ร้านอาหารแดนมะกะโรนี “ทำเจ๋ง” จ้างงานผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” หวังฝึกทักษะ - พัฒนาอาชีพ
เอเอฟพี - เป็นอีกคืนหนึ่งที่พนักงานซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมของร้าน “จีราโซลิ” ในกรุงโรมต้องรับมือกับลูกค้าที่แห่แหนกันมาอย่างเนืองแน่น แต่ร้านนี้ไม่ได้มีดีเฉพาะพิซซ่าและพาสต้าเท่านั้น แต่ยังมีบริการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องการมอบโอกาสให้คนพิการทำงานอีกด้วย
ร้านอาหารที่ป้ายร้านประดิดประดอยขึ้นจากไฟนีออนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ชานกรุงโรมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อแม่คู่หนึ่งที่มีลูกพิการ และมีลักษณะเหมือนร้านอาหารโดยทั่วไป ยกเว้นก็แต่การที่มีลูกจ้าง 13 คนจากทั้งหมด 18 คนเป็นคนพิการ
“ฉันชอบห้องนี้ ชอบการได้มองไปรอบๆ คอยให้บริการลูกค้าและพูดคุยกับพวกเขา” ซีโมเน พนักงานของร้านวัย 24 ปีกล่าว โดยภายหลังที่เขาผ่านการฝึกงาน 600 ชั่วโมง ก็ได้เซ็นสัญญาเป็นพนักงานประจำของร้านจีราโซลิ (ดอกทานตะวัน)
“แต่ที่สำคัญกว่าอะไรอื่น คือฉันมีความสุขที่ได้อยู่ที่นี่” เขาบอก เมื่อมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา ซีโมเนก็พาพวกเธอไปที่โต๊ะอย่างว่องไว พร้อมหยิบเมนูติดมือไป 2-3 เล่ม
“เราได้ยินเรื่องดีๆ เกี่ยวกับร้านนี้จึงอยากมาลอง” หญิงคนหนึ่งในกลุ่มบอก ขณะที่เพื่อนของเธอกล่าวเสริมว่า “โดยรวมแล้วเหมือนร้านอาหารทั่วไป ยกเว้นก็แต่พนักงานเสิร์ฟที่นี่บริการดีมาก”
ในขณะที่ จูเซปเป คุณครูวัย 64 ปีกำลังละเลียดพาสต้าอามาตรีเชียนา เขากล่าวว่า “ครั้งแรกที่คุณมาที่นี่ คุณอาจคาดหวังอะไรบางอย่าง แต่ไม่นานก็จะรู้ได้ว่าไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังเลย”
ร้านอาหารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างงานให้แก่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม โรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งผลให้ร่างกายเติบโตช้าและมีความบกพร่องทางสติปัญญา
“ลูกน้องของฉันทำงานเป็น แล้วก็ทำได้ดีมากด้วย” อูโก เมนกีนี หัวหน้าบริกรที่มีร่างกายสมประกอบกล่าวยกย่องลูกจ้างของเขาว่า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและว่องไว
“ถ้าผมจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผมจะไม่ลังเลเลย ที่จะจ้างคนเป็นดาวน์ซินโดรม”
เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในอีตาลี ร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย และจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวนานหลายเดือนเพื่อปรับโครงสร้างและปรับปรุงร้าน ตอนนี้ร้านแห่งนี้บริหารงานโดย “กอนซอร์ซิโอ ซินเตซี” สมาคมสหกรณ์ที่มีความชำนาญการด้านหางานให้ผู้พิการ และเป็นผู้บริหารคอลเซ็นเตอร์สามแห่งให้แก่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ “วินด์”
“รัฐเป็นผู้ผลักดันให้มีความช่วยเหลือ แต่เราต้องการฝึกอาชีพให้พวกเขามากกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่เป็นเงินทุนส่วนตัวทั้งหมด เราไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ” เอนโซ รีมิชชีกล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีของมาร์โก พนักงานคนหนึ่งที่ขี้อายจนไม่กล้ารับลูกค้า แต่สามารถทำงานในห้องครัวได้ราวกับเครื่องจักร
การฝึกงานของร้านนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และในบรรดาพนักงานที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด 13 คน เป็นเด็กฝึกงาน 9 คน เมื่อร้านจีราโซลิปิดในตอนเช้า ก็จะมีพนักงานอีกทีมหนึ่งเข้ามาทำคุกกี้และเค้กไว้ขายลูกค้าในช่วงเย็น แม้จะเป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน อันนา พนักงานสาววัย 22 ปีก็ยังคงเข้ามาที่ร้าน เพื่อรับประทานอาหารกับพ่อแม่ของเธอทุกคืน
“สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา และสำหรับเธอ” การ์โล พ่อของเธอบอก ในเวลาที่ดวงตาของเขาเอ่อล้นไปด้วยน้ำตาขณะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกสาว ตัวเองนับตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่”
“ลูกสาวของเรามีความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาก เมื่อกลับจากที่ทำงาน เธอดูมีความสุขและภาคภูมิใจในสิ่งที่เธอทำ” เขาเผย พร้อมกล่าวเสริมว่า อันนามีพัฒนาการ “ในการสื่อสารกับผู้คน ด้วยภาษาของเธอ”
สัญญาณอีกประการหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าร้านแห่งนี้กำลังประสบความสำเร็จ คือจีราโซลิอีกสาขาหนึ่งกำลังจะเปิดตัว
ทั้งนี้ ร้านแห่งใหม่มีกำหนดจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ที่เมืองปาแลร์โม แคว้นซิซิลี โดยรีมิชชิกล่าวว่า มีแผนที่จะขาย
แฟรนไชส์และเพิ่มจำนวนสาขา
