ระวัง! โรคซึมเศร้า เหงา เพราะรัก

แสดงความคิดเห็น

หญิงสาวแสดงอาการซึมเศร้า

นอกจากปัญหารักๆ เลิฟๆ ในช่วงวันวาเลนไทน์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ทั้งในเรื่องของพฤติกรรมชิงสุกก่อนห่าม การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันซึ่งเป็นที่มาของโรคติดต่อทางเพศ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร แล้ว ไม่ว่าเพศไหนวัยไหนหากมีอาการอกหัก มีปัญหากับคนรักทั้งที่เพิ่งคบกันหรือแต่งงานกันแล้วก็ตาม ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจเป็นผลพวงที่เชื่อมโยงไปหาเรื่องอื่นๆ ตัวอย่างเหล่านี้ อาจทำให้เกิด "โรคซึมเศร้า"ขึ้นได้

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ซึ่งคาดการณ์กันว่ามีผู้มีปัญหาสุขภาพทางจิตมากกว่า 10 ล้านคนในขณะนี้ โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้คนเราเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่เศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย จิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส รู้สึกชีวิตล้มเหลว ท้อแท้หมดหวัง ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวลบางครั้งก็ร้องไห้และที่ร้ายที่สุดก็คือ"ฆ่าตัวตาย"

จริงๆ แล้วโรคซึมเศร้าคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอาการผิดหวังที่เกี่ยวกับเรื่องราวของ คนสองคนเท่านั้น แต่ความผิดหวังในความรักเป็นปัจจัยย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้จิตใจของเราซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะอาการซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าในผู้หญิง

เคยมีงานวิจัยเรื่องความรุนแรงของครอบครัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มีหญิงที่เคยถูกกระทำความรุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้ง ประมาณร้อยละ 44 และเคยถูกกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 12 เคยถูกกระทำความรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลประมาณร้อยละ5ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงหากมีมากจะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์นั้น ความรุนแรงและความเครียดมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้ สำหรับ การแก้ไขก่อนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คงต้องทำด้วยการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนแปลงจิตใจ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ถ้าแก้ไขไม่ได้จริงๆก็ควรหนีออกจากปัญหาและหมั่นพัฒนาสุขภาพจิตและคิดในแง่บวก

ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เกี่ยวกับความรัก คงหนีไม่พ้นอาการอกหักรักคุด ซึ่งจะทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวสิ้นหวัง เศร้า ไม่อยากทำอะไร บางคนมีการเรียนตกต่ำ ดื่มสุรา หมกมุ่น บางคนมีอาการปวดศีรษะ ไม่อยากเรียนหนังสือ ถ้าเป็นแบบนี้อาจหาที่ปรึกษา อาจเปิดใจกับพ่อแม่ หรือเพื่อนสนิท ต้องรวบรวมสติให้ได้และเปิดใจยอมรับสภาพตัวเอง ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อย่าสร้างภาพความหวังลวงตาตัวเอง นอกจากนี้ ให้เข้าใจความรักและใช้เป็นบทเรียนที่สำคัญในชีวิต สิ่งสำคัญพ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกเพื่อประคับประคองเขาให้ผ่านไปได้

นอกจากเรื่องราวของวัยรุ่นหนุ่มสาว ที่สวีท ร้อนแรงแล้ว โรคซึมเศร้ายังอาจเกิดขึ้นกับคนที่มีครอบครัวแล้วก็ได้ โดยเฉพาะการปรับตัวในการอยู่ด้วยกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง การอดทนอดกลั้นต่อภาวะต่างๆ เช่น อาการอึดอัดใจกับบรรดาญาติๆ ของอีกฝ่าย ซึ่งต้องเรียนรู้ปรับตัวให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะผู้หญิงเมื่อถึงวัยกลางคน อายุประมาณ 40-55 ปี อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาครอบครัวมากที่สุด เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการทางเพศจึงลดลง โดยหันไปให้ความสนใจในเรื่องอื่นๆ มากกว่าเพศสัมพันธ์ ขณะที่ผู้ชายยังมีความต้องการทางเพศสม่ำเสมอ จึงอาจเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง หรือเลวร้ายที่สุดคือการนอกใจภรรยาของบรรดาชายวัยดึก หากผู้หญิงรับไม่ได้อาจนำไปสู่ปัญหาครอบครัวโรคซึมเศร้าและอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้

