อย่าตื่นตระหนกด่วนสรุปสั่งน้ำมูกแรงแล้ว'ตาบอด'

แสดงความคิดเห็น

สั่งน้ำมูก

อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า “ตา” คือหน้าต่างของหัวใจ และเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของร่างกายเรา แต่ถ้าวันหนึ่งต้องอยู่ในโลกที่มืดมิด มองไม่เห็นอะไรเลย จะทำยังไง เหอะ...แค่คิดก็เศร้าละ! ยิ่งช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้ว อากาศก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา “เช้าหนาว-กลางวันร้อน-เย็นฝนตก” อาจจะไม่สบายเป็นหวัดคัดจมูกเอาซะง่ายๆ เกริ่นมาไกลซะขนาดนี้แล้ว เดียวผู้อ่านจะงงกันว่า การเป็น “หวัดคัดจมูก” เกี่ยวอะไรกับ “ตา”

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า...เพราะบังเอิญเห็นผู้คนในโลกโซเชียลฯ แชร์เรื่องราวว่า มีหญิงสาววัย 32 ปี ชาวอังกฤษ ต้องไปพบแพทย์แบบฉุกเฉิน เหตุเพราะว่า ดวงตาของเธอปูดบวมจนเกือบตาบอด เพียงแค่การสั่งน้ำมูก 1 ครั้ง ทำให้ตาปิดสนิทจนมองไม่เห็น ทั้งๆที่ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆมาก่อน สิ่งที่ตามมา คือ คำถามนานับประการว่า “มันเกิดขึ้นจริงเหรอ!! มันจะเป็นไปได้อย่างไร?” แต่อย่าเพิ่งตกใจกันไป เรามาไขข้อข้องใจกับ “พ.ต.นพ.ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์” จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาจอประสาทตา และจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยไปพร้อมๆกันเลย“

ภาพเอ็กซเรย์กระโหลก

“อาการบวมปูดที่ตา คือภาวะที่มีอากาศในเบ้าตา เนื่องจากตาโดนกระแทกอย่างรุนแรง จนกระดูกเบ้าตาแตก อากาศจะแทรกเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อสะสมมากๆ ตาจะบวมปูด ซึ่งอาการบวมปูดที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจจะเกิดจาก การกระแทกที่ไม่รุนแรง, แพ้อากาศ หรือแพ้ยาร่วมด้วย” หากสงสัยว่า “ตา” ของเราเกิดการ “ปูดบวม” เพราะมีอากาศในเบ้าตา สามารถตรวจเช็กได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่นำมือไปบีบจมูก แล้วขยับไปมาซ้าย-ขวา หากมีเสียง “ก๊อกแก๊กๆ” มาจากบริเวณจมูกหรือใต้ตา ควรรีบไปปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อเอกซเรย์ ลักษณะอาการต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ “อากาศในเบ้าตา” ไม่สามารถทำให้ตาบอดได้ แต่...! “ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก” ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายด้าน ไม่ใช่ตาบอดกันง่ายๆ

คุณหมอ ยืนยันว่า “การจาม” ไม่สามารถทำให้กระดูกเบ้าตาแตกได้ เป็นไปได้ยาก โอกาสแทบไม่มี นอกจากเสียว่าคนๆนั้น ต้องเคยประสบอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดบริเวณใบหน้ามาก่อน เมื่อเกิดอาการจาม สั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง หรือได้รับความกระทบกระเทือน กระดูกเบ้าตาก็จะแตกได้ “ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่หากเกิดขึ้นจริง การรักษาก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละเคส บางรายหากไม่รุนแรงก็สามารถรับยามาทานเองได้ แต่ในเคสที่รุนแรง ก็จำเป็นต้องผ่าตัด” ทีนี้ก็ได้คำตอบที่ “ชัดเจนแจ่มแจ้ง” กันแล้ว ต่อไปนี้เวลาจะจามหรือสั่งน้ำมูก จะได้ไม่ต้องไปกังวล หรือจิตตกคิดไปไกลอีกแล้วเพียงเพราะไปตื่นตระหนกกับ“ข้อความดังกล่าว”: พรนภา แจ่มกระจ่าง

