ภารกิจลด'คนบ้า'หน้าบึ้ง! อย่าเข้าใกล้

แสดงความคิดเห็น

ชายเร่ร่อนเดินบนถนน

แม้ใครๆ จะรู้สึก "รังเกียจ" และไม่อยากเข้าใกล้ แต่มีคนบางกลุ่มกลับรู้สึก "สงสาร" และอยากลงไปช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจิตข้างถนน หรือ "คนบ้า"เหล่านั้น ซึ่งนับวันจะพบเห็นได้บ่อย ทั่วทุกมุมถนน ชุมชน และป้ายรถเมล์ ที่สำคัญไม่มีใครอาจคาดเดาได้เลยว่า เบื้องลึกในใจของ "คนบ้า" กำลังจะคิด "ร้าย-ดี" เพียงใด แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าทุกคนหันมาช่วยกันดูแลให้พวกเขาหายป่วยหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ต้องไปเร่ร่อน ผมเผ้ารุ่งรัง ปล่อยเนื้อปล่อยตัว เก็บกินของเหลือทิ้งตามถังขยะ และบางครั้งพวกเขาอาจก่อเหตุร้ายโดยที่เขาก็ไม่รู้ตัว ?!!

"ผู้ป่วยข้างถนน คือ เป็นคนเร่ร่อนไร้บ้าน แต่มีอาการป่วยทางจิต ทางระบบสมองและประสาท" เป็นนิยามสั้นๆ ที่ "สิทธิพล ชูประจง" หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน อธิบายเกี่ยวกับบุคคลที่พวกเขาต้องคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้

"สิทธิพล" บอกถึงการลงไปช่วยเหลือผู้ป่วยข้างถนนนั้นว่า มีทั้งลงไป "สำรวจเอง" และ "มีคนแจ้งเข้ามา" ตอนนี้ช่วยไปแล้วประมาณ ๗-๘ คนได้ เบื้องต้นแค่เป็นเพียงลงไปทำความรู้จักคุ้นเคยให้เขายอมรับ ด้วยการเข้าไปพูดคุย ช่วยเหลืออาบน้ำ ตัดเล็บ เช็ดตัว ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และล่าสุดได้คัดเลือกผู้ป่วยจิตข้างถนน ๑ ราย เพื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง นั่นคือ "วุฒิ" ชายวัย ๓๐ ปี ใส่กางเกงขาสั้นสีดำเพียงตัวเดียว อาศัยอยู่ในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง ย่านจตุจักร มานานหลายปี

"ผมมีแผนจะนำตัว "วุฒิ" เริ่มเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช แต่ก็ยังต้องประเมินเบื้องต้นว่าต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องติดต่อหาสถานสงเคราะห์ เพื่อให้เกิดการรองรับและการรักษาที่ต่อเนื่อง ตอนนี้ก็ยังตอบไม่ได้ว่าเมื่อเขาได้รับการรักษาแล้วเขาจะหายกลับมาเป็นปกติหรือไม่" สิทธิพล กล่าว อย่างไรก็ตาม "สิทธิพล" มีความหวังว่าการนำผู้ป่วยข้างถนนเข้าสู่การรักษาจะสามารถช่วยไม่ให้คนเหล่านี้กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก แต่ปัญหาในการนำพาเข้าสู่กระบวนการรักษาคือ การกลับไปหาเขาแล้วพบว่าเขาไม่อยู่ที่เดิมแล้ว ในอนาคตเรามีการรับอาสาสมัครมาช่วยกันเก็บสำรวจผู้ป่วยข้างถนน เราจะได้รู้ข้อมูลที่แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จะช่วยกันใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีถ่ายรูปและโพสต์ลงอินสตาแกรม และติดแท็กมาที่เรา เพื่อเก็บข้อมูลไว้

