เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ

แสดงความคิดเห็น

เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ

"สิงที่เราทำมากว่า 15-16 ปี เหมือนกับเราไปหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านทิ้งไว้ แล้วมันก็เติบโตงอกงาม เมล็ดไหนที่ลีบฝ่อ เราจะไม่เสียเวลา เราเป็นคนบอกตัวเองเสมอว่าเรามีเวลาล้มเหลว แต่จะต้องรีบลุกขึ้นมา เพราะฉะนั้น ใครที่ทำจริง แล้วงอกงามก็ทำกันต่อ แต่คนไหนที่ลีบฝ่อไป เราจะไม่ไปเสียเวลากับการฟื้นตัว เพราะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และเสียกำลังคน เพราะเรายังมีเด็ก ๆ อีกมากมายที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขารู้หนังสือ"

คำกล่าวเบื้องต้นเป็นคำพูดที่บอกความจริงใจอย่างชัดเจนของ "เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป" กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ทั้งนั้นเพราะตลอดเวลาผ่านมานับตั้งแต่ปี 2544-2560 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักรู้ต่อเรื่องการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน

ทั้งยังจัดหาหนังสือดีสำหรับเด็กและครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในเมืองและถิ่นทุรกันดารรวมถึงสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ครอบคลุมประชากรกว่า 13 ล้านคน โดยแยกเป็นเด็กและเยาวชน 5,668,379 คน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู พี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก คนทำงานด้านการพัฒนาเด็กสื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไปรวม7,775,308คน

เพราะ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หนังสือคืออาหารสมอง หนังสือคืออาหารใจ และหนังสือคืออาหารธรรม ที่สำคัญ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หากทุกคนช่วยกันทำให้เด็กรักการอ่าน สังคมไทยจะได้เด็กพันธุ์ใหม่ที่พร้อมจะเติบโตเป็นเยาวชนพันธุ์ใหม่ที่มีตัวตนชัด มีอนาคตชัดรักตนเอง รักสังคม และพร้อมที่จะสร้างอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า

ตามพันธกิจที่วางไว้คือ "นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ" โดยมีกลุ่มพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการส่งมอบหนังสือและปัจจัยในการสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัท สตาร์บัคส์คอฟฟี่(ประเทศไทย)จำกัด

ในประเด็นนี้ "สุมนพินทุ์ โชติกะพุกกณะ" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ในการสนับสนุนมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า ในเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเราทำอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ การสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนชาวไร่กาแฟ,สิ่งแวดล้อมและชุมชน

"โดยในส่วนของการช่วยเหลือชุมชน เรามองเห็นตรงกันกับมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า เรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการอ่าน เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนเพราะเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะบ่มความรู้เพื่อสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งต่อไป"

"เราคุยกับพี่ปอง(เรืองศักดิ์) ว่า สตาร์บัคส์ขอเป็นจุดเริ่มต้นในการรับบริจาคหนังสือดีไหม ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น (ราว 12 ปีผ่านมา) สตาร์บัคส์มีอยู่เพียง 20-30 สาขาเท่านั้นเอง แต่เราเชื่อว่าลูกค้าของเรา พนักงานของเราน่าจะอยากมีส่วนร่วมตรงนี้ จึงตัดสินใจทำกล่องรับบริจาคหนังสือขึ้นมา ตอนแรกประเภทของหนังสือสะเปะสะปะมาก แต่ตอนหลัง ๆ หนังสือเด็กมีเยอะขึ้น และลูกค้าก็ดีมาก ช่วยกันบริจาคหนังสือใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย เราจึงนำหนังสือเหล่านี้ไปให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเพื่อนำไปให้กับห้องสมุดครอบครัวและห้องสมุดชุมชน"

ถึงตรงนี้ "เรืองศักดิ์" กล่าวเสริมว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งกล่องบริจาคหนังสือ แต่เรากับสตาร์บัคส์ช่วยกันรณรงค์การรับบริจาคหนังสือ พร้อมงบประมาณในการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดครอบครัว และห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามชุมชนต่าง ๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว, ร้านซ่อมจักรยาน, ลานเปตอง ที่โรงเรียนบ้านหาดใหญ่ อ.พรหมพิรามจ.พิษณุโลกจากนั้นเราก็มาทำต่อที่โรงเรียนบ้านแม่สาวอ.แม่อายจ.เชียงใหม่

