ปลุกกำลังใจรั้วของชาติแม้พิการลุกขึ้นสู้ด้วย ‘กีฬา’

แสดงความคิดเห็น

สายธนูเขม็งตึงถูกปล่อยออกจากมือ ส.อ.ณัฐปกรณ์ พรหมหล้า แม้ลูกธนูไม่เข้าเป้าแต้มสูงสุด แต่การได้ลุกขึ้นจากเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็ทำให้สดชื่นขึ้นหลังผ่าตัดขาขวาที่สูญเสียจากการปฏิบัติหน้าที่บริเวณแนว ป่าทางขึ้นเขาพระวิหารเมื่อ 8 เดือนก่อน

อีกแค่ 2 เดือน...เจ้าสาวคนหนึ่งลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ ตระเตรียมงานแต่ง และชีวิตใหม่ที่อุบลราชธานี เจ้าบ่าวซึ่งเป็นรั้วของชาติเหลือภารกิจอีกเดือนเดียวริมชายแดนเขาพระวิหาร เพราะก่อนหน้านั้นประจำการ 3 จังหวัดชายแดนใต้มาแล้ว 2 ปี ทุกอย่างใกล้เรียบร้อยเหลือแค่เวลาแห่งความสุขรออยู่เบื้องหน้า แต่ระเบิดตูมลูกนั้นที่เชิงเขาพระวิหารทำให้พิธีมงคลของทั้งคู่หยุดชะงักลง จนกว่า ส.อ.ณัฐปกรณ์ ผู้เป็นเจ้าบ่าวจะรักษาตัวจนหายเป็นปกติ

“ทีแรกคิดว่าพอเราขาขาดแล้วแฟนจะไม่เหมือนเดิม ก็คอยสังเกตดูเวลามาเยี่ยม ซึ่งเขาไม่มีทีท่าตีจากไปอย่างที่เราคิด กลับกันเขาดูแลเราเป็นอย่างดีด้วยซ้ำ” นอกจากความรักที่พยุง ส.อ.ณัฐปกรณ์ ให้ลุกขึ้นได้แล้ว ความรักในฐานะ “ทหารอาชีพ” ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพราะวันที่ถูกระเบิด ตัวเองเป็นผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก พาลูกน้องอีก 8 คน ลาดตระเวน ตอนขาขึ้นไปบนเขาพระวิหารไม่มีอะไร แต่ตอนขากลับลูกน้องทักท้วงให้กลับทางดินแดงที่รถวิ่งผ่านได้ แต่หัวหน้าชุดตัดสินใจกลับทางเดิมเพราะหากผู้บังคับบัญชามาเห็นอาจไม่เหมาะ สม เมื่อเหลืออีก 800 เมตรถึงฐาน เขาหันกลับมาบอกลูกน้องด้านหลังให้เดินระวัง พยายามเดินบนหินอย่าเดินบนดิน เพราะพื้นหินยากต่อการขุดฝังระเบิด พอหันกลับไปเดินได้ 2–3 ก้าว แรงระเบิดก็สาดดินบนพื้นเข้าหน้า และลำตัวกระเด็นจากจุดเกิดเหตุหลายเมตร ครั้นตั้งสติได้ยกขาขึ้นดูรู้แล้วว่ายังไงต้องตัดออกแน่ เพราะก่อนหน้านั้นรู้แล้วว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เสี่ยงสักวันเหตุร้ายอาจ ต้องเกิดขึ้นกับเรา

“ตัดขาเราไม่เสียใจ แต่จะเสียใจกว่านี้ถ้าลูกน้องที่มาด้วยกันเป็นอะไรไป ด้วยความที่เราเป็นหัวหน้าชุดพาลูกน้องออกลาดตระเวน ต้องคิดว่าจะดูแลชีวิตเขาอย่างไร เราพาเขามาเสี่ยงต้องดูแลกัน” การก้าวผ่านความเจ็บปวดของร่างกายช่วงแรกถือเป็นด่านหิน เพราะต้องเข้าห้องผ่าตัด 2–3 วันครั้งหนึ่ง ร่างกายโทรม เวลาล้างแผลเจ็บจนต้องกัดผ้าช่วย แต่ผ่านช่วงนั้นมาได้ถือว่าสุด ๆ ช่วงแรกคุมสภาพจิตใจตัวเองไม่ค่อยได้ก็หงุดหงิดใส่แฟน และคนอื่น ๆ ด้วยทำอะไรไม่ได้คล่องเหมือนแต่ก่อน พอควบคุมอารมณ์ได้ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น

