ภาคต่อ 'กล่องดินสอ' สร้าง ‘สังคมเพื่อคนทั้งมวล’

แสดงความคิดเห็น

ดูหนัง ออกกำลังกาย ไปเที่ยวลั้ลลากับเพื่อนๆ มีงานดีๆ ทำ เหล่าเรื่องยากในชีวิตของผู้พิการ ที่กำลังจะถูกปลดล็อกด้วย SE ที่ชื่อ "กล่องดินสอ"

ต่อ-ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้ง และ ซีอีโอ บริษัท กล่องดินสอ จำกัด

ชวนผู้พิการทางสายตาและการได้ยิน มาวิ่งออกกำลังกาย ควงน้องๆ คนตาบอดไปดูหนัง แลกเปลี่ยนพูดคุย และแบ่งปัน เหมือนเป็นพลเมือง ‘หนึ่งเดียวกัน’ ของสังคม นี่คือความฝันเล็กๆ ของเหล่าผู้พิการ ที่อยากให้ผู้คนในสังคมมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเขา พร้อมหยิบยื่นมิตรภาพ จับมือทำกิจกรรมธรรมดาๆ ร่วมกัน เหมือนคนปกติทั่วไปในสังคม

วันนี้ฝันที่ดูห่างไกล กลายเป็นความจริงขึ้นแล้ว จากความมุ่งมั่นของกิจการเพื่อสังคม ที่ชื่อ “กล่องดินสอ” เกือบสองปีก่อน กรุงเทพธุรกิจ Bizweek มีโอกาสพูดคุยกับ “ต่อ-ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล” ผู้ก่อตั้ง และ ซีอีโอ บริษัท กล่องดินสอ จำกัด ในวันนั้น เขานำ “ปากกาเล่นเส้น”อุปกรณ์การศึกษาของผู้พิการทางสายตา ที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเอง มาแนะนำตัวสู่ตลาด

การเจอกันในวันนี้ ภารกิจของคนหนุ่มดูยิ่งใหญ่ขึ้น เมื่อเขาประกาศว่า.. “ผมอยากทำในสิ่งที่เรียก “Inclusive Society” (สังคมเพื่อคนทั้งมวล) คือ สังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่ว่าจะคนปกติหรือผู้พิการ”

เป้าหมายที่ท้าทายไม่ได้มีมาแต่คำพูด ฉัตรชัย กางแผนที่พันธกิจของเขา ซึ่งจากนี้จะมุ่งไปใน 3 ด้าน คือ ทำอุปกรณ์การศึกษาสำหรับผู้พิการ ทำเรื่องการสร้างอาชีพ และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนในสังคม

“วิ่งด้วยกัน” คือ โครงการน้ำดี ผลผลิตจากพันธกิจด้านที่ 3 ของกล่องดินสอ กับคอนเซ็ปต์น่ารักน่าชัง ชวนคนมีใจอาสา มาร่วมเป็น “ไกด์รันเนอร์” จับคู่วิ่งออกกำลังกายกับผู้พิการ “ปัญหาหนึ่งของผู้พิการคือเรื่อง สุขภาพ ทำอย่างไรที่เขาจะได้ออกกำลังกาย และมีสุขภาพที่ดีขึ้น มองว่า วิ่งนี่แหล่ะง่ายสุด เลยจัดโครงการชวนคนตาบอดมาวิ่งออกกำลังกาย แต่อย่างที่ทราบว่า สำหรับผู้พิการแค่ใช้ชีวิตปกติยังลำบาก เราเลยชวนอาสาสมัครที่เรียก ‘ไกด์รันเนอร์’ มาวิ่งคู่กันไปกับผู้พิการด้วย”

แล้วเรื่อง “วิ่ง” กิจกรรมสุดอินเทรนด์ของคนยุคนี้ ก็มีโอกาสเข้าถึงผู้พิการ ด้วยพลังของผู้คนในสังคมทำอย่างไรที่จะเชื่อมโลกผู้พิการและคนทั่วไปเข้าไว้ด้วยกัน พวกเขาเริ่มจากวิธีง่ายๆ คือ ตั้งกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “วิ่งด้วยกัน” เพื่อให้คนที่อยากวิ่งได้จับคู่เพื่อนร่วมทางผู้พิการ พร้อมเป็นช่องทางแจ้งข่าวสารต่างๆ ของโครงการด้วย จากเพื่อนวิ่งของคนตาบอด มาสู่เพื่อนร่วมทางของผู้พิการทางการได้ยิน กับภารกิจชวนคนหูหนวกมาวิ่งออกกำลังกาย ฉัตรชัย บอกเราว่า “ฟีดแบค” ถือว่า ดีเกินคาด หลังโครงการแรกมีอาสาสมัครประมาณ 14 คน แต่โครงการสอง เปิดรับอาสา 20 คน ทว่า ภายใน 1 ชม. มีผู้สมัครมามากถึง 90 คน