"เพราะที่แม่อายมี 2 นัยยะ หนึ่งเป็นพื้นที่ที่สตาร์บัคส์เข้าไปสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนกาแฟ ขณะเดียวกันก็มีร้านกาแฟชุมชนอยู่ที่นั่นด้วย จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราทำงานเพื่อชุมชน ด้วยการทำห้องสมุดเพื่อเด็ก แต่ตอนนั้นหนังสือยังน้อย เราจึงมาคุยกับทางสตาร์บัคส์อีกครั้งเพื่อขอรับบริจาคหนังสือตามสาขาต่างๆที่สตาร์บัคส์มีอยู่"

"ก็เลยคิกออฟที่หน้าอัมรินทร์พลาซ่า เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสมาสต์ด้วย เราชวนน้องบอล ซึ่งเป็นอาสาสมัครนักอ่าน ทั้งยังเคยไปอ่านหนังสือให้คนไข้ติดเตียง และอ่านหนังสือให้คนพิการในชุมชนของเขาฟังเราก็เลยชวนเขามาเปิดตัวโครงการนี้ด้วย"

"เหตุผลที่เราเริ่มจากห้องสมุดครอบครัวเพราะห้องสมุดโรงเรียนมีเงื่อนไขเยอะเสาร์-อาทิตย์ปิด เย็นมากก็อ่านไม่ได้ เราจึงถามชุมชนต่าง ๆ ที่เราเข้าไปว่าใครอยากจะทำห้องสมุดครอบครัวบ้าง เราจะมีมุมหนังสือให้ และจะซื้อชั้นหนังสือให้เป็นส่วนตัว เพื่อนำหนังสือไปวางและให้เขาดูแล ดังนั้นพอตอนเย็นของทุกวัน รวมถึงเสาร์-อาทิตย์เขาจะเปิดให้ทุกคนได้อ่านหนังสือกันเพราะเราต้องการจุดประกายการอ่านหนังสือให้กับพวกเขา"

"เรืองศักดิ์" บอกว่า ทุกชุมชนที่เราเข้าไปทำโครงการ พอเกิดความเข้มแข็ง เราจะถอยออกมา เพราะต้องการให้พวกเขาบริหารจัดการดูแลกันเอง แต่เราไม่ได้ทอดทิ้งไปเสียทีเดียว เรายังมีหนังสือบริจาคให้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเราก็ไปเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เหมือนอย่างที่เราเข้าไปทำโครงการอาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัดหนังสือเล่มแรกเพื่อเด็กที่ต้องการดูแลพิเศษโดยร่วมกับสตาร์บัคส์และสถาบันราชานุกูล

"เด็กพวกนี้เป็นเด็กพิเศษ ดาวน์ซินโดรมบ้าง ออทิสติกบ้าง แต่เราก็ได้พนักงานจิตอาสาของสตาร์บัคส์ไปช่วยอ่านหนังสือให้พวกน้อง ๆ ฟัง ปรากฏว่าพอหลังจากที่เราเข้าไปช่วยทำโครงการประมาณ 5 ปี น้อง ๆ เด็กพิเศษเหล่านี้กลับมีโอกาสร่วมงานกับสตาร์บัคส์ถึง 5 คน ตรงนี้เป็นผลพวงจากการบำบัดด้วยหนังสือซึ่งเราภูมิใจมาก"

"ฉะนั้น ถ้าถามว่า เป้าหมายต่อไปของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กจะทำอะไรต่อ เราก็คงยังทำโครงการเหล่านี้อยู่ เพราะตอนนี้สตาร์บัคส์มีสาขาทั้งหมด 290 สาขา นั่นหมายความว่าปีหนึ่ง ๆ เราจะมีกล่องบริจาคหนังสือถึง 290 กล่องทั่วประเทศเพื่อรองรับน้อง ๆ จากพื้นที่ต่าง ๆ แต่ที่เราคิดต่อคือภายในปีหน้าหนังสือที่ได้รับบริจาคจากสตาร์บัคส์จะเข้าไปอยู่ใน 600 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเราจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)และยูนิเซฟอีกทางหนึ่งด้วย"

