัวจริงที่จะเป็นสิ่งสะท้อนถึงภาพลักษณ์หน้าตาของแต่ละประเทศกันเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าแขกจะไปใครจะมา สถานที่แรกจริงๆ ที่เขาจะต้องแวะเข้าไปใช้บริการก่อน ก็คือ ห้องสุขา นี่แหละ ดังนั้นถ้าห้องสุขาดี สะดวก ปลอดภัย สะอาด สวยงาม ก็ย่อมสะท้อนภาพลักษณ์ของชาตินั้นๆ ลงไปในใจของแขกผู้มาเยือนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ ห้องสุขาที่ญี่ปุ่น โดยเฉพาะห้องสุขาสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็น (วีลแชร์) นั้น ถือได้ว่าเป็น “สุดยอดสุขาอารยสถาปัตย์ของโลกยุคปัจจุบัน” เพราะเขาออกแบบสร้างทำมาเพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถใช้บริการห้องสุขานี้ได้โดยสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียมจริงๆ ตั้งแต่ผมเคยเดินทางไปถ่ายทำรายการในประเทศต่างๆ และได้ใช้บริการห้องสุขาในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในยุโรป และอเมริกา ฯลฯ ยังไม่เคยเห็นห้องสุขาที่ประเทศไหนจะสะดวก ปลอดภัย สะอาด สวยงาม ทันสมัย โดดเด่น หรือดีเท่าห้องสุขาที่ญี่ปุ่น ไม่มีเลยครับ เมื่อได้ใช้บริการห้องสุขาอารยสถาปัตย์ของญี่ปุ่นแล้ว ทำให้อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า เขารู้ได้อย่างไรว่าเราชอบ หรือต้องการบริการแบบนี้ เพราะมันตอบโจทย์ในความต้องการใช้ห้องน้ำสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นประตูบานเลื่อนที่ใช้ระบบเปิดปิดแบบกดปุ่ม หรือสัมผัสผ่านมือ พื้นที่ในห้องน้ำมีความกว้างพอที่จะหมุนรถเข็นไปมาได้ มีเตียงพับติดผนังสำหรับเปลี่ยนกางเกง หรือผ้ากันเปื้อนสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย มีอ่างน้ำล้างมือหลายจุด มีชักโครกที่นั่งสบาย มีราวจับ และพนังพิง สะดวก ปลอดภัยมาก รวมไปถึงป้ายสัญลักษณ์ที่หน้าห้องน้ำ หรือป้ายบอกทางไปห้องน้ำเฟรนด์ลี่ดีไซน์ ก็จะมีทั้งรูปมนุษย์ล้อ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้พักฟื้นสุขภาพ ผู้หญิงตั้งท้อง รวมไปถึงรูปรถเข็นเด็กเล็ก ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้งาน ได้อย่างสุโค่ยๆ สุดยอดจริงๆ ครับ ทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในสนามบินนาริตะ จะมีเจ้าหน้าที่ของสนามบินมาคอยดูแลช่วยเหลือตลอด ช่วยเข็นพาไปยังจุดต่างๆ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง แล้วก็ยังพาไปซื้อตั๋วรถไฟ พร้อมสอบถามเส้นทาง ที่สถานีรถไฟในสนามบินเพื่อเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย แม้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ อาจจะด้วยชาตินิยม หรือจะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ แต่เราก็สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ด้วยแผนที่ ประกอบภาษามือ และภาษาอังกฤษบ้างเล็กน้อย คนญี่ปุ่นนิยมเดินทางโดยสารรถไฟกันมากที่สุด รถไฟญี่ปุ่นเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2415 ก่อนการเริ่มต้นกิจการรถไฟของไทยเพียง 24 ปี เพราะรถไฟไทยเปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ.2439 แต่ปัจจุบันกิจการรถไฟของญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเป็นอย่างมาก สามารถให้บริการประชาชนได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย รวมไปถึงกลุ่มคนที่ใช้รถเข็น ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กเล็ก : สัปดาห์หน้า ผมจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20151019/215343.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...