“ที่คนให้ความสนใจมาก เพราะมองว่า นี่ไม่ใช่การวิ่งเพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่เป็นการวิ่งเพื่อคนอื่นด้วย”เขาบอกเหตุผลที่ดึงดูดให้ผู้คนหลากหลายอาชีพ หลากหลายวัย อาสามาเป็นไกด์รันเนอร์เพื่อผู้พิการ ผลโดยตรงคือ สุขภาพดี แต่ผลโดยอ้อมที่อิ่มใจกว่ามาก คือ การได้ทำเพื่อคนอีกกลุ่มของสังคม หลายคนอาจจินตนาการไม่ออก ว่าคนในโลกมืดจะชมภาพยนตร์อย่างไรได้ โครงการพาน้องตาบอดไปดูหนัง ของกล่องดินสอ กำลังจะเปลี่ยนความคิดนั้น

“เราไปดูหนังได้ปกติ แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งเขาดูหนังไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรให้น้องๆ ตาบอดได้ดูหนัง เราพบว่า มีระบบที่เรียก Audio Description (ระบบเสียงบรรยายภาพ) สำหรับคนตาบอดอยู่ เลยทำโครงการพาน้องๆ กว่าร้อยคนจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ไปดูหนังที่สยามพารากอน”

สิ่งสำคัญไปกว่าความสนุกที่เกิดขึ้นแล้วจบไป คือการสะท้อนถึงผู้ผลิตหนังให้เห็นความสำคัญของตลาดผู้พิการมากขึ้น“อยากเห็นว่า จากนี้ไปคนตาบอดจะสามารถเดินเข้าโรงหนังได้เหมือนคนปกติ อยากให้คนในวงการภาพยนตร์ ได้เห็นว่า เด็กตาบอดก็สามารถดูหนังได้ ถ้าคุณทำหนังที่รองรับพวกเขา ซึ่งที่ผ่านมาหนังที่ทำยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เข้าไม่ถึงก็อยากให้เขามองเห็นตรงนี้”เขาบอกเสียงเล็กๆที่อยากสะท้อนไปถึงคนทำหนัง

“เรียนจบแล้วอยากทำงานอะไร?” คำถามสุดคลาสสิกที่เด็กหลายคนตอบได้ง่ายๆ แต่กับน้องๆ ผู้พิการนี่เป็นโจทย์แสนยากในชีวิตของพวกเขา คำตอบที่ได้เลยหนีไม่พ้น คนขายล็อตเตอรี่และอีกไม่กี่อาชีพ ที่สังคมเหลือไว้ให้ผู้พิการ “เมืองไทยมีกฎหมายว่า ถ้าคุณมีพนักงาน 100 คน ต้องจ้างผู้พิการ 1 คน หรือไม่ก็เลือกออปชั่นอื่น เช่น จ่ายเงินเข้ากองทุน แต่ปัญหาคือ ผู้พิการเองยังไม่พร้อมในการทำงาน บริษัทเองก็ไม่พร้อม แถมรัฐบาลยังไม่มีมาตรการอะไรมารองรับอีก ทำให้การจ้างงานผู้พิการทำได้ยาก ซ้ำจ้างเข้าไปแล้ว เขาก็อยู่ไม่ได้ด้วย”

ฉัตรชัย บอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลกการทำงานของผู้พิการ ที่กระทบถึงภาคธุรกิจหลังการมาถึงของนโยบายการจ้างงานผู้พิการ นั่นเองที่ทำให้เขาคิดเปิดตัว “ดีโซลูชั่น” บริการที่ปรึกษาด้านการจัดหางานของผู้พิการ โดยวางตัวเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทที่ต้องการจ้างงานผู้พิการ จัดหาคนพิการที่เหมาะสมกับงาน พร้อมจัดอบรมผู้พิการเพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงาน เหล่านี้เป็นต้น

