ศิลปะเพื่อ “คนพิเศษ”

แสดงความคิดเห็น

กลุ่ม อาร์ต คอนเน็คชั่น, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" และ "ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม" จัด "ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง" (Rainbow Theatre)" ขึ้น

"เพราะศิลปะเป็นภาษาสากล" "โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์" ประธานมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม จึงร่วมกับ" กลุ่ม อาร์ต คอนเน็คชั่น, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" และ "ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม" จัด "ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง" (Rainbow Theatre)" ขึ้น โดยกิจกรรมนี้อยู่ในโครงการ "ศิลปะการสร้างสายรุ้ง" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้จะออกในรูปละครเวทีและภาพยนตร์สารคดี

"โดยมีสารหลักคือชักชวนให้ใครต่อใครเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน"ในส่วนของละครเวทีนั้น โรสซาลีน่าบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก "Autism: The Musical" หนังสารคดีของ HBO ที่บันทึกเรื่องราวการฝึกฝนกลุ่มเด็กออทิสซึมให้มาแสดงละครเวทีเพลง

โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจาก "กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์, The Drama Cube Studio, ชมรมศิลปะการแสดง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ" มาช่วยกันฝึก รวมถึง "ชนะ เสวิกุล, เล้ง-ราชนิกร แก้วดี" (ผู้ชนะจากเวทีไทยแลนด์ ก็อต ทาเล้นท์ ซีซั่น 2), "รณิษฐา จริตกุล, ม.ร.ว.มงคลชายยุคล"และ"แพนเค้ก-เขมนิจจามิกรณ์"ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน

"การจะทำให้สังคมมองเห็นเด็กๆ ในมุมมองใหม่ๆ ผ่านประสบการณ์ของศิลปินที่ทำงานกับเด็ก จะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจและสัมผัสได้ถึงประสบการณ์นั้น และมันจะเป็นการส่งต่อประสบการณ์จากศิลปินสู่สังคม ให้ศิลปินเป็นตัวแทนของสังคมในการสัมผัสเด็ก"

โดยในละครเวทีนั้นจะได้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเล่าร่วมกับเด็กทั่วไป เพื่อเป็นการจำลองพื้นที่ทางสังคมที่พวกเขาอยู่ร่วมกันได้โดยไม่แบ่งแยก "และจะเป็นพื้นที่ทางสังคมที่เราจะได้เห็นว่าถ้าเด็กๆ ได้รับโอกาสก็จะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้"และที่เลือกเป็นศิลปะการแสดง ก็เพราะการแสดงเพียงอย่างเดียวนั้นมีความหลากหลายมาก

"พื้นที่บนเวทีเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้เยอะ ศิลปะการแสดงเป็นศิลปะที่มีพลัง มีหลายมิติ จะต้องจำบทพูด จะต้องเคลื่อนไหว ต้องร้อง ต้องเต้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนดูรับไปนี่มันมากกว่าแผ่นกระดาษหรืออะไรก็แล้วแต่ มันคือประสบการณ์ร่วมที่คนดูมีกับคนแสดง พลังของมัน ความเข้าใจของมัน การสื่อสาร การแสดงมันถ่ายทอดออกมาได้"

"เราอยากให้เขาเห็นศักยภาพของเด็ก อยากให้เขาทราบว่าการใช้คำพูดที่บั่นทอนหรือลดทอนความเป็นไปได้มันไม่น่ามี ที่ใช้แล้ว เพราะพอเห็นเด็กมีศักยภาพแล้วเนี่ยความ "ปัญญาอ่อน" มันใช้ไม่ได้นะ คำว่า "เอ๋อ" ใช้ไม่ได้ เพราะเด็กเอ๋อเขาจะมาปีนผาแบบเก้งไม่ได้ แต่นี่เขามีความสามารถ มีศักยภาพ มีความเป็นไปได้ มีความสามารถ"

และเพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นขณะทำละครเวทีเรื่องนี้ ก็ได้บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังม่านการแสดงให้ดูกันในภาพยนตร์สารคดี ซึ่งได้ "รณิษฐา จริตกุล" เจ้าของภาพยนตร์ "เมษายน" ที่รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สตรี แอล เอ ของสหรัฐอเมริกามากำกับให้