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000018857 (ขนาดไฟล์: 167)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร เอเอฟพี - เป็นอีกคืนหนึ่งที่พนักงานซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมของร้าน “จีราโซลิ” ในกรุงโรมต้องรับมือกับลูกค้าที่แห่แหนกันมาอย่างเนืองแน่น แต่ร้านนี้ไม่ได้มีดีเฉพาะพิซซ่าและพาสต้าเท่านั้น แต่ยังมีบริการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องการมอบโอกาสให้คนพิการทำงานอีกด้วย ร้านอาหารที่ป้ายร้านประดิดประดอยขึ้นจากไฟนีออนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ชานกรุงโรมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อแม่คู่หนึ่งที่มีลูกพิการ และมีลักษณะเหมือนร้านอาหารโดยทั่วไป ยกเว้นก็แต่การที่มีลูกจ้าง 13 คนจากทั้งหมด 18 คนเป็นคนพิการ “ฉันชอบห้องนี้ ชอบการได้มองไปรอบๆ คอยให้บริการลูกค้าและพูดคุยกับพวกเขา” ซีโมเน พนักงานของร้านวัย 24 ปีกล่าว โดยภายหลังที่เขาผ่านการฝึกงาน 600 ชั่วโมง ก็ได้เซ็นสัญญาเป็นพนักงานประจำของร้านจีราโซลิ (ดอกทานตะวัน) “แต่ที่สำคัญกว่าอะไรอื่น คือฉันมีความสุขที่ได้อยู่ที่นี่” เขาบอก เมื่อมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา ซีโมเนก็พาพวกเธอไปที่โต๊ะอย่างว่องไว พร้อมหยิบเมนูติดมือไป 2-3 เล่ม “เราได้ยินเรื่องดีๆ เกี่ยวกับร้านนี้จึงอยากมาลอง” หญิงคนหนึ่งในกลุ่มบอก ขณะที่เพื่อนของเธอกล่าวเสริมว่า “โดยรวมแล้วเหมือนร้านอาหารทั่วไป ยกเว้นก็แต่พนักงานเสิร์ฟที่นี่บริการดีมาก” ในขณะที่ จูเซปเป คุณครูวัย 64 ปีกำลังละเลียดพาสต้าอามาตรีเชียนา เขากล่าวว่า “ครั้งแรกที่คุณมาที่นี่ คุณอาจคาดหวังอะไรบางอย่าง แต่ไม่นานก็จะรู้ได้ว่าไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังเลย” ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร ร้านอาหารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างงานให้แก่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม โรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งผลให้ร่างกายเติบโตช้าและมีความบกพร่องทางสติปัญญา “ลูกน้องของฉันทำงานเป็น แล้วก็ทำได้ดีมากด้วย” อูโก เมนกีนี หัวหน้าบริกรที่มีร่างกายสมประกอบกล่าวยกย่องลูกจ้างของเขาว่า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและว่องไว “ถ้าผมจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผมจะไม่ลังเลเลย ที่จะจ้างคนเป็นดาวน์ซินโดรม” เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในอีตาลี ร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย และจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวนานหลายเดือนเพื่อปรับโครงสร้างและปรับปรุงร้าน ตอนนี้ร้านแห่งนี้บริหารงานโดย “กอนซอร์ซิโอ ซินเตซี” สมาคมสหกรณ์ที่มีความชำนาญการด้านหางานให้ผู้พิการ และเป็นผู้บริหารคอลเซ็นเตอร์สามแห่งให้แก่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ “วินด์” “รัฐเป็นผู้ผลักดันให้มีความช่วยเหลือ แต่เราต้องการฝึกอาชีพให้พวกเขามากกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่เป็นเงินทุนส่วนตัวทั้งหมด เราไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ” เอนโซ รีมิชชีกล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีของมาร์โก พนักงานคนหนึ่งที่ขี้อายจนไม่กล้ารับลูกค้า แต่สามารถทำงานในห้องครัวได้ราวกับเครื่องจักร ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร การฝึกงานของร้านนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และในบรรดาพนักงานที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด 13 คน เป็นเด็กฝึกงาน 9 คน เมื่อร้านจีราโซลิปิดในตอนเช้า ก็จะมีพนักงานอีกทีมหนึ่งเข้ามาทำคุกกี้และเค้กไว้ขายลูกค้าในช่วงเย็น แม้จะเป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน อันนา พนักงานสาววัย 22 ปีก็ยังคงเข้ามาที่ร้าน เพื่อรับประทานอาหารกับพ่อแม่ของเธอทุกคืน “สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา และสำหรับเธอ” การ์โล พ่อของเธอบอก ในเวลาที่ดวงตาของเขาเอ่อล้นไปด้วยน้ำตาขณะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกสาว ตัวเองนับตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่” “ลูกสาวของเรามีความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาก เมื่อกลับจากที่ทำงาน เธอดูมีความสุขและภาคภูมิใจในสิ่งที่เธอทำ” เขาเผย พร้อมกล่าวเสริมว่า อันนามีพัฒนาการ “ในการสื่อสารกับผู้คน ด้วยภาษาของเธอ” สัญญาณอีกประการหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าร้านแห่งนี้กำลังประสบความสำเร็จ คือจีราโซลิอีกสาขาหนึ่งกำลังจะเปิดตัว ทั้งนี้ ร้านแห่งใหม่มีกำหนดจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ที่เมืองปาแลร์โม แคว้นซิซิลี โดยรีมิชชิกล่าวว่า มีแผนที่จะขาย แฟรนไชส์และเพิ่มจำนวนสาขา ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000018857 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)