“ผู้พิการ มีจุดเด่นและจุดด้อย ถ้าเราดึงเอาความสามารถพิเศษของเขามาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากบริษัทจะไม่ต้องจ่ายเงินไปเป็นแสนๆ แล้ว คุณยังจะได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพกลับมาช่วยธุรกิจด้วย ซึ่งเราจะเข้าไปช่วยแนะนำว่า คุณจะเอาคนพิการด้านไหน ไปอยู่ตรงส่วนไหน ถึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทได้” เขาบอกบทบาทใหม่

ในวันนี้ความมุ่งมั่นตั้งใจยังถูกต่อยอดไปเรื่อยๆ คนหนุ่ม บอกเราว่า อยากให้กล่องดินสอ เป็นองค์กรด้านคนพิการที่ยั่งยืน ทั้งในแง่ของการสร้างผลกระทบสู่สังคม และในเชิงธุรกิจ ที่มาของการพัฒนาโมเดลในการหารายได้เข้ามาจุนเจือกิจการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันกล่องดินสอ มีรายได้จากการจำหน่าย “ปากกาเล่นเส้น” ที่ขายผ่านตัวแทนไปในหลายประเทศ อาทิ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศจีน โดยโจทย์ในวันนี้ คือการเปลี่ยนมุมมองจาก “ของเล่น” ไปเป็น

“อุปกรณ์ทางการศึกษา” เพื่อขยายตลาดนี้ให้กว้างขึ้นรายได้ส่วนหนึ่งมาจากเหล่าสปอนเซอร์ ที่อยากทำโครงการ CSR รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเข้าถึงและได้ผล และนั่นก็เป็นโจทย์ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของพวกเขา ส่วนอนาคตยังมีรายได้จากบริการที่ปรึกษาซึ่งพวกเขากำลังพัฒนาขึ้นด้วย เพื่อใช้กลไกทางธุรกิจ เข้ามาทำให้กิจการเพื่อสังคมเล็กๆ แห่งนี้ เป็นองค์กรที่ยั่งยืน พร้อมตอบเป้าหมายสูงสุด ‘สร้างสังคมเพื่อคนทั้งมวล’ สมดั่งใจพวกเขา “ผมอยากสร้าง Inclusive Society ที่ผู้พิการจะมีชีวิตได้เหมือนคนปกติในสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้อย่างแท้จริง”