"ตอนแรกกลุ้มใจเลย สารคดีทั่วไปมันคือการถ่ายไปเรื่อยๆ เล่าแบบพื้นๆ บ้านๆ แต่เราไม่อยากทำแบบนั้น ไม่อยากแค่เก็บบันทึกเฉยๆ แต่อยากให้สารที่ต้องการสื่อออกไปด้วย" สารที่ว่า คือ การไม่ตัดสินใครจากรูปลักษณ์ภายนอก

"ไม่ใช่ว่าเห็นเด็กคนหนึ่งมีภาวะแบบนี้ แล้วก็ไปเรียกเขาโดยไม่คิด"

"อยากให้ดูจบแล้ว รู้สึกว่าพวกเขาไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน"

"เขามีมากกว่าเด็กคนอื่นด้วยซ้ำไปในความสามารถและวิธีคิด"

"ในแง่ภาวะร่างกายหรืออะไรก็แล้วแต่เขาอาจจะมีข้อด้อย แต่โครโมโซมที่เกินมา มันเป็นข้อเด่นเลยนะ"

"เขาปกติยิ่งกว่าปกติ และอัจฉริยะกว่าเราเยอะ"

"คนเราไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ทุกคนเกิดมาพร้อมคาแร็กเตอร์พิเศษ แล้วเราไปเรียกเขาว่าปัญญาอ่อนนี่ถูกต้องเหรอ"

ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือเธอมั่นใจว่าหากใครได้ไปดูละครและหนังสารคดีก็จะได้เห็นความหัศจรรย์ของ พวกเขา แล้วก็ได้รู้ว่า "พวกเขาไม่ได้เป็นเด็กปัญญาอ่อน"

"แต่คือเด็กคนหนึ่ง เด็กธรรมดาทั่วไป"

ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง (Rainbow Theatre) จะจัดแสดงในวันที่ 22-23 มีนาคม เวลา 16.00 น. ที่มิวเซียมสยาม ส่วนภาพยนตร์สารคดีจะฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 26 เมษายน เวลา 19.00 น. ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.facebook.com/specialrainbow (ขนาดไฟล์: 0 ) , http://www.therainbowroom.org โทร.0-2712-0923