8 เดือนที่สูญเสียขาเราเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ไม่ให้จมปรักอยู่กับคำว่า “เสียดายขา” อย่างน้อยเมื่อแผลหายใส่ขาเทียมได้สามารถช่วยประเทศชาติในแนวทางอื่นได้ ข้อดีของการเป็นทหารคือ สอนให้รู้จักผิดหวัง เช่นมีประกาศว่าพรุ่งนี้จะปล่อยกลับบ้าน แต่พอถึงเวลาจริงกลับไม่ให้กลับ อาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คนภายนอกมองว่าเป็นงานที่เหนื่อยและลำบาก

ส.อ.ณัฐปกรณ์ เล่าระหว่างรอให้แผลหายดีได้เข้าร่วมโครงการ “นำกำลังใจจากนักกีฬาคนพิการสู่ทหารพิการ” พร้อมด้วยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในฐานะนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ของมูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โดยคุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานมูลนิธิฯ ได้นำทหารที่ได้รับบาดเจ็บ 20 นาย มาเรียนรู้การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ จากนักกีฬาผู้พิการทีมชาติไทย หลังจากเข้าร่วมได้สนใจกีฬายิงธนูและยิงปืน หลังจากแผลหายอาจเข้ามาฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักกีฬาต่อไป

พลังแห่งกีฬาสำหรับ สายสุนีย์จ๊ะนะ นักกีฬาวีลแชร์ฟันดาบทีมชาติไทย เป็นส่วนหนึ่งทำให้เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 21 ปีที่แล้ว จนต้องอัมพาตครึ่งท่อนล่าง เดือนแรกอยู่โรงพยาบาลทำอะไรเองไม่ได้เลย แม้แต่ลุกนั่งก็ทำไม่ได้ ตอนนั้นโทษฟ้า โทษกรรมมั่วไปหมด ว่าทำไมไม่ให้เราตายไปเลยเพราะฐานะทางบ้านยากจนอยู่แล้ว

“ตอนนั้นทุกข์มากจนคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นไปทำกายภาพบำบัดพอดีแม่ออกไปซื้อของข้างนอก เลยคิดกระโดดหน้าต่างลงมาฆ่าตัวตาย พยายามสุดชีวิตแต่ร่างกายขยับไม่ได้ เราก็หันมาโทษตัวเองว่าปัญญาจะฆ่าตัวตายยังไม่มีเลย แล้วจะมีปัญญาช่วยเหลือตัวเองได้ยังไง พอแม่กลับมาเห็นก็ตีแล้วร้องไห้ว่าทำไมเลี้ยงมาตั้งหลายปีจะมาฆ่าตัว ตายอย่างนี้ เราร้องไห้และเปลี่ยนมุมมองความคิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้”

หลังช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วออกจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้านยิ่งแย่กว่าเก่า เพราะที่บ้านยากจนสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี ไหนคนละแวกบ้านที่เข้ามาเยี่ยมก็ปลอบว่า “เป็นเวรเป็นกรรมของมึงจริง ๆ ทนเอาหน่อยเดี๋ยวกรรมก็หมดไป” พอชาวบ้านมาพูดอย่างนี้บ่อย ๆ ยิ่งรู้สึกอยากหนีจากโลกภายนอก หันมาเก็บตัวอยู่ในห้องมืด ๆ คนเดียว เพื่อนชวนไปไหนไม่ไป อยู่อย่างนั้นจนผ่านไป 2 ปี พ่อกับแม่เลิกกัน เหตุผลมาจากหนี้สิน และเราก็หาเงินไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จึงตัดสินใจพาตัวเองไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ที่เชียงใหม่