นี่เป็นพิษของความรักอีกด้านหนึ่งที่ทั้งสองคนต้องรู้เท่าทันเพื่อประคับประคองชีวิตคู่ให้ตลอดรอดฝั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะมีอาการเศร้า เหงา เพราะรัก จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือไม่ก็ตาม แนวทางป้องกันรักษาที่สำคัญก็คือ

1) หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายป้องกันโรคซึมเศร้าได้ ทั้งนี้นักวิจัยพบว่าเพียงออกกำลังกายวันละ 30 นาที 3 ครั้ง / สัปดาห์จะสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้แล้ว 2) มื้อเช้าสำคัญ อย่าพลาดอาหารเช้าเป็นอันขาดเพราะมันจะช่วยลดความเย็นในสมองอันเป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้า 3) ออกไปสัมผัสแสงแดด อย่านั่งแต่อยู่ในออฟฟิศ คิดว่าแสงแดดมีแต่อันตราย เดี๋ยวผิวเสีย แดดอ่อนๆ จะช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ไม่เฉื่อยชาได้ 4) จับตาเฝ้าระวังอาการหากคุณรู้สึกหมดหวังท้อแท้เป็นระยะเวลานานต้องหาที่ ระบายเสียบ้าง แต่หากคนใกล้ตัวมีการตัดพ้อ ร้องไห้บ่อย ทำร้ายตัวเอง หรือเขียนจดหมายลาตายจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 5) มองโลกในแง่ดี คนที่เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการซึมเศร้า ต้องพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นมองโลกในแง่ดี ฟังเพลงที่ชอบ ออกกำลังกาย ฯลฯ 6) หัวเราะบ้าง สร้างอารมณ์ขันให้ตัวเองด้วยการดูหนังตลก การ์ตูน เรื่องขำขัน คุยกับเพื่อนอารมณ์ดีรับรองคุณจะอารมณ์ดี และอาการซึมเศร้าก็จะค่อยๆ หายไป และ7) หากอาการไม่ดีขึ้น หรือซึมเศร้ายาวนานกว่า 2-3 สัปดาห์ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยแพทย์จะใช้ยาต้านเศร้า การพูดคุย และวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้คุณซึมเศร้าจนกลายเป็นโรค ป้องกันก่อนสาย หรืออาจโทรไปปรึกษาที่สายด่วน 1667

