'โรคจิต' เกือบ 500 คน ถูกทิ้ง!ญาติเมินนาน 40 ปี

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยจิตเวช

22 พ.ย. 56 ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาราชนครินทร์ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในการเป็นประธานในกิจกรรมปันความรู้ “เปิดบ้านหลังคาแดง ชมพิพิธภัณฑ์จิตเวชแห่งแรก” ว่าแต่ละปีมีผู้ป่วยอาการทางจิตเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายของกรมสุขภาพจิต ถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งผู้ป่วยโรคจิตเวชและผู้ที่มีอาการผิดปกติทางจิต ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นคนเร่ร่อน ไม่มีญาติ ไม่มีหลักฐานแสดงตัว บางคนถูกนำตัวมาทิ้งไว้ที่โรงพยาบาล เมื่อรักษาหายแล้ว ไม่มีญาติมารับ

จากการสำรวจเท่าที่ผ่านมา รพ.ศรีธัญญา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชขนาดใหญ่ของกรมสุขภาพจิต ต้องแบกรับภาระดูแลผู้ป่วยไร้ญาติกว่า 300 คน เฉพาะในปี 2556 มีถึง 114 คน ส่วนต่างจังหวัด เช่น รพ.สวนปรุง จ.เชียงใหม่ 38 ราย รพ.สวนสราญรมย์ 56 ราย และที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีกว่า 100 ราย บางรายถูกทิ้งไว้นานกว่า 30-40 ปี ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ น่าจะมีประมาณเกือบ 500 รายทั่วประเทศ ส่วนใหญ่หาญาติไม่เจอ ผู้ป่วยจำบ้านตัวเองไม่ได้ โดยโรงพยาบาลได้ประสานให้กรมประชาสงเคราะห์ รับไปดูแลจำนวนหนึ่ง ในกรณีของผู้ที่หายแล้วและไม่สร้างภาระให้กับผู้อื่น ทั้งนี้ได้ขอให้แต่ละโรงพยาบาลสรุปตัวเลขผู้ป่วยที่ถูกทอดทิ้งไว้ใน รพ.จิตเวช เพื่อเป็นการสำรวจสภาพปัญหาและหาทางแก้ไข

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า การดูแลรักษาคนไข้ทางจิต สิ่งสำคัญที่สุดคือครอบครัวและชุมชนต้องเข้ามาช่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ต้องไม่พยายามลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย ซึ่งกิจกรรม ปันความรู้เปิดบ้านหลังคาแดง ครั้งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการให้สังคมภายนอกเห็นศักยภาพของพวกเขา และทางกรมเองก็ได้พยายามที่จะพัฒนาทักษะทุกด้านเพื่อคืนผู้ป่วยจิตเวชเหล่า นี้กลับสู่อ้อมกอดของครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ เช่น งานศิลปะ การร้อยมาลัย เย็บปักถักร้อย ไปจนถึงงานช่างต่างๆ ที่พวกเขามีศักยภาพที่จะทำได้ ภารกิจของกรมสุขภาพจิตในเรื่องนี้ เราเน้นกระบวนการดูแลที่ไม่ใช่เพียงให้ผู้ป่วยหาย แต่มีเป้าหมายที่จะให้ผู้ป่วยอยู่ในชุมชนได้อย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ หรือมีอาชีพที่ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่นหรือเป็นภาระให้น้อยที่สุด

"เทคนิคง่ายๆ ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชหลังกลับไปอยู่ที่บ้าน นอกจากดูแลเรื่องการกินยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว คนในครอบครัวและชุมชนควรหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน หรือแสดงความโกรธเกรี้ยว ผู้ป่วยหลายรายที่กลับไปอยู่บ้านและมีอาการกำเริบอีก เพราะถูกกดดันจากคนรอบข้าง ชุมชน สังคม บีบคั้นทั้งๆ ที่ช่วงที่รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในต่างจังหวัดบางคนออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ไปอยู่วัด ไปช่วยงานพระ บางคนไปทำไร่ไถนา บางคนมีอาชีพเสริมจากที่ได้รับการฝึกอบรมไปจากรพ.จิตเวช"

นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า จากงานวิจัยพบว่า 60-70% อาการทุเลา อาการอันตรายจะหายไป แต่อาการที่อาจหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น หลงผิด หวาดระแวง หรือความเสื่อมทางด้านร่างกายโดยเฉพาะสมองยังมีอยู่ แต่ถ้ากินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ซึ่งเดี๋ยวนี้ยาที่ใช้ในการรักษาค่อนข้างดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีตมาก ผู้ป่วยก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายให้รับคนพิการเข้าทำงาน บริษัทส่วนใหญ่ก็มักเลือกกลุ่มพิการทางกาย แต่กลุ่มพิการทางจิตนี่ไม่ค่อยได้รับโอกาส ซึ่งการรักษาคนไข้ทางจิตที่ดีนั้นคือโรงพยาบาล 70% และอีก 30% ครอบครัวและชุมชนต้องช่วยกัน มีที่ให้เขายืน สังคมต้องยอมรับ ให้โอกาส ผู้ป่วยไม่ได้อยากให้สงสาร แต่อยากได้โอกาส

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131122/173349.html

( คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56 )

