มูลนิธิเวชดุสิต สร้างอนาคตสดใสให้คนพิการ

แสดงความคิดเห็น

ภาคซีเอสอาร์ของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) อยู่ในรูปแบบของมูลนิธิภายใต้ชื่อ "มูลนิธิเวชดุสิต" โดยงบประมาณการดำเนินงานมาจากโรงพยาบาล และมีการเก็บส่วนหนึ่งจากรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาลในเครือมาสมทบ ขณะเดียวกันทางมูลนิธิได้จัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนมาใช้สำหรับโครงการต่าง ๆ

"เดิมเราใช้ชื่อมูลนิธิโรงพยาบาลกรุงเทพ มูลนิธินี้เกิดขึ้นเพราะมีผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลแล้วไม่มีเงินรักษา เลยจัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หลังจากนั้นผู้บริหารมองว่า อยากขยายขอบเขตช่วยเหลืออย่างอื่นเพิ่มเติม ช่วงแรกเป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เรามี และซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลต่างจังหวัด"

"รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร" กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเวชดุสิต

"รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร" กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเวชดุสิต บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานพร้อมขยายความเพิ่มเติมว่า ด้วยความที่บริษัทมีโรงพยาบาลอยู่ในหลายภูมิภาค จึงให้หมอลงไปสำรวจว่าโรงพยาบาลพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการด้านใด เพื่อส่งเสริมให้คนในภาคต่าง ๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการให้ทุนทำวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อร่วมยกระดับวงการแพทย์ของไทย

"ตอนแรกเราช่วยตามความต้องการของกลุ่มที่ขาด แต่ท้ายที่สุดมันเป็นการให้แล้วก็จบไป ขณะที่เราอยากให้มีความต่อเนื่องและสร้างความยั่งยืน วัดผลได้มากกว่า จึงมีโครงการ Green Health Care & Share แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การดูแลอาหารการกินและสุขภาพของคน อีกส่วนเป็นการให้การดูแลคนด้วยการเป็นสื่อกลางในการรับบริจาคอุปกรณ์ทางการพยาบาลมือสอง หรือของใหม่ เพื่อมอบให้กับผู้ป่วยผู้สูงอายุ และผู้พิการที่ขัดสนหรือยากไร้"

เมื่อได้มาสัมผัสกับการทำงาน เธอเห็นว่าประเทศไทยมีคนพิการจำนวนมาก ยกตัวอย่างเด็กไทยที่พิการมีถึง 2 แสนคน ซึ่งคนพิการส่วนใหญ่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างวีลแชร์ ในช่วงแรกมูลนิธิเวชดุสิตได้จัดคอนเสิร์ต เพื่อหาเงินไปซื้อวีลแชร์ให้เด็ก ก่อนนำไปสู่การขบคิดอย่างเป็นกระบวนการว่า จะยกระดับการช่วยเหลือคนพิการอย่างไร โดยจากการศึกษาพบว่าปัญหาใหญ่ของไทยคือคนพิการยังไม่มีอาชีพที่ดีนัก อีกทั้งพ่อแม่กลัวจะอับอายเลยเก็บลูกไว้ที่บ้านทำให้ตัวเด็กยิ่งแย่ลงเพราะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น

เพราะอยากให้สังคมตระหนักว่าเด็กพิการก็มีความฝันเหมือนคนทั่วไป เบื้องต้นจึงได้จัดทำภาพยนตร์สั้นชื่อว่า "ความฝันไม่มีวันพิการ" ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เห็นได้จากตั้งเป้าที่วางไว้ว่า 1 วิว (View) จะมอบเงิน 1 บาท ตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านบาท แต่ภายในเดือนครึ่งก็ถึงเป้า มียอดแชร์ไปกว่า 1.2 แสนครั้ง

"เรามองว่าโครงการนี้สามารถสร้างความตระหนักเรื่องคนพิการให้กับสังคมได้ระดับหนึ่ง เงินที่ได้มาก็นำมาจัดกิจกรรมให้น้อง ๆ คนพิการ 100 กว่าคน โดยมีอาสาสมัครจิตอาสาทั้งจากโรงพยาบาลและคนภายนอกที่สนใจมาเป็นพี่เลี้ยงน้อง อย่างบางโรงเรียนก็มีนักเรียนมาเป็นอาสาสมัคร ภายในงานมีทั้งคอนเสิร์ต ทำการ์ด ถ่ายรูป และด้วยความที่งานจัดในสวนลุมพินี ทำให้คนรอบข้างที่เห็นได้ทราบว่าคนพิการก็ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคมได้อีกทางหนึ่ง"

