สูงวัยไม่ไร้ค่า ตอนที่ ๓ – ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

คู่สามีภรรยาผู้สูงอายุ ในสภาพปัจจุบันและในอนาคต วิวัฒนาการด้านการรักษาพยาบาลได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก โรคหลาย ๆ โรคสามารถรักษาให้หายและหายขาดได้ ทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น โรคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากการเสื่อมของอวัยวะของร่างกาย ที่พบบ่อยคือโรคของหลอดเลือดเสื่อม เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้ถึงแก่กรรม โรคของหลอดเลือดสมองตีบตัน ทำให้เกิดความพิการ เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ และโรคสมองเสื่อม การเสื่อมของหลอดเลือด สามารถป้องกันเพื่อชะลอการเสื่อมได้ การจะให้มีสุขภาพกายแข็งแรงจะต้องปฏิบัติดังนี้ ๑) การออกกำลังกาย - เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ทำให้หลับสบาย เจริญอาหาร ดูอ่อนกว่าวัย อายุยืน ควรจะต้องทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละประมาณ ๓๐ นาที อย่างต่อเนื่อง ถ้าหากรู้สึกเหนื่อยให้พักสักครู่ แล้วหลังจากหายเหนื่อยก็ให้ดำเนินการต่อ คนส่วนใหญ่ทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะขี้เกียจออกกำลังกายบอกว่าไม่มีเวลา ให้เอาเวลาที่ดูทีวีออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ขอให้ระลึกตลอดเวลาว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องปฏิบัติเพื่อสุขภาพกายที่ดี.๒) การรับประทานอาหาร - ให้รับประทานอาหารทุกหมู่เหล่า รับประทานเป็นเวลา วันละ ๓ มื้อ ไม่ทานจุบจิบ จำนวนอาหารที่ทานมากน้อยอยู่ที่น้ำหนักตัว คือควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน น้ำหนักตัวมาตรฐานของเพศชาย คำนวณจากความสูงของผู้นั้นเป็นเซนติเมตร ลบด้วย ๑๐๐ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นน้ำหนักมาตรฐานของผู้นั้นเป็นกิโลกรัม สำหรับผู้หญิงลบด้วย ๑๐๕ ตัวอย่างผู้ชายสูง ๑๗๐ ซม. น้ำหนักมาตรฐาน คือ ๑๗๐-๑๐๐ = ๗๐ กิโลกรัม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง รับประทานอาหาร ประเภท ผัก ปลา ผลไม้ ให้มาก ๓) การพักผ่อนนอนหลับ - การทำงานต้องไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อนออกกำลังกาย การนอนหลับต้องนอนหลับให้เพียงพอ เฉลี่ย คืนละ ๗-๘ ชม. ต้องพยายามฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา ห้องนอนต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน อากาศเย็นสบาย ไม่มีแสงสว่างมาก ไม่ควรดื่มน้ำ ชา กาแฟ เวลาเย็นหรือเวลากลางคืน ถ้าหากนอนไม่หลับเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ การนอนหลับพักผ่อนเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอที่ใช้มาตลอดวัน สร้างภูมิคุ้มกัน การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง.๔) หลีกเลี่ยงเที่ยวกลางคืน - สารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ๕) ตรวจสุขภาพ - ปีละ ๑ ครั้ง สำหรับผู้มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพปีละ ๑ ครั้ง เป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ๖) มีสุขภาพจิตที่ดี - ผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี เครียดเรื้อรัง เป็นบ่อเกิดของโรคทางกายต่าง ๆ มากมาย ๗). การจะเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณค่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมควรเอาเวลาว่างที่เหลืออยู่ ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้มีฐานะยากจน ผู้พิการทางกายและทางจิต สังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเหลื่อมล้ำในสังคมถ้ามีมากระหว่างผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีโอกาส สังคมนั้นจะไม่มีความสงบสุขเกิดความแตกแยก และจะล่มสลายในที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทยเราผู้ด้อยโอกาสและผู้มีฐานะยากจนมีจำนวนมาก

ข้อมูลจาก น.พ.ปรีชา ศตวรรษธำรง อดีตผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รองประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 3/10/2555 เวลา 14:20:59

