การเมืองไทยหลัง 27 ก.ย. 60

ลงคะแนนบัตรเลือกตั้ง

โรดแม็ป คสช. มี-ไม่มีเลือกตั้งยังเป็นหัวข้อทางการเมืองที่ยังไม่มีใครสามารถบอกด้วยความชัดเจนว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใดจนไปถึงว่าจะมีหรือไม่ด้วยซํ้าไปว่าที่จริงแล้วหากเอาเงื่อนไขวันเวลา ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือปลายปี 2561 ซึ่งมีกฎหมายลูกเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างน้อยจำนวน 4 ฉบับอันเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเป็นเป้าหมายเป็นกติกาที่น่าจะชัดเจนอยู่แล้วการเลือกตั้งก็ไม่น่าเป็นปัญหาเพียงแต่ว่าใครจะคิดอย่างไรเท่านั้น รัฐบาลไม่ได้พูดเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ยํ้าเสมอว่าดำเนินการให้เป็นไปตามโรคแม็ปหลังพระราชพิธีสำคัญ 2 เรื่องผ่านพ้นไปแล้ว แต่ฝ่ายที่ต้องการเลือกตั้งก็ตั้งประเด็นว่าควรจะกำหนดให้ชัดเจนเพราะเกรงว่ารัฐบาลจะเบี้ยวคือไม่มีเลือกตั้งหรือทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไปจริงแล้วประเด็นมันก็อยู่ตรงนี้เท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือจากตัวแปรที่มีความจำเป็นที่มิอาจปฏิเสธได้กฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับนั้นดูเหมือนว่ามีการจัดทำไปแม้จะดูล่าช้า แต่เชื่อว่าน่าจะเสร็จทันตามเงื่อนไขเวลาอย่างน้อยตอนนี้ก็เสร็จไปแล้ว 2 ฉบับ

ล่าสุดนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้อาวุโสทางการเมืองได้ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองว่าการเลือกตั้งจะไม่เป็นไปตามโรคแม็ปเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปจากที่ผ่านมา หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯน่าจะเดินทางออกนอกประเทศไม่มาศาลตามนัด มันแสดงให้เห็นว่ายิ่ง ห่างจากการปรองดองออกไป

“รัฐบาลพูดกันตอนยึดอำนาจใหม่ปี 2557 ว่าจะเลือกตั้งปี 2560 จากนั้นก็เลื่อนมาปี 2561 วันนี้เชื่อว่าจะไม่มีเลือกตั้ง ตามโรดแม็ปแน่นอน เพราะกฎหมายลูกคลอดยากเหลือเกิน ทั้งที่มีโรดแม็ปกางไว้ชัดเจนแล้ว” “ความจริงเรื่องการปรองดองก็พอมีหวัง แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯมีข้อเสียตรงที่หงุดหงิดเกินไป พูดจา

กระโชกโฮกฮาก เมื่อเปรียบเทียบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกฯที่เป็นทหารไม่ใช่ผู้แทนนิ่มนวบก็ทำให้

ประชาชนรักได้”

“อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ลดโทนลงบ้าง เพราะถ้าหัวหน้ารัฐบาลโผงผาง ตอบโต้ไปหมด การปรองดองทำยากเหลือเกิน ผมไม่ได้สอนแต่ขอพูดความจริง” “แต่ความหวังของบ้านเมืองยังมีทางเลือกอีกทางที่ยากหน่อย คือการมีรัฐบาลต่อไปที่สวยงามโดยพรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ หรือภูมิใจไทยรวมกับทหารตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ไม่แน่ใจว่าทหารหรือพรรคการเมืองจะเอาไหม” ที่พูดมานี้เพื่อให้เกิดความปรองดองไม่ใช่การซูเอี๋ย แต่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นศัตรูกับทหาร

“โมเดลดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจไปรอด” แนวคิดของนายพิชัยนั้นเป็นทางออกของประเทศทางหนึ่ง แต่คงเป็นเรื่องยากพรรคแต่ละพรรคต่างก็มีเงื่อนไขเป็นตัวตั้ง “ทหาร” เองก็เช่นเดียวกัน แต่ทุกอย่างอะไรก็เกิดขึ้นได้อยู่ที่ผลการเลือกตั้งที่จะออกมาอย่างไรนั่นแหละ...คงจะได้เห็นภาพทางการเมืองชัดเจนได้

อย่างไรก็ดีก่อนจะไปถึงวันเลือกตั้งให้จับตาดูหลังวันที่ 27 ก.ย.60 ซึ่งเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจะออกมาอย่างไรนั่นแหละที่จะทำให้เป็นตัวแปรสำคัญทางการเมือง...

“สายล่อฟ้า”

ขอบคุณ... https://www.thairath.co.th/content/1066227

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.60
วันที่โพสต์: 13/09/2560 เวลา 10:41:39 ดูภาพสไลด์โชว์ การเมืองไทยหลัง 27 ก.ย. 60

ห้องการเมือง