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 23/11/2556 เวลา 04:13:11 ดูภาพสไลด์โชว์ 'โรคจิต' เกือบ 500 คน ถูกทิ้ง!ญาติเมินนาน 40 ปี

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยจิตเวช 22 พ.ย. 56 ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาราชนครินทร์ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในการเป็นประธานในกิจกรรมปันความรู้ “เปิดบ้านหลังคาแดง ชมพิพิธภัณฑ์จิตเวชแห่งแรก” ว่าแต่ละปีมีผู้ป่วยอาการทางจิตเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายของกรมสุขภาพจิต ถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งผู้ป่วยโรคจิตเวชและผู้ที่มีอาการผิดปกติทางจิต ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นคนเร่ร่อน ไม่มีญาติ ไม่มีหลักฐานแสดงตัว บางคนถูกนำตัวมาทิ้งไว้ที่โรงพยาบาล เมื่อรักษาหายแล้ว ไม่มีญาติมารับ จากการสำรวจเท่าที่ผ่านมา รพ.ศรีธัญญา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชขนาดใหญ่ของกรมสุขภาพจิต ต้องแบกรับภาระดูแลผู้ป่วยไร้ญาติกว่า 300 คน เฉพาะในปี 2556 มีถึง 114 คน ส่วนต่างจังหวัด เช่น รพ.สวนปรุง จ.เชียงใหม่ 38 ราย รพ.สวนสราญรมย์ 56 ราย และที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีกว่า 100 ราย บางรายถูกทิ้งไว้นานกว่า 30-40 ปี ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ น่าจะมีประมาณเกือบ 500 รายทั่วประเทศ ส่วนใหญ่หาญาติไม่เจอ ผู้ป่วยจำบ้านตัวเองไม่ได้ โดยโรงพยาบาลได้ประสานให้กรมประชาสงเคราะห์ รับไปดูแลจำนวนหนึ่ง ในกรณีของผู้ที่หายแล้วและไม่สร้างภาระให้กับผู้อื่น ทั้งนี้ได้ขอให้แต่ละโรงพยาบาลสรุปตัวเลขผู้ป่วยที่ถูกทอดทิ้งไว้ใน รพ.จิตเวช เพื่อเป็นการสำรวจสภาพปัญหาและหาทางแก้ไข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า การดูแลรักษาคนไข้ทางจิต สิ่งสำคัญที่สุดคือครอบครัวและชุมชนต้องเข้ามาช่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ต้องไม่พยายามลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย ซึ่งกิจกรรม ปันความรู้เปิดบ้านหลังคาแดง ครั้งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการให้สังคมภายนอกเห็นศักยภาพของพวกเขา และทางกรมเองก็ได้พยายามที่จะพัฒนาทักษะทุกด้านเพื่อคืนผู้ป่วยจิตเวชเหล่า นี้กลับสู่อ้อมกอดของครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ เช่น งานศิลปะ การร้อยมาลัย เย็บปักถักร้อย ไปจนถึงงานช่างต่างๆ ที่พวกเขามีศักยภาพที่จะทำได้ ภารกิจของกรมสุขภาพจิตในเรื่องนี้ เราเน้นกระบวนการดูแลที่ไม่ใช่เพียงให้ผู้ป่วยหาย แต่มีเป้าหมายที่จะให้ผู้ป่วยอยู่ในชุมชนได้อย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ หรือมีอาชีพที่ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่นหรือเป็นภาระให้น้อยที่สุด "เทคนิคง่ายๆ ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชหลังกลับไปอยู่ที่บ้าน นอกจากดูแลเรื่องการกินยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว คนในครอบครัวและชุมชนควรหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน หรือแสดงความโกรธเกรี้ยว ผู้ป่วยหลายรายที่กลับไปอยู่บ้านและมีอาการกำเริบอีก เพราะถูกกดดันจากคนรอบข้าง ชุมชน สังคม บีบคั้นทั้งๆ ที่ช่วงที่รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในต่างจังหวัดบางคนออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ไปอยู่วัด ไปช่วยงานพระ บางคนไปทำไร่ไถนา บางคนมีอาชีพเสริมจากที่ได้รับการฝึกอบรมไปจากรพ.จิตเวช" นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า จากงานวิจัยพบว่า 60-70% อาการทุเลา อาการอันตรายจะหายไป แต่อาการที่อาจหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น หลงผิด หวาดระแวง หรือความเสื่อมทางด้านร่างกายโดยเฉพาะสมองยังมีอยู่ แต่ถ้ากินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ซึ่งเดี๋ยวนี้ยาที่ใช้ในการรักษาค่อนข้างดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีตมาก ผู้ป่วยก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายให้รับคนพิการเข้าทำงาน บริษัทส่วนใหญ่ก็มักเลือกกลุ่มพิการทางกาย แต่กลุ่มพิการทางจิตนี่ไม่ค่อยได้รับโอกาส ซึ่งการรักษาคนไข้ทางจิตที่ดีนั้นคือโรงพยาบาล 70% และอีก 30% ครอบครัวและชุมชนต้องช่วยกัน มีที่ให้เขายืน สังคมต้องยอมรับ ให้โอกาส ผู้ป่วยไม่ได้อยากให้สงสาร แต่อยากได้โอกาส ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131122/173349.html ( คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...