สำหรับปีนี้โครงการดังกล่าวก้าวไปอีกสเต็ป โดยมองว่าเด็กทุกคนมีฮีโร่ที่อยากเป็น เลยเอาต้นแบบฮีโร่อย่างนักฟุตบอลชื่อดัง เมสซี่ เจ, น้องทาม ที่ร่วมปั่นจักรยานไบก์ฟอร์มัม รวมทั้งสิงโต นำโชค มาช่วยกิจกรรมในโครงการ อยากให้สังคมรับรู้ว่าเด็กพิการก็มีฮีโร่ในหัวใจ และพร้อมก้าวไปสู่อนาคตที่ดีได้ แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาไปถึงจุดนั้นได้ เด็ก ๆ ต้องมีความมั่นใจและความเชื่อมั่นเพื่อทำให้สำเร็จ ธีมสำคัญของโครงการความฝันไม่มีวันพิการปีนี้จึงเน้นการนำฮีโร่เหล่านี้มาเล่าประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ

ทั้งนั้น เพราะมูลนิธิเวชดุสิตต้องการให้สังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในภาพยนตร์สั้นชุดใหม่ที่ปล่อยออกมาจะให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็นด้วยว่า เด็กพิการ หรือคนพิการสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ถือเป็นการระดมความคิดเพื่อเป็นข้อมูลไกด์ไลน์ให้กับเด็ก ๆ ได้ทราบถึงแนวทางเลือกอาชีพที่หลากหลายในอนาคตและการดำเนินงานเช่นนี้เป็นเหมือนการวิจัยไปในตัว

"รศ.อัจจิมา" ตั้งเป้าหมายเบื้องต้นว่าภาพยนตร์สั้นเดอะฮีโร่ที่จะสิ้นสุดแคมเปญในปลายเดือน ก.ค.นี้ จะมียอดผู้ชมอยู่ที่ 5 แสนวิว หลังจากนั้นช่วงต้นเดือน ส.ค. จะจัดกิจกรรมให้เด็กพิการซึ่งยังคงรูปแบบเดียวกับปีที่แล้ว ที่เน้นด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ กับกิจกรรม Meet the Hero ให้เหล่าฮีโร่ของโครงการที่กล่าวมาก่อนหน้าได้มาร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ด้วย ขณะเดียวกันจะหาพันธมิตรโครงการเพิ่มเติม เพราะเล็งเห็นว่าเด็กๆก็มีความต้องการเรื่องอื่นด้วยอย่างเสื้อผ้าของใช้ในชีวิตประจำวันฯลฯ

"คิดว่าภายใน 5 ปีต้องเห็นผลที่ชัดเจน ความชัดเจนในที่นี้คือสามารถวัดทัศนคติของคนแต่ละกลุ่มวัยที่มีต่อคนพิการได้ รวมถึงสัดส่วนการจ้างงานคนพิการต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งเราจะนำไอเดียที่ได้จากการระดมความคิดของคนในสังคมมาประกอบการทำงานด้วย เพื่อเห็นภาพรวมที่ชัดเจน เหมือนทำโครงการไปและเรียนรู้ไปกันแล้วนำข้อมูลมาเสริมให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น"

"ไม่เพียงเท่านั้น เรามองว่าคนที่อยู่รอบข้างเด็กก็สำคัญ เราอยากสื่อไปยังคนกลุ่มนี้ได้ตระหนักว่าเขาต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กด้วย เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจ ไม่ใช่แค่การดูแลการกินอยู่ แต่ควรมองไปถึงความฝันด้วยว่าเด็กต้องการอะไรแล้วคนในสังคมสามารถช่วยอะไรได้บ้างเราอยากให้สังคมก้าวไปสู่ระดับนี้"

"รศ.อัจจิมา" คาดหวังว่า ทุกข้อมูลที่ได้จากการทำโครงการจะถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นเหมือนฐานข้อมูลย่อยเกี่ยวกับเรื่องคนพิการ ซึ่งหากใครสนใจและต้องการนำไปต่อยอดก็สามารถหยิบยกไปใช้ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว หากข้อมูลถูกกระจายออกไปในหลายภาคส่วน การรับรู้และการให้ความช่วยเหลือคนพิการย่อมเพิ่มระดับมากขึ้นตามไปด้วย