นอกจากนี้ ใครที่พบเจอผู้ป่วยข้างถนน สามารถแจ้งมาได้ที่ ศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ จะมีการประสานไปยังโรงพยาบาลจิตเวช ในกรุงเทพฯ ตอนนี้มีอยู่ ๒ แห่งคือ โรงพยาบาลศรีธัญญา กับโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่ถ้าในต่างจังหวัดก็จะเป็นโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่หรือตามแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลในพื้นที่ แต่หากพบเจอกรณีผู้ป่วยข้างถนนที่มีอาการรุนแรง อาละวาดและน่าจะเป็นอันตรายต่อคนอื่น หรือสุ่มเสี่ยง ก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อได้รับการรักษาตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต ๒๕๕๑ ก่อนจะส่งไปสถานแรกรับเพื่อแยกไปยังสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งต่อไป

"สิทธิพล" แนะนำว่า ถ้าใครอยากช่วยเหลือผู้ป่วยจิตข้างถนนเบื้องต้น ควรสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นก่อนว่า ผู้ป่วยข้างถนนรายนั้นๆ มีอาการอย่างไรบ้าง อาจสังเกตว่ามีรอยยิ้มหรือไม่ ถ้าหากเขายิ้มตอบก็เป็นสัญญาณที่ดี และทำให้เขาคุ้นเคยว่าเราไม่ทำร้ายเขา และค่อยๆ ลองสอบถามความเป็นมา ถ้าเห็นเขามีท่าทีที่ไม่พอใจก็ต้องรีบถอยออกมาก่อน ส่วนผู้ป่วยข้างถนนที่อาจจะทำร้ายคนอื่นส่วนใหญ่ที่พบว่าเนื่องจากมีอาการมาจากยาเสพติด ถ้าเห็นเขาถือไม้ หรือเดินอาดๆ ตาขวางๆ ต้องระวังตัวไว้ก่อน

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพจิต จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประชากรไทยร้อยละ ๒๐ หรือประมาณ ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิต และมีผู้ป่วยทางจิตเวช ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศในปี ๒๕๕๔ รวมกว่า ๓ ล้านราย และมีการคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๗๐ นี้สังคมไทยจะเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นด้วย

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒ ต.ค. ๕๕
วันที่โพสต์: 3/10/2555 เวลา 14:38:29

