เปิดเว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยฉบับแรก

แสดงความคิดเห็น

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา

เปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพิ่มโอกาส-คุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 3 แสนคน

ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดงานเปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยทั่วไปกับคนหูหนวกให้ก้าวไปด้วยกันสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเรียนรู้ภาษาไทยแก่คนหูหนวก

งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปข้างหน้านั้น การพัฒนาด้านภาษาไทยและการสื่อสารถือเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประจำชาติและความเป็นไทย ควบคู่กับการดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทยให้ก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่ง “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย คนหูหนวกจากชุมชน สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คนหูหนวก, ฝ่ายเทคโนโลยีสำหรับคนหูหนวก, นักภาษาศาสตร์, ล่ามภาษามือจากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งบัดนี้พร้อมเปิดใช้งานและคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ที่ http://164.115.33.116 (ขนาดไฟล์: 742)

งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา

"ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ผู้พิการทางการได้ยินได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และได้ใช้ “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา อย่างทั่วถึง นำความรู้จากพจนานุกรมมาสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร ทั้งในด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตและการอาชีพ สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียมเช่นคนไทยทั่วไป และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับสังคมต่อไป เสริมศักยภาพของผู้พิการให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับสังคมโลก ควบคู่ไปกับการร่วมพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม" รมต.สำนักนายกฯ กล่าว

นอกจากนี้ เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยนี้ยังเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นอีกจำนวนมาก อาทิ ล่ามภาษามือ, ครูสอนในโรงเรียนโสตศึกษา, โรงเรียนที่มีคนพิการทางการได้ยินเรียนร่วม, ครอบครัวของคนพิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการได้ยิน และผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย”

ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินจำนวนถึง 329,437 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ วันที่ 25 มิ.ย.2560 และภาษามือ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารและใช้ในการถ่ายทอดความหมายเมื่อเทียบกับการพูดคุย เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข และยังเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน.

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/?q=node/32792

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ค.60
วันที่โพสต์: 20/07/2560 เวลา 11:10:27 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดเว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยฉบับแรก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา เปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพิ่มโอกาส-คุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 3 แสนคน ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดงานเปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยทั่วไปกับคนหูหนวกให้ก้าวไปด้วยกันสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเรียนรู้ภาษาไทยแก่คนหูหนวก งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปข้างหน้านั้น การพัฒนาด้านภาษาไทยและการสื่อสารถือเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประจำชาติและความเป็นไทย ควบคู่กับการดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทยให้ก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่ง “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย คนหูหนวกจากชุมชน สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คนหูหนวก, ฝ่ายเทคโนโลยีสำหรับคนหูหนวก, นักภาษาศาสตร์, ล่ามภาษามือจากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งบัดนี้พร้อมเปิดใช้งานและคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ที่ http://164.115.33.116 งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา "ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ผู้พิการทางการได้ยินได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และได้ใช้ “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา อย่างทั่วถึง นำความรู้จากพจนานุกรมมาสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร ทั้งในด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตและการอาชีพ สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียมเช่นคนไทยทั่วไป และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับสังคมต่อไป เสริมศักยภาพของผู้พิการให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับสังคมโลก ควบคู่ไปกับการร่วมพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม" รมต.สำนักนายกฯ กล่าว นอกจากนี้ เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยนี้ยังเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นอีกจำนวนมาก อาทิ ล่ามภาษามือ, ครูสอนในโรงเรียนโสตศึกษา, โรงเรียนที่มีคนพิการทางการได้ยินเรียนร่วม, ครอบครัวของคนพิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการได้ยิน และผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย” ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินจำนวนถึง 329,437 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ วันที่ 25 มิ.ย.2560 และภาษามือ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารและใช้ในการถ่ายทอดความหมายเมื่อเทียบกับการพูดคุย เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข และยังเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/?q=node/32792

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...