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คู่สามีภรรยาผู้สูงอายุในสภาพปัจจุบันและในอนาคต วิวัฒนาการด้านการรักษาพยาบาลได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก โรคหลาย ๆ โรคสามารถรักษาให้หายและหายขาดได้ ทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น โรคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากการเสื่อมของอวัยวะของร่างกาย ที่พบบ่อยคือโรคของหลอดเลือดเสื่อม เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้ถึงแก่กรรม โรคของหลอดเลือดสมองตีบตัน ทำให้เกิดความพิการ เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ และโรคสมองเสื่อม การเสื่อมของหลอดเลือด สามารถป้องกันเพื่อชะลอการเสื่อมได้ การจะให้มีสุขภาพกายแข็งแรงจะต้องปฏิบัติดังนี้ ๑) การออกกำลังกาย - เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ทำให้หลับสบาย เจริญอาหาร ดูอ่อนกว่าวัย อายุยืน ควรจะต้องทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละประมาณ ๓๐ นาที อย่างต่อเนื่อง ถ้าหากรู้สึกเหนื่อยให้พักสักครู่ แล้วหลังจากหายเหนื่อยก็ให้ดำเนินการต่อ คนส่วนใหญ่ทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะขี้เกียจออกกำลังกายบอกว่าไม่มีเวลา ให้เอาเวลาที่ดูทีวีออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ขอให้ระลึกตลอดเวลาว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องปฏิบัติเพื่อสุขภาพกายที่ดี.๒) การรับประทานอาหาร - ให้รับประทานอาหารทุกหมู่เหล่า รับประทานเป็นเวลา วันละ ๓ มื้อ ไม่ทานจุบจิบ จำนวนอาหารที่ทานมากน้อยอยู่ที่น้ำหนักตัว คือควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน น้ำหนักตัวมาตรฐานของเพศชาย คำนวณจากความสูงของผู้นั้นเป็นเซนติเมตร ลบด้วย ๑๐๐ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นน้ำหนักมาตรฐานของผู้นั้นเป็นกิโลกรัม สำหรับผู้หญิงลบด้วย ๑๐๕ ตัวอย่างผู้ชายสูง ๑๗๐ ซม. น้ำหนักมาตรฐาน คือ ๑๗๐-๑๐๐ = ๗๐ กิโลกรัม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง รับประทานอาหาร ประเภท ผัก ปลา ผลไม้ ให้มาก ๓) การพักผ่อนนอนหลับ - การทำงานต้องไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อนออกกำลังกาย การนอนหลับต้องนอนหลับให้เพียงพอ เฉลี่ย คืนละ ๗-๘ ชม. ต้องพยายามฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา ห้องนอนต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน อากาศเย็นสบาย ไม่มีแสงสว่างมาก ไม่ควรดื่มน้ำ ชา กาแฟ เวลาเย็นหรือเวลากลางคืน ถ้าหากนอนไม่หลับเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ การนอนหลับพักผ่อนเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอที่ใช้มาตลอดวัน สร้างภูมิคุ้มกัน การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง.๔) หลีกเลี่ยงเที่ยวกลางคืน - สารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ๕) ตรวจสุขภาพ - ปีละ ๑ ครั้ง สำหรับผู้มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพปีละ ๑ ครั้ง เป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ๖) มีสุขภาพจิตที่ดี - ผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี เครียดเรื้อรัง เป็นบ่อเกิดของโรคทางกายต่าง ๆ มากมาย ๗). การจะเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณค่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมควรเอาเวลาว่างที่เหลืออยู่ ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้มีฐานะยากจน ผู้พิการทางกายและทางจิต สังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเหลื่อมล้ำในสังคมถ้ามีมากระหว่างผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีโอกาส สังคมนั้นจะไม่มีความสงบสุขเกิดความแตกแยก และจะล่มสลายในที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทยเราผู้ด้อยโอกาสและผู้มีฐานะยากจนมีจำนวนมาก ข้อมูลจาก น.พ.ปรีชา ศตวรรษธำรง อดีตผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รองประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...