โพลล์สำรวจความรู้สึกของผู้พิการสายตาต่อบริการสาธารณะ

แสดงความคิดเห็น

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ,ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็น ของผู้พิการสายตาเรือนรางและตาบอดสนิทจำนวน 410 คน ใช้เครื่องมือสำรวจปลายปิดเป็นอักษรเบรลล์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 35-44 ปี การศึกษาเฉลี่ยระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 4-11 ตุลาคม 2556 เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โอกาสและความสะดวกแต่ผู้พิการทางสายตาและ ผู้พิการอื่น ๆ ได้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพและได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องในโอกาสวันไม้เท้าขาวสากล ซึ่งเวียนมาทุกวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี

จากผลการสำรวจสำนักวิจัยสยาม เทคโนโลยีอินเตอร์เทอร์เน็ตโพลล์สามารถสรุปได้ว่า ในด้านมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับคนปกติได้โดยไม่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 87.56 ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถมีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 84.88 และผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถเรียน/ทำงานได้ คิดเป็นร้อยละ 79.27 ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.32 อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ควรได้รับโอกาสใน การเรียน/ทำงาน ส่วนมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาไม่อยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่น่าสงสาร/น่าเวทนา คิดเป็นร้อยละ 88.78 เป็นภาระในการดูแลของสังคม คิดเป็นร้อยละ 85.61 และเป็นผู้ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 81.95 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.1 ไม่อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ไม่สามารถ เรียน/ทำงานได้

สำหรับสิ่งที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ ความเข้าใจของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 88.05 โอกาสในการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.9 โอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคม คิดเป็นร้อยละ 80.98 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 71.95 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 69.76 มีเพียงร้อยละ 43.66 ที่ต้องการความสงสารและความเห็นอกเห็นใจจากสังคม

ขณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญที่สุด 5 อันดับซึ่งส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตาคือ ทัศนคติในทางลบของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 87.32 การขาดโอกาสในการเข้าทำงาน/การประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 84.39 การขาดโอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ต่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 82.2 การขาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 78.29 และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตามีไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 73.66

ส่วนระดับความคิดเห็นต่อการให้โอกาส และการอำนวยความสะดวกจากสังคมให้กับผู้พิการทางสายตา จากคะแนนเต็ม 5 การได้รับโอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 2.99 โดยในด้านการได้รับโอกาสทางการศึกษาได้รับคะแนนสูงสุดคือ 3.97 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ขณะที่ การได้รับโอกาสในการเข้าทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน การได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการได้รับความสะดวกจากสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้พิการทางสายตา เช่น ลิฟต์ที่มีเสียง/อักษรเบรลล์ บาทวิถีที่มีสัญลักษณ์นูน สัญญาณไฟจราจรที่มีเสียง อยู่ในระดับน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.48 2.46 และ 2.39 ตามลำดับ...โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/general/506596

(Thai PR ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56)

ที่มา: Thai PR ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 04:15:11

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ,ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็น ของผู้พิการสายตาเรือนรางและตาบอดสนิทจำนวน 410 คน ใช้เครื่องมือสำรวจปลายปิดเป็นอักษรเบรลล์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 35-44 ปี การศึกษาเฉลี่ยระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 4-11 ตุลาคม 2556 เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โอกาสและความสะดวกแต่ผู้พิการทางสายตาและ ผู้พิการอื่น ๆ ได้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพและได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องในโอกาสวันไม้เท้าขาวสากล ซึ่งเวียนมาทุกวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี จากผลการสำรวจสำนักวิจัยสยาม เทคโนโลยีอินเตอร์เทอร์เน็ตโพลล์สามารถสรุปได้ว่า ในด้านมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับคนปกติได้โดยไม่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 87.56 ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถมีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 84.88 และผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถเรียน/ทำงานได้ คิดเป็นร้อยละ 79.27 ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.32 อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ควรได้รับโอกาสใน การเรียน/ทำงาน ส่วนมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาไม่อยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่น่าสงสาร/น่าเวทนา คิดเป็นร้อยละ 88.78 เป็นภาระในการดูแลของสังคม คิดเป็นร้อยละ 85.61 และเป็นผู้ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 81.95 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.1 ไม่อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ไม่สามารถ เรียน/ทำงานได้ สำหรับสิ่งที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ ความเข้าใจของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 88.05 โอกาสในการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.9 โอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคม คิดเป็นร้อยละ 80.98 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 71.95 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 69.76 มีเพียงร้อยละ 43.66 ที่ต้องการความสงสารและความเห็นอกเห็นใจจากสังคม ขณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญที่สุด 5 อันดับซึ่งส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตาคือ ทัศนคติในทางลบของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 87.32 การขาดโอกาสในการเข้าทำงาน/การประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 84.39 การขาดโอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ต่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 82.2 การขาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 78.29 และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตามีไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 73.66 ส่วนระดับความคิดเห็นต่อการให้โอกาส และการอำนวยความสะดวกจากสังคมให้กับผู้พิการทางสายตา จากคะแนนเต็ม 5 การได้รับโอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 2.99 โดยในด้านการได้รับโอกาสทางการศึกษาได้รับคะแนนสูงสุดคือ 3.97 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ขณะที่ การได้รับโอกาสในการเข้าทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน การได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการได้รับความสะดวกจากสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้พิการทางสายตา เช่น ลิฟต์ที่มีเสียง/อักษรเบรลล์ บาทวิถีที่มีสัญลักษณ์นูน สัญญาณไฟจราจรที่มีเสียง อยู่ในระดับน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.48 2.46 และ 2.39 ตามลำดับ...โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/general/506596 (Thai PR ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...