เปิดมาตรการ‘ภาษี-รายได้’ รองรับ‘สังคมผู้สูงอายุ’

แสดงความคิดเห็น

ผู้สูงอายุ

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 2 พ.ค.60 มีการรายงานผลสรุปของคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งหลายหน่วยงานมีมาตรการต่างๆ เพื่อมารองรับและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการด้านการคลัง เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่เกี่ยวพันโดยตรงกับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีและรายได้ในการดำรงชีพ ในขณะที่หน่วยงานอื่นเป็นมาตรการระดับนโยบายและการจัดเตรียมอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน

มาตรการทางการคลัง สรุปได้ ดังนี้ ด้านสาธารณสุข มาตรการภาษี ได้แก่ 1.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันสุขภาพบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดา มารดาของสามี หรือภรรยาของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

2.ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเงินไป สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1 แสนบาทในปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตรา 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท

ด้านหลักประกันรายได้ มาตรการภาษี ได้แก่ 1.ยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ของสมาชิกที่ได้รับจาก กอช. เนื่องจากทุพพลภาพ หรือสิ้นสมาชิกภาพ หรือตาย

2.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสม เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงิน หรือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากตาย ทุพพลภาพ หรือ ลาออกจากงาน

3.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในก่องทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 5 แสนบาท โดยต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และไถ่ถอนเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

4.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยนช์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เพราะเหตุสูงวัย ทุพพลภาพ หรือตาย มาตรการรองรับสังคมสูงอายุ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ดังนี้

1.มาตรการบูรณการระบบบำเหน็จบำนาญ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติและกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และอนุมัติร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ.... และร่างพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ... โดยร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ขณะนี้ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

2.การจ้างงานผู้สูงอายุ เห็นชอบให้นายจ้างนำรายจ่ายประเภทเงินเดือนและค่าจ้างสำหรับการจ้างสำหรับการจ้างบุคลากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า สำหรับกรณีอัตราค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน ทั้งนี้ นายจ้างสามารถขอใช้สิทธิได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด โดยร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย

3. สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐนำร่องพิจารณาดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อดังกล่าว เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำที่อยู่อาศัยที่ตนมีกรรมสิทธิ์และปลอดภาระหนี้ มาเปลี่ยนเป็นรายได้ในการดำรงชีพเป็นรายเดือน

ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุ เกี่ยวกับการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ดังนี้

มอบมาย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ดำเนินโครงการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 5 แห่ง ในจ.ชลบุรี นครนายก เชียงราย และเชียงใหม่ โดยกำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกันกับโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ ยกเว้น พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูงให้กำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ผู้เช่าจะได้รับสิทธิในการเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยทางราชการอาจต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีกเป็นระยะเวลา 30 ปี

มอบหมายการเคหะแห่งชาติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินการจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยให้นำหลักการของโครงการบ้านมั่นคงและบ้านประชารัฐมาใช้กับการดำเนินการดังกล่าว เห็นชอบให้ยกเว้นการนำกฎหมายผังเมืองมาบังคับใช้กับที่ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์ให้ความเห็นชอบดำเนินโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex)

ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคาอาคารสงเคาะห์ สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Pre-finance) ในวงเงินรวมไม่เกิน 4,000 ล้านบาท และเห็นควรให้มีการจัดสรรวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Post-finance) เพื่อรองรับการดำเนินโครงการในระยะต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้บุตรที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดาที่สูงอายุ ได้รับสิทธิในการจองโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงสิทธิในการสนับสนุนสินเชื่อภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวเป็นลำดับแรก

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/economic/274853

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 03 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 8/05/2560 เวลา 09:42:56 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดมาตรการ‘ภาษี-รายได้’ รองรับ‘สังคมผู้สูงอายุ’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้สูงอายุ การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 2 พ.ค.60 มีการรายงานผลสรุปของคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งหลายหน่วยงานมีมาตรการต่างๆ เพื่อมารองรับและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการด้านการคลัง เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่เกี่ยวพันโดยตรงกับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีและรายได้ในการดำรงชีพ ในขณะที่หน่วยงานอื่นเป็นมาตรการระดับนโยบายและการจัดเตรียมอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน มาตรการทางการคลัง สรุปได้ ดังนี้ ด้านสาธารณสุข มาตรการภาษี ได้แก่ 1.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันสุขภาพบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดา มารดาของสามี หรือภรรยาของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท 2.ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเงินไป สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1 แสนบาทในปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตรา 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท ด้านหลักประกันรายได้ มาตรการภาษี ได้แก่ 1.ยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ของสมาชิกที่ได้รับจาก กอช. เนื่องจากทุพพลภาพ หรือสิ้นสมาชิกภาพ หรือตาย 2.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสม เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงิน หรือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากตาย ทุพพลภาพ หรือ ลาออกจากงาน 3.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในก่องทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 5 แสนบาท โดยต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และไถ่ถอนเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 4.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนไม่เกิน 5 แสนบาท และยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา สำหรับเงินหรือผลประโยนช์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เพราะเหตุสูงวัย ทุพพลภาพ หรือตาย มาตรการรองรับสังคมสูงอายุ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ดังนี้ 1.มาตรการบูรณการระบบบำเหน็จบำนาญ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติและกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และอนุมัติร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ.... และร่างพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ... โดยร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ขณะนี้ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว 2.การจ้างงานผู้สูงอายุ เห็นชอบให้นายจ้างนำรายจ่ายประเภทเงินเดือนและค่าจ้างสำหรับการจ้างสำหรับการจ้างบุคลากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า สำหรับกรณีอัตราค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน ทั้งนี้ นายจ้างสามารถขอใช้สิทธิได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด โดยร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย 3. สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐนำร่องพิจารณาดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อดังกล่าว เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำที่อยู่อาศัยที่ตนมีกรรมสิทธิ์และปลอดภาระหนี้ มาเปลี่ยนเป็นรายได้ในการดำรงชีพเป็นรายเดือน ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุ เกี่ยวกับการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ดังนี้ มอบมาย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ดำเนินโครงการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 5 แห่ง ในจ.ชลบุรี นครนายก เชียงราย และเชียงใหม่ โดยกำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกันกับโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ ยกเว้น พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูงให้กำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ผู้เช่าจะได้รับสิทธิในการเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยทางราชการอาจต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีกเป็นระยะเวลา 30 ปี มอบหมายการเคหะแห่งชาติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินการจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยให้นำหลักการของโครงการบ้านมั่นคงและบ้านประชารัฐมาใช้กับการดำเนินการดังกล่าว เห็นชอบให้ยกเว้นการนำกฎหมายผังเมืองมาบังคับใช้กับที่ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์ให้ความเห็นชอบดำเนินโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคาอาคารสงเคาะห์ สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Pre-finance) ในวงเงินรวมไม่เกิน 4,000 ล้านบาท และเห็นควรให้มีการจัดสรรวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Post-finance) เพื่อรองรับการดำเนินโครงการในระยะต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้บุตรที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดาที่สูงอายุ ได้รับสิทธิในการจองโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงสิทธิในการสนับสนุนสินเชื่อภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวเป็นลำดับแรก ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/economic/274853

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...