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/362045 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 3/12/2558 เวลา 14:12:15 ดูภาพสไลด์โชว์ อย่าตื่นตระหนกด่วนสรุปสั่งน้ำมูกแรงแล้ว'ตาบอด'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สั่งน้ำมูก อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า “ตา” คือหน้าต่างของหัวใจ และเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของร่างกายเรา แต่ถ้าวันหนึ่งต้องอยู่ในโลกที่มืดมิด มองไม่เห็นอะไรเลย จะทำยังไง เหอะ...แค่คิดก็เศร้าละ! ยิ่งช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้ว อากาศก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา “เช้าหนาว-กลางวันร้อน-เย็นฝนตก” อาจจะไม่สบายเป็นหวัดคัดจมูกเอาซะง่ายๆ เกริ่นมาไกลซะขนาดนี้แล้ว เดียวผู้อ่านจะงงกันว่า การเป็น “หวัดคัดจมูก” เกี่ยวอะไรกับ “ตา” เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า...เพราะบังเอิญเห็นผู้คนในโลกโซเชียลฯ แชร์เรื่องราวว่า มีหญิงสาววัย 32 ปี ชาวอังกฤษ ต้องไปพบแพทย์แบบฉุกเฉิน เหตุเพราะว่า ดวงตาของเธอปูดบวมจนเกือบตาบอด เพียงแค่การสั่งน้ำมูก 1 ครั้ง ทำให้ตาปิดสนิทจนมองไม่เห็น ทั้งๆที่ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆมาก่อน สิ่งที่ตามมา คือ คำถามนานับประการว่า “มันเกิดขึ้นจริงเหรอ!! มันจะเป็นไปได้อย่างไร?” แต่อย่าเพิ่งตกใจกันไป เรามาไขข้อข้องใจกับ “พ.ต.นพ.ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์” จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาจอประสาทตา และจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยไปพร้อมๆกันเลย“ ภาพเอ็กซเรย์กระโหลก “อาการบวมปูดที่ตา คือภาวะที่มีอากาศในเบ้าตา เนื่องจากตาโดนกระแทกอย่างรุนแรง จนกระดูกเบ้าตาแตก อากาศจะแทรกเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อสะสมมากๆ ตาจะบวมปูด ซึ่งอาการบวมปูดที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจจะเกิดจาก การกระแทกที่ไม่รุนแรง, แพ้อากาศ หรือแพ้ยาร่วมด้วย” หากสงสัยว่า “ตา” ของเราเกิดการ “ปูดบวม” เพราะมีอากาศในเบ้าตา สามารถตรวจเช็กได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่นำมือไปบีบจมูก แล้วขยับไปมาซ้าย-ขวา หากมีเสียง “ก๊อกแก๊กๆ” มาจากบริเวณจมูกหรือใต้ตา ควรรีบไปปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อเอกซเรย์ ลักษณะอาการต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ “อากาศในเบ้าตา” ไม่สามารถทำให้ตาบอดได้ แต่...! “ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก” ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายด้าน ไม่ใช่ตาบอดกันง่ายๆ คุณหมอ ยืนยันว่า “การจาม” ไม่สามารถทำให้กระดูกเบ้าตาแตกได้ เป็นไปได้ยาก โอกาสแทบไม่มี นอกจากเสียว่าคนๆนั้น ต้องเคยประสบอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดบริเวณใบหน้ามาก่อน เมื่อเกิดอาการจาม สั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง หรือได้รับความกระทบกระเทือน กระดูกเบ้าตาก็จะแตกได้ “ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่หากเกิดขึ้นจริง การรักษาก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละเคส บางรายหากไม่รุนแรงก็สามารถรับยามาทานเองได้ แต่ในเคสที่รุนแรง ก็จำเป็นต้องผ่าตัด” ทีนี้ก็ได้คำตอบที่ “ชัดเจนแจ่มแจ้ง” กันแล้ว ต่อไปนี้เวลาจะจามหรือสั่งน้ำมูก จะได้ไม่ต้องไปกังวล หรือจิตตกคิดไปไกลอีกแล้วเพียงเพราะไปตื่นตระหนกกับ“ข้อความดังกล่าว”: พรนภา แจ่มกระจ่าง ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/362045

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...