เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีคนพิการ-สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

“ปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า i-CREATe 2016 ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รับผิดชอบจัดงานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะมาใช้ในการฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและลดภาระการพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะประธานจัดงาน กล่าว

ศ.ดร.ไพรัช อธิบายว่า เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตเทคโนโลยีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้จะมีความสำคัญและความต้องการมากขึ้นทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก จึงได้ร่วมมือกับ Singapore Therapeutic, Assistive & Rehabilitative Technologies (START) Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (international Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe) เป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว

ทั้งนี้ การจัดงานประการสำคัญคือ เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในเวทีประเทศไทย จากนั้นส่งต่อไปในเวทีระดับนานาชาติการสร้างความเข้มแข็งของนักวิจัยและนิสิตนักศึกษา ด้วยการจัดเวทีประชุมวิชาการนี้เป็นการทำให้ การวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายให้บุคคลและองค์กรได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบทเรียนและประสบการณ์ร่วมกัน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการและผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ ยังมีการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาในระดับนานาชาติ (Student Innovation Challenge World 2016 : SIC World 2016) เพื่อส่งเสริมนิสิต นักศึกษาให้มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ฯ และแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Design Category) และประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category) และการเยี่ยมชมหน่วยงาน (Site Visit) การเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกชมผลงานนักศึกษาภายในงาน เพื่อนำไปสู่การลงทุนทางการค้าต่อไป ซึ่งถือเป็นอินโนเวชั่น สตาร์ทอัพ ของเด็กไทยก็ว่าได้

ศ.ดร.ไพรัช กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีผลงานนักศึกษาที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพานิชได้จริง อาทิ Yoke Yake (Toy for children with multiple disabilities) เครื่องเล่นสำหรับฝึกฝนทักษะการทรงตัว ผลงานของ ชวิศา พงษ์อำไพ, นีรัมพร ศิริทรงกล, ฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยทักษะนี้จะทำให้เด็ก และผู้พิการเกิดการเรียนรู้ทิศทาง รวมถึงเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อขา และมีการทรงตัวดีขึ้น ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ นักศึกษาทั้ง 4 คน ตั้งใจว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการแจ้งความประสงค์และผลิตได้ตามความต้องการและงบประมาณโดยไม่หวังผลกำไร แต่ต้องการให้ผู้พิการได้รับการเรียนรู้

รวมทั้ง วิชั่นเนียร์ ผลงาน นันทิพัฒน์ นาคทอง นักศึกษาปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และณัฐภัทร เลาหระวี, บุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์, เกวลี เลี่ยมโลหะ เป็นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น ประกอบด้วย แว่นตาติดกล้องสำหรับถ่ายภาพจากด้านหน้าของผู้ใช้ และกล่องประมวลผล ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพและอธิบายในรูปแบบของเสียงพูดให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ นัันทิพัฒน์ บอกว่า อยู่ระหว่างการพัฒนา และต้องการผลิตจำหน่ายในราคาเครืี่องละ 4,000-5,000 บาท

งานนี้จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 25–27 กรกฎาคม 2559 ซึ่งจะจัดพร้อมกับงานแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ (InterCare Asia 2016) และงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาในระดับนานาชาติ และทรงร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ในวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2559

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20160527/228419.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 31/05/2559 เวลา 11:05:05 ดูภาพสไลด์โชว์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีคนพิการ-สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) “ปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า i-CREATe 2016 ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รับผิดชอบจัดงานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะมาใช้ในการฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและลดภาระการพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะประธานจัดงาน กล่าว ศ.ดร.ไพรัช อธิบายว่า เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตเทคโนโลยีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้จะมีความสำคัญและความต้องการมากขึ้นทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก จึงได้ร่วมมือกับ Singapore Therapeutic, Assistive & Rehabilitative Technologies (START) Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (international Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe) เป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทั้งนี้ การจัดงานประการสำคัญคือ เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในเวทีประเทศไทย จากนั้นส่งต่อไปในเวทีระดับนานาชาติการสร้างความเข้มแข็งของนักวิจัยและนิสิตนักศึกษา ด้วยการจัดเวทีประชุมวิชาการนี้เป็นการทำให้ การวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายให้บุคคลและองค์กรได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบทเรียนและประสบการณ์ร่วมกัน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังมีการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาในระดับนานาชาติ (Student Innovation Challenge World 2016 : SIC World 2016) เพื่อส่งเสริมนิสิต นักศึกษาให้มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ฯ และแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Design Category) และประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category) และการเยี่ยมชมหน่วยงาน (Site Visit) การเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกชมผลงานนักศึกษาภายในงาน เพื่อนำไปสู่การลงทุนทางการค้าต่อไป ซึ่งถือเป็นอินโนเวชั่น สตาร์ทอัพ ของเด็กไทยก็ว่าได้ ศ.ดร.ไพรัช กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีผลงานนักศึกษาที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพานิชได้จริง อาทิ Yoke Yake (Toy for children with multiple disabilities) เครื่องเล่นสำหรับฝึกฝนทักษะการทรงตัว ผลงานของ ชวิศา พงษ์อำไพ, นีรัมพร ศิริทรงกล, ฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยทักษะนี้จะทำให้เด็ก และผู้พิการเกิดการเรียนรู้ทิศทาง รวมถึงเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อขา และมีการทรงตัวดีขึ้น ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ นักศึกษาทั้ง 4 คน ตั้งใจว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการแจ้งความประสงค์และผลิตได้ตามความต้องการและงบประมาณโดยไม่หวังผลกำไร แต่ต้องการให้ผู้พิการได้รับการเรียนรู้ รวมทั้ง วิชั่นเนียร์ ผลงาน นันทิพัฒน์ นาคทอง นักศึกษาปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และณัฐภัทร เลาหระวี, บุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์, เกวลี เลี่ยมโลหะ เป็นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น ประกอบด้วย แว่นตาติดกล้องสำหรับถ่ายภาพจากด้านหน้าของผู้ใช้ และกล่องประมวลผล ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพและอธิบายในรูปแบบของเสียงพูดให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ นัันทิพัฒน์ บอกว่า อยู่ระหว่างการพัฒนา และต้องการผลิตจำหน่ายในราคาเครืี่องละ 4,000-5,000 บาท งานนี้จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 25–27 กรกฎาคม 2559 ซึ่งจะจัดพร้อมกับงานแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ (InterCare Asia 2016) และงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาในระดับนานาชาติ และทรงร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ในวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2559 ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20160527/228419.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...