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469418804 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 26/07/2559 เวลา 09:25:09 ดูภาพสไลด์โชว์ มูลนิธิเวชดุสิต สร้างอนาคตสดใสให้คนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาคซีเอสอาร์ของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) อยู่ในรูปแบบของมูลนิธิภายใต้ชื่อ "มูลนิธิเวชดุสิต" โดยงบประมาณการดำเนินงานมาจากโรงพยาบาล และมีการเก็บส่วนหนึ่งจากรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาลในเครือมาสมทบ ขณะเดียวกันทางมูลนิธิได้จัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนมาใช้สำหรับโครงการต่าง ๆ "เดิมเราใช้ชื่อมูลนิธิโรงพยาบาลกรุงเทพ มูลนิธินี้เกิดขึ้นเพราะมีผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลแล้วไม่มีเงินรักษา เลยจัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หลังจากนั้นผู้บริหารมองว่า อยากขยายขอบเขตช่วยเหลืออย่างอื่นเพิ่มเติม ช่วงแรกเป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เรามี และซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลต่างจังหวัด" "รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร" กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเวชดุสิต "รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร" กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเวชดุสิต บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานพร้อมขยายความเพิ่มเติมว่า ด้วยความที่บริษัทมีโรงพยาบาลอยู่ในหลายภูมิภาค จึงให้หมอลงไปสำรวจว่าโรงพยาบาลพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการด้านใด เพื่อส่งเสริมให้คนในภาคต่าง ๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการให้ทุนทำวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อร่วมยกระดับวงการแพทย์ของไทย "ตอนแรกเราช่วยตามความต้องการของกลุ่มที่ขาด แต่ท้ายที่สุดมันเป็นการให้แล้วก็จบไป ขณะที่เราอยากให้มีความต่อเนื่องและสร้างความยั่งยืน วัดผลได้มากกว่า จึงมีโครงการ Green Health Care & Share แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การดูแลอาหารการกินและสุขภาพของคน อีกส่วนเป็นการให้การดูแลคนด้วยการเป็นสื่อกลางในการรับบริจาคอุปกรณ์ทางการพยาบาลมือสอง หรือของใหม่ เพื่อมอบให้กับผู้ป่วยผู้สูงอายุ และผู้พิการที่ขัดสนหรือยากไร้" เมื่อได้มาสัมผัสกับการทำงาน เธอเห็นว่าประเทศไทยมีคนพิการจำนวนมาก ยกตัวอย่างเด็กไทยที่พิการมีถึง 2 แสนคน ซึ่งคนพิการส่วนใหญ่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างวีลแชร์ ในช่วงแรกมูลนิธิเวชดุสิตได้จัดคอนเสิร์ต เพื่อหาเงินไปซื้อวีลแชร์ให้เด็ก ก่อนนำไปสู่การขบคิดอย่างเป็นกระบวนการว่า จะยกระดับการช่วยเหลือคนพิการอย่างไร โดยจากการศึกษาพบว่าปัญหาใหญ่ของไทยคือคนพิการยังไม่มีอาชีพที่ดีนัก อีกทั้งพ่อแม่กลัวจะอับอายเลยเก็บลูกไว้ที่บ้านทำให้ตัวเด็กยิ่งแย่ลงเพราะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น เพราะอยากให้สังคมตระหนักว่าเด็กพิการก็มีความฝันเหมือนคนทั่วไป เบื้องต้นจึงได้จัดทำภาพยนตร์สั้นชื่อว่า "ความฝันไม่มีวันพิการ" ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เห็นได้จากตั้งเป้าที่วางไว้ว่า 1 วิว (View) จะมอบเงิน 1 บาท ตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านบาท แต่ภายในเดือนครึ่งก็ถึงเป้า มียอดแชร์ไปกว่า 1.2 แสนครั้ง "เรามองว่าโครงการนี้สามารถสร้างความตระหนักเรื่องคนพิการให้กับสังคมได้ระดับหนึ่ง เงินที่ได้มาก็นำมาจัดกิจกรรมให้น้อง