เรื่องอันพึง"ใส่ใจ" ในห้วงเวลาแห่งความอาลัย
[/p]
ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการทำสิ่งที่เรียกว่าการ [b] “สื่อสารเชิงรุก” [/b] ตรงนี้ไม่ทราบว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่มี [b]พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง[/b] นั่งเป็นเจ้ากระทรวงอยู่ และกรมประชาสัมพันธ์ ที่มี [b] “เสธ.ไก่อู” พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด[/b] นั่งเป็นอธิบดีอยู่ จะสนใจ [b] “ร่วมด้วย” [/b] ในการทำสื่อสารเชิงรุกบ้างหรือไม่
คือ น่าจะได้ร่วมผลิตเนื้อหา นำเสนอข้อมูลต่างๆ จากภาครัฐเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ภาพหายากของพระองค์ท่าน ให้มีการเผยแพร่ แบ่ง แชร์ แจกจ่ายต่อๆ กันไป ซึ่งข้อมูลทางภาครัฐ อาจมีมากและเก็บรวมเป็นระบบ ละเอียดกว่าที่ภาคประชาชนหรือภาคเอกชนหามาก็ได้ก็นำไปผสมรวมร่วมด้วยช่วยกัน
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระราชประวัติไปจนถึง [b] “ประวัติสถาบัน” [/b] มีมากมาย ซึ่งการนำลงโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คมีข้อดี คือ เป็นข้อมูลที่มีการ [b] “ย่อย” [/b] มีการสังเคราะห์ตีความ สรุปรวบให้เข้าใจง่าย พร้อมภาพประกอบ สามารถเปิดอ่านที่ไหนก็ได้ เพราะต่างคนต่างก็มีอุปกรณ์ในการเข้าถึง (โทรศัพท์มือถือ) เรียกว่า...นั่งว่างๆ ระหว่างรออะไร หรือระหว่างโดยสารรถก็เปิดออกอ่านได้สะดวก...เรียกว่าเป็น [b] “การสื่อสารทางตรง” [/b] ก็ไม่ผิด เพราะข้อมูลเข้าถึงระดับปัจเจก
ช่วงนี้ประชาชนพร้อมเปิดรับและมีความต้องการที่จะแสวงหาข้อมูลข่าวสารเหล่านี้อ่าน เพราะทุกคนในสังคมต่างก็พูดถึงเรื่องเดียวกันก็ทำข้อมูลเผยแพร่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คยิ่งเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่าย...เราเคยได้ยินคนเก่าๆ บอกว่า... [b] “เด็กรุ่นใหม่หลายๆ คน เกิดไม่ทันช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ช่วงนี้แหละเป็นเวลาที่ไม่ว่าคนรุ่นไหนก็เหมาะสมจะได้เรียนรู้” [/b]
เรื่องอันพึง"ใส่ใจ" ในห้วงเวลาแห่งความอาลัย