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชายเร่ร่อนเดินบนถนน แม้ใครๆ จะรู้สึก "รังเกียจ" และไม่อยากเข้าใกล้ แต่มีคนบางกลุ่มกลับรู้สึก "สงสาร" และอยากลงไปช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจิตข้างถนน หรือ "คนบ้า"เหล่านั้น ซึ่งนับวันจะพบเห็นได้บ่อย ทั่วทุกมุมถนน ชุมชน และป้ายรถเมล์ ที่สำคัญไม่มีใครอาจคาดเดาได้เลยว่า เบื้องลึกในใจของ "คนบ้า" กำลังจะคิด "ร้าย-ดี" เพียงใด แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าทุกคนหันมาช่วยกันดูแลให้พวกเขาหายป่วยหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ต้องไปเร่ร่อน ผมเผ้ารุ่งรัง ปล่อยเนื้อปล่อยตัว เก็บกินของเหลือทิ้งตามถังขยะ และบางครั้งพวกเขาอาจก่อเหตุร้ายโดยที่เขาก็ไม่รู้ตัว ?!! "ผู้ป่วยข้างถนน คือ เป็นคนเร่ร่อนไร้บ้าน แต่มีอาการป่วยทางจิต ทางระบบสมองและประสาท" เป็นนิยามสั้นๆ ที่ "สิทธิพล ชูประจง" หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน อธิบายเกี่ยวกับบุคคลที่พวกเขาต้องคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้ "สิทธิพล" บอกถึงการลงไปช่วยเหลือผู้ป่วยข้างถนนนั้นว่า มีทั้งลงไป "สำรวจเอง" และ "มีคนแจ้งเข้ามา" ตอนนี้ช่วยไปแล้วประมาณ ๗-๘ คนได้ เบื้องต้นแค่เป็นเพียงลงไปทำความรู้จักคุ้นเคยให้เขายอมรับ ด้วยการเข้าไปพูดคุย ช่วยเหลืออาบน้ำ ตัดเล็บ เช็ดตัว ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และล่าสุดได้คัดเลือกผู้ป่วยจิตข้างถนน ๑ ราย เพื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง นั่นคือ "วุฒิ" ชายวัย ๓๐ ปี ใส่กางเกงขาสั้นสีดำเพียงตัวเดียว อาศัยอยู่ในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง ย่านจตุจักร มานานหลายปี "ผมมีแผนจะนำตัว "วุฒิ" เริ่มเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช แต่ก็ยังต้องประเมินเบื้องต้นว่าต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องติดต่อหาสถานสงเคราะห์ เพื่อให้เกิดการรองรับและการรักษาที่ต่อเนื่อง ตอนนี้ก็ยังตอบไม่ได้ว่าเมื่อเขาได้รับการรักษาแล้วเขาจะหายกลับมาเป็นปกติหรือไม่" สิทธิพล กล่าว อย่างไรก็ตาม "สิทธิพล" มีความหวังว่าการนำผู้ป่วยข้างถนนเข้าสู่การรักษาจะสามารถช่วยไม่ให้คนเหล่านี้กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก แต่ปัญหาในการนำพาเข้าสู่กระบวนการรักษาคือ การกลับไปหาเขาแล้วพบว่าเขาไม่อยู่ที่เดิมแล้ว ในอนาคตเรามีการรับอาสาสมัครมาช่วยกันเก็บสำรวจผู้ป่วยข้างถนน เราจะได้รู้ข้อมูลที่แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จะช่วยกันใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีถ่ายรูปและโพสต์ลงอินสตาแกรม และติดแท็กมาที่เรา เพื่อเก็บข้อมูลไว้ นอกจากนี้ ใครที่พบเจอผู้ป่วยข้างถนน สามารถแจ้งมาได้ที่ ศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ จะมีการประสานไปยังโรงพยาบาลจิตเวช ในกรุงเทพฯ ตอนนี้มีอยู่ ๒ แห่งคือ โรงพยาบาลศรีธัญญา กับโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่ถ้าในต่างจังหวัดก็จะเป็นโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่หรือตามแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลในพื้นที่ แต่หากพบเจอกรณีผู้ป่วยข้างถนนที่มีอาการรุนแรง อาละวาดและน่าจะเป็นอันตรายต่อคนอื่น หรือสุ่มเสี่ยง ก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อได้รับการรักษาตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต ๒๕๕๑ ก่อนจะส่งไปสถานแรกรับเพื่อแยกไปยังสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งต่อไป "สิทธิพล" แนะนำว่า ถ้าใครอยากช่วยเหลือผู้ป่วยจิตข้างถนนเบื้องต้น ควรสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นก่อนว่า ผู้ป่วยข้างถนนรายนั้นๆ มีอาการอย่างไรบ้าง อาจสังเกตว่ามีรอยยิ้มหรือไม่ ถ้าหากเขายิ้มตอบก็เป็นสัญญาณที่ดี และทำให้เขาคุ้นเคยว่าเราไม่ทำร้ายเขา และค่อยๆ ลองสอบถามความเป็นมา ถ้าเห็นเขามีท่าทีที่ไม่พอใจก็ต้องรีบถอยออกมาก่อน ส่วนผู้ป่วยข้างถนนที่อาจจะทำร้ายคนอื่นส่วนใหญ่ที่พบว่าเนื่องจากมีอาการมาจากยาเสพติด ถ้าเห็นเขาถือไม้ หรือเดินอาดๆ ตาขวางๆ ต้องระวังตัวไว้ก่อน ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพจิต จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประชากรไทยร้อยละ ๒๐ หรือประมาณ ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิต และมีผู้ป่วยทางจิตเวช ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศในปี ๒๕๕๔ รวมกว่า ๓ ล้านราย และมีการคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๗๐ นี้สังคมไทยจะเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...