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/653167 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย3ก.ค.58
วันที่โพสต์: 3/07/2558 เวลา 11:38:30 ดูภาพสไลด์โชว์ ภาคต่อ 'กล่องดินสอ' สร้าง ‘สังคมเพื่อคนทั้งมวล’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดูหนัง ออกกำลังกาย ไปเที่ยวลั้ลลากับเพื่อนๆ มีงานดีๆ ทำ เหล่าเรื่องยากในชีวิตของผู้พิการ ที่กำลังจะถูกปลดล็อกด้วย SE ที่ชื่อ "กล่องดินสอ" ต่อ-ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้ง และ ซีอีโอ บริษัท กล่องดินสอ จำกัด ชวนผู้พิการทางสายตาและการได้ยิน มาวิ่งออกกำลังกาย ควงน้องๆ คนตาบอดไปดูหนัง แลกเปลี่ยนพูดคุย และแบ่งปัน เหมือนเป็นพลเมือง ‘หนึ่งเดียวกัน’ ของสังคม นี่คือความฝันเล็กๆ ของเหล่าผู้พิการ ที่อยากให้ผู้คนในสังคมมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเขา พร้อมหยิบยื่นมิตรภาพ จับมือทำกิจกรรมธรรมดาๆ ร่วมกัน เหมือนคนปกติทั่วไปในสังคม วันนี้ฝันที่ดูห่างไกล กลายเป็นความจริงขึ้นแล้ว จากความมุ่งมั่นของกิจการเพื่อสังคม ที่ชื่อ “กล่องดินสอ” เกือบสองปีก่อน กรุงเทพธุรกิจ Bizweek มีโอกาสพูดคุยกับ “ต่อ-ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล” ผู้ก่อตั้ง และ ซีอีโอ บริษัท กล่องดินสอ จำกัด ในวันนั้น เขานำ “ปากกาเล่นเส้น”อุปกรณ์การศึกษาของผู้พิการทางสายตา ที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเอง มาแนะนำตัวสู่ตลาด การเจอกันในวันนี้ ภารกิจของคนหนุ่มดูยิ่งใหญ่ขึ้น เมื่อเขาประกาศว่า.. “ผมอยากทำในสิ่งที่เรียก “Inclusive Society” (สังคมเพื่อคนทั้งมวล) คือ สังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่ว่าจะคนปกติหรือผู้พิการ” เป้าหมายที่ท้าทายไม่ได้มีมาแต่คำพูด ฉัตรชัย กางแผนที่พันธกิจของเขา ซึ่งจากนี้จะมุ่งไปใน 3 ด้าน คือ ทำอุปกรณ์การศึกษาสำหรับผู้พิการ ทำเรื่องการสร้างอาชีพ และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนในสังคม “วิ่งด้วยกัน” คือ โครงการน้ำดี ผลผลิตจากพันธกิจด้านที่ 3 ของกล่องดินสอ กับคอนเซ็ปต์น่ารักน่าชัง ชวนคนมีใจอาสา มาร่วมเป็น “ไกด์รันเนอร์” จับคู่วิ่งออกกำลังกายกับผู้พิการ “ปัญหาหนึ่งของผู้พิการคือเรื่อง สุขภาพ ทำอย่างไรที่เขาจะได้ออกกำลังกาย และมีสุขภาพที่ดีขึ้น มองว่า วิ่งนี่แหล่ะง่ายสุด เลยจัดโครงการชวนคนตาบอดมาวิ่งออกกำลังกาย แต่อย่างที่ทราบว่า สำหรับผู้พิการแค่ใช้ชีวิตปกติยังลำบาก เราเลยชวนอาสาสมัครที่เรียก ‘ไกด์รันเนอร์’ มาวิ่งคู่กันไปกับผู้พิการด้วย” แล้วเรื่อง “วิ่ง” กิจกรรมสุดอินเทรนด์ของคนยุคนี้ ก็มีโอกาสเข้าถึงผู้พิการ ด้วยพลังของผู้คนในสังคมทำอย่างไรที่จะเชื่อมโลกผู้พิการและคนทั่วไปเข้าไว้ด้วยกัน พวกเขาเริ่มจากวิธีง่ายๆ คือ ตั้งกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “วิ่งด้วยกัน” เพื่อให้คนที่อยากวิ่งได้จับคู่เพื่อนร่วมทางผู้พิการ พร้อมเป็นช่องทางแจ้งข่าวสารต่างๆ ของโครงการด้วย จากเพื่อนวิ่งของคนตาบอด มาสู่เพื่อนร่วมทางของผู้พิการทางการได้ยิน กับภารกิจชวนคนหูหนวกมาวิ่งออกกำลังกาย ฉัตรชัย บอกเราว่า “ฟีดแบค” ถือว่า ดีเกินคาด หลังโครงการแรกมีอาสาสมัครประมาณ 14 คน แต่โครงการสอง เปิดรับอาสา 20 คน ทว่า ภายใน 1 ชม. มีผู้สมัครมามากถึง 90 คน “ที่คนให้ความสนใจมาก เพราะมองว่า นี่ไม่ใช่การวิ่งเพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่เป็นการวิ่งเพื่อคนอื่นด้วย”เขาบอกเหตุผลที่ดึงดูดให้ผู้คนหลากหลายอาชีพ หลากหลายวัย อาสามาเป็นไกด์รันเนอร์เพื่อผู้พิการ ผลโดยตรงคือ สุขภาพดี แต่ผลโดยอ้อมที่อิ่มใจกว่ามาก คือ การได้ทำเพื่อคนอีกกลุ่มของสังคม หลายคนอาจจินตนาการไม่ออก ว่าคนในโลกมืดจะชมภาพยนตร์อย่างไรได้ โครงการพาน้องตาบอดไปดูหนัง ของกล่องดินสอ กำลังจะเปลี่ยนความคิดนั้น “เราไปดูหนังได้ปกติ แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งเขาดูหนังไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรให้น้องๆ ตาบอดได้ดูหนัง เราพบว่า มีระบบที่เรียก Audio Description (ระบบเสียงบรรยายภาพ) สำหรับคนตาบอดอยู่ เลยทำโครงการพาน้องๆ กว่าร้อยคนจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ไปดูหนังที่สยามพารากอน” สิ่งสำคัญไปกว่าความสนุกที่เกิดขึ้นแล้วจบไป คือการสะท้อนถึงผู้ผลิตหนังให้เห็นความสำคัญของตลาดผู้พิการมากขึ้น“อยากเห็นว่า จากนี้ไปคนตาบอดจะสามารถเดินเข้าโรงหนังได้เหมือนคนปกติ อยากให้คนในวงการภาพยนตร์ ได้เห็นว่า เด็กตาบอดก็สามารถดูหนังได้ ถ้าคุณทำหนังที่รองรับพวกเขา ซึ่งที่ผ่านมาหนังที่ทำยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เข้าไม่ถึงก็อยากให้เขามองเห็นตรงนี้”เขาบอกเสียงเล็กๆที่อยากสะท้อนไปถึงคนทำหนัง “เรียนจบแล้วอยากทำงานอะไร?” คำถามสุดคลาสสิกที่เด็กหลายคนตอบได้ง่ายๆ แต่กับน้องๆ ผู้พิการนี่เป็นโจทย์แสนยากในชีวิตของพวกเขา คำตอบที่ได้เลยหนีไม่พ้น คนขายล็อตเตอรี่และอีกไม่กี่อาชีพ ที่สังคมเหลือไว้ให้ผู้พิการ “เมืองไทยมีกฎหมายว่า ถ้าคุณมีพนักงาน 100 คน ต้องจ้างผู้พิการ 1 คน หรือไม่ก็เลือกออปชั่นอื่น เช่น จ่ายเงินเข้ากองทุน แต่ปัญหาคือ ผู้พิการเองยังไม่พร้อมในการทำงาน บริษัทเองก็ไม่พร้อม แถมรัฐบาลยังไม่มีมาตรการอะไรมารองรับอีก ทำให้การจ้างงานผู้พิการทำได้ยาก ซ้ำจ้างเข้าไปแล้ว เขาก็อยู่ไม่ได้ด้วย” ฉัตรชัย บอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลกการทำงานของผู้พิการ ที่กระทบถึงภาคธุรกิจหลังการมาถึงของนโยบายการจ้างงานผู้พิการ นั่นเองที่ทำให้เขาคิดเปิดตัว “ดีโซลูชั่น” บริการที่ปรึกษาด้านการจัดหางานของผู้พิการ โดยวางตัวเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทที่ต้องการจ้างงานผู้พิการ จัดหาคนพิการที่เหมาะสมกับงาน พร้อมจัดอบรมผู้พิการเพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงาน เหล่านี้เป็นต้น “ผู้พิการ มีจุดเด่นและจุดด้อย ถ้าเราดึงเอาความสามารถพิเศษของเขามาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากบริษัทจะไม่ต้องจ่ายเงินไปเป็นแสนๆ แล้ว คุณยังจะได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพกลับมาช่วยธุรกิจด้วย ซึ่งเราจะเข้าไปช่วยแนะนำว่า คุณจะเอาคนพิการด้านไหน ไปอยู่ตรงส่วนไหน ถึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทได้” เขาบอกบทบาทใหม่ ในวันนี้ความมุ่งมั่นตั้งใจยังถูกต่อยอดไปเรื่อยๆ คนหนุ่ม บอกเราว่า อยากให้กล่องดินสอ เป็นองค์กรด้านคนพิการที่ยั่งยืน ทั้งในแง่ของการสร้างผลกระทบสู่สังคม และในเชิงธุรกิจ ที่มาของการพัฒนาโมเดลในการหารายได้เข้ามาจุนเจือกิจการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันกล่องดินสอ มีรายได้จากการจำหน่าย “ปากกาเล่นเส้น” ที่ขายผ่านตัวแทนไปในหลายประเทศ อาทิ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศจีน โดยโจทย์ในวันนี้ คือการเปลี่ยนมุมมองจาก “ของเล่น” ไปเป็น “อุปกรณ์ทางการศึกษา” เพื่อขยายตลาดนี้ให้กว้างขึ้นรายได้ส่วนหนึ่งมาจากเหล่าสปอนเซอร์ ที่อยากทำโครงการ CSR รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเข้าถึงและได้ผล และนั่นก็เป็นโจทย์ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของพวกเขา ส่วนอนาคตยังมีรายได้จากบริการที่ปรึกษาซึ่งพวกเขากำลังพัฒนาขึ้นด้วย เพื่อใช้กลไกทางธุรกิจ เข้ามาทำให้กิจการเพื่อสังคมเล็กๆ แห่งนี้ เป็นองค์กรที่ยั่งยืน พร้อมตอบเป้าหมายสูงสุด ‘สร้างสังคมเพื่อคนทั้งมวล’ สมดั่งใจพวกเขา “ผมอยากสร้าง Inclusive Society ที่ผู้พิการจะมีชีวิตได้เหมือนคนปกติในสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้อย่างแท้จริง” ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/653167

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...