พอไปถึงที่นั่นเราตกใจ เพราะเห็นคนพิการมากมายอาศัยอยู่จนเปลี่ยนแนว คิดว่าเราไม่ใช่คนพิการคนเดียวในโลก ที่สำคัญได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเมื่อมีเฟสปิกเกมส์ปี ค.ศ. 1999 มีการจัดอบรมกีฬาฟันดาบเนื่องจากเป็นกีฬาใหม่ยังไม่มีตัวนักกีฬา หลังจากนั้นมีหนังสือแจ้งว่าเราติดทีมชาติทั้งบาสเกตบอลและฟันดาบแต่เลือกฟันดาบ หลังจากนั้นเข้ามาเก็บตัวที่กรุงเทพฯ พยายามฝึกซ้อมเวลาโค้ชสั่งให้ทำอะไรต้องทำเป็นสองเท่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์และเป็นครั้งแรก หลังจากไปแข่งได้ 2 เหรียญทอง พอกลับบ้านทุกอย่างเปลี่ยนไปอีกแบบ จากชาวบ้านที่ว่าเป็นเวรเป็นกรรมก็บอกว่า “ เป็นบุญของมึงจริง ๆ” ครั้งนั้นเป็นหนแรกที่เห็นคนในครอบครัวยิ้มได้เต็มแก้มกว่าเมื่อก่อน

“สำหรับคนที่ท้อแท้อยู่อยากให้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นโอกาส คนทุกคนมีความท้อแท้เหมือนกัน แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองว่าทำได้ปัญหาบางปัญหาที่แก้ยากก็แก้ได้ ถ้าแพ้ก็เอาใหม่ ถ้าทำไม่ได้เราถือว่าเสมอตัว”

คนพิการที่อยากเล่นกีฬาเพื่อเอาชนะตัวเอง สิ่งสำคัญนอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว การได้เจอเพื่อนใหม่หรือการมีสังคมของนักกีฬาคนพิการก็จะช่วยได้ แม้บางครั้งเมื่อคนพิการออกไปใช้ชีวิตในสังคมคนปกติจะรู้สึกสะกิดใจในความ ไม่สมประกอบของตัวเองบ้าง แต่เดี๋ยวนี้การอำนวยความสะดวกดีขึ้น ผิดจากแต่ก่อนที่คนพิการโบกแท็กซี่ก็ไม่ยอมรับเพราะคนขับต้องลงมาช่วยเหลือ

“หากคนพิการที่อยากเล่นกีฬาสามารถติดต่อกับศาลากลางจังหวัดใกล้บ้านเพื่อรับ การแนะนำจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดูความเหมาะสมของประเภทกีฬา และพัฒนาศักยภาพต่อไป” สายสุนีย์ ทิ้งท้าย “ความพิการแม้เป็นอุปสรรคทางร่างกาย แต่หากหัวใจยังสู้สามารถก้าวข้ามความเจ็บป่วยไปได้ไม่มากก็น้อย”.

ข้อควรระวังการเล่นกีฬาคนพิการ - อส.ทพ.ประหยัด มุคคาอ่อน ผู้ฝึกสอนกีฬายิงธนูคนพิการ บอกเล่าว่า สิ่งที่ต้องระวังในการซ้อมของนักกีฬาคนพิการอยู่ที่เวลานั่งซ้อมนานอาจมีแผลกดทับ เป็นผลร้ายต่อตัวนักกีฬาเอง ดังนั้นผู้ฝึกสอนต้องกำหนดเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงให้นักกีฬาเปลี่ยนอิริยาบถ สิ่งสำคัญคือการให้กำลังใจกันและกันเพราะบางครั้งนักกีฬามุ่งมั่นจนล้มป่วย หากมีการฝึกที่ดีขึ้นจิตใจของนักกีฬาจะนิ่งกว่าเดิม ไม่หงุดหงิดง่าย ซึ่งใครสนใจสามารถโทรฯ เข้ามาในสมาคมกีฬาผู้พิการเพื่อรับการแนะนำได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2216-7728, 0-2219-2429

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212344

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 17/06/2556 เวลา 03:27:07 ดูภาพสไลด์โชว์ ปลุกกำลังใจรั้วของชาติแม้พิการลุกขึ้นสู้ด้วย ‘กีฬา’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

(ขบวนทัพนักกีฬาคนพิการ) (การแข่งขันกีฬายิงธนูคนพิการ) (สายสุนีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาฟันดาบคนพิการ) สายธนูเขม็งตึงถูกปล่อยออกจากมือ ส.อ.ณัฐปกรณ์ พรหมหล้า แม้ลูกธนูไม่เข้าเป้าแต้มสูงสุด แต่การได้ลุกขึ้นจากเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็ทำให้สดชื่นขึ้นหลังผ่าตัดขาขวาที่สูญเสียจากการปฏิบัติหน้าที่บริเวณแนว ป่าทางขึ้นเขาพระวิหารเมื่อ 8 เดือนก่อน อีกแค่ 2 เดือน...เจ้าสาวคนหนึ่งลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ ตระเตรียมงานแต่ง และชีวิตใหม่ที่อุบลราชธานี เจ้าบ่าวซึ่งเป็นรั้วของชาติเหลือภารกิจอีกเดือนเดียวริมชายแดนเขาพระวิหาร เพราะก่อนหน้านั้นประจำการ 3 จังหวัดชายแดนใต้มาแล้ว 2 ปี ทุกอย่างใกล้เรียบร้อยเหลือแค่เวลาแห่งความสุขรออยู่เบื้องหน้า แต่ระเบิดตูมลูกนั้นที่เชิงเขาพระวิหารทำให้พิธีมงคลของทั้งคู่หยุดชะงักลง จนกว่า ส.อ.ณัฐปกรณ์ ผู้เป็นเจ้าบ่าวจะรักษาตัวจนหายเป็นปกติ “ทีแรกคิดว่าพอเราขาขาดแล้วแฟนจะไม่เหมือนเดิม ก็คอยสังเกตดูเวลามาเยี่ยม ซึ่งเขาไม่มีทีท่าตีจากไปอย่างที่เราคิด กลับกันเขาดูแลเราเป็นอย่างดีด้วยซ้ำ” นอกจากความรักที่พยุง ส.อ.ณัฐปกรณ์ ให้ลุกขึ้นได้แล้ว ความรักในฐานะ “ทหารอาชีพ” ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพราะวันที่ถูกระเบิด ตัวเองเป็นผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก พาลูกน้องอีก 8 คน ลาดตระเวน ตอนขาขึ้นไปบนเขาพระวิหารไม่มีอะไร แต่ตอนขากลับลูกน้องทักท้วงให้กลับทางดินแดงที่รถวิ่งผ่านได้ แต่หัวหน้าชุดตัดสินใจกลับทางเดิมเพราะหากผู้บังคับบัญชามาเห็นอาจไม่เหมาะ สม เมื่อเหลืออีก 800 เมตรถึงฐาน เขาหันกลับมาบอกลูกน้องด้านหลังให้เดินระวัง พยายามเดินบนหินอย่าเดินบนดิน เพราะพื้นหินยากต่อการขุดฝังระเบิด พอหันกลับไปเดินได้ 2–3 ก้าว แรงระเบิดก็สาดดินบนพื้นเข้าหน้า และลำตัวกระเด็นจากจุดเกิดเหตุหลายเมตร ครั้นตั้งสติได้ยกขาขึ้นดูรู้แล้วว่ายังไงต้องตัดออกแน่ เพราะก่อนหน้านั้นรู้แล้วว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เสี่ยงสักวันเหตุร้ายอาจ ต้องเกิดขึ้นกับเรา “ตัดขาเราไม่เสียใจ แต่จะเสียใจกว่านี้ถ้าลูกน้องที่มาด้วยกันเป็นอะไรไป ด้วยความที่เราเป็นหัวหน้าชุดพาลูกน้องออกลาดตระเวน ต้องคิดว่าจะดูแลชีวิตเขาอย่างไร เราพาเขามาเสี่ยงต้องดูแลกัน” การก้าวผ่านความเจ็บปวดของร่างกายช่วงแรกถือเป็นด่านหิน เพราะต้องเข้าห้องผ่าตัด 2–3 วันครั้งหนึ่ง ร่างกายโทรม เวลาล้างแผลเจ็บจนต้องกัดผ้าช่วย แต่ผ่านช่วงนั้นมาได้ถือว่าสุด ๆ ช่วงแรกคุมสภาพจิตใจตัวเองไม่ค่อยได้ก็หงุดหงิดใส่แฟน และคนอื่น ๆ ด้วยทำอะไรไม่ได้คล่องเหมือนแต่ก่อน พอควบคุมอารมณ์ได้ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น 8 