ให้ “โฟเลต” หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนท้อง ลดเด็กพิการแต่กำเนิดได้ เล็งขยายทั่วประเทศ

แสดงความคิดเห็น

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

สธ. เดินหน้าป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นำร่อง 22 รพ. ให้ความรู้และวิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ พบประสบความสำเร็จดี เล็งขยาย รพ. นำร่องเป็น 26 แห่งในปี 2558 - 2560 ก่อนขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

วันที่ (12 พ.ย.) ที่ โรงแรมตวันนา กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การดูแลรักษาและป้องกันเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้น ต้องมีการบูรณาการกันแบบองค์รวม ซึ่ง สธ. ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อร่วมดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกเผยว่า มีเด็กพิการแต่กำเนิดเฉลี่ยปีละ 8 ล้านคนทั่วโลก อัตราเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 20 - 30 สำหรับประเทศไทยมีเด็กพิการแต่กำเนิด 24,000 - 40,000 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 21 โดยเด็กที่รอดชีวิตมักมีความพิการไปตลอดชีวิต ซึ่งความพิการที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด,หลอดประสาทไม่ปิด,ภาวะแขนขาพิการ,ปากแหว่งเพดานโหว่และกลุ่มอาการดาวน์

“สธ. ได้มอบให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นแกนหลักในการดำเนินการร่วมกับสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในห้องคลอด จัดตั้งคลินิกความพิการแต่กำเนิดในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการนำร่องในโรงพยาบาล 22 จังหวัด และจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการดูแลรักษาแบบองค์รวม ส่วนการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ทำได้โดยการให้วิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และพัฒนาการของทารกและป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ”ปลัดสธ.กล่าว

ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ 8 แห่ง โดยการสนับสนุนของ สสส. ขับเคลื่อนโครงการระดับชาติพัฒนาต้นแบบจังหวัดและอำเภอเพื่อป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย เพื่อเฝ้าระวังและตัดสินใจทางนโยบายที่จะนำไปสู่การป้องกัน ดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการดำเนินการในระยะแรก พ.ศ. 2554 - 2557 ประสบความสำเร็จดีมาก จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดแบบออนไลน์ได้ใน 22 โรงพยาบาลจังหวัดนำร่อง และได้สร้าง 11 อำเภอต้นแบบนำร่อง และเร่งขับเคลื่อนในระยะที่ 2 พ.ศ. 2558 - 2560 เพิ่มโรงพยาบาลจังหวัดนำร่องเป็น 26 แห่ง และ 26 อำเภอต้นแบบนำร่อง พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยวิตามิน โฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125976 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย12พ.ย.58
วันที่โพสต์: 13/11/2558 เวลา 13:24:22 ดูภาพสไลด์โชว์ ให้ “โฟเลต” หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนท้อง ลดเด็กพิการแต่กำเนิดได้ เล็งขยายทั่วประเทศ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สธ. เดินหน้าป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นำร่อง 22 รพ. ให้ความรู้และวิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ พบประสบความสำเร็จดี เล็งขยาย รพ. นำร่องเป็น 26 แห่งในปี 2558 - 2560 ก่อนขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ วันที่ (12 พ.ย.) ที่ โรงแรมตวันนา กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การดูแลรักษาและป้องกันเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้น ต้องมีการบูรณาการกันแบบองค์รวม ซึ่ง สธ. ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อร่วมดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกเผยว่า มีเด็กพิการแต่กำเนิดเฉลี่ยปีละ 8 ล้านคนทั่วโลก อัตราเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 20 - 30 สำหรับประเทศไทยมีเด็กพิการแต่กำเนิด 24,000 - 40,000 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 21 โดยเด็กที่รอดชีวิตมักมีความพิการไปตลอดชีวิต ซึ่งความพิการที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด,หลอดประสาทไม่ปิด,ภาวะแขนขาพิการ,ปากแหว่งเพดานโหว่และกลุ่มอาการดาวน์ “สธ. ได้มอบให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นแกนหลักในการดำเนินการร่วมกับสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในห้องคลอด จัดตั้งคลินิกความพิการแต่กำเนิดในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการนำร่องในโรงพยาบาล 22 จังหวัด และจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการดูแลรักษาแบบองค์รวม ส่วนการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ทำได้โดยการให้วิตามินโฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และพัฒนาการของทารกและป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ”ปลัดสธ.กล่าว ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ 8 แห่ง โดยการสนับสนุนของ สสส. ขับเคลื่อนโครงการระดับชาติพัฒนาต้นแบบจังหวัดและอำเภอเพื่อป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย เพื่อเฝ้าระวังและตัดสินใจทางนโยบายที่จะนำไปสู่การป้องกัน ดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการดำเนินการในระยะแรก พ.ศ. 2554 - 2557 ประสบความสำเร็จดีมาก จดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดแบบออนไลน์ได้ใน 22 โรงพยาบาลจังหวัดนำร่อง และได้สร้าง 11 อำเภอต้นแบบนำร่อง และเร่งขับเคลื่อนในระยะที่ 2 พ.ศ. 2558 - 2560 เพิ่มโรงพยาบาลจังหวัดนำร่องเป็น 26 แห่ง และ 26 อำเภอต้นแบบนำร่อง พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยวิตามิน โฟเลตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125976

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...