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1391420594&grpid=&catid=09&subcatid=0902 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 4/02/2557 เวลา 05:04:54 ดูภาพสไลด์โชว์ ระวัง! โรคซึมเศร้า เหงา เพราะรัก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงสาวแสดงอาการซึมเศร้า นอกจากปัญหารักๆ เลิฟๆ ในช่วงวันวาเลนไทน์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ทั้งในเรื่องของพฤติกรรมชิงสุกก่อนห่าม การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันซึ่งเป็นที่มาของโรคติดต่อทางเพศ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร แล้ว ไม่ว่าเพศไหนวัยไหนหากมีอาการอกหัก มีปัญหากับคนรักทั้งที่เพิ่งคบกันหรือแต่งงานกันแล้วก็ตาม ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจเป็นผลพวงที่เชื่อมโยงไปหาเรื่องอื่นๆ ตัวอย่างเหล่านี้ อาจทำให้เกิด "โรคซึมเศร้า"ขึ้นได้ โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ซึ่งคาดการณ์กันว่ามีผู้มีปัญหาสุขภาพทางจิตมากกว่า 10 ล้านคนในขณะนี้ โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้คนเราเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่เศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย จิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส รู้สึกชีวิตล้มเหลว ท้อแท้หมดหวัง ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวลบางครั้งก็ร้องไห้และที่ร้ายที่สุดก็คือ"ฆ่าตัวตาย" จริงๆ แล้วโรคซึมเศร้าคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอาการผิดหวังที่เกี่ยวกับเรื่องราวของ คนสองคนเท่านั้น แต่ความผิดหวังในความรักเป็นปัจจัยย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้จิตใจของเราซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะอาการซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าในผู้หญิง เคยมีงานวิจัยเรื่องความรุนแรงของครอบครัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มีหญิงที่เคยถูกกระทำความรุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้ง ประมาณร้อยละ 44 และเคยถูกกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 12 เคยถูกกระทำความรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลประมาณร้อยละ5ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงหากมีมากจะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์นั้น ความรุนแรงและความเครียดมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้ สำหรับ การแก้ไขก่อนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คงต้องทำด้วยการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนแปลงจิตใจ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ถ้าแก้ไขไม่ได้จริงๆก็ควรหนีออกจากปัญหาและหมั่นพัฒนาสุขภาพจิตและคิดในแง่บวก ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เกี่ยวกับความรัก คงหนีไม่พ้นอาการอกหักรักคุด ซึ่งจะทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวสิ้นหวัง เศร้า ไม่อยากทำอะไร บางคนมีการเรียนตกต่ำ ดื่มสุรา หมกมุ่น บางคนมีอาการปวดศีรษะ ไม่อยากเรียนหนังสือ ถ้าเป็นแบบนี้อาจหาที่ปรึกษา อาจเปิดใจกับพ่อแม่ หรือเพื่อนสนิท ต้องรวบรวมสติให้ได้และเปิดใจยอมรับสภาพตัวเอง ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อย่าสร้างภาพความหวังลวงตาตัวเอง นอกจากนี้ ให้เข้าใจความรักและใช้เป็นบทเรียนที่สำคัญในชีวิต สิ่งสำคัญพ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกเพื่อประคับประคองเขาให้ผ่านไปได้ นอกจากเรื่องราวของวัยรุ่นหนุ่มสาว ที่สวีท ร้อนแรงแล้ว โรคซึมเศร้ายังอาจเกิดขึ้นกับคนที่มีครอบครัวแล้วก็ได้ โดยเฉพาะการปรับตัวในการอยู่ด้วยกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง การอดทนอดกลั้นต่อภาวะต่างๆ เช่น อาการอึดอัดใจกับบรรดาญาติๆ ของอีกฝ่าย ซึ่งต้องเรียนรู้ปรับตัวให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะผู้หญิงเมื่อถึงวัยกลางคน อายุประมาณ 40-55 ปี อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาครอบครัวมากที่สุด เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการทางเพศจึงลดลง โดยหันไปให้ความสนใจในเรื่องอื่นๆ มากกว่าเพศสัมพันธ์ ขณะที่ผู้ชายยังมีความต้องการทางเพศสม่ำเสมอ จึงอาจเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง หรือเลวร้ายที่สุดคือการนอกใจภรรยาของบรรดาชายวัยดึก หากผู้หญิงรับไม่ได้อาจนำไปสู่ปัญหาครอบครัวโรคซึมเศร้าและอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ นี่เป็นพิษของความรักอีกด้านหนึ่งที่ทั้งสองคนต้องรู้เท่าทันเพื่อประคับประคองชีวิตคู่ให้ตลอดรอดฝั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะมีอาการเศร้า เหงา เพราะรัก จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือไม่ก็ตาม แนวทางป้องกันรักษาที่สำคัญก็คือ 1) หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายป้องกันโรคซึมเศร้าได้ ทั้งนี้นักวิจัยพบว่าเพียงออกกำลังกายวันละ 30 นาที 3 ครั้ง / สัปดาห์จะสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้แล้ว 2) มื้อเช้าสำคัญ อย่าพลาดอาหารเช้าเป็นอันขาดเพราะมันจะช่วยลดความเย็นในสมองอันเป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้า 3) ออกไปสัมผัสแสงแดด อย่านั่งแต่อยู่ในออฟฟิศ คิดว่าแสงแดดมีแต่อันตราย เดี๋ยวผิวเสีย แดดอ่อนๆ จะช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ไม่เฉื่อยชาได้ 4) จับตาเฝ้าระวังอาการหากคุณรู้สึกหมดหวังท้อแท้เป็นระยะเวลานานต้องหาที่ ระบายเสียบ้าง แต่หากคนใกล้ตัวมีการตัดพ้อ ร้องไห้บ่อย ทำร้ายตัวเอง หรือเขียนจดหมายลาตายจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 5) มองโลกในแง่ดี คนที่เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการซึมเศร้า ต้องพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นมองโลกในแง่ดี ฟังเพลงที่ชอบ ออกกำลังกาย ฯลฯ 6) หัวเราะบ้าง สร้างอารมณ์ขันให้ตัวเองด้วยการดูหนังตลก การ์ตูน เรื่องขำขัน คุยกับเพื่อนอารมณ์ดีรับรองคุณจะอารมณ์ดี และอาการซึมเศร้าก็จะค่อยๆ หายไป และ7) หากอาการไม่ดีขึ้น หรือซึมเศร้ายาวนานกว่า 2-3 สัปดาห์ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยแพทย์จะใช้ยาต้านเศร้า การพูดคุย และวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้คุณซึมเศร้าจนกลายเป็นโรค ป้องกันก่อนสาย หรืออาจโทรไปปรึกษาที่สายด่วน 1667 ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1391420594&grpid=&catid=09&subcatid=0902 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...