เดือนที่สูญเสียขาเราเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ไม่ให้จมปรักอยู่กับคำว่า “เสียดายขา” อย่างน้อยเมื่อแผลหายใส่ขาเทียมได้สามารถช่วยประเทศชาติในแนวทางอื่นได้ ข้อดีของการเป็นทหารคือ สอนให้รู้จักผิดหวัง เช่นมีประกาศว่าพรุ่งนี้จะปล่อยกลับบ้าน แต่พอถึงเวลาจริงกลับไม่ให้กลับ อาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คนภายนอกมองว่าเป็นงานที่เหนื่อยและลำบาก ส.อ.ณัฐปกรณ์ เล่าระหว่างรอให้แผลหายดีได้เข้าร่วมโครงการ “นำกำลังใจจากนักกีฬาคนพิการสู่ทหารพิการ” พร้อมด้วยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในฐานะนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ของมูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โดยคุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานมูลนิธิฯ ได้นำทหารที่ได้รับบาดเจ็บ 20 นาย มาเรียนรู้การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ จากนักกีฬาผู้พิการทีมชาติไทย หลังจากเข้าร่วมได้สนใจกีฬายิงธนูและยิงปืน หลังจากแผลหายอาจเข้ามาฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักกีฬาต่อไป พลังแห่งกีฬาสำหรับ สายสุนีย์จ๊ะนะ นักกีฬาวีลแชร์ฟันดาบทีมชาติไทย เป็นส่วนหนึ่งทำให้เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 21 ปีที่แล้ว จนต้องอัมพาตครึ่งท่อนล่าง เดือนแรกอยู่โรงพยาบาลทำอะไรเองไม่ได้เลย แม้แต่ลุกนั่งก็ทำไม่ได้ ตอนนั้นโทษฟ้า โทษกรรมมั่วไปหมด ว่าทำไมไม่ให้เราตายไปเลยเพราะฐานะทางบ้านยากจนอยู่แล้ว “ตอนนั้นทุกข์มากจนคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นไปทำกายภาพบำบัดพอดีแม่ออกไปซื้อของข้างนอก เลยคิดกระโดดหน้าต่างลงมาฆ่าตัวตาย พยายามสุดชีวิตแต่ร่างกายขยับไม่ได้ เราก็หันมาโทษตัวเองว่าปัญญาจะฆ่าตัวตายยังไม่มีเลย แล้วจะมีปัญญาช่วยเหลือตัวเองได้ยังไง พอแม่กลับมาเห็นก็ตีแล้วร้องไห้ว่าทำไมเลี้ยงมาตั้งหลายปีจะมาฆ่าตัว ตายอย่างนี้ เราร้องไห้และเปลี่ยนมุมมองความคิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้” หลังช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วออกจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้านยิ่งแย่กว่าเก่า เพราะที่บ้านยากจนสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี ไหนคนละแวกบ้านที่เข้ามาเยี่ยมก็ปลอบว่า “เป็นเวรเป็นกรรมของมึงจริง ๆ ทนเอาหน่อยเดี๋ยวกรรมก็หมดไป” พอชาวบ้านมาพูดอย่างนี้บ่อย ๆ ยิ่งรู้สึกอยากหนีจากโลกภายนอก หันมาเก็บตัวอยู่ในห้องมืด ๆ คนเดียว เพื่อนชวนไปไหนไม่ไป อยู่อย่างนั้นจนผ่านไป 2 ปี พ่อกับแม่เลิกกัน เหตุผลมาจากหนี้สิน และเราก็หาเงินไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จึงตัดสินใจพาตัวเองไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ที่เชียงใหม่ พอไปถึงที่นั่นเราตกใจ เพราะเห็นคนพิการมากมายอาศัยอยู่จนเปลี่ยนแนว คิดว่าเราไม่ใช่คนพิการคนเดียวในโลก ที่สำคัญได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเมื่อมีเฟสปิกเกมส์ปี ค.