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395135846&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 20/03/2557 เวลา 04:14:59 ดูภาพสไลด์โชว์ ศิลปะเพื่อ “คนพิเศษ”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่ม อาร์ต คอนเน็คชั่น, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ\" และ \"ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม\" จัด \"ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง\" (Rainbow Theatre)\" ขึ้น "เพราะศิลปะเป็นภาษาสากล" "โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์" ประธานมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม จึงร่วมกับ" กลุ่ม อาร์ต คอนเน็คชั่น, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" และ "ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม" จัด "ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง" (Rainbow Theatre)" ขึ้น โดยกิจกรรมนี้อยู่ในโครงการ "ศิลปะการสร้างสายรุ้ง" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้จะออกในรูปละครเวทีและภาพยนตร์สารคดี "โดยมีสารหลักคือชักชวนให้ใครต่อใครเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน"ในส่วนของละครเวทีนั้น โรสซาลีน่าบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก "Autism: The Musical" หนังสารคดีของ HBO ที่บันทึกเรื่องราวการฝึกฝนกลุ่มเด็กออทิสซึมให้มาแสดงละครเวทีเพลง โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจาก "กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์, The Drama Cube Studio, ชมรมศิลปะการแสดง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ" มาช่วยกันฝึก รวมถึง "ชนะ เสวิกุล, เล้ง-ราชนิกร แก้วดี" (ผู้ชนะจากเวทีไทยแลนด์ ก็อต ทาเล้นท์ ซีซั่น 2), "รณิษฐา จริตกุล, ม.ร.ว.มงคลชายยุคล"และ"แพนเค้ก-เขมนิจจามิกรณ์"ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน "การจะทำให้สังคมมองเห็นเด็กๆ ในมุมมองใหม่ๆ ผ่านประสบการณ์ของศิลปินที่ทำงานกับเด็ก จะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจและสัมผัสได้ถึงประสบการณ์นั้น และมันจะเป็นการส่งต่อประสบการณ์จากศิลปินสู่สังคม ให้ศิลปินเป็นตัวแทนของสังคมในการสัมผัสเด็ก" โดยในละครเวทีนั้นจะได้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเล่าร่วมกับเด็กทั่วไป เพื่อเป็นการจำลองพื้นที่ทางสังคมที่พวกเขาอยู่ร่วมกันได้โดยไม่แบ่งแยก "และจะเป็นพื้นที่ทางสังคมที่เราจะได้เห็นว่าถ้าเด็กๆ ได้รับโอกาสก็จะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้"และที่เลือกเป็นศิลปะการแสดง ก็เพราะการแสดงเพียงอย่างเดียวนั้นมีความหลากหลายมาก "พื้นที่บนเวทีเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้เยอะ ศิลปะการแสดงเป็นศิลปะที่มีพลัง มีหลายมิติ จะต้องจำบทพูด จะต้องเคลื่อนไหว ต้องร้อง ต้องเต้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนดูรับไปนี่มันมากกว่าแผ่นกระดาษหรืออะไรก็แล้วแต่ มันคือประสบการณ์ร่วมที่คนดูมีกับคนแสดง พลังของมัน ความเข้าใจของมัน การสื่อสาร การแสดงมันถ่ายทอดออกมาได้" "เราอยากให้เขาเห็นศักยภาพของเด็ก อยากให้เขาทราบว่าการใช้คำพูดที่บั่นทอนหรือลดทอนความเป็นไปได้มันไม่น่ามี ที่ใช้แล้ว เพราะพอเห็นเด็กมีศักยภาพแล้วเนี่ยความ "ปัญญาอ่อน" มันใช้ไม่ได้นะ คำว่า "เอ๋อ" ใช้ไม่ได้ เพราะเด็กเอ๋อเขาจะมาปีนผาแบบเก้งไม่ได้ แต่นี่เขามีความสามารถ มีศักยภาพ มีความเป็นไปได้ มีความสามารถ" และเพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นขณะทำละครเวทีเรื่องนี้ ก็ได้บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังม่านการแสดงให้ดูกันในภาพยนตร์สารคดี ซึ่งได้ "รณิษฐา จริตกุล" เจ้าของภาพยนตร์ "เมษายน" ที่รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สตรี แอล เอ ของสหรัฐอเมริกามากำกับให้ "ตอนแรกกลุ้มใจเลย สารคดีทั่วไปมันคือการถ่ายไปเรื่อยๆ เล่าแบบพื้นๆ บ้านๆ แต่เราไม่อยากทำแบบนั้น ไม่อยากแค่เก็บบันทึกเฉยๆ แต่อยากให้สารที่ต้องการสื่อออกไปด้วย" สารที่ว่า คือ การไม่ตัดสินใครจากรูปลักษณ์ภายนอก "ไม่ใช่ว่าเห็นเด็กคนหนึ่งมีภาวะแบบนี้ แล้วก็ไปเรียกเขาโดยไม่คิด" "อยากให้ดูจบแล้ว รู้สึกว่าพวกเขาไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน" "เขามีมากกว่าเด็กคนอื่นด้วยซ้ำไปในความสามารถและวิธีคิด" "ในแง่ภาวะร่างกายหรืออะไรก็แล้วแต่เขาอาจจะมีข้อด้อย แต่โครโมโซมที่เกินมา มันเป็นข้อเด่นเลยนะ" "เขาปกติยิ่งกว่าปกติ และอัจฉริยะกว่าเราเยอะ" "คนเราไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ทุกคนเกิดมาพร้อมคาแร็กเตอร์พิเศษ แล้วเราไปเรียกเขาว่าปัญญาอ่อนนี่ถูกต้องเหรอ" ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือเธอมั่นใจว่าหากใครได้ไปดูละครและหนังสารคดีก็จะได้เห็นความหัศจรรย์ของ พวกเขา แล้วก็ได้รู้ว่า "พวกเขาไม่ได้เป็นเด็กปัญญาอ่อน" "แต่คือเด็กคนหนึ่ง เด็กธรรมดาทั่วไป" ละครเวที เธียเตอร์สายรุ้ง (Rainbow Theatre) จะจัดแสดงในวันที่ 22-23 มีนาคม เวลา 16.00 น. ที่มิวเซียมสยาม ส่วนภาพยนตร์สารคดีจะฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 26 เมษายน เวลา 19.00 น. ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.facebook.com/specialrainbow, http://www.therainbowroom.orgโทร.0-2712-0923 ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395135846&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...