วิธีเลือก “เกม” ที่เหมาะสมให้ “ลูก” เล่นแต่ละวัย ป้องกันเสพติดความรุนแรง

แสดงความคิดเห็น

เด็กชายกำลังเล่นเกมส์

กรมสุขภาพจิตแนะ วิธีเลือก “เกม” ที่เหมาะสมกับลูกแต่ละช่วงวัย ป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ชี้ วันธรรมดาควรเล่นไม่เกิน 1 ชั่วโมง วันหยุด2 ชั่วโมง ย้ำพ่อแม่สอดส่องดูแล ตั้งกฎกติการ่วมกัน ป้องกันลูกติดเกมเตือนเล่นเกมออนไลน์อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไม่นัดพบคนแปลกหน้า

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงปิดเทอม ปัญหาเด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นห่วงมาโดยตลอด จากสถิติผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นที่มีปัญหาพฤติกรรมเสพติดเกมเข้ามารับบริการที่คลินิกจิตเวชวัยรุ่นและศูนย์บำบัดเด็กติดเกม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ปี 2559-2560 มีจำนวน 41 ราย ทั้งหมดได้รับการบำบัดรักษาต่อเนื่องด้วยยาทางจิตเวช การทำจิตบำบัดรายบุคคลและครอบครัวบำบัด อาการที่เข้ามารับการบำบัด ได้แก่ การมีปัญหาการเรียน ผลการเรียนตก มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่สัมพันธ์กับการเลียนแบบเกมที่รุนแรง ปัญหาเด็กถูกหลอก ถูกล่วงละเมิดทางเพศผ่านคนแปลกหน้าที่รู้จักแค่ในเกมออนไลน์ หรือแชตไลน์ ทั้งนี้ เด็กที่เล่นเกมตั้งแต่เด็กๆ จะส่งผลกระทบชัดเจนกับการพัฒนาความคิด สมาธิ ความจำ ความอดทนพยายาม ปัญหาการเรียน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ปัญหาทั้งหมดจะรุนแรงขึ้นเริ่มเห็นชัดในเรื่องของปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงหุนหันพลันแล่น

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า เด็กทุกคนที่เล่นเกมมีความเสี่ยง “เสพติดเกม” ซึ่งเป็นปัญหาพฤติกรรมเสพติดทางสมอง เช่นเดียวกับ “ติดสารเสพติด” เสี่ยงโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล รุนแรงถึงขั้นโรคจิตเวช และฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ ยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม เสี่ยงเป็นผู้ก่ออาชญากรรม หรือตกเป็นเหยื่อของอาชญากร เสียสมาธิ ผลการเรียนแย่ลงอย่างชัดเจน โดยการเล่นเกมนานเกินกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุด จะเพิ่มความเสี่ยงติดเกม 2.5 เท่า การเล่นเกมนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ในวันธรรมดา จะเพิ่มความเสี่ยงติดเกม 1.8 เท่า อาการติดเกม คือ ต้องเล่นเกมนานๆ และนานขึ้นเรื่อยๆและมักจะเสียอารมณ์ทุกครั้งที่พ่อแม่บอกให้เลิกที่สำคัญเสียหน้าที่ของตนเอง

“ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ อายุ 3-6 ปี เล่นได้เฉพาะเกมส่งเสริมการศึกษา โดยมีผู้ปกครองควบคุม อายุ 6 ขวบขึ้นไป เล่นเกมอื่นๆ ที่ถูกกำหนดไว้สำหรับเด็กแต่ละวัย หลีกเลี่ยงเกมที่มีความรุนแรง อายุ 13 ปีขึ้นไป หลีกเลี่ยงเกมที่มีเนื้อหาความรุนแรงมากเกินไป เช่น ฉากต่อสู้นองเลือด และห้ามเล่นเกมที่มีการวางแผนฆ่าศัตรู เพศสัมพันธ์ คำหยาบคาย การพนัน และยาเสพติด วันธรรมดา สามารถเล่นได้ น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่วันหยุด น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรเล่นต่อเนื่องนานเกินกว่าชั่วโมง ทั้งนี้ ขอแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นฉลาดเล่นและรู้วินัย หลีกเลี่ยงเกมออนไลน์ที่มีลักษณะทีมผู้เล่นหลายคน ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่นัดพบกับคนแปลกหน้าที่รู้จักผ่านเกมออนไลน์ ควรบอกพ่อแม่เมื่อพบสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจ เช่น ถูกข่มขู่ คุกคาม รีดไถ การซื้อของในเกม”อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ขอแนะนำให้ ติดตามพฤติกรรมการใช้เงินของลูก สถานที่ร้านเกมแถวบ้าน/ โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่อนุญาตให้เล่นเกมในห้องส่วนตัว ตั้งกติการ่วมกัน ไม่ควรเล่นเกมก่อนทำการบ้าน/ก่อนเข้านอน ตลอดจน ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ทดแทน เช่น งานอดิเรก ออกกำลังกาย กีฬา จิตอาสา และไม่ควรอนุญาตให้เล่นเกมขณะทำกิจกรรมอื่น หรือ ขณะเดินบนทางสาธารณะ ทั้งนี้ ขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000031938 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 25/04/2560 เวลา 10:12:22 ดูภาพสไลด์โชว์ วิธีเลือก “เกม” ที่เหมาะสมให้ “ลูก” เล่นแต่ละวัย ป้องกันเสพติดความรุนแรง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กชายกำลังเล่นเกมส์ กรมสุขภาพจิตแนะ วิธีเลือก “เกม” ที่เหมาะสมกับลูกแต่ละช่วงวัย ป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ชี้ วันธรรมดาควรเล่นไม่เกิน 1 ชั่วโมง วันหยุด2 ชั่วโมง ย้ำพ่อแม่สอดส่องดูแล ตั้งกฎกติการ่วมกัน ป้องกันลูกติดเกมเตือนเล่นเกมออนไลน์อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไม่นัดพบคนแปลกหน้า น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงปิดเทอม ปัญหาเด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นห่วงมาโดยตลอด จากสถิติผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นที่มีปัญหาพฤติกรรมเสพติดเกมเข้ามารับบริการที่คลินิกจิตเวชวัยรุ่นและศูนย์บำบัดเด็กติดเกม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ปี 2559-2560 มีจำนวน 41 ราย ทั้งหมดได้รับการบำบัดรักษาต่อเนื่องด้วยยาทางจิตเวช การทำจิตบำบัดรายบุคคลและครอบครัวบำบัด อาการที่เข้ามารับการบำบัด ได้แก่ การมีปัญหาการเรียน ผลการเรียนตก มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่สัมพันธ์กับการเลียนแบบเกมที่รุนแรง ปัญหาเด็กถูกหลอก ถูกล่วงละเมิดทางเพศผ่านคนแปลกหน้าที่รู้จักแค่ในเกมออนไลน์ หรือแชตไลน์ ทั้งนี้ เด็กที่เล่นเกมตั้งแต่เด็กๆ จะส่งผลกระทบชัดเจนกับการพัฒนาความคิด สมาธิ ความจำ ความอดทนพยายาม ปัญหาการเรียน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ปัญหาทั้งหมดจะรุนแรงขึ้นเริ่มเห็นชัดในเรื่องของปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงหุนหันพลันแล่น น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า เด็กทุกคนที่เล่นเกมมีความเสี่ยง “เสพติดเกม” ซึ่งเป็นปัญหาพฤติกรรมเสพติดทางสมอง เช่นเดียวกับ “ติดสารเสพติด” เสี่ยงโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล รุนแรงถึงขั้นโรคจิตเวช และฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ ยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม เสี่ยงเป็นผู้ก่ออาชญากรรม หรือตกเป็นเหยื่อของอาชญากร เสียสมาธิ ผลการเรียนแย่ลงอย่างชัดเจน โดยการเล่นเกมนานเกินกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุด จะเพิ่มความเสี่ยงติดเกม 2.5 เท่า การเล่นเกมนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ในวันธรรมดา จะเพิ่มความเสี่ยงติดเกม 1.8 เท่า อาการติดเกม คือ ต้องเล่นเกมนานๆ และนานขึ้นเรื่อยๆและมักจะเสียอารมณ์ทุกครั้งที่พ่อแม่บอกให้เลิกที่สำคัญเสียหน้าที่ของตนเอง “ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ อายุ 3-6 ปี เล่นได้เฉพาะเกมส่งเสริมการศึกษา โดยมีผู้ปกครองควบคุม อายุ 6 ขวบขึ้นไป เล่นเกมอื่นๆ ที่ถูกกำหนดไว้สำหรับเด็กแต่ละวัย หลีกเลี่ยงเกมที่มีความรุนแรง อายุ 13 ปีขึ้นไป หลีกเลี่ยงเกมที่มีเนื้อหาความรุนแรงมากเกินไป เช่น ฉากต่อสู้นองเลือด และห้ามเล่นเกมที่มีการวางแผนฆ่าศัตรู เพศสัมพันธ์ คำหยาบคาย การพนัน และยาเสพติด วันธรรมดา สามารถเล่นได้ น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่วันหยุด น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรเล่นต่อเนื่องนานเกินกว่าชั่วโมง ทั้งนี้ ขอแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นฉลาดเล่นและรู้วินัย หลีกเลี่ยงเกมออนไลน์ที่มีลักษณะทีมผู้เล่นหลายคน ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่นัดพบกับคนแปลกหน้าที่รู้จักผ่านเกมออนไลน์ ควรบอกพ่อแม่เมื่อพบสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจ เช่น ถูกข่มขู่ คุกคาม รีดไถ การซื้อของในเกม”อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ขอแนะนำให้ ติดตามพฤติกรรมการใช้เงินของลูก สถานที่ร้านเกมแถวบ้าน/ โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่อนุญาตให้เล่นเกมในห้องส่วนตัว ตั้งกติการ่วมกัน ไม่ควรเล่นเกมก่อนทำการบ้าน/ก่อนเข้านอน ตลอดจน ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ทดแทน เช่น งานอดิเรก ออกกำลังกาย กีฬา จิตอาสา และไม่ควรอนุญาตให้เล่นเกมขณะทำกิจกรรมอื่น หรือ ขณะเดินบนทางสาธารณะ ทั้งนี้ ขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000031938

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...