ศ. 1999 มีการจัดอบรมกีฬาฟันดาบเนื่องจากเป็นกีฬาใหม่ยังไม่มีตัวนักกีฬา หลังจากนั้นมีหนังสือแจ้งว่าเราติดทีมชาติทั้งบาสเกตบอลและฟันดาบแต่เลือกฟันดาบ หลังจากนั้นเข้ามาเก็บตัวที่กรุงเทพฯ พยายามฝึกซ้อมเวลาโค้ชสั่งให้ทำอะไรต้องทำเป็นสองเท่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์และเป็นครั้งแรก หลังจากไปแข่งได้ 2 เหรียญทอง พอกลับบ้านทุกอย่างเปลี่ยนไปอีกแบบ จากชาวบ้านที่ว่าเป็นเวรเป็นกรรมก็บอกว่า “ เป็นบุญของมึงจริง ๆ” ครั้งนั้นเป็นหนแรกที่เห็นคนในครอบครัวยิ้มได้เต็มแก้มกว่าเมื่อก่อน “สำหรับคนที่ท้อแท้อยู่อยากให้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นโอกาส คนทุกคนมีความท้อแท้เหมือนกัน แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองว่าทำได้ปัญหาบางปัญหาที่แก้ยากก็แก้ได้ ถ้าแพ้ก็เอาใหม่ ถ้าทำไม่ได้เราถือว่าเสมอตัว” คนพิการที่อยากเล่นกีฬาเพื่อเอาชนะตัวเอง สิ่งสำคัญนอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว การได้เจอเพื่อนใหม่หรือการมีสังคมของนักกีฬาคนพิการก็จะช่วยได้ แม้บางครั้งเมื่อคนพิการออกไปใช้ชีวิตในสังคมคนปกติจะรู้สึกสะกิดใจในความ ไม่สมประกอบของตัวเองบ้าง แต่เดี๋ยวนี้การอำนวยความสะดวกดีขึ้น ผิดจากแต่ก่อนที่คนพิการโบกแท็กซี่ก็ไม่ยอมรับเพราะคนขับต้องลงมาช่วยเหลือ “หากคนพิการที่อยากเล่นกีฬาสามารถติดต่อกับศาลากลางจังหวัดใกล้บ้านเพื่อรับ การแนะนำจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดูความเหมาะสมของประเภทกีฬา และพัฒนาศักยภาพต่อไป” สายสุนีย์ ทิ้งท้าย “ความพิการแม้เป็นอุปสรรคทางร่างกาย แต่หากหัวใจยังสู้สามารถก้าวข้ามความเจ็บป่วยไปได้ไม่มากก็น้อย”. ข้อควรระวังการเล่นกีฬาคนพิการ - อส.ทพ.ประหยัด มุคคาอ่อน ผู้ฝึกสอนกีฬายิงธนูคนพิการ บอกเล่าว่า สิ่งที่ต้องระวังในการซ้อมของนักกีฬาคนพิการอยู่ที่เวลานั่งซ้อมนานอาจมีแผลกดทับ เป็นผลร้ายต่อตัวนักกีฬาเอง ดังนั้นผู้ฝึกสอนต้องกำหนดเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงให้นักกีฬาเปลี่ยนอิริยาบถ สิ่งสำคัญคือการให้กำลังใจกันและกันเพราะบางครั้งนักกีฬามุ่งมั่นจนล้มป่วย หากมีการฝึกที่ดีขึ้นจิตใจของนักกีฬาจะนิ่งกว่าเดิม ไม่หงุดหงิดง่าย ซึ่งใครสนใจสามารถโทรฯ เข้ามาในสมาคมกีฬาผู้พิการเพื่อรับการแนะนำได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2216-7728, 0-2219-2429 ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212344

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...