ๆ คนพิการ 100 กว่าคน โดยมีอาสาสมัครจิตอาสาทั้งจากโรงพยาบาลและคนภายนอกที่สนใจมาเป็นพี่เลี้ยงน้อง อย่างบางโรงเรียนก็มีนักเรียนมาเป็นอาสาสมัคร ภายในงานมีทั้งคอนเสิร์ต ทำการ์ด ถ่ายรูป และด้วยความที่งานจัดในสวนลุมพินี ทำให้คนรอบข้างที่เห็นได้ทราบว่าคนพิการก็ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคมได้อีกทางหนึ่ง" สำหรับปีนี้โครงการดังกล่าวก้าวไปอีกสเต็ป โดยมองว่าเด็กทุกคนมีฮีโร่ที่อยากเป็น เลยเอาต้นแบบฮีโร่อย่างนักฟุตบอลชื่อดัง เมสซี่ เจ, น้องทาม ที่ร่วมปั่นจักรยานไบก์ฟอร์มัม รวมทั้งสิงโต นำโชค มาช่วยกิจกรรมในโครงการ อยากให้สังคมรับรู้ว่าเด็กพิการก็มีฮีโร่ในหัวใจ และพร้อมก้าวไปสู่อนาคตที่ดีได้ แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาไปถึงจุดนั้นได้ เด็ก ๆ ต้องมีความมั่นใจและความเชื่อมั่นเพื่อทำให้สำเร็จ ธีมสำคัญของโครงการความฝันไม่มีวันพิการปีนี้จึงเน้นการนำฮีโร่เหล่านี้มาเล่าประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ทั้งนั้น เพราะมูลนิธิเวชดุสิตต้องการให้สังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในภาพยนตร์สั้นชุดใหม่ที่ปล่อยออกมาจะให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็นด้วยว่า เด็กพิการ หรือคนพิการสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ถือเป็นการระดมความคิดเพื่อเป็นข้อมูลไกด์ไลน์ให้กับเด็ก ๆ ได้ทราบถึงแนวทางเลือกอาชีพที่หลากหลายในอนาคตและการดำเนินงานเช่นนี้เป็นเหมือนการวิจัยไปในตัว "รศ.อัจจิมา" ตั้งเป้าหมายเบื้องต้นว่าภาพยนตร์สั้นเดอะฮีโร่ที่จะสิ้นสุดแคมเปญในปลายเดือน ก.ค.นี้ จะมียอดผู้ชมอยู่ที่ 5 แสนวิว หลังจากนั้นช่วงต้นเดือน ส.ค. จะจัดกิจกรรมให้เด็กพิการซึ่งยังคงรูปแบบเดียวกับปีที่แล้ว ที่เน้นด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ กับกิจกรรม Meet the Hero ให้เหล่าฮีโร่ของโครงการที่กล่าวมาก่อนหน้าได้มาร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ด้วย ขณะเดียวกันจะหาพันธมิตรโครงการเพิ่มเติม เพราะเล็งเห็นว่าเด็กๆก็มีความต้องการเรื่องอื่นด้วยอย่างเสื้อผ้าของใช้ในชีวิตประจำวันฯลฯ "คิดว่าภายใน 5 ปีต้องเห็นผลที่ชัดเจน ความชัดเจนในที่นี้คือสามารถวัดทัศนคติของคนแต่ละกลุ่มวัยที่มีต่อคนพิการได้ รวมถึงสัดส่วนการจ้างงานคนพิการต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งเราจะนำไอเดียที่ได้จากการระดมความคิดของคนในสังคมมาประกอบการทำงานด้วย เพื่อเห็นภาพรวมที่ชัดเจน เหมือนทำโครงการไปและเรียนรู้ไปกันแล้วนำข้อมูลมาเสริมให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น" "ไม่เพียงเท่านั้น เรามองว่าคนที่อยู่รอบข้างเด็กก็สำคัญ เราอยากสื่อไปยังคนกลุ่มนี้ได้ตระหนักว่าเขาต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กด้วย เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจ ไม่ใช่แค่การดูแลการกินอยู่ แต่ควรมองไปถึงความฝันด้วยว่าเด็กต้องการอะไรแล้วคนในสังคมสามารถช่วยอะไรได้บ้างเราอยากให้สังคมก้าวไปสู่ระดับนี้" "รศ.อัจจิมา" คาดหวังว่า ทุกข้อมูลที่ได้จากการทำโครงการจะถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นเหมือนฐานข้อมูลย่อยเกี่ยวกับเรื่องคนพิการ ซึ่งหากใครสนใจและต้องการนำไปต่อยอดก็สามารถหยิบยกไปใช้ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว หากข้อมูลถูกกระจายออกไปในหลายภาคส่วน การรับรู้และการให้ความช่วยเหลือคนพิการย่อมเพิ่มระดับมากขึ้นตามไปด้วย ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469418804

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...