"ส่วน กทม.คิดว่าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ (2560-2565) เราน่าจะทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อีกประมาณ 300 ศูนย์ และที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากที่เราทำที่ต่างจังหวัด 12 จังหวัด เช่น เชียงใหม่, ลำปาง, เพชรบุรี, ระยอง ฯลฯ เรายังเข้าไปทำในพื้นที่อุทกภัยทางภาคใต้อีก 11 จังหวัดอีกด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่เราวางไว้คือเมื่อประสบอุทกภัยจิตใจเด็กต้องได้รับการเยียวยาเราจึงนำหนังสือไปให้น้องๆเหล่านั้นและใน"

สำคัญไปกว่านั้น ในปีนี้ทางมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กยังได้รับการบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท จากบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด "เรืองศักดิ์" จึงคิดว่าน่าจะนำเงินจำนวนนี้ไปมุ่งพัฒนาและส่งเสริมการอ่านพร้อมเป็นกำลังใจให้เยาวชนในการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้

ขณะเดียวกันก็ซื้อหนังสือเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่่ห่างไกลเพราะนักเรียนเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้หนังสือ ซึ่งผ่านมาโรงเรียนเหล่านี้ได้รับอุปถัมภ์จากสมเด็จย่า แต่ตอนหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ เราจึงนำหนังสือต่าง ๆเหล่านี้ไปให้พวกเขาอ่าน เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเขาอ่านเล่มนอกเขาก็จะบอกเล่มใน"

ตรงนี้เป็นสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ ทั้งยังเชื่อแน่ว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านที่มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กพันธมิตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บ่มเพาะลงไปในจิตใจของเด็ก ๆ จะงอกงาม ผลิบาน จนทำให้เด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1488185503

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.60
วันที่โพสต์: 28/02/2560 เวลา 10:32:12 ดูภาพสไลด์โชว์ เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมล็ดพันธุ์แห่งการอ่าน นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ "สิงที่เราทำมากว่า 15-16 ปี เหมือนกับเราไปหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านทิ้งไว้ แล้วมันก็เติบโตงอกงาม เมล็ดไหนที่ลีบฝ่อ เราจะไม่เสียเวลา เราเป็นคนบอกตัวเองเสมอว่าเรามีเวลาล้มเหลว แต่จะต้องรีบลุกขึ้นมา เพราะฉะนั้น ใครที่ทำจริง แล้วงอกงามก็ทำกันต่อ แต่คนไหนที่ลีบฝ่อไป เราจะไม่ไปเสียเวลากับการฟื้นตัว เพราะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และเสียกำลังคน เพราะเรายังมีเด็ก ๆ อีกมากมายที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขารู้หนังสือ" คำกล่าวเบื้องต้นเป็นคำพูดที่บอกความจริงใจอย่างชัดเจนของ "เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป" กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ทั้งนั้นเพราะตลอดเวลาผ่านมานับตั้งแต่ปี 2544-2560 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักรู้ต่อเรื่องการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ทั้งยังจัดหาหนังสือดีสำหรับเด็กและครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในเมืองและถิ่นทุรกันดารรวมถึงสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ครอบคลุมประชากรกว่า 13 ล้านคน โดยแยกเป็นเด็กและเยาวชน 5,668,379 คน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู พี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก คนทำงานด้านการพัฒนาเด็กสื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไปรวม7,775,308คน เพราะ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หนังสือคืออาหารสมอง หนังสือคืออาหารใจ และหนังสือคืออาหารธรรม ที่สำคัญ "เรืองศักดิ์" เชื่อว่า หากทุกคนช่วยกันทำให้เด็กรักการอ่าน สังคมไทยจะได้เด็กพันธุ์ใหม่ที่พร้อมจะเติบโตเป็นเยาวชนพันธุ์ใหม่ที่มีตัวตนชัด มีอนาคตชัดรักตนเอง รักสังคม และพร้อมที่จะสร้างอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า ตามพันธกิจที่วางไว้คือ "นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ" โดยมีกลุ่มพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการส่งมอบหนังสือและปัจจัยในการสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัท สตาร์บัคส์คอฟฟี่(ประเทศไทย)จำกัด ในประเด็นนี้ "สุมนพินทุ์ โชติกะพุกกณะ" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ในการสนับสนุนมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า ในเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเราทำอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ การสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนชาวไร่กาแฟ,สิ่งแวดล้อมและชุมชน "โดยในส่วนของการช่วยเหลือชุมชน เรามองเห็นตรงกันกับมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กว่า เรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการอ่าน เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนเพราะเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะบ่มความรู้เพื่อสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งต่อไป" "เราคุยกับพี่ปอง(เรืองศักดิ์) ว่า สตาร์บัคส์ขอเป็นจุดเริ่มต้นในการรับบริจาคหนังสือดีไหม ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น (ราว 12 ปีผ่านมา) สตาร์บัคส์มีอยู่เพียง 20-30 สาขาเท่านั้นเอง แต่เราเชื่อว่าลูกค้าของเรา พนักงานของเราน่าจะอยากมีส่วนร่วมตรงนี้ จึงตัดสินใจทำกล่องรับบริจาคหนังสือขึ้นมา ตอนแรกประเภทของหนังสือสะเปะสะปะมาก แต่ตอนหลัง ๆ หนังสือเด็กมีเยอะขึ้น และลูกค้าก็ดีมาก ช่วยกันบริจาคหนังสือใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย เราจึงนำหนังสือเหล่านี้ไปให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเพื่อนำไปให้กับห้องสมุดครอบครัวและห้องสมุดชุมชน" ถึงตรงนี้ "เรืองศักดิ์" กล่าวเสริมว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งกล่องบริจาคหนังสือ แต่เรากับสตาร์บัคส์ช่วยกันรณรงค์การรับบริจาคหนังสือ พร้อมงบประมาณในการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดครอบครัว และห้องสมุดเคลื่อนที่ไปตามชุมชนต่าง ๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว, ร้านซ่อมจักรยาน, ลานเปตอง ที่โรงเรียนบ้านหาดใหญ่ อ.พรหมพิรามจ.พิษณุโลกจากนั้นเราก็มาทำต่อที่โรงเรียนบ้านแม่สาวอ.แม่อายจ.เชียงใหม่ "เพราะที่แม่อายมี 2 นัยยะ หนึ่งเป็นพื้นที่ที่สตาร์บัคส์เข้าไปสนับสนุนชาวไร่กาแฟ และชุมชนกาแฟ ขณะเดียวกันก็มีร้านกาแฟชุมชนอยู่ที่นั่นด้วย จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราทำงานเพื่อชุมชน ด้วยการทำห้องสมุดเพื่อเด็ก แต่ตอนนั้นหนังสือยังน้อย เราจึงมาคุยกับทางสตาร์บัคส์อีกครั้งเพื่อขอรับบริจาคหนังสือตามสาขาต่างๆที่สตาร์บัคส์มีอยู่" "ก็เลยคิกออฟที่หน้าอัมรินทร์พลาซ่า เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสมาสต์ด้วย เราชวนน้องบอล ซึ่งเป็นอาสาสมัครนักอ่าน ทั้งยังเคยไปอ่านหนังสือให้คนไข้ติดเตียง และอ่านหนังสือให้คนพิการในชุมชนของเขาฟังเราก็เลยชวนเขามาเปิดตัวโครงการนี้ด้วย" "เหตุผลที่เราเริ่มจากห้องสมุดครอบครัวเพราะห้องสมุดโรงเรียนมีเงื่อนไขเยอะเสาร์-อาทิตย์ปิด เย็นมากก็อ่านไม่ได้ เราจึงถามชุมชนต่าง ๆ ที่เราเข้าไปว่าใครอยากจะทำห้องสมุดครอบครัวบ้าง เราจะมีมุมหนังสือให้ และจะซื้อชั้นหนังสือให้เป็นส่วนตัว เพื่อนำหนังสือไปวางและให้เขาดูแล ดังนั้นพอตอนเย็นของทุกวัน รวมถึงเสาร์-อาทิตย์เขาจะเปิดให้ทุกคนได้อ่านหนังสือกันเพราะเราต้องการจุดประกายการอ่านหนังสือให้กับพวกเขา" "เรืองศักดิ์" บอกว่า ทุกชุมชนที่เราเข้าไปทำโครงการ พอเกิดความเข้มแข็ง เราจะถอยออกมา เพราะต้องการให้พวกเขาบริหารจัดการดูแลกันเอง แต่เราไม่ได้ทอดทิ้งไปเสียทีเดียว เรายังมีหนังสือบริจาคให้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเราก็ไปเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เหมือนอย่างที่เราเข้าไปทำโครงการอาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัดหนังสือเล่มแรกเพื่อเด็กที่ต้องการดูแลพิเศษโดยร่วมกับสตาร์บัคส์และสถาบันราชานุกูล "เด็กพวกนี้เป็นเด็กพิเศษ ดาวน์ซินโดรมบ้าง ออทิสติกบ้าง แต่เราก็ได้พนักงานจิตอาสาของสตาร์บัคส์ไปช่วยอ่านหนังสือให้พวกน้อง ๆ ฟัง ปรากฏว่าพอหลังจากที่เราเข้าไปช่วยทำโครงการประมาณ 5 ปี น้อง ๆ เด็กพิเศษเหล่านี้กลับมีโอกาสร่วมงานกับสตาร์บัคส์ถึง 5 คน ตรงนี้เป็นผลพวงจากการบำบัดด้วยหนังสือซึ่งเราภูมิใจมาก" "ฉะนั้น ถ้าถามว่า เป้าหมายต่อไปของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กจะทำอะไรต่อ เราก็คงยังทำโครงการเหล่านี้อยู่ เพราะตอนนี้สตาร์บัคส์มีสาขาทั้งหมด 290 สาขา นั่นหมายความว่าปีหนึ่ง ๆ เราจะมีกล่องบริจาคหนังสือถึง 290 กล่องทั่วประเทศเพื่อรองรับน้อง ๆ จากพื้นที่ต่าง ๆ แต่ที่เราคิดต่อคือภายในปีหน้าหนังสือที่ได้รับบริจาคจากสตาร์บัคส์จะเข้าไปอยู่ใน 600 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเราจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)และยูนิเซฟอีกทางหนึ่งด้วย" "ส่วน กทม.คิดว่าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ (2560-2565) เราน่าจะทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อีกประมาณ 300 ศูนย์ และที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากที่เราทำที่ต่างจังหวัด 12 จังหวัด เช่น เชียงใหม่, ลำปาง, เพชรบุรี, ระยอง ฯลฯ เรายังเข้าไปทำในพื้นที่อุทกภัยทางภาคใต้อีก 11 จังหวัดอีกด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่เราวางไว้คือเมื่อประสบอุทกภัยจิตใจเด็กต้องได้รับการเยียวยาเราจึงนำหนังสือไปให้น้องๆเหล่านั้นและใน" สำคัญไปกว่านั้น ในปีนี้ทางมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กยังได้รับการบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท จากบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด "เรืองศักดิ์" จึงคิดว่าน่าจะนำเงินจำนวนนี้ไปมุ่งพัฒนาและส่งเสริมการอ่านพร้อมเป็นกำลังใจให้เยาวชนในการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ ขณะเดียวกันก็ซื้อหนังสือเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่่ห่างไกลเพราะนักเรียนเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้หนังสือ ซึ่งผ่านมาโรงเรียนเหล่านี้ได้รับอุปถัมภ์จากสมเด็จย่า แต่ตอนหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ เราจึงนำหนังสือต่าง ๆเหล่านี้ไปให้พวกเขาอ่าน เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเขาอ่านเล่มนอกเขาก็จะบอกเล่มใน" ตรงนี้เป็นสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ ทั้งยังเชื่อแน่ว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการอ่านที่มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กพันธมิตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บ่มเพาะลงไปในจิตใจของเด็ก ๆ จะงอกงาม ผลิบาน